ไทรอยด์ คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ (thyroid hormone) ซึ่งช่วยในการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย กระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการในวัยเด็ก โดยมักพบความผิดปกติของ ไทรอยด์ ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในสัดส่วนประมาณ 5 ต่อ 1 หลายคนอาจเคยเห็นข่าวดาราดังๆ ที่เป็นโรคนี้ และมีอาการทางร่างกายที่แตกต่างกันไป นั่นเป็นเพราะโรคไทรอยด์สามารถแบ่งได้สามอย่างคือ ผลิตมากเกิน ผลิตน้อยเกิน และมีก้อนที่ต่อมไทรอยด์
โรคความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ เป็นปัญหาสุขภาพที่ต้องดูแลรักษากันยาวนาน เพราะอาการของโรค สามารถกลับมาได้เรื่อยๆ เดี๋ยวหาย เดี๋ยวดีขึ้น เดี๋ยวแย่ลง รวมทั้งมีอาการที่ไปเกี่ยวข้องกับหลายอวัยวะ ด้วยความที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ โรคของต่อมไทรอยด์จึงมีหลายชนิด เช่น โรคไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนเกิน หรือ ไทรอยด์เป็นพิษ และ โรคขาดฮอร์โมนไทรอยด์ (ไทรอยด์ต่ำ)
อันตรายจากการทำศัลยกรรมความงามในภาวะไทรอยด์
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษนั้นมีผลกระทบต่อการทำงานของยาบางอย่างที่ต้องใช้ เช่น ยาชา ยาสลบ เป็นต้น เพราะทำให้การขจัดขับถ่ายยาเหล่านั้น ช้าลง เช่นในกรณีของยาชาเฉพาะที่ ซึ่งการใช้ตามปกติไม่น่าจะเกิดขนาดที่ทำให้เกิดการเป็นพิษได้ แต่การเป็นไทรอยด์ร่วมด้วย ทำให้ยาเป็นพิษได้ง่าย
บางคนไม่รู้ว่าตัวเองเป็น เพราะไม่ได้มีอาการอื่นที่น่าวิตกจึงไม่ได้เข้าพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างจริงจัง บางคนรู้แล้วว่าเป็น แต่ไม่รู้ว่ามันมีผลต่อการทำศัลยกรรมจึงไม่ได้แจ้งข้อมูลให้กับแพทย์ผู้ดูแล จะด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่มันก็ทำให้มีปัญหาได้ทั้งสิ้น ทางที่ดีก็คือ เมื่อรู้ตัวแล้วว่าเป็น ต้องแจ้งแพทย์เสมอ รวมไปถึงการใช้ยาและการแพ้ยาต่างๆ ด้วยครับ
เป็น ไทรอยด์ แล้วดูดไขมันได้ไหม ?
ปัญหาของคนไข้ที่เป็นไทรอยด์ต่ำ คือการมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น หรือมีเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายสูง (มีไขมันสะสมในร่างกายจำนวนมากตามสวนต่างๆ) และต้องการลดน้ำหนักให้อยู่ในระดับปกติ ต้องการใช้ชีวิตประจำวันง่ายขึ้น รวมถึงเพื่อลดความเสี่ยงโรคอื่นๆ ที่อาจจะตามมาหากมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป แต่ไม่สามารถลดน้ำหนักลงด้วยตัวเองได้ หรือทำได้ยาก เช่น การออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร รวมถึงการเผาพลาญในร่างกายลดลง และไม่ปกติเหมือนคนที่สุขภาพดี
คนไข้จึงเลือกเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางออกในการลดน้ำหนัก โดยมี 2 ทางเลือกคือ
- ในคนที่อ้วนมาก BMI เกิน 30 หรือมีค่าน้อยกว่า 30 แต่มีโรคแทรกซ้อน แพทย์จะแนะนำการ ผ่าตัดกระเพาะ ลดน้ำหนัก
- ในบางคนที่มีปัญหาไขมันสะสมเฉพาะส่วน ก็สามารถเลือกวิธี ดูดไขมัน เพื่อกำจัดไขมันส่วนเกินนั้นออกได้ ซึ่งจุดที่มีการสะสมไขมันและลดได้ยาก เช่น ดูดไขมันหน้าท้อง, ดูดไขมันต้นแขน, ดูดไขมันต้นขา เป็นต้น
การเป็นโรคไทรอยด์นั้นไม่ได้มีข้อห้ามในเรื่องการดูดไขมัน แต่ก่อนดูดไขมันจะต้องควบคุมไทรอยด์ให้อยู่ในระดับปกติ อย่างน้อย 1 เดือน เพื่อความปลอดภัย และให้แน่ใจว่ายาที่สำหรับโรคไทรอยด์ที่คนไข้ทานนั้นคงที่แล้ว
สิ่งที่ต้องระวังสำหรับคนเป็นโรคไทรอยด์ และต้องการ ดูดไขมัน ต้องแน่ใจว่า ผลไทรอยด์อยู่ในระดับปกติ
ไทรอยด์ มีผลกับการดูดไขมันอย่างไร?
เนื่องจากยาชาที่ใช้ระงับความเจ็บปวดระหว่างดูดไขมันนั้น โดยปกติแล้วตัวยาชาจะถูกกำจัดโดยตับ แต่ในคนที่เป็นไทรอยด์นั้น การขับถ่ายยาชาจะทำได้ช้ามาก และอาจเกิดอันตรายโดยเฉพาะในคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นไทรอยด์
เพราะฉะนั้นก่อนตัดสินใจดูดไขมัน จะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบโดยละเอียดถึงอาการต่างๆ ยาที่ใช้ และโรคประจำตัว ฯลฯ เพื่อแพทย์จะได้วินิจฉัยการรักษาให้ถูกต้อง เลือกใช้ยาในปริมาณที่เหมาะสม และปลอดภัยกับคนไข้มากที่สุด
อ่านเพิ่มเติม : “ดูดไขมันคืออะไร?”
ไทรอยด์ กับอาการกรดไหลย้อนเกี่ยวกันอย่างไร
โดยมากไม่เกี่ยวกันโดยตรง ยกเว้นในบางโรคเช่น ฮาชิโมโตะ ที่การทำงานที่ผิดปกติของไทรอยด์ ส่งผลต่อการเคลื่อนตัวของหลอดอาหารที่ผิดปกติไปด้วย และ อาจจะมีอาการที่คล้ายกับอาการกรดไหลย้อน รวมถึงภาวะไทรอยด์ต่ำ จนเกิดโรคอ้วนตามมา ซึ่งโรคอ้วนมักทำให้อาการกรดไหลย้อน เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากแรงดันช่องท้องที่เพิ่มสูงขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ไทรอยด์ ประเภทผลิตฮอร์โมนเกิน หรือไทรอยด์เป็นพิษ
ไทรอยด์ ชนิดนี้สามารถพบเจอได้ทุกช่วงวัย คนไข้จะมีอาการ มือสั่น ใจสั่น ขี้ร้อน ขี้หงุดหงิด เหงื่อออกง่าย นอนไม่หลับ กินจุแต่น้ำหนักลด เหมือนมีการเผาผลาญอยู่ตลอดเวลา น้ำหนักตัวอาจลดลง 5-10 กิโลกรัมภายในระยะเวลา 1 เดือน แม้จะไม่ได้ออกกำลังกาย จึงเป็นที่มาของการแอบเอายาไทรอยด์ไปใส่ในสูตรยาลดน้ำหนัก เพื่อให้มีอาการ ไทรอยด์เป็นพิษ เพื่อ น้ำหนักจะได้ลดลง
อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยประมาณ 10% ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มเนื่องจากกินอาหารในปริมาณที่มากกว่าพลังงานที่ร่างกายเผาผลาญไป ทั้งนี้การรักษาทำได้ด้วยการกินยาต้านไทรอยด์ประมาณ 2 ปี ส่วนในระยะยาวหลังจากหยุดยาต้องมาตรวจอีกครั้ง เพราะหลายคนเมื่อหยุดยาก็มีความเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นใหม่ได้ถึง 70%
ไทรอยด์ ประเภทผลิตฮอร์โมนน้อยไป (ไทรอยด์ต่ำ)
ผู้ป่วยโรคไทรอยด์ต่ำ มักจะมีอาการตรงกันข้ามกับไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนเกิน คือ ไม่ค่อยเผาผลาญ น้ำหนักขึ้นง่าย อ้วนขึ้นอย่างรวดเร็ว เฉื่อยชา ขี้หนาว ท้องผูก ง่วงบ่อย นอนเยอะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คนอ้วนจะต้องเป็นไทรอยด์เสมอไป
เบื้องต้นสามารถสังเกตตัวเองได้จากพฤติกรรมในอดีต กับปัจจุบันว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน หากพบว่ามีความเสี่ยงควรไปตรวจเช็กเพื่อความแน่ใจ สำหรับการรักษาไทรอยด์ที่ผลิตฮอร์โมนต่ำนั้น จะง่ายกว่าไทรอยด์ที่ผลิตฮอร์โมนเกิน เพราะสามารถรักษาได้ด้วยการกินฮอร์โมนไทรอยด์เข้าไป เพื่อให้ฮอร์โมนกลับมาอยู่ในระดับที่สมดุล ร่างกายสามารถเผาผลาญได้ตามปกติ โดยส่วนใหญ่มักจะต้องกินไปตลอดชีวิต
ความกังวลของก้อนที่ต่อมไทรอยด์
ในกรณีที่พบก้อนที่ต่อมไทรอยด์ คนไข้มักกังวลว่าจะเป็นมะเร็งหรือเปล่า ซึ่งคำตอบคือไม่จำเป็นเสมอไป โดยการจะทราบผลว่าเป็นมะเร็งหรือไม่นั้นจะต้องทำการเจาะก้อนที่ต่อมไทรอยด์เพื่อนำเซลล์ไปตรวจ โดยที่ผ่านมาพบว่ามีเพียง 5% เท่านั้นที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง นอกนั้นก็เป็นเพียงก้อนธรรมดาที่ไม่ได้อันตรายอะไร ซึ่งหากก้อนดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หมอก็ไม่แนะนำให้ผ่าตัดเพราะบริเวณนั้นมีทั้งเส้นเสียง และเส้นเลือดจำนวนมาก แต่ก็ควรตามดูอาการอย่างสม่ำเสมอ
ไทรอยด์ ประเภทผลิตฮอร์โมนน้อยไป (ไทรอยด์ต่ำ)
อาการของโรค ไทรอยด์
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เพราะ ไทรอยด์เป็นพิษ ทำให้ภาวะการเผาผลาญของร่างกาย หรือ Metabolism เกิดมากเกินไป ส่งผลทำให้หัวใจเต้นเร็ว และทำให้ใจสั่น การใจสั่นมากๆ ในบางคนมีอาการมือสั่นร่วมด้วย
- ผมร่วง เกิดทั้งภาวะไทรอยด์ต่ำและ ไทรอยด์สูงเกิน ทำให้รากผมอ่อนแอ ผมร่วง
- นอนไม่หลับ – ไทรอยด์เป็นพิษทำให้การเผาผลาญเยอะขึ้น ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานเยอะ ดังนั้นจึงนอนไม่หลับ
- อ้วนขึ้นหรือผอมลงอย่างผิดสังเกต – อันนี้เจอบ่อย เมื่อไรที่น้ำหนักขึ้นลงเร็วๆ แพทย์มักเจาะไทรอยด์เสมอ ไทรอยด์ที่เหมาะสมต้องทำให้การเผาผลาญร่างกาย เป็นไปอย่างเหมาะสม การทำงานมากไปหรือไทรอยด์เป็นพิษจะทำให้ผอมลง แต่หากทำงานน้อยลงหรือไทรอยด์ต่ำจะทำให้อ้วนขึ้น
- หิวบ่อย – ไทรอยด์เป็นพิษ แม้จะกินเยอะแต่ก็ไม่อ้วนขึ้น จึงอาจจะมีอาการหิวบ่อยได้
- ขับถ่ายไม่ปกติ – ไทรอยด์เยอะ ระบบเผาผลาญเยอะทำงานมาก ลำไส้จะบีบตัวเร็ว ทำให้ถ่ายบ่อยหรือมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำหรือกากอาหารที่ไม่ย่อย ในทางตรงข้ามไทรอยด์ต่ำทำให้ระบบเผาผลาญน้อย ท้องผูก
- เสียงเปลี่ยน มีอาการคอบวม – ไทรอยด์ทั้ง 2 ภาวะ ทั้งต่ำและสูง อาจทำให้คอโต หรือคอบวม ไทรอยด์ต่ำทำให้เสียงเปลี่ยน เส้นเสียงบวมหรือแหบพร่า
- เหน็บชา ปวดกล้ามเนื้อ – ไทรอยด์สูงอาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ในขณะที่ไทรอยด์ต่ำอาจเป็นตะคริวบ่อยๆ
- สายตาพร่ามัว – ไทรอยด์เป็นพิษ บางคนอาจมีอาการทางตา อาจจะตาโปน ตาแห้ง
- ใจสั่น – เป็นอาการไทรอยด์เป็นพิษ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว
- รู้สึกง่วงตลอดเวลา – เป็นอาการของไทรอยด์ต่ำ ระบบการเผาผลาญน้อยลง ตรงข้ามกับไทรอยด์เป็นพิษที่ทำให้ตื่นตลอดเวลา
- ไม่หิว – ไทรอยด์ต่ำจะไม่ค่อยหิว เพราะเผาผลาญน้อย หากกินน้อยแต่อ้วนขณะ
- เหงื่อออกเยอะ – เป็นอาการของไทรอยด์เยอะ ทำให้เหงื่อออกชุ่มทั้งตัว ซึ่งจะต่างจากเหงื่อออกเฉพาะจุด เช่นเหงื่อออกมากบริเวณรักแร้อย่างเดียว หรือ ฝ่ามืออย่างเดียว ที่เราเรียกว่าโรค Hyperhidrosis
- รู้สึกหนาวตลอดเวลา – เป็นอาการไทรอยด์ต่ำ เพราะระบบเผาผลาญทำงานน้อย
- ผิวแห้ง – เป็นอาการไทรอยด์ต่ำ เพราะระบบเผาผลาญน้อย ต่อมเหงื่อ+ต่อมไขมันทำงานน้อย
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ – อาจเกิดขึ้นได้ในไทรอยด์ทั้ง 2 ภาวะ
- เศร้าซึมผิดปกติ – เป็นอาการไทรอยด์ต่ำ ระบบเผาผลาญน้อย มีผลต่อสมองทำให้รู้สึกง่วงนอน เศร้าซึม
- อารมณ์ทางเพศลดลง – เป็นอาการไทรอยด์ต่ำทั้งผู้หญิง+ชาย ทำให้อารมณ์ทางเพศลดลง
- กระวนกระวาย – เป็นอาการของไทรอยด์เยอะ ระบบเผาผลาญทำงานมาก กระตุ้นสมอง กระตุ้นหัวใจ มือสั่น ใจสั่น รู้สึก Active ตลอดเวลา
- ความคิดสับสน ฟุ้งซ่าน – เป็นอาการของไทรอยด์เยอะมาก ไทรอยด์เป็นพิษ
- อาการนิ้วล็อค (trigger fingers) เจอได้ประมาณ 10 % ของไทรรอยด์ต่ำ
ไทรอยด์ ประเภทผลิตฮอร์โมนเกิน หรือ ไทรอยด์เป็นพิษ
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง จากโรคไทรอยด์
ไทรอยด์ ผลิตฮอร์โมนเกินกับไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนต่ำนั้นไม่ได้มีสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่ในทางการแพทย์เชื่อว่ากรรมพันธุ์อาจมีส่วน โดยคนไข้ที่เป็นโรคนี้มักจะมีครอบครัวที่เป็นโรคไทรอยด์เหมือนกัน สมมุติว่าคุณพ่อเราเป็นโรคไทรอยด์ เราก็อาจจะมีสิทธิ์เป็นไทรอยด์มากกว่าคนอื่น ขณะที่การรับประทานไอโอดีนในปริมาณที่มากหรือน้อยเกินไปก็อาจทำให้มีความเสี่ยงได้เช่นกัน
- ความเครียด – มีรายงานว่าคนที่มีความเครียดมากๆ ทำให้ระบบภูมิต้านทานร่างกายผิดปกติ+ไทรอยด์เป็นพิษได้
- สูบบุหรี่ – มีรายงานว่าทำให้ไทรอยด์อักเสบมากกว่า ไทรอยด์เป็นพิษ แต่สูบบุหรี่กระตุ้นอาการทางตาของไทรอยด์เป็นพิษ ทำให้อาการทางตาแย่ลง
- งดกินถั่วเหลือง – ไม่เคยมีรายงานว่าถั่วเหลืองทำให้เกิดไทรอยด์ แต่ถั่วเหลืองอาจจะลดการดูดซึมของไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นเม็ดที่รับประทาน ดังนั้น คนที่ไทรอยด์ต่ำ+กินยาไทรอยด์ฮอร์โมน+กินถั่วเหลืองปริมาณมาก ต้องตรวจไทรอยด์อย่างใกล้ชิด
- งดกินผักดิบตระกูลกะหล่ำ – สามารถทานได้ในปริมาณที่เหมาะสม ไทรอยด์จะทำงานลดลงต้องบริโภคผักดิบเป็นจำนวนมาก
- ไม่ทำตามคำแนะนำของแพทย์ ทำร้ายต่อมไทรอยด์ – คนที่เป็นไทรอยด์ทุกโรค หากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ จะทำให้โรคกำเริบได้
ผู้หญิงจะมีอาการไทรอยด์ มากกว่าผู้ชาย อาจจะมาจากฮอร์โมน ความเครียด หรือกรรมพันธุ์ การป้องกันควรทานอาหารครบ 5 หมู่ เลี่ยงแอลกอฮอล์ บุหรี่ หากมีสัญญาณสงสัยว่าไทรอยด์เป็นพิษหรือไทรอยด์ต่ำ และคอโต ควรรีบพบแพทย์
ฮาชิโมโตะ (hashimoto) คืออะไร?
ฮาชิโมโตะ เป็นอาการของไทรอยด์ชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ร่างกายเข้าใจผิดว่าต่อมไทรอยด์เป็นสิ่งแปลกปลอม จึงมีการทำลายเซลล์ของต่อมไทรอยด์ ซึ่งเมื่อเกิดการทำลายเซลล์ของต่อมไทรอยด์ ในระยะแรกๆ ฮอร์โมนที่ถูกเก็บไว้จะถูกปล่อยออกมาในกระแสเลือดทำให้มี ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ได้ อาจมีอาการฉุนเฉียว หงุดหงิด ขี้ร้อน ทานจุ น้ำหนักลด
แต่เมื่อเกิดการทำลายไประยะหนึ่ง ฮอร์โมนที่เก็บไว้จะหมดและไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้เพียงพอจะเกิดภาวะขาดไทรอยด์ หรือไทรอยด์ต่ำต้องทานฮอร์โมนเสริม ฮาชิโมโตะจึงเป็นโรคที่ไม่สามารถถูกจัดไว้ว่าเป็นไทยรอยด์ต่ำหรือไทรอยด์สูงได้ เพราะลักษณะโรค มีการกลับไปกลับมาระหว่าง ต่ำและสูงตลอดเวลา
อ่านเพิ่มเติม : ไทรอยด์เป็นพิษ หรือ ฮาชิโมโต๊ะ (Hashimoto) โรคอันตรายของคุณแม่ตอนตั้งครรภ์
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
Biography