อาการ “ปัสสาวะเล็ด” เกิดจากอะไร มีวิธีแก้-รักษาอย่างไร?

ปัสสาวะเล็ด มีวิธีแก้อย่างไร (Stress Urinary Incontinence; SUI)

ปัสสาวะเล็ด (Stress Urinary Incontinence; SUI) คนส่วนใหญ่ที่มีปัญหาปัสสาวะเล็ด นั้นมักจะมองว่าเป็นเรื่องน่าอาย ไม่กล้าบอกใคร และมาพบแพทย์เมื่อมีอาการมากๆ แล้ว ทั้งที่จริงๆ แล้วภาวะปัสสาวะเล็ดนั้นสามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ แม้ในบางครั้งอาจจะไม่ได้หายขาด แต่ก็จะสามารถรับมือกับภาวะปัสสาวะเล็ดโดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้

อาการ ปัสสาวะเล็ด คืออะไร?

ปัสสาวะเล็ด คือ อาการที่มีปัสสาวะเล็ดออกมาโดยไม่ตั้งใจ และไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งเกิดขึ้นขณะที่มีการเพิ่มขึ้นของความดันในช่องท้อง ยกตัวอย่างเช่น เวลา ไอ จาม ยกของหนัก ออกกำลังกาย หรือแม้แต่เวลาหัวเราะ ซึ่งในขณะนั้นเราไม่ได้รู้สึกปวดปัสสาวะหรืออยากจะปัสสาวะเลย ซึ่งปัสสาวะที่เล็ดออกมาก็อาจจะไม่ได้มีปริมาณมาก แต่ก็ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเราได้ และ อาการปัสสาวะเล็ดสามารถเจอได้ทั้งในผู้หญิง และผู้ชาย

ภาวะปัสสาวะเล็ดนั้นมักจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยพบในผู้หญิง 25% ทั่วโลก และสำหรับประเทศไทยจะมีอุบัติการณ์ประมาณ 20% ของผู้หญิงตั้งแต่วัยเจริญพันธุ์ถึงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งก็จะพบได้บ่อยในคนสูงอายุ ภาวะนี้ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้หญิงแย่ลง ส่งผลกระทบทั้งทางสังคมและจิตใจ

ปัสสาวะเล็ด เกิดจากสาเหตุอะไร

ปัสสาวะเล็ด (Stress Urinary Incontinence; SUI) เป็นผลมาจากการที่ตัวหูรูดท่อปัสสาวะหดรัดตัวได้ไม่ดี หรือมีความเสื่อมของท่อปัสสาวะ (intrinsic sphincter deficiency: ISD) รวมถึงมีการหย่อนตัวของท่อปัสสาวะและคอกระเพาะปัสสาวะ (bladder neck) การหย่อนตัวของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ทำให้ไม่สามารถยึดพยุงท่อปัสสาวะไว้ได้ ดังนั้นเมื่อมีการเพิ่มความดันในช่องท้องอย่างกะทันหัน เช่น จากการที่ผู้สูงอายุ ไอ จาม หัวเราะ วิ่ง ก้าวขึ้นบันได หรือก้มลงยกของหนักๆ แรงดันที่เพิ่มขึ้นในช่องท้องที่ลงมายังกระเพาะปัสสาวะ ไม่สามารถถ่ายทอดลงสู่ท่อปัสสาวะได้ จึงทำให้แรงดันในกระเพาะปัสสาวะสูงกว่าท่อปัสสาวะ ปัสสาวะจึงเล็ดออกมา (ปัสสาวะจะเล็ดประมาณ 5-10 มิลลิลิตรต่อครั้ง)

อาการปัสสาวะเล็ดบ่อย เกิดจากอะไร

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะ สาวะเล็ด มีอะไรบ้าง

  1. อายุ ในผู้หญิงที่อายุมากขึ้นจะพบอุบัติการณ์ของภาวะนี้ได้มากขึ้น
  2. การตั้งครรภ์ ในขณะตั้งครรภ์จะพบภาวะปัสสาวะเล็ดได้ในบางราย แต่เป็นการเกิดชั่วคราว และอาจจะหายได้หลังจากคลอดบุตรแล้ว
  3. การคลอดบุตร มักพบในรายที่ทารกคลอดผ่านช่องคลอดและสัมพันธ์กับระยะเวลาคลอด โดยเฉพาะถ้าทารกที่มีน้ำหนักแรกคลอดมาก
  4. จำนวนบุตรที่มากขึ้น จะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นตามลำดับ
  5. ภาวะที่เพิ่มความดันในช่องท้อง ได้แก่ ความอ้วน ไอ จาม หอบเรื้อรัง ท้องผูก ยกของหนักเป็นประจำ
  6. สำหรับผู้ชายพบในผู้สูงอายุที่เคยผ่าตัดต่อมลูกหมาก

วิธีแก้ - รักษาอาการปัสสาวะเล็ด

  1. การปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน (lifestyle intervention)
  • การลดน้ำหนัก ในผู้ป่วยที่มีนํ้าหนักตัวเกิน หรือเป็นโรคอ้วน เพื่อลดความดันในช่องท้อง
  • การรับประทานอาหารที่มีกากใย ร่วมกับฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลาเพื่อลดปัญหาท้องผูก จะมีส่วนช่วยลดความดันในช่องท้อง
  • การงดยาที่เป็นสาเหตุของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้
  • การรักษาอาการไอ จาม เรื้อรัง
  1. การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Pelvic floor exercise หรือ Kegel exercise)

ด้วยการขมิบช่องคลอด ซึ่งจริงๆ แล้วก็คือการฝึกขมิบกล้ามเนื้อที่หุ้มรอบและทำหน้าที่ประคองท่อปัสสาวะ ซึ่งสามารถทำได้ในทุกอริยาบถ โดยการขมิบที่ถูกต้องต้องขมิบเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานเท่านั้น คล้ายกับเวลากลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะ โดยไม่เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องหรือต้นขาร่วมด้วย

ขมิบแต่ละครั้งทำค้างไว้ 10 – 20 วินาที แล้วคลายออกในเวลาเท่ากัน แล้วจึงเริ่มขมิบใหม่ สามารถทำได้บ่อยเท่าที่ต้องการ  โดยระยะแรกอาจทำเพียงน้อยครั้งแล้วจึงเพิ่มขึ้นทั้งระยะเวลาและความถี่เมื่อชำนาญมากขึ้น ซึ่งจะต้องทำการฝึกไปเรื่อยๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จึงมักจะประสบปัญหาที่ผู้ป่วยมักจะไม่มีความอดทนพอ ทำให้ไม่สามารถทำการรักษาให้มีประสิทธิภาพได้ วิธีการนี้จะต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล แต่ถ้าหากผู้ป่วยสามารถทำได้ อาการก็จะดีไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองการรักษาอื่นๆ

ปัสสาวะเ็ด มีอาการอย่างไร

3. การใช้เทคโนโลยีพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเรียกว่า Functional Magnetic Stimulation (FMS) เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้หดรัดตัว ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเกร็งกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานด้วยตนเองได้หรือทำได้ไม่ถูกวิธี โดยคลื่นพลังงานจะเข้าไปกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหดเกร็งและคลายตัวเป็นจังหวะแบบอัตโนมัติ

Tesla Former Chair

เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการสร้างกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว หรือหลังส่วนล่างให้แข็งแรง

โดยการนั่งเก้าอี้ที่ปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบเฉพาะเจาะจง (FMS) ออกมา ทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหดเกร็งและคลายเป็นจังหวะต่อเนื่อง เหมือนกับได้ออกกำลังด้วยการขมิบกล้ามเนื้ออุ้งกราน (Kegel Exercise) 50,000 ครั้งตลอดเวลา 30 นาที มีความปลอดภัย ไม่ใช่การผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้น สามารถใส่เสื้อผ้าได้ตามปกติ แล้วแค่นั่งลงพิงเก้าอี้สบายๆ 30 นาที หลังทำสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

tesla former chair กระชับช่องคลอด กระดูกเชิงกราน
  1. การใช้ยารักษาปัสสาวะเล็ด ยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาในปัจจุบันยังไม่มีใช้กว้างขวางเนื่องจากมีอาการข้างเคียงมาก ในประเทศไทยยังไม่ได้นำยานี้มาใช้
  2. การใช้อุปกรณ์รองซับ โดยการออกแบบมาเป็นผ้ารองซับ หรือกางเกง แล้วแต่ผู้ป่วยแต่ละราย มักจะเลือกใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอายุมาก ไม่สามารถใช้การรักษาอื่นๆ ได้ หรือมีข้อห้ามในการผ่าตัดเป็นต้น

ซึ่งการรักษาที่กล่าวมานั้น เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง อาการจะดีขึ้นภายใน 3 – 6 เดือน แต่ถ้ารักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น  ต้องใช้การผ่าตัดเข้าช่วย  ซึ่งมีอยู่  2 วิธีด้วยกัน

  1. การผ่าตัดผ่านทางหน้าท้อง โดยการเย็บซ่อมแซมและตึงเนื้อเยื่อรอบท่อปัสสาวะเข้าเอ็นที่ยึดบริเวณใกล้เคียงให้มีความแข็งแรงขึ้น
  2. โดยใช้วัสดุเทปสังเคราะห์ผ่านทางช่องคลอด แล้ววางที่ใต้ต่อท่อปัสสาวะเพื่อเสริมความแข็งแรง  วิธีนี้ได้รับความนิยมในปัจจุบันเมื่อเทียบกับการผ่าตัดทางหน้าท้อง  เนื่องจากทำได้รวดเร็ว สะดวก ฟื้นตัวเร็ว และยังไม่มีแผลหน้าท้อง
Ref. ภาวะไอ จาม ปัสสาวะเล็ด ผศ.นพ.พิชัย ลีระศิริ ภาควิชาสูติศาสตร์ -นรีเวชวิทยา Faculty of Medicine Siriraj Hospital,  http://www.rtamedj.pmk.ac.th,  ปัสสาวะเล็ดราด สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า