อาหารลดน้ำหนัก ลดพุง มีวิธีกินอย่างไร? : เราสังเกตเห็นว่าคุณ ๆ มีความตั้งใจที่อยากจะลดน้ำหนัก อยากจะลดพุงเพราะรู้สึกเครียด ในการสวมใส่เสื้อผ้าแล้วไม่มั่นใจกับหน้าท้องที่ห้อยย้อย ไขมันที่แทรกตัวปริออกมาเลยตั้งประณิธานว่าต้องลดน้ำหนักต้องลดไขมัน ต้องลด และต้องลดให้ขาด แต่จะมีวิธีแบบไหน มีความเป็นไปได้จริงหรือไหม บทความนี้มีคำตอบ (weight loss food)
1. กินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวเชิงเดี่ยว
ไขมันชนิดนี้มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Monosturated fat ไขมันชนิดนี้เราพบว่ามีงานวิจัยหลายฉบับที่เผยว่าเป็นไขมันชั้นดีที่ช่วยให้ระดับคอเลสเตอรอลลดลง ล่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอันตรายหลายโรคซึ่งคุณสามารถเลือกดูแลตัวเองได้ด้วยการมองหาน้ำมันมะกอก แอลมอนด์ พิสตาซิโอ แมคคาเดเมีย และ อะโวคาโด
2. เคี้ยวอาหารนาน ๆ
ช้า ๆแต่ได้หุ่นงาม ๆ หลายคนมองว่าเป็นเรื่องยาก เนื่องจากว่าในชีวิตประจำวันนั้นต่างคนก็ต่างรีบเร่งแข่งขันกับเวลากันทั้งนั้นจะไปมีเวลานั่งเคี้ยวอาหารนาน ๆ ก็คงจะไม่ไหว ที่สำคัญจะจริงหรือเปล่าก็ยังไม่รู้กับการเคี้ยวนาน ๆ แล้วจะผอม
ซึ่งมีนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์บินที่เป็นวิทยาลัยการแพทย์ของจีนได้เผยถึงการทดลองแล้วว่าการเคี้ยวอาหารนานถึง40นาที ช่วยให้ระดับเกรลินที่เป็นฮอร์โมนกระตุ้นความหิวนั้นลดลงจริง และเมื่อเกรลินลดลงก็ทำให้ความอยากของอาหารนั้นลดลง ฉะนั้นน้ำหนักตัวก็ย่อมน้อยลงด้วย
3. เลี่ยงแป้ง แบบขัดสี หรืออาหารแปรรูป
สำหรับขนมปังขัดสีอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสักเท่าไหร่ของคนที่ต้องการลดน้ำหนัก อีกทั้งกระบวนการผลิตขนมปังขัดสีหรือขัดขาวจะมีการนำเอาไฟเบอร์หรือแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายออก และพอมีแร่ธาตุน้อยกว่าการเผาผลาญก็ไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็น ในขณะที่ถ้าเป็นขนมปังโฮลเกรนที่ให้ไฟเบอร์มากกว่าก็จะช่วยให้ระบบการย่อยของอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่านั่นเอง
4. อาหารลดน้ำหนัก ด้วยการกินซุปก่อนกินข้าว
การกินน้ำซุปที่ผ่านการปรุงอย่างกลมกล่อมหรือซุปที่ผสมผสานกันอย่างเข้ากั้น เข้ากันของวัตถุดิบและเครื่องปรุงสามารถส่งผลให้สมองปรับเปลี่ยนเรื่องของการรับประทานขึ้นทันทีทันใด
มีการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Neuropsychopharmacology เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2018 นักวิจัยได้ประเมินการเปลี่ยนแปลงในสมองของสาวรายหนึ่งที่เธอนั้นมีความเปลี่ยนเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีจากการรับประทานซุป
5. ดาร์กช็อกโกแลต
ไม่น่าเชื่อว่าการกินช็อกโกแลตจะช่วยให้เราควบคุมน้ำหนักได้ เพราะว่าช็อกโกแลตจะสามารถช่วยให้สมองส่วนหน้าทำงานดีขึ้น และสมองส่วนหน้านี่แหละที่เป็นศูนย์กลางที่ช่วยให้เราลดความอยากอาหารลงได้ ถือเป็นข่าวดีของผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักเลยใช่ไหมละก็เพราะว่าเขามีงานวิจัยบอกไว้ว่าคนที่กินช็อกโกแลตในปริมาณที่ปกติอย่างเป็นประจำจะมีรูปร่างและน้ำหนักที่น้อยกว่าคนที่ไม่เคยกินช็อกโกแลตเลย
บทความที่น่าสนใจ
คีโต คืออะไร ลดน้ำหนัก ด้วยวิธี Ketogenic diet ต้องทานอะไรบ้าง
6. กินอาหารโปรตีนสูง
ในการลดไขมันในร่างกายและไขมันในส่วนของหน้าท้อง(ลดพุง) โปรตีนเป็นสิ่งที่เข้ามาทันเวลาพอดีมากๆ และยังมีงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า การที่ได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอสามารถลดขนาดของรอบเอว และลดโอกาสที่ไขมันจะกลับมาสะสมได้ด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นโปรตีนสูงๆ ก็ควรที่จะมีผัก และผลไม้ควบคู่กับไปด้วยเพื่อจะเป็นการเร่งการเผาผลาญไขมันในร่างกายด้วยนั่นเอง
7. กินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ
การกิน อาหารลดน้ำหนัก ที่มีคาร์ไฮเดรตต่ำแน่นอนว่าสิ่งที่ควรจะรับประทานเลยคือแหล่งอาหารที่มีโปรตีน ไขมันชนิดดีรวมถึงเส้นใยอาหารสูง ๆ ซึ่งในงานวิจัยบอกถึงข้อดีเอาไว้ว่าจะช่วยให้รู้สึกว่าจะอยู่ท้องได้นาน ลดความอยากของอาหารหวาน ๆ และที่สำคัญจะช่วยบดน้ำหนักได้เร็วกว่าผู้ที่รับประทานอาหารคลีนอีกด้วย
8. อาหารลดน้ำหนัก ด้วยการ ลดน้ำตาล
เราจะพบว่าน้ำตาลที่เรารู้จักกันมักจะมีบทบาทในเมนูอาหารหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น อาหารคาว อาหารหวาน ขนมไทย เครื่องดื่มและส่งผลให้เกิดโรคที่อันตรายตามมาทำให้หลายๆ คนเกิดความกลัว และงดไปในที่สุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็มีบางภาวะที่ว่าน้ำตาลไม่ควรงดอย่างเด็ดขาด ซึ่งด้านสมาคมหัวใจอเมริกันมีอัตราในการรับประทานที่ควรในผู้หญิงไม่เกิน 6 ช้อนชาส่วนผู้ชายไม่เกิน 9 ช้อนชาต่อวัน
สรุปแล้วการจะลดน้ำหนัก ลดพุง ให้ได้อย่างเห็นผลเลย คือ ต้องมีวินัยในตัวเองด้วย เพื่อที่จะได้ปรับพฤติกรรมการรับ การเลือกอาหารในแต่ละครั้งว่า ควรเป็นสิ่งใดมากกว่า น้อยกว่า ทั้งนี้หากคุณมีน้ำหนักที่อยู่ในเกณฑ์ปกติก็ขอแสดงความยินดีด้วย ที่คุณก็จะได้รับสุขภาพที่ดีไปครอง
Reference
- https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12679447/
- https://onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1038/oby.2007.516
- Kahleova H, Belinova L, Malinska H, et al. Eating two larger meals a day (breakfast and lunch) is more effective than six smaller meals in a reduced-energy regimen for patients with type 2 diabetes: a randomised crossover study. Diabetologia.2014;57(8):1552–15560.
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
Biography