ฟันผุ (Tooth Dacay) คงจะไม่มีใครอยากฟันผุจนทะลุโพรงประสาทฟัน และถ้าหากว่าเมื่อไหร่ที่มีฟันผุจนทะลุโพรงประสาทฟันแล้วปัญหาอื่น ๆ ก็จะตามมาด้วย ซึ่งวันนี้จะพาไปทำความรู้จักกับ โรคฟันผุ การป้องกันฟันผุ และการรักษาฟันผุ ให้ได้ทันก่อนลุกลามกัน
ฟันผุ เกิดขึ้นได้อย่างไร?
ฟันผุ เกิดจากเศษอาหาร น้ำตาลและอาหารบางอย่างที่เข้าไปติดค้างที่ฟันหรือซอกฟันเป็นเวลานานจนทำให้เชื้อแบคทีเรียอย่าง Streptococcus Mutant ที่อยู่บนแผ่นเคลือบฟัน แล้วเกิดการย่อยสลายอาหารประเภทแป้งน้ำตาลให้เป็นกรดแลคติก ซึ่งมีฤทธิ์ในการสลายแร่ธาตุที่เป็นโครงสร้างของชั้นผิวฟัน จนทำให้ฟันผุกร่อนทีละเล็กทีละน้อย จากชั้นเคลือบฟันภายนอกสู่ชั้นเนื้อฟันจนทะลุชั้นโพรงประสาทฟัน ซึ่งก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ปวดฟัน
ถ้าไม่ได้ทำการรักษา เชื้อแบคทีเรียก็จะลุกลามไปเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นการอักเสบลุกลามไปถึงชั้นเนื้อเยื่อโดยรอบ ถึงขั้นทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือด บางครั้งบางทีอาการในเรื่องของฟันผุก็ดูจะน่ากลัวเสียเหลือเกิน แต่อย่ากังวลไปเลยเพราะฟันผุสามารถป้องกันได้ง่าย ๆ ดังนี้
- แปรงฟันหลังรับประทานอาหาร/ก่อนเข้านอนทุกครั้ง
- ลดการรับประทานของหวานและน้ำอัดลมให้น้อยลง เพราะน้ำตาลเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฟันผุ
- พบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันเพื่อจะได้ทำการรักษาอย่างทันท่วงที
โรคฟันผุ
โรคฟันผุ หรือ โรคแมงกินฟัน เป็นโรคที่พบได้ประมาณ 80% ของคนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ชอบทานขนมหวาน ซึ่งฟันผุมักจะเกิดขึ้นที่ชั้นต่างๆ ของโครงสร้างฟัน แล้วโครงสร้างฟันมีอะไรบ้าง? โครงสร้างของฟันประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 4 ชนิด
- Enamel เคลือบฟัน เป็นเนื้อเยื่อแข็งชั้นนอกสุดของตัวฟันจะมีสีขาวปนเหลืองมีผิวมันเป็นส่วนที่แข็งแรงที่สุดของฟัน
- Cementum เคลือบรากฟัน คือชั้นที่เป็นส่วนประกอบคล้ายกันกับกระดูกมนุษย์แต่ไม่แข็งเหมือนเคลือบฟันโดยเคลือบรากฟันจะปกคลุมส่วนรากไว้ทั้งหมด
- Detine เนื้อฟัน เนื้อเยื่อแข็งอีกชนิดหนึ่งซึ่งประกอบไปด้วยตัวฟันที่มีสีจาวขุ่นคล้ายงาช้าง
- Pulp ประสาทฟัน เป็นเนื้อเยื่ออ่อนที่ประกอบไปด้วยเส้นประสาท หลอดเลือด ระบบน้ำเหลืองต่าง ๆ มากมายและเนื้อเยื่อที่ประกอบนี้จะติดต่อภายนอกตัวฟันผ่านรูเปิดเล็ก ๆ บริเวณปลายรากฟัน
โรคที่เกิดจากฟันผุ
เมื่อนึกถึงโรคฟันผุก็จะนึกถึงโรคฟันผุในน้ำนมเด็กแต่ความเป็นจริงฟันผุเกิดขึ้นได้ในทุกคนทุกวัย การที่มีฟันผุนั้นสร้างปัญญาในการรับประทานอาหารเป็นอย่างมากและหากเกิดปัญหาฟันผุในวัยผู้ใหญ่แล้วทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษาจะส่งผลเสียต่อสุขภาพในด้านอื่น ๆ ที่หลายคนคาดไม่ถึง เช่น ส่งผลเสียต่อหัวใจในผู้ที่เป็นโรคหัวใจจากการติดเชื้อแบคทีเรียและโรคฟันผุยังเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งในช่องปาก ซึ่งไม่พอเท่านั้นเชื้อโรคและความรุนแรงของฟันที่ผุอาจลุกลามกระจายไปทำลายยังทุกส่วนของร่างกายอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรคในช่องปากเหงือก คอ จมูก ดวงตา และสมอง
วิธีแก้ ฟันผุ ต้องทำอย่างไร
การรักษาฟันผุขึ้นอยู่ระยะของฟันผุถ้าเราพบฟันผุ
- ในระยะแรก คือมีกรดเริ่มทำลายรากฟัน คือฟันเริ่มมีสีขาวขุ่นหรือมีสีน้ำตาลโดยที่ฟันยังไม่เป็นรูหากฟันผุในระยะนี้แนะนำว่าให้แปรงฟันให้สะอาดและทั่วถึงโดยเฉพาะบริเวณที่เป็นสีขาวขุ่นหรือสีน้ำตาลเพื่อหยุดยั้งการผุลุกลามได้ แต่ถ้าฟันผุฟันมีสีขาวขุ่นหรือสีน้ำตาลบริเวณฟันหน้าและต้องการแก้ไขการอุดฟันก็เป็นทางเลือกหนึ่ง
- ฟันผุระยะที่ 2 มีการกัดกร่อนลึกจนถึงเนื้อฟัน เห็นฟันผุเป็นรูอาการที่อาจพบเจอได้คือมีการเสียวฟันกินน้ำเย็นหรือของหวานก็เสียวฟันมีอาหารไปอุดตอนทานอาหารขั้นตอนนี้รักษาได้โดยการอุดฟัน
- ฟันผุระยะที่ 3 ฟันผุลุกลามหรือผุเข้าไปที่โพรงประสาทฟันแล้ว อาจมีอาการหรือไม่มีอาการ แต่อาการที่จะเกิดขึ้นได้คือ การปวดมาก หรืออยู่ดี ๆ ก็ปวด ปวดฟันกลางคืน หรือปวดฟันใกล้เช้า การรักษาคือแนะนำให้รักษารากฟัน แต่กรณีที่เป็นฟันผุจนทะลุโพรงประสาทฟันปล่อยทิ้งเป็นเวลานานจะเป็นการผุของฟันระยะที่4
- ฟันผุระยะที่ 4 คือมีการอักเสบโดยรอบบริเวณรากฟันเกิดเป็นหนองบริเวณปลายรากฟันมีกระดูกรอบ ๆ ถูกทำลายฟันเริ่มโยก ฟันผุระยะนี้รักษาโดยการรักษารากหรือหากเก็บไว้ไม่ไหวกลัวช่องปากมีกลิ่นก็แนะนำให้ถอนฟัน
ปวดฟันกราม เกิดจากอะไร?
ลักษณะของการปวดอาจมีหลายสาเหตุโดยเฉพาะการปวดฟันกรามจากการมีการผุลึกไปจนถึงปลายประสาทฟันเกิดทำให้โพรงประสาทฟันอักเสบและสุดท้ายเกิดเป็นหนองในที่สุดวิธีการรักษาอาจต้องทำการฆ่าเชื้อหนองและทำการรักษารากฟันซึ่งก็จะช่วยให้อาการปวดนั้นหายไป
ฟันแตก แก้ไขและรักษาอย่างไรได้บ้าง?
การรักษาฟันที่แตก หัก ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของฟันที่หักและระดับความรุนแรงของการแตกหักว่ารุนแรงไปชั้นไหน ซึ่งวิธีแก้ไขฟันแตก และการรักษาฟันแตก แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
- ระดับที่ 1 รอยแตกหักอยู่ในชั้นเคลือบฟัน [สามารถอุดฟัน-กรอลบความคม]
- ระดับที่ 2 รอยแตกหักอยู่ในชั้นเนื้อฟัน [สามารถอุดฟัน-ครอบฟัน] *ขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์
ปวดฟัน เพราะมีฟันคุด
ฟันคุด เป็นฟันที่ไม่สามารถโผล่พ้นเหงือกขึ้นมาได้ ปล่อยไว้อาจมีอาการปวดและติดเชื้อได้ คนส่วนใหญ่ถ้าพบว่ามีฟันคุดโผล่ขึ้นมา เมื่อถึงเวลาก็จะลงเอยด้วยการเข้าพบทันตแพทย์ และผ่าออกไปในที่สุด ส่วนใครที่ไม่ทราบเลยว่าตัวเองมีฟันคุด รู้อีกทีคือปวดตรงบริเวณที่เป็นฟันคุดมากแล้ว
วิธีสังเกตฟันคุดที่งอกออกมา เมื่อฟันคุดงอกมาก็จะรู้สึกได้ถึงแรงกด หรือปวดฟันคุด บริเวณหลังฟันกรามแท้ซี่ที่ 2 และหากมีอาการปวดบริเวณนี้ ควรพบทันตแพทย์เพื่อเอกซเรย์ช่องปากดูว่า มีฟันกรามแท้ซี่ที่ 3 ที่เป็นฟันคุดงอกขึ้นมาหรือไม่ ลักษณะการงอกของฟันคุดที่พบบ่อยๆ จะมี 6 แบบด้วยกัน เช่น
แบบที่ 1. ฟันคุดที่แทรกขึ้นมาไม่ครบซี่จนกลายเป็นฟันกรามซี่ที่3อย่างสมบูรณ์หากมีฟันกรามลักษณะนี้ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องผ่าออก
แบบที่ 2. ฟันคุดที่โผล่พ้นเหงือกขึ้นมาบางส่วนและเอียงตัวไปติดกับฟันกรามแท้ซี่ที่2ทำให้เชื้อโรคเข้าไปสะสมได้ง่ายและควรผ่าออก
แบบที่ 3. ฟันคุดที่ขึ้นมาในแนวตั้งจะดันขึ้นเบียดกับฟันกรามแท้ซี่ที่2 ซึ่งหากปล่อยไว้ก็อาจทำให้ฟันล้มได้
แบบที่ 4. ฟันคุดที่โผล่ขึ้นมาไม่พ้นเหงือกแต่แอนตัวนอนราบอยู่ภายใน ฟันคุดลักษณะนี้อาจชนฟันกรามแท้ซี่ที่2ล้มลงตามได้
แบบที่ 5. ฟันคุดที่งอกพ้นเหงือกเล็กน้อยแต่แอนตัวไปชนกับฟันกรามแท้ซี่ที่2 ถือเป็นฟันคุดที่ทำให้ปวดและอักเสบได้มากที่สุด
แบบที่ 6. ฟันคุดที่ไม่โผล่พ้นเหงือกและไม่ชนกับฟันกรามซี่ไหนเลย หากมีฟันกรามรักสงบแบบนี้ทันตแพทย์อาจอนุโลมไม่ต้องผ่านออกก็ได้
*ถ้าหากฟันคุดของคุณไม่ได้โผล่พ้นเหงือกอย่างสมบูรณ์ แต่โผล่ออกมาแค่บางส่วนก็อาจทำให้เกิดปัญหาช่องปากตามมาได้มากมาย
แมงกินฟัน คืออะไร?
แมงกินฟัน เป็นคำเปรียบเปรยของคนโบราณจากการที่เห็นว่าฟันผุเป็นรู เนื้อฟันแหว่งๆ หายๆ มีลักษณะคล้ายแมงกินนั่นเอง
วิธีแก้ปวดฟัน
วิธีแก้ปวดฟันเบื้องต้น กรณีไม่สะดวกเดินทางไปพบแพทย์ ไม่มียาแก้ปวดฟัน สามารถทำได้ดังนี้ นำผ้าซับน้ำอุ่นและประคบบริเวณที่ปวด หากปวดบริเวณฟันด้านในก็ประคบไปเลยที่แก้ม หากปวดที่บริเวณฟันหน้าก็ประคบไปเลยตามจุดที่ใกล้เคียงมากที่สุด แต่การวางผ้าแนะนำว่าอย่าใช้เวลานานอาจใช้ผ่อนบ้างแค่อย่าเกิน 3 นาที เนื่องจากบริเวณผิวหน้าที่ถูกประคบหรือโดนความร้อนอาจไหม้ได้
วิธีที่จะช่วยลดหรือบรรเทาอาการปวดฟันได้มีวิธีดังนี้
- รับประทานยาฆ่าเชื้อ (กรณีไม่มีประวัติการแพ้ยา)
- รับประทานยาแก้ปวดเช่น พาราเซตามอล, Ibuprofen
- การประคบน้ำอุ่น, พยายามไม่เคี้ยวอาหารแข็งหรือเหนียวและลดการดื่มน้ำเย็นจัด
ยาแก้ปวดฟัน ฟันผุ
ยาที่จะช่วยบรรเทาอาการ ซึ่งเป็นการรักษาอาการปวดฟันเบื้องต้น ก่อนที่จะไปพบแพทย์เพื่อไม่ให้อาการปวดรุนแรงขึ้นมีดังนี้
- Ibuprofen ผู้ใหญ่ควรทาน 200 -400mg ทุก 4-6 ชั่วโมง
- พาราเซตามอลชนิดออกฤทธิ์ทันทีปริมาณ 325-1000 mg ทุก4-6 ชั่วโมง เด็กควรทานยาพาราเซตามอล10-15 mg /น้ำหนักตัว/กิโลกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมงและห้ามกินเกิน 5 ครั้ง/วัน
- Naprosyn ยานาพรอกเซน ผู้ใหญ่ควรรับประทาน 550mg ทุก12ชั่วโมง หรือทานปริมาณ245mg ทุก6-8 ชั่วโมง
- เบนโซเคนชนิดทา รูปแบบเจลใช้ทา ความเข้มข้น 20% ทาบริเวณที่มีอาการปวด 4ครั้ง/วัน /โดยยาเบนโซเคนนั้นมีความเข้มข้นของยาชาที่แตกต่างกันไปจึงควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ถึงปริมาณการเกิดอาการก่อนการใช้
*อย่างไรก็ตามยาเหล่านี้อาจมีผลข้างเคียงได้จึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรอย่างเคร่งครัด
ยาสีฟันแก้ปวดฟัน
งานวิจัยที่ได้รวบรวมมาซึ่งจะแยกตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการเสียวฟันและการปวดฟันส่วนประกอบของยาสีฟันแต่ละชนิดที่ช่วยลดอาการเสียวฟันและปวดฟันด้วย
ตามฉลากข้างกล่องก็จะมีอธิบายเอาไว้แต่ในกรณีที่ไม่ทราบจริง ๆ ว่าส่วนประกอบไหนจะเหมาะกับการนำมาใช้เพื่อบรรเทาและรักษารายละเอียดมีดังนี้
- Calcium disodium Phosphosilicate จะเป็นตัวผลึกSilicate เพื่อปิดรูที่ทำให้เกิดการส่งผ่านจนทำให้เกิดการเสียวฟันหรือปวดฟันในเนื้อฟันได้
- Arginine จะเป็นอีกยี่ห้อหนึ่งที่เป็นโปรตีนก็มีหน้าที่ช่วยไปปิดรูป้องกันไม่ให้อุณหภูมิความร้อนความเย็นหรือแรงต่าง ๆ ส่งผ่านไปที่เนื้อฟันทำให้เกิดการเสียวฟันหรือปวดฟันในเส้นประสาทบริเวณโพรงประสาทฟัน
- Strontium Fluoride จะเป็นฟลูออไรด์ชนิดหนึ่งที่ช่วยลดอาการเสียวฟันและปวดฟันได้อีกตัวหนึ่ง
- Potassium ตัวโพแทสเซียมก็จะไปลดการส่งสัญญาณประสาทที่ทำให้เกิดอาการเสียวฟันหรือปวดฟันได้น้อยลง
การแนะนำง่าย ๆ ลองปรับเปลี่ยนยาสีฟันที่ใช้อยู่หากยี่ห้อที่ใช้นั้นไม่มีส่วนช่วยลดอาการปวดฟันหรือเสียวฟัน
Reference: https://crest.com/en-us/oral-health/conditions/cavities-tooth-decay/cavities-tooth-decay-symptoms-causes-treatment
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
Biography