เส้นเลือดขอด รักษาได้หลากหลายวิธี ตั้งแต่การฉีดโฟม การใช้เลเซอร์ ไปจนถึงการผ่าตัด วิธีการรักษาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ ซึ่งเส้นเลือดขอดเป็นภาวะที่เกิดจากเส้นเลือดดำบวมและขยายตัวผิดปกติ มักพบในบริเวณขาและข้อเท้า อาการที่พบได้บ่อยคือปวดขา ขาหนัก บวม โดยเฉพาะหลังจากทำกิจกรรมที่ต้องยืนหรือนั่งนาน ๆ เช่น งานออฟฟิศ งานขายของ หรืองานบริการต่าง ๆ การรักษาเส้นเลือดขอดที่เหมาะสมและสถานพยาบาลที่มีมาตรฐานเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดการปัญหานี้
เส้นเลือดขอด (Varicose Veins) คืออะไร ?
เส้นเลือดขอด คือ ภาวะที่เส้นเลือดดำขยายตัวผิดปกติ เส้นเลือดขอดมีลักษณะเป็นเส้นเลือดโป่งพองและมองเห็นชัดเจน มีสีม่วงหรือสีน้ำเงิน อาการหลักคือปวดขา ขาหนัก และขาบวม ซึ่งมักเกิดหลังการยืนนาน ๆ หรือหลังทำกิจกรรม เช่น งานที่ต้องยืนหรือใช้ขาหนัก ๆ การทำงานที่นั่งนานเกินไป การยืดเหยียดขาไม่ได้ และการยกน้ำหนักโดยไม่มีการพัก
สาเหตุเกิดจากการทำงานผิดปกติของลิ้นในเส้นเลือดดำทำให้เลือดไหลย้อนกลับ สะสมในเส้นเลือดจนบวมขึ้นได้ ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ การยืนนาน การนั่งนาน น้ำหนักเกิน พันธุกรรม และการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ เส้นเลือดขอดยังเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน เช่น ลิ่มเลือดอุดตัน (Deep Vein Thrombosis – DVT) การอักเสบ และแผลเรื้อรังบริเวณขา ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้หากไม่ได้รับการรักษา
เส้นเลือดขอดเกิดจากสาเหตุอะไร?
เส้นเลือดขอด เกิดจากการทำงานผิดปกติของลิ้นในเส้นเลือดดำ ซึ่งปกติจะช่วยป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ แต่เมื่อระบบนี้ทำงานผิดปกติ เลือดจึงสะสมในเส้นเลือดมากเกินไป ทำให้เส้นเลือดขยายและโป่งพองขึ้น ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อย ได้แก่
- การยืนนานหรือการนั่งนานที่ทำให้การไหลเวียนเลือดชะงัก
- การตั้งครรภ์ที่ทำให้ฮอร์โมนและน้ำหนักกดทับเส้นเลือดขา
- พันธุกรรม หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นเส้นเลือดขอด โอกาสที่คุณจะเป็นก็สูงขึ้น
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การเคลื่อนไหวขาและหลีกเลี่ยงการยืนนาน จะช่วยลดโอกาสเกิดเส้นเลือดขอดได้มากขึ้น
ความรุนแรงของเส้นเลือดขอดมีกี่แบบ อะไรบ้าง ?
- เส้นเลือดขอดแบบฝอย (Spider Veins) มีลักษณะเส้นเลือดแตกเป็นเส้นเล็ก ๆ
- เส้นเลือดขอดขนาดกลาง ลักษณะของเส้นเลือดจะไม่โป่งพองออกมามาก แต่ก็พอสังเกตได้จากสี และขนาดของเส้นเลือด
- เส้นเลือดขอดโป่งพองขนาดใหญ่ (Varicose Veins) เส้นเลือดขอดประเภทนี้จะสังเกตเห็นได้ชัด เพราะเส้นเลือดจะโป่งนูนออกมาคล้ายตัวหนอน
เส้นเลือดขอด มีอาการอย่างไร ?
อาการของผู้ที่มีเส้นเลือดขอดที่สังเกตได้คือ อาการปวด หน่วง ชา และบวมบริเวณที่เป็นเส้นเลือดขอด เส้นเลือดขอดในบางรายจะเห็นชัด แต่ในบางรายก็จะยังมองไม่เห็น แต่จะมีอาการปวด และเป็นตะคริวได้บ่อย ๆ ในตอนกลางคืน ซึ่งเพศหญิงจะมีแนวโน้มเป็นเส้นเลือดขอดได้มากกว่าเพศชาย โดยจำแนกได้ ดังนี้
- ปวดขา เท้า และกล้ามเนื้อ
- เท้าหรือขาหนัก
- เมื่อยล้า หรือเป็นตะคริวบริเวณขา (เช่น ในตอนกลางคืน)
- มีอาการปวดขา เมื่อยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน
- มีอาการบวม หรือรู้สึกร้อนบริเวณขา
- ผิวแดง มีอาการเจ็บ
- เห็นเส้นเลือดสีเข้มเกิดขึ้นบริเวณขา
- เกิดแผล และผื่นใกล้บริเวณข้อเท้า
- ข้อเท้า และน่อง มีสีผิวที่เปลี่ยนไป
- เลือดออกบริเวณที่เป็นเส้นเลือดขอด เกิดจากเส้นเลือดแตก
- กรณีเป็นเส้นเลือดขอดขั้นรุนแรง จะทำให้เกิดการอักเสบที่ผิวหนังเรื้อรัง หรือเป็นแปลพุพอง
บทความที่เกี่ยวข้อง
เส้นเลือดขอด อันตรายไหม?
เส้นเลือดขอดไม่เพียงแต่ก่อความเจ็บปวดและไม่สบาย แต่ยังเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น การเกิดลิ่มเลือดอุดตัน การอักเสบของเส้นเลือด และแผลเรื้อรังในบริเวณขาหรือข้อเท้า หากเส้นเลือดขอดมีลักษณะบวมและอักเสบ อาจทำให้เส้นเลือดบางและแตกเมื่อถูกกระแทก ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยจึงควรได้รับการประเมินและวางแผนการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางด้านหลอดเลือดหรือศัลยแพทย์โดยด่วน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
การรักษาและการดูแลที่เหมาะสมจะช่วยบรรเทาอาการและลดความเสี่ยงของเส้นเลือดขอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ การปรึกษาแพทย์ที่มีความเข้าใจในการรักษาโรคหลอดเลือดและเลือกสถานพยาบาลที่มีมาตรฐานเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การรักษาได้ผลดีและไม่อันตราย
วิธีรักษาเส้นเลือดขอด
เส้นเลือดขอดเป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต การรักษามีหลายวิธีที่เน้นการลดอาการและแก้ไขปัญหาเส้นเลือดที่บวมโป่ง วิธีการรักษามีตั้งแต่การฉีดโฟมและสารเคมี (Sclerotherapy), การใช้เลเซอร์ Endovenous Laser Ablation (EVLA) หรือ Radiofrequency Ablation (RFA), เลเซอร์ Nd YAG สำหรับเส้นเลือดขนาดเล็ก และการผ่าตัดสำหรับเส้นเลือดขอดขนาดใหญ่และซับซ้อน การเลือกวิธีที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับอาการและการวินิจฉัยของแพทย์ ดังนี้
1. การฉีดโฟม (Sclerotherapy)
การฉีดโฟม (Sclerotherapy) เป็นวิธีการรักษาเส้นเลือดขอดด้วยการฉีดสารเคมีเข้าไปในเส้นเลือดขอดเพื่อให้เส้นเลือดหดตัวและตีบลง เหมาะสำหรับเส้นเลือดขนาดเล็กและกลาง (2-3 มิลลิเมตร) หรือเส้นเลือดที่ยังคงอยู่หลังจากการผ่าตัด
ปัจจุบันมีเทคนิคที่ได้รับการพัฒนาคือ Microsclerotherapy ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา การฉีดโฟมไม่ต้องใช้ยาชา และพักฟื้นสั้น แต่อาจมีข้อแทรกซ้อนเล็กน้อย เช่น แพ้สารที่ฉีด บวมแดง หรือคัน ซึ่งสามารถทุเลาได้ในระยะเวลาสั้น ๆ
2. เลเซอร์ Endovenous Laser Ablation (EVLA) และ Radiofrequency Ablation (RFA)
EVLA และ RFA เป็นเทคนิคใหม่ในการรักษาเส้นเลือดขอดที่ใช้พลังงานเลเซอร์หรือคลื่นความถี่วิทยุในการทำลายผนังเส้นเลือดจากภายใน (ค่าความร้อนอยู่ที่ประมาณ 120 องศาเซลเซียส) เหมาะสำหรับเส้นเลือดขอดขนาดใหญ่และมีการรั่วของหลอดเลือด วิธีนี้ไม่ต้องผ่าตัด แต่ใช้การเจาะผ่านรูเข็มเล็กและใส่ขดลวด (สาย Fiberoptic) เข้าไปเพื่อสลายเส้นเลือด เส้นเลือดขอดจะยุบลงถึง 90-100% ภายใน 6-8 สัปดาห์ วิธี RFA มักเหมาะกว่าการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเส้นเลือดขอด
3. การใช้เลเซอร์ Nd YAG
เลเซอร์ Nd YAG เป็นวิธีรักษาเส้นเลือดขอดที่ใช้แสงเลเซอร์ที่ความยาวคลื่น 1,064 นาโนเมตร ซึ่งเหมาะกับเส้นเลือดขอดขนาดเล็กและผู้ที่กลัวการผ่าตัดหรือการฉีด เลเซอร์ทำงานโดยส่งแสงผ่านผิวชั้นบนไปยังเส้นเลือดขอดโดยตรง ทำให้เส้นเลือดร้อนจัดและถูกทำลาย โดยมีการปล่อยแก๊สเย็นออกมาพร้อมเลเซอร์เพื่อปกป้องผิวหนังข้างเคียง จึงไม่มีแผลและแผลเป็น หลังการรักษาอาจมีอาการบวมแดงเล็กน้อยและหายไปเองภายใน 2-3 วัน ทำให้เป็นวิธีที่รวดเร็วและไม่อันตราย
4. การผ่าตัดเส้นเลือดขอด
การผ่าตัดแบบดึงเส้นเลือดหรือ Vein Stripping เหมาะกับเส้นเลือดขอดที่ซับซ้อน มีผลลัพธ์ถาวร แต่ใช้เวลาการพักฟื้นนานและมีความเสี่ยงมากกว่า การผ่าตัดโดยเจาะเอาเส้นเลือดขอดออก เหมาะสำหรับการรักษาเส้นเลือดขอดขนาดใหญ่และมีขนาดยาวมาก ๆ และไม่สามารถรักษา เส้นเลือดขอดได้ด้วยการฉีดสารเคมีเข้าสู่เส้นเลือดดำ การผ่าตัดอาจมีผลข้างเคียง เช่น แผลผ่าตัดอักเสบเกิดขึ้นได้ ซึ่งการดูแลหลังการผ่าตัดจะสำคัญมาก
เปรียบเทียบการรักษาเส้นเลือดขอดด้วยวิธีต่าง ๆ
วิธีการรักษา | ประสิทธิภาพ | การพักฟื้น | ความเจ็บปวด | ข้อจำกัด |
ฉีดโฟม (Sclerotherapy) | ดีมากสำหรับเส้นเลือดขนาดเล็ก | 1-2 วัน | เจ็บเล็กน้อย | อาจต้องทำซ้ำหลายครั้ง |
EVLA / RFA | ดีมากและถาวร | 1-2 สัปดาห์ | เจ็บน้อย, มีอาการอุ่นในเส้นเลือด | ต้องดมยาสลบ |
เลเซอร์ Nd YAG | ดีมากสำหรับเส้นเลือดฝอยตามผิว | ไม่มีแผลพักฟื้นเร็ว | รู้สึกอุ่นและเจ็บเล็กน้อย | เหมาะเฉพาะเส้นเลือดขนาดเล็ก |
ผ่าตัดเส้นเลือดขอด | ถาวร | 2-4 สัปดาห์ | เจ็บมากกว่า | ความเสี่ยงจากการผ่าตัด |
เลือกการรักษาเส้นเลือดขอดแบบไหนดีที่สุด?
การรักษาเส้นเลือดขอดที่ดีที่สุดขึ้นอยู่กับขนาดของเส้นเลือด อาการ และความต้องการของผู้ป่วย การปรึกษาแพทย์เป็นสิ่งสำคัญเพื่อวินิจฉัยและแนะนำวิธีที่เหมาะสม เช่น Sclerotherapy สำหรับเส้นเลือดขนาดเล็ก EVLA หรือ RFA สำหรับเส้นเลือดขนาดใหญ่ หรือเลเซอร์ Nd YAG สำหรับผู้ที่กลัวการผ่าตัด วิธีการเหล่านี้มีประสิทธิภาพและไม่อันตราย
การเลือกคลินิกที่มีแพทย์ผู้เข้าใจปัญหาอย่าง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ ช่วยให้คุณมั่นใจในผลลัพธ์และได้รับการดูแลอย่างปลอดภัยในการรักษาได้มากขึ้น
ข้อดีของการรักษาเส้นเลือดขอดด้วยคลื่น RFA (Radiofrequency Ablation)
- ไม่ต้องผ่าตัด และไม่ต้องพักฟื้นนาน
- แผลมีขนาดเล็กมาก ลดความเสี่ยงการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อน
- รักษาได้เฉพาะจุดที่เป็นสาเหตุ โดยไม่กระทบเนื้อเยื่อข้างเคียง
- แก้ปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุ ช่วยรักษาเส้นเลือดขอดในหลายกรณี
- ผลลัพธ์รวดเร็ว และสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ไว
- ลดอาการปวด และความไม่สบายจากเส้นเลือดขอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การรักษาด้วย RFA เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการผลลัพธ์ดีโดยไม่ต้องเผชิญกับการผ่าตัด
ขั้นตอนก่อนการรักษาเส้นเลือดขอดด้วยคลื่น RFA และวิธีการระงับความรู้สึก
การรักษาเส้นเลือดขอดด้วย RFA โดยไม่ต้องผ่าตัดจะใช้ยาสลบแบบอ่อน โดยวิสัญญีแพทย์จะดูแลผู้ป่วยแบบ 1:1 ตลอดกระบวนการรักษา
ข้อแนะนำก่อนเข้ารับการรักษา
- งดเครื่องดื่มที่มีโซดา คาเฟอีน และแอลกอฮอล์ 2 สัปดาห์ก่อนการรักษา
- งดวิตามินและอาหารเสริมที่ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด
- งดอาหาร 8 ชั่วโมง และดื่มได้เฉพาะของเหลวใสก่อนผ่าตัด
- งดดื่มน้ำทุกชนิด 3 ชั่วโมงก่อนผ่าตัดเพื่อลดความเสี่ยงของการสูดสำลักอาหารในระหว่างการระงับความรู้สึก
การเตรียมตัวตามคำแนะนำของแพทย์เป็นสิ่งสำคัญเพื่อลดความเสี่ยงและให้การรักษาได้ผลดีที่สุด
อาการแทรกซ้อนหลังการรักษาเส้นเลือดขอดด้วยคลื่น RFA
- หลังการรักษาผู้ป่วยอาจมีอาการมึนงง ใช้เวลานอนพักสักพักอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น
- ต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น ใส่ถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอดติดต่อกัน 24 ชั่วโมงเป็นเวลา 3 วัน หลังจากนั้นใส่วันละ 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 3-6 เดือน *ขึ้นอยู่กับปัญหาของผู้ป่วยแต่ละคน
การดูแลตัวเองหลังการรักษาเส้นเลือดขอด
หลังการรักษาควรดูแลตัวเองโดยใช้ความเย็นประคบเพื่อลดบวมและปวด สวมถุงน่องเส้นเลือดขอดแบบมีแรงบีบรัดที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการยืนนานหรือการนั่งนาน และยกขาสูงขณะพักผ่อนเพื่อป้องกันไม่ให้อาการกลับมาเป็นซ้ำ โดยเลือกถุงน่องที่มีมาตรฐานและแรงดันเหมาะสมเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
ถุงน่องรักษาเส้นเลือดขอด ช่วยได้หรือไม่ ?
ถุงน่องบาง ๆ เป็นตัวช่วยป้องกันเส้นเลือดขอดได้ในระดับหนึ่ง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลขาให้กระชับและลดแรงดันในเส้นเลือด ถุงน่องที่ดีควรมีแรงบีบรัดหลายระดับ ตั้งแต่ข้อเท้าถึงต้นขา โดยแรงดันที่เหมาะสมควรอยู่ที่ประมาณ 30 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งช่วยให้เส้นเลือดขอดยุบตัว หากมีกิจกรรมหรือการทำงานที่เพิ่มความเสี่ยง ควรเริ่มใช้ถุงน่องเพื่อป้องกันไว้ล่วงหน้า นอกจากจะช่วยลดอาการเส้นเลือดขอด ยังเสริมความมั่นใจให้ขาดูเรียวกระชับมากขึ้น
การเลือกหมอและสถานที่ รักษาเส้นเลือดขอด
การเลือกสถานพยาบาลและแพทย์เฉพาะทางสำหรับรักษาเส้นเลือดขอดควรคำนึงถึงประสบการณ์ของแพทย์ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษา เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการรักษา
แนะนำ น.ต.นพ. ณพงศ์ กิจพาณิชย์ ศัลยแพทย์หลอดเลือดที่มีความเข้าใจโรคด้านเส้นเลือดขอดที่ รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ มิวิธีในการรักษาเส้นเลือดขอดหลากหลายวิธีด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน
วิธีรักษาเส้นเลือดขอดแบบอื่น ๆ ที่ควรรู้
นอกจากการรักษาแบบหลัก เช่น การฉีดโฟมและเลเซอร์ ยังมีวิธีอื่น ๆ เช่น ครีมทาเส้นเลือดขอดและยาทา ที่ช่วยลดอาการบวมและปวด โดยเฉพาะในระยะเบื้องต้น อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของครีมและยาทามักจำกัดเมื่อเทียบกับการรักษาด้วยเลเซอร์หรือฉีดโฟม
การใช้ยาทาน เช่น Diosmin 450 mg และ Hesperidin 50 mg ช่วยเสริมความแข็งแรงของผนังหลอดเลือด ลดการบวมและอักเสบ ผลลัพธ์ที่คาดหวังคือการลดอาการปวดและความรู้สึกหนักที่ขา แต่ไม่สามารถรักษาเส้นเลือดขอดได้โดยตรง จึงมักใช้ร่วมกับการรักษาหลักเพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น การปรึกษาแพทย์จะช่วยให้เลือกการรักษาที่เหมาะสมที่สุด
วิธีป้องกันการเกิดของเส้นเลือดขอด
การป้องกันเส้นเลือดขอดสามารถทำได้โดยการปรับพฤติกรรมและดูแลสุขภาพ เช่น ออกกำลังกาย (เดิน วิ่งเบา ๆ ปั่นจักรยาน) เพื่อส่งเสริมการไหลเวียนของเลือด ควบคุมน้ำหนักเพื่อลดแรงกดดันที่ขา สวมถุงน่องที่ช่วยลดแรงดันในเส้นเลือด และใช้หมอนรองขายกขาสูงเมื่อพักผ่อน เพื่อลดการสะสมของเลือดในเส้นเลือดขา
บทความที่เกี่ยวข้อง
รักษาเส้นเลือดขอด ราคาเท่าไหร่ ?
รีวิวการรักษาเส้นเลือดขอด
วิธีรักษาเส้นเลือดขอดที่บ้าน เส้นเลือดขอด ประคบร้อนหรือเย็น?
การประคบเย็น เป็นวิธีที่แนะนำมากที่สุดสำหรับเส้นเลือดขอด เนื่องจากความเย็นช่วยลดการบวม อาการปวด และการอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรใช้ผ้าเย็นหรือถุงน้ำแข็งประคบบริเวณที่มีอาการ 15-20 นาที โดยหลีกเลี่ยงการใช้ความเย็นโดยตรงกับผิวหนัง
การประคบร้อน ไม่แนะนำสำหรับเส้นเลือดขอด เพราะความร้อนอาจทำให้หลอดเลือดขยายตัวเพิ่มขึ้น ทำให้อาการบวมและปวดแย่ลง หากจำเป็นควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
เส้นเลือดขอด ข้อเท้าและขา อาการและวิธีดูแลเฉพาะจุด
อาการ เส้นเลือดขอดที่ข้อเท้าและขาสามารถทำให้รู้สึกปวด หนัก ขาบวม และมีเส้นเลือดที่โป่งพองชัดเจน การดูแลเฉพาะจุดจึงสำคัญเพื่อบรรเทาอาการและป้องกันการแย่ลง
วิธีดูแลและรักษาเฉพาะจุด
- การยกขา ช่วยลดแรงดันและบรรเทาอาการบวม
- สวมถุงน่องเส้นเลือดขอด ลดการบวมและสนับสนุนการไหลเวียนของเลือด
- การประคบเย็น ลดบวมและอักเสบ
- ออกกำลังกายเบา ๆ เช่น การยืดเหยียดเท้าและข้อเท้าเพื่อส่งเสริมการไหลเวียนของเลือด
เส้นเลือดขอดและการใช้หมอนรองขา ช่วยได้จริงไหม?
ประโยชน์ของหมอนรองขา การใช้หมอนรองขาช่วยยกขาให้อยู่ในระดับที่สูงกว่าหัวใจ ซึ่งช่วยลดแรงดันในเส้นเลือดขา ลดอาการบวม ปวด และส่งเสริมการไหลเวียนของเลือด หมอนรองขาจึงเป็นตัวช่วยที่ดีในการบรรเทาอาการเส้นเลือดขอด โดยเฉพาะหลังจากการยืนหรือนั่งนาน ๆ การยกขายังช่วยป้องกันการสะสมของเลือดในเส้นเลือดขา ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการดูแลเส้นเลือดขอดที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน
การรักษาเส้นเลือดขอดควรเริ่มจากการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินและเลือกวิธีการที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการฉีดโฟม เลเซอร์ หรือการผ่าตัด การดูแลตัวเองหลังการรักษาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการกลับมาเกิดซ้ำก็เป็นส่วนสำคัญ การเลือกสถานที่และแพทย์ที่เชี่ยวชาญจะช่วยให้การรักษาปลอดภัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นค่ะ
พญ. รัตตินันท์ ตรีรัตน์ (คุณหมอแต๋ม)
แพทย์ผู้ชำนาญด้านผิวพรรณและเลเซอร์
เกียรตินิยมด้านเวชศาสตร์ความงามจาก American Academy of Aesthetic Medicine
ประสบการณ์มากกว่า 20 ปี