อุดฟัน (tooth filling) : ถ้าพูดถึงปัญหาของสุขภาพช่องปากไม่ว่าจะเรื่องฟันผุและการรักษาฟันผุ แต่บางคนก็จะนึกถึงการอุดฟันเป็นอันดับแรก ๆ เลยทีเดียว ซึ่งบางคนก็ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงต้องมีการอุดฟันเข้ามามีบทบาทสำคัญของชีวิตด้วย วัสดุที่ใช้ในการอุดฟันนั้นจะอันตรายไหมอย่าปล่อยให้สงสัยไปร่วมหาคำตอบกัน…
สาเหตุที่ต้อง อุดฟัน
ส่วนมากแล้วเมื่อมีฟันผุเกิดขึ้นมักทำให้ส่วนของเนื้อฟันสูญหายไปด้วย ซึ่งสาเหตุที่ต้องสูญเสียเนื้อฟันไปมีด้วยกันหลายสาเหตุเช่น ฟันผุจากการย่อยแป้ง น้ำตาล, ปัญหาฟันสึกจากการเคี้ยวหรือบดอาหารและฟันแตก หัก บิ่นไม่ได้รูปจากอุบัติเหตุหรือจะจะบูรณะฟันเพื่อความสวยความงามโดยอุดฟันช่องฟันหน้าเพื่อให้เห็นความสวยงามในกรณีที่อาจจะไม่ใช้ฟันผุแต่มีสาเหตุจากฟันห่างและฟันเล็ก
อาการเสียวฟัน
สำหรับอาการเสียวฟันหลาย ๆ คนเองมักจะมีอาการนี้เกิดขึ้นเมื่อทานของร้อนของเย็น
ก่อนอื่นต้องอธิบายเรื่องของโครงสร้างฟันกันก่อนว่า ซึ่งโครงสร้างบนตัวฟันจะมีลักษณะของเคลือบฟันที่บริเวณนี้มีความแข็งแรงเมื่อทานของเย็นหรือของร้อนก็จะไม่เกิดอาการเสียวฟัน
แต่บริเวณใต้ตัวฟันที่เป็นรากและมีแค่เคลือบรากฟันบาง ๆ คลุมอยู่ก็เลยทำให้เกิดการเสียวฟันได้ง่าย เนื่องจากไม่มีเคลือบสีขาวมาปกป้อง
ซึ่งบริเวณดังกล่าวก็อยู่ใกล้กับชั้นที่3ที่เป็นชั้นประสาทฟันโดยบริเวณนั้นก็มีเส้นประสาทอยู่ด้วยก็จะทำให้เสียวฟันได้ง่าย
ตามปกติแล้วในช่วงที่เรากำลังเป็นวัยรุ่นอาการเสียวฟันก็จะยังมีไม่มากเนื่องจากว่าเหงือกจะขึ้นมาอยู่ใกล้ ๆ กับตัวฟัน แต่เมื่ออายุมากขึ้นเหงือกถูกร่นลงไม่ว่าจะด้วยสาเหตุไหนก็ตามก็ทำให้บริเวณรากฟันโผล่ทำให้เกิดอาการเสียวฟันได้ง่ายกว่าที่เคยนั่นเอง
สุดท้ายนี้หากจะให้การอุดฟันเป็นเรื่องที่ดีและอยู่กับคุณไปนาน ๆ ก็ต้องดูแลรักษาและทำความสะอาดที่สำคัญไม่ควรใช้ฟันผิดประเภทโดยเฉพาะพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เสี่ยงต่อวัสดุอุดหลุดนั่นเอง
วัสดุอุดฟัน
ปัจจุบันมีวัสดุอุปกรณ์ในการอุดฟัน 2 แบบ ด้วยกันตามที่พบกันบ่อย ๆ คือ
- วัสดุที่มีสีคล้ายเนื้อฟัน
- วัสดุสีเงิน
อุดฟันคอมโพสิต (Composite Filling)
เป็นการอุดฟันที่ให้สีเหมือนฟันธรรมชาติ ถูกคิดค้นให้ใช้ฟันหลังหรือฟันด้านใน (ฟันกราม) แต่อดีตยังคงไม่แข็งแรงพอเท่ากับ Amalgam มีขั้นตอนค่อนข้าง Sensitive หรือยุ่งยากและใช้เวลา หลังเสร็จจากการอุดฟันต้องรอให้วัสดุแข็งตัวเพื่อทำการกรอและตัดแต่งอีกครั้งเพิ่มความเรียบร้อย ซึ่งค่าใช้จ่ายสำหรับการอุดฟันที่ให้สีคล้ายกับฟันธรรมชาติจึงมีราคาที่สูงกว่า การอุดฟันแบบ Amalgam
อุดฟัน อยู่ได้นานแค่ไหน
ขึ้นอยู่กับวัสดุการอุดด้วย ซึ่งหากทำการยึดหรือกรอแต่งได้ไม่ดีพอวัสดุก็อาจหลุดได้ ยกตัวอย่างเช่น อมัลกัม (Amalgam) ล็อกกับฟันไม่อยู่ก็จะหลุดได้ง่าย หรือใช้ประเภทวัสดุ Composite Resin ที่มีสารยึดติดที่ชื่อว่าบอนดิงหากขั้นตอนระหว่างการอุดมีความชื้นในช่องปากหรือฟันก็จะทำให้วัสดุการอุดอยู่กับฟันไม่ได้นานและทำให้หลุดไปได้
สำหรับการแตก หัก ของวัสดุอุดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเกิดจากการใช้งานของคนไข้เอง ซึ่งบางคนชอบเคี้ยวอย่างเช่นประเภทอาหารที่มีเปลือกแข็ง พืชตระกูลถั่ว ปู ฉะนั้นฟันของเราแตกได้ วัสดุอุดก็แตกได้เช่นกัน
ดังนั้นเมื่อทราบแล้วว่าสาเหตุไหนบ้างที่จะทำให้ต้องอุดวัสดุใหม่นั้นคืออายุการใช้งานก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้วัสดุอุดไม่อยู่กับเรานั่นเอง
อุดฟัน ราคาเท่าไหร่
หลัก ๆ แล้วราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 600-2,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ในการอุดและสถานพยาบาลที่เข้ารับบริการ
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
Biography