“ลมพิษ” ผิวหนังเป็นผื่นนูนแดง คัน เป็นๆหายๆ เกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไร?

โรค ลมพิษ เกิดจากอะไร

ลมพิษ คืออะไร? เป็นโรคที่มีอาการทางผิวหนัง โดยจะมีลักษณะเป็นผื่นนูนแดง (wheal and flare) ไม่มีขุย มีอาการคัน และอาจมีอาการบวมใต้ชั้นผิวหนัง (angioedema) ร่วมด้วยได้ เช่น ริมฝีปากบวม ตาบวม โดยอาการมักจะเกิดขึ้นเร็วและสามารถเกิดขึ้นได้บนทุกส่วนในร่างกาย ซึ่งผื่นมักจะคงอยู่ไม่นาน เป็นๆ หายๆ โดยส่วนมากมักไม่เกิน 24 ชั่วโมง ลมพิษเกิดได้จากหลายปัจจัย อาจเกิดจากสาเหตุที่ร่างกายมีปฏิกิริยาต่อยา อาหาร การติดเชื้อ สิ่งกระตุ้นทางกายภาพ (physical) หรือโรคในระบบอื่นๆ ของร่างกายแต่โดยส่วนใหญ่มักตรวจไม่พบสาเหตุ

โรค ลมพิษ มีอาการอย่างไร

ลมพิษมีลักษณะอาการที่สำคัญคือ ผื่นนูนแดง (wheal and flare) ส่วนใหญ่มีอาการคันลักษณะรอยโรคลมพิษจะนูน บวม แดง เป็นปื้น ขอบเขตชัด รูปร่างกลม เป็นวงแหวน หรือ มีขอบหยักโค้งล้อมรอบด้วยผื่นแดง บางรอยโรคจะมีสีซีดตรงกลาง ขนาดของผื่นมีต่างๆ กันตั้งแต่หลายมิลลิเมตรถึงเซนติเมตร

รอยโรคแต่ละอันจะเป็นอยู่นาน 8-12 ชั่วโมงแล้วยุบหายไป เมื่อหายแล้วจะเป็นผิวหนังปกติไม่มีร่องรอยเหลืออยู่ อาจมีผื่นใหม่ขึ้นที่อื่นอีกเป็นๆ หายๆ หากรอยโรคเป็นนานเกิน 24 ชั่วโมงต้องนึกถึงภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น หลอดเลือดอักเสบ (urticarial vasculitis)

อาการอื่นที่อาจพบร่วมกับลมพิษ ได้แก่ ภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (anaphylactic shock) จะพบมีลมพิษเฉียบพลันร่วมกับภาวะความดันต่ำ มีอาการแน่นหนาอก หายใจลำบาก คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน มีอันตรายถึงชีวิตได้

อาการของโรค ลมพิษ
Photo : https://www.allergyuk.org/information-and-advice/conditions-and-symptoms/416-urticaria-hives-and-other-skin-allergy
อาการ ลมพิษ ร่วมกับ ภูมิแพ้

โรค ลมพิษ มีกี่ประเภท

แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้ระยะเวลา 6 สัปดาห์ของการเกิดผื่นเป็นตัวแบ่ง ได้แก่

1. ลมพิษเฉียบพลัน (Acute urticaria) ผื่นลมพิษ เป็นมาไม่เกิน 6 สัปดาห์ มักพบในเด็กและคนไข้อายุน้อย มักมีสาเหตุจากการแพ้อาหาร แพ้ยา แมลงสัตว์กัดต่อย การติดเชื้อ หรืออาจจะไม่พบสาเหตุก็ได้

2. ลมพิษเรื้อรัง (Chronic urticaria) ผื่นลมพิษ เป็นๆ หายๆ ต่อเนื่องกันเกิน 6 สัปดาห์ขึ้นไป มักพบในหญิงวัยกลางคน ลมพิษเรื้อรังมักไม่พบสาเหตุหรือสิ่งกระตุ้นที่จำเพาะเหมือนลมพิษเฉียบพลัน

กลับสู่สารบัญ

สาเหตุของโรค ลมพิษ

  1. อาหาร เช่น อาหารทะเล สารกันบูด สีผสมอาหารบางชนิด
  2. ยา ปฏิกิริยาการแพ้ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดผื่นลมพิษได้
  3. การติดเชื้อ การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรียเชื้อรา หรือมีพยาธิ ก็เป็นสาเหตุของลมพิษได้
  4. โรคระบบต่อมไร้ท่อ เช่น โรคต่อมไทรอยด์
  5. อิทธิพลทางกายภาพ ผื่นลมพิษอาจเป็นผลจากปฏิกริยาของผิวหนังที่ตอบสนองผิดปกติต่อความร้อน ความเย็น น้ำหนักกดรัด แรงขีดข่วน แสงแดด การออกกําลังกาย แรงสั่นสะเทือน น้ำ เป็นต้น
  6. การแพ้สารที่สัมผัส ผื่นลมพิษเกิดขึ้นในตําแหน่งที่ผิวหนังสัมผัสกับสารที่แพ้ เช่น การแพ้ยาง (Iatex) ขนสัตว์ พืช หรืออาหารบางชนิด
  7. ปฏิกิริยาแพ้พิษแมลง เช่น ปฏิกิริยาที่เกิดจากผึ้งต่อย ต่อต่อย
  8. มะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือระบบอื่น ๆของร่างกาย
  9. ระบบภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง บางรายเกิดจากมีภูมิคุ้มกันไปกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารเคมีบางชนิดออกมาที่ผิวหนัง ทําให้เกิดผื่นลมพิษขึ้น
  10. สาเหตุอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยโรคลูปัสหรือ ผู้ป่วยโรคเส้นเลือดอักเสบบางรายอาจมีผื่นลมพิษ แต่มีข้อสังเกต คือ แต่ละผื่นมักอยู่นานเกิน 24 ชั่วโมง เวลาหายก็มักทิ้งรอยดำไว้
ลมพิษ เกิดจากอะไร มีกี่ประเภท

การวินิจฉัยโรคลมพิษ

  1. การซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด มักจะช่วยบอกสาเหตุและสิ่งกระตุ้นได้ เช่น สาเหตุทางกายภาพของลมพิษ รวมถึงยาทุกชนิดที่ใช้อยู่ ทั้งยาทาและยารับประทานที่ใช้เป็นประจำและเป็นคร้ังคราว โดยเฉพาะยาที่กระตุ้นให้ลมพิษเห่อ เช่น แอสไพริน (aspirin) ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) ยาลดความดัน (beta-blockers) ยาหยอดตารักษาต้อหิน เป็นต้น
  2. การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุของลมพิษ ตามสิ่งผิดปกติที่ตรวจพบหรือสงสัยจากการซักประวัติหรือตรวจร่างกาย เช่น สงสัยการติดเชื้อต่างๆ การอักเสบในร่างกาย หรือตรวจเลือดเกี่ยวกับไทรอยด์ ในกรณีที่สงสัยว่าจะเกี่ยวข้องกับลมพิษ
  3. การส่งชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา ทำเมื่อประวัติหรือลักษณะของผื่นที่น่าสงสัยว่าจะเป็นหลอดเลือดอักเสบ (urticarial vasculitis) คือ มีอาการเจ็บที่ผื่นมากกว่าอาการคัน และเป็นผื่นเป็นนานเกิน 24-36 ชั่วโมง เมื่อหายจะทิ้งรอยดำไว้
ผู้ป่วยลมพิษจำนวนมาก แม้ว่าจะพยายามตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียดแล้วแต่ก็ยังหาสาเหตุไม่พบ

ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า ความรู้ทางการแพทย์ปัจจุบันยังไม่มากพอที่จะอธิบายหาสาเหตุได้ทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่มีอาการลมพิษก็ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ ซึ่งหากพบสาเหตุที่ก่อให้เกิดลมพิษและหลีกเลี่ยงหรือรักษาสาเหตุนั้นได้จะทําให้โรคลมพิษสงบลงหรือหายขาดได้

กลับสู่สารบัญ

ลมพิษ มีวิธีกษาอย่างไร ?

  1. พยายามหาสาเหตุและกำจัดสาเหตุนั้น หรือหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดลมพิษ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ผสมวัตถุเจือปนอาหาร (food additives) บางชนิด เช่น สีผสมอาหาร สารกันบูดบูด วิตามิน ยาบำรุง สมุนไพร หรือ ยาอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็น
  • ควรหลีกเลี่ยงภาวะที่อาจกระตุ้นให้ลมพิษขึ้น เช่น ความเครียด อากาศร้อน
  1. รักษาโรคอื่นที่เป็นอยู่ (underlying disease) แม้จะพบได้น้อยแต่ผื่นลมพิษอาจเป็นอาการแสดงทางผิวหนังของโรคทางกายอื่นๆ ที่เป็นอยู่ เช่น โรคไทรอยด์ (autoimmune thyroid disease)
  2. ให้ยาต้านฮีสตามีน ซึ่งยาต้านฮีสตามีนมีหลายชนิด มีทั้งที่ทำให้ง่วงและไม่ง่วง การจะเลือกใช้ยาต้านฮีสตามีนตัวใดขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ เนื่องจากการตอบสนองต่อยาของคนไข้แต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะต้องใช้ยาหลายตัวร่วมกัน
  3. ยาอื่นๆ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการมาก ผื่นไม่ค่อยตอบสนองต่อยาต้านฮีสตามีน แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาอื่นที่ช่วยในการรักษาลมพิษ

หากเป็น ลมพิษ ควรทำอย่างไร ?

  1. ควรนำยาต้านฮิสตามีนพกติดตัวไว้เสมอ เมื่อเกิดอาการจะได้ใช้ได้ทันที
  2. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดผื่นลมพิษ
  3. ทำจิตใจให้สบายไม่เครียด
  4. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง หากมีอาการง่วงนอนจากยาควรปรึกษาแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนยา
  5. ในคนที่ผื่นเป็นมาก โดยเฉาะอย่างยิ่งถ้ามีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ปวดท้อง มีหน้าบวม ตาบวม ปากบวม ร่วมด้วย ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว
Ref.
  1. โรคลมพิษ ภาควิชาตจวทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลhttps://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/23_pdf
  2. ลมพิษ (URTICARIA) เพ็ญพรรณ วัฒนไกร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หน่วยโรคผิวหนังภาควชิาอายรุศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี https://med.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/URTICARIA.pdf

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ การใช้งานเว็บไซต์นี้แสดงว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า