สังคัง ถือเป็น โรคผิวหนัง ที่พบได้ค่อนข้างบ่อยโดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานโรคต่ำ แต่ปัจจุบันนี้โรคสังคังสามารถเกิดขึ้นได้แทบจะทุกคนและทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน หรือ โรคอ้วน ที่นับเป็นต้นเหตุหลักๆ เนื่องจากคนอ้วนจะมีจุดบริเวณค่อนข้างที่จะอับชื้นมากกว่าคนทั่วไป เช่น เหงื่อตามบริเวณข้อพับ ศอกคอ แล้วสังคัง จะมีวิธีแก้ไขอย่างไร และจะสามารถรักษาให้อาการนี้หาไปได้หรือไม่? ไปหาคำตอบกัน
สังคัง คืออะไร
สังคัง (Tinea Cruris) คือโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราในกลุ่มเดอมาโทไฟต์ โรคนี้จะเจอได้ในที่ที่มีอุณหภูมิร้อนชื้น และพบได้ในผู้ใหญ่มากกว่าวัยเด็ก ที่สำคัญพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงด้วยโดยมากสังคังจะพบบริเวณขาหนีบ และอาจลุกลามไปยังอวัยวะเพศ หรือบริเวณใกล้เคียงได้เช่นกัน
แต่หากว่าเป็นที่ศีรษะจะเรียกว่า ชันนะตุ หากอยู่ที่เท้า หรือ ง้ามนิ้วเท้า จะเรียกว่า ฮ่องกงฟุต แต่เมื่อไหร่ที่ โรคกลาก เกิดขึ้นที่บริเวณขาหนีบเขาเรียกว่าสังคัง
สังคัง เกิดจากสาเหตุใด
สังคังสามารถเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย เช่น อุณหภูมิ ความชื้นของอากาศ สุขอนามัย จากการสัมผัสเชื้อราผ่านพื้นดิน การสัมผัสโดยตรงกับสัตว์หรือผ่านทางขนของสัตว์ที่เป็นพาหะนำเชื้อ รวมถึงสภาวะแวดล้อมของผู้ที่ติดเชื้ออย่าง ผิวหนังที่มีการติดเชื้อ ผิวหนังที่มีการเปื่อยยุ่ยจากความอับชื้น โรคผิวหนังที่กิดจากเชื้อราสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายในตำแหน่งที่มีเหงื่อออกมาก อับชื้น การระบายถ่ายเทไม่ดี เป็นต้น
อาการของโรคสังคัง
เมื่อผิวหนังกำพร้าถูกย่อยก็ทำให้เกิดการอักเสบทำให้เกิดผื่น แดง คัน แสบ ร่วมกับมีขุยสีขาวคลุมบริเวณผื่นด้วย ขอบเขตของผื่นที่เป็นมักจะเป็นวงชัดเจน บางช่วงอาจมีอาการคัน หรือไม่มีความคันแล้วกลับมาคันอีกก็ได้ ซึ่งอาการของโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากมีความอับชื้นอยู่ตลอดเวลา
สังคังพบมากในกลุ่มคนประเภทใด
แน่นอนว่าโรคสังคังนี้จะพบได้ในเขตที่มีอุณหภูมิร้อนชื้น ผู้ที่มีเหงื่อมากๆ ตามบริเวณซอกคอ ข้อพับ หัวหน่าว กลุ่มคนรักสัตว์ โดยเฉพาะนักกีฬา หรือผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน โรคอ้วน รวมไปถึงผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งมักที่จะมีภูมิคุ้มกันไม่ดีอยู่แล้ว ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดปัญหาของโรคนี้ได้ค่อยข้างสูง
*การติดเชื้อจากสัตว์สู่คนค่อนข้างที่จะอันตรายกว่าการติดเชื้อคนสู่คน*
บทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม
เมนูลดน้ำหนัก ผอมแบบสุขภาพดี พร้อมคำนวนพลังงานต่อวันที่เหมาะสม
การรักษาอาการ สังคัง
โดยปกติแล้วถ้ามีผื่นขึ้น โดยเฉพาะผื่นบริเวณขาหนีบ แล้วผื่นไม่หายหรือเป็นเพิ่มขึ้น แนะนำว่าควรที่จะเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัดอีกครั้ง เนื่องจากว่าผื่นแดงที่สังเกตเห็นโอกาสเป็นไปได้หลายอย่าง ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดจากเชื้อราเพียงอย่างเดียว อาจเกิดจากผื่นแพ้ก็ได้
การรักษาอาหารสังคังเบื้องต้น : การเข้าพบแพทย์ก็จะดูลักษณะของรอยโรค จะใช่เชื้อราหรือไม่ก่อนจะทำการขูดสะเก็ดขุยๆ ที่ปกคลุมบนผิวหนังนำไปส่องกล้องดู ซึ่งหากเป็นเชื้อราที่เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคสังคัง ก็จะมีการวางแผนในการเริ่มต้นรักษาโรคต่อไป
ภาวะแทรกซ้อน จากโรคสังคัง
กรณีการแทรกซ้อนจาก โรคสังคัง อาจพบได้ไม่มาก แต่มีความเป็นไปได้พอสมควร
- ผื่นที่เป็นและก่อให้เกิดอาการคันส่งผลให้ผู้ที่เป็นแกะเกา ซึ่งทำให้มือ นิ้วมือ เล็บ ได้รับเชื้อไปด้วยโอกาสที่เชื้อจะไปติดที่บริเวณอื่นก็มีมาก เช่น ติดที่หนังศีรษะ แขน ข้อพับ อวัยวะเพศ
- อาจเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด
แบบนี้ โรคสังคัง อันตรายหรือไม่
ปกติแล้วเชื้อราที่ผิวหนังถ้าปล่อยไว้ก็จะมีลักษณะผื่นร่วมกับอาการคัน แต่ส่วนใหญ่แล้วคนที่เป็นก็มักจะแกะเกา และอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนได้ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งตัวแบคทีเรียก็จะอันตรายและอาจติดเชื้อที่กระแสเลือดที่รุนแรงได้
Cr. https://healthand.com/th/topic/general-report/jock-itch
วิธีป้องกัน สังคัง
การป้องกันเขื้อราสามารถทำได้ด้วยการรักษาสุขภาพอนามัยพื้นฐาน ตามสุขบัญญัติแห่งชาติเพื่อให้มีร่างกายแข็งแรง เพราะการติดเชื้อรามักเกิดในคนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ ทางป้องกันที่สามารถทำได้คือ
- รักษาร่างกายไม่ให้มีความเปียกชื้น
- รักษาความสะอาดมือและเท้า ถ้าต้องสัมผัสน้ำสกปรกหรือดิน
- รักษาความสะอาดเครื่องใช้ส่วนตัว ไม่ใช้ร่วมกันกับใคร
- ไม่คลุกคลีกับผู้ที่มีเชื้อรา
- หากมีเพศสัมพันธ์ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
- หากเป็นโรคสังคัง ควรใช้ยาที่แพทย์แนะนำให้ถูกต้องและครบถ้วน ที่สำคัญสุดพบแพทย์ให้ได้ตามนัดเสมอ
วิธีรักษารอยแผลเป็นจากสังคัง
สำหรับคนที่มีความกังวลเรื่องของ รอยแผลเป็น รอยดำ รอยไหม้ที่ผิวหนังที่เกิดจากสังคัง ในระยะระหว่างที่รักษาโรคสังคังแล้ว หายดีแล้วแต่รอยดำ-รอยแผลยังไม่หาย สบายใจได้เลยว่า ในระยะเวลา 3-6 เดือน รอยแผลนั้นจะค่อยๆ หายไปเองโดยไม่ต้องใช้ยาทา แต่หากมีบางส่วนที่ยังเสียดสี หรือน้ำหนักตัวยังมากอยู่ ก็ไม่อาจที่จะกำจัดออกไปได้ จำเป็นจะต้องลดน้ำหนัก รอยนั้นถึงจะหายไปและหายได้เอง
ยาทาแก้สังคัง ยี่ห้อไหนดี?
ยาทาแก้สังคัง ส่วนใหญ่แล้วตัวยาที่มักจะใช้ในการรักษาจะเป็นยาทาผิวหนังที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อรา มักจะลงท้ายด้วย “โซล” เช่น ยาโคลไทรมาโซล , ไมโคนาโซล , คีโทโคนาโซล เป็นต้น
Q&A : คำถามที่พบบ่อย
โดยส่วนมากแล้วสามารถรักษาให้หายได้ แต่จะไม่ค่อยหายขาด ขึ้นอยู่กับการดูแลสุขอนามัยด้วย
สามารถติดต่อได้ โดยเฉพาะผู้ที่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น สวมใส่เสื้อผ้าของคนที่เป็นสังคัง ใช้ผ้าขนหนูร่วมกับผู้ที่เป็น แม้จะเป็นเพียงนิดหน่อยก็ตาม
เพราะว่าลักษณะบริเวณที่อวัยวะเพศจะไม่เหมือนกัน ของผู้หญิงจะไม่มีการอบชื้นได้มากเท่าผู้ชาย
แน่นอนว่าโรคที่เกิดจากเชื้อรานั้นค่อนข้างที่จะพบได้กับทุกวัยเลย และไม่เพียงแต่จะชี้เฉพาะโรคอ้วนหรือผู้ที่มีน้ำหนักเกินเท่านั้น ยังหมายถึงผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ใหญ่ด้วย กว่า60% จะพบได้ไม่ว่าจะเป็นบริเวณเล็บ เส้นผม ขาหนีบ หากว่าคุณรู้ตัวว่าเริ่มมีอาการคล้ายๆ แนะนำว่าให้ลองปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรให้ช่วยแนะนำแนวทางการรักษา
Reference:
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
Biography