โรคไทรอยด์ เกิดจากอะไร? จะรู้ได้อย่างไรว่ามีอาการไทรอยด์ผิดปกติ

โรคไทรอยด์

สารบัญ

โรคไทรอยด์ รู้หรือไม่ว่า? โรคนี้สามารถทำให้อวัยวะในร่างกายทำงานผิดปกติ ซึ่งแต่ละคนอาจแสดงอาการไม่เหมือนกัน บางคนอาจมีอาการ เหนื่อยง่าย มือสั่น ใจสั่น หรือมีอาการที่รุนแรงกว่านี้ หรือในบางคนอาจไม่แสดงอาการเลยก็ได้ และเราจะรู้ได้อย่างไรว่า อาหารแบบไหนคือไทรอยด์ประเภทใด? ไทรอยด์เรื้องรัง ไทรอยด์ผอม ไทรอยด์อ้วน แต่ละประเภทจะแสดงอาการอย่างไร ไปหาคำตอบกัน!

โรค ไทรอยด์ (Thyroid disease) คืออะไร?

ไทรอยด์ (Thyroid disease) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ซึ่งเป็นอวัยวะที่อยู่ตรงบริเวณคอ และเป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมระบบการเผาผลาญพลังงาน ถ้าหากร่างกายมีภาวะที่ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ผลิตฮอร์โมนมากเกินไปหรือต่ำเกินไป ก็จะส่งผลต่อระบบการเผาผลาญของร่างกายได้

รวมทั้งยังส่งผลต่อการกระตุ้นการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะหัวใจและสมอง หรือแม้แต่ความแข็งแรงของผิวหนัง เล็บ หรือผม ก็มีผลเช่นกัน โดยมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในสัดส่วนประมาณ 5 ต่อ 1 ซึ่งโรคไทรอยด์มีหลายชนิด จึงทำให้แสดงอาการทางร่างกายที่แตกต่างกันไป

ประเภทของไทรอยด์

ประเภทของ ไทรอยด์

1. ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ (Functional disorder)

คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ หรือที่เรียกว่า ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) และภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปจนทำให้ ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (Hypothyroidism)

1.1 ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) 

ไทรอยด์เป็นพิษ ชนิดนี้สามารถพบเจอได้ทุกช่วงวัย คนไข้จะมีอาการ มือสั่น ใจสั่น ขี้ร้อน ขี้หงุดหงิด เหงื่อออกง่าย นอนไม่หลับ กินจุแต่น้ำหนักลด เหมือนมีการเผาผลาญอยู่ตลอดเวลา น้ำหนักตัวอาจลดลง 5-10 กิโลกรัม ภายในระยะเวลา 1 เดือน แม้จะไม่ได้ออกกำลังกาย อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยประมาณ 10% ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มเนื่องจากกินอาหารในปริมาณที่มากกว่าพลังงานที่ร่างกายเผาผลาญไป

ภาวะนี้มีสาเหตุของโรคแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ แต่ที่พบมากที่สุดคือโรคเกรฟส์ หรือ Graves’ disease

ดังนั้นการตรวจหาสาเหตุของภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (hyperthyroidism) มีความจำเป็นอย่างมากโดยจะต้องหาสาเหตุของโรคให้ได้แน่ชัด เพื่อจะได้เลือกวิธีการรักษาและการติดตามผู้ป่วยที่เหมาะสม

สำหรับวิธีการหาสาเหตุว่า ภาวะไทรอยด์เป็นพิษนั้นเกิดจากสาเหตุใด ทำได้โดยการซักประวัติ และตรวจร่างกายเพิ่มเติมเพื่อหาอาการและอาการแสดงร่วมนอกจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษ และการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยัน

โรคเกรฟส์ (Graves’ Disease)

    • เป็น โรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง (Autoimmune)
    • ร่างกายสร้างแอนติบอดีมากระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้ทำงานเกิน
    • พบบ่อยในผู้หญิงวัย 20–40 ปี
    • อาจมี ตาโปน ร่วมด้วย

ทั้งนี้การรักษาทำได้ด้วยการกินยาต้านไทรอยด์ประมาณ 2 ปี ส่วนในระยะยาวหลังจากหยุดยาต้องมาตรวจอีกครั้ง เพราะหลายคนเมื่อหยุดยาก็มีความเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นใหม่ถึง 70%

อีกวิธีหนึ่งก็คือการรักษาด้วยรังสีไอโอดีน เป็นวิธีรักษาที่ใช้กันมากที่สุดวิธีหนึ่ง โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทานสารกัมมันตรังสีไอโอดีน 131 ในรูปแบบแคปซูลหรือของเหลว ซึ่งสารนี้จะค่อย ๆ เข้าไปยับยั้งการทำงานของเซลล์ในต่อมไทรอยด์ที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากผิดปกติ ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์หดตัวลง และทำให้อาการของโรคค่อย ๆ หายไป

1.2 ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (hypothyroidism)

ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (hypothyroidism) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย ทำให้เกิดการสร้างและหลั่งฮอร์โมนสู่กระแสเลือดลดลง นำไปสู่อาการและอาการแสดงต่างๆ ภาวะนี้พบได้บ่อย โดยจะพบมากขึ้นตามอายุ ภาวะการได้รับสารไอโอดีนของประเทศนั้นๆ และจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

ผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ มักจะมีอาการตรงกันข้ามกับไทรอยด์เป็นพิษ อาการที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ที่พบบ่อย ๆ ได้แก่

    • อาการบวม
    • น้ำหนักเพิ่มขึ้น
    • เชื่องช้า
    • ท้องผูก
    • ผิวแห้ง
    • ขี้หนาว
    • อ่อนเพลีย
    • ไม่มีแรง
    • เสียงแหบ

อาการทั้งหมดจะค่อยเป็นค่อยไป โดยมากอาการของภาวะไทรอยด์ต่ำนั้นวินิจฉัยยาก เพราะอาการไม่จำเพาะคล้ายผู้สูงอายุที่อ่อนเพลียทั่วไป แล้วก็ไม่ได้หมายความว่า คนอ้วน จะต้องเป็นไทรอยด์เสมอไป

เบื้องต้นสามารถสังเกตตัวเองได้จากพฤติกรรมในอดีตกับปัจจุบันว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน หากพบว่ามีความเสี่ยงควรไปตรวจเช็กเพื่อความแน่ใจ โดยการตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์

สาเหตุของภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ อาจจะเกิดจากความผิดปกติเกิดที่ต่อมไทรอยด์เอง หรือเกิดความผิดปกติที่ต่อมใต้สมองก็ได้ สำหรับการรักษาไทรอยด์ที่ผลิตฮอร์โมนต่ำนั้นจะง่ายกว่าไทรอยด์ที่ผลิตฮอร์โมนเกิน เพราะสามารถรักษาได้ด้วยการกินฮอร์โมนไทรอยด์เข้าไป เพื่อให้ฮอร์โมนกลับมาอยู่ในระดับที่สมดุล ร่างกายสามารถเผาผลาญได้ตามปกติ โดยส่วนใหญ่มักจะต้องกินไปตลอดชีวิต

โรค ไทรอยด์ คืออะไร เกิดจากอะไร
Credit : https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17665-hashimotos-disease

2. ความผิดปกติของก้อนที่ต่อมไทรอยด์ (Structural disorder)

เกิดเป็นก้อนที่ต่อมไทรอยด์ เช่น ซีสต์ ก้อนเนื้อ หรือมะเร็ง จะมีทั้งแบบโตก้อนเดียว (Single thyroid nodule) และแบบโตหลายก้อน (Multinodular goiter)

อาการ ไทรอยด์

ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิด โรคไทรอยด์

  • เพศหญิง (พบมากกว่าผู้ชายหลายเท่า)
  • อายุ 30–60 ปี
  • ประวัติครอบครัวมีคนเป็นไทรอยด์
  • เคยได้รับการฉายรังสีบริเวณคอ
  • อยู่ในพื้นที่ขาดไอโอดีน
  • มีโรคภูมิคุ้มกัน เช่น เบาหวานชนิดที่ 1, SLE
ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism)

ไทรอยด์กับความอ้วน เกี่ยวกันอย่างไร?

ไทรอยด์เป็นต่อมฮอร์โมนที่ควบคุมการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย หากต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง การเผาผลาญจะช้าลงส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มง่าย แม้กินเท่าเดิมหรือออกกำลังกายปกติ

ไทรอยด์ทำงานต่ำ (Hypothyroidism)

  • น้ำหนักเพิ่มง่าย แม้กินน้อยหรือคุมอาหารแล้ว
  • ระบบเผาผลาญช้าลง ทำให้รู้สึกอืด หนักตัว ตลอดวัน
  • เหนื่อยง่าย ง่วงตลอดเวลา
  • หนาวง่าย แม้คนอื่นไม่หนาว
  • อารมณ์แปรปรวน ขี้ลืม ซึมเศร้า
  • ท้องผูกบ่อย
  • ผิวแห้ง หน้าบวม ตัวบวม
  • ผมร่วง คิ้วหางบาง
  • ประจำเดือนมามากผิดปกติ

แนวทางสำหรับคนที่สงสัยว่า อ้วนเพราะไทรอยด์หรือไม่?

  1. สังเกตอาการข้างต้นร่วมกับน้ำหนักขึ้นผิดปกติ
  2. ตรวจเลือดเช็กฮอร์โมนไทรอยด์ (TSH, FT3, FT4)
  3. หากพบว่าไทรอยด์ต่ำ สามารถรักษาได้ด้วยการทานยาฮอร์โมนไทรอยด์
  4. เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานปกติ การลดน้ำหนักจะง่ายขึ้น
ไทรอยด์อ้วน ควรกินอะไร?

ไทรอยด์อ้วน ควรกินอะไร?

1. อาหารที่มีไอโอดี

ไอโอดีนจำเป็นต่อการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ แต่ ไม่ควรมากหรือน้อยเกินไป เช่น เกลือเสริมไอโอดีน (ใช้ในปริมาณพอดี) สาหร่ายทะเล (กินแต่น้อย) ปลาทะเล (เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน) ฯลฯ

2. อาหารที่มีซีลีเนียม

อาหารที่มีซีลีเนียม ช่วยการทำงานของเอนไซม์ที่แปลงฮอร์โมน T4 → T3 เช่น ไข่ ถั่วบราซิล (กิน 2-3 เม็ดต่อวันพอ) ปลา ธัญพืชไม่ขัดสี ฯลฯ

3. อาหารที่มีสังกะสี

อาหารที่มีสังกะสี ช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์  เช่น เมล็ดฟักทอง ถั่วลิสงเนื้อไก่ เนื้อวัวไม่ติดมัน โยเกิร์ต ฯลฯ

4. ผัก-ผลไม้ต้านอนุมูลอิสระ

 ผัก-ผลไม้ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบของต่อมไทรอยด์ เช่น บลูเบอร์รี่ สตรอว์เบอร์รี่ ผักโขม บรอกโคลี (ปรุงสุก) มะเขือเทศ แครอท ฯลฯ

5. อาหารที่มีกากใยสูง

อาหารที่มีกากใยสูง ช่วยระบบขับถ่าย ป้องกันท้องผูก และควบคุมน้ำหนัก เช่น ข้าวกล้อง ถั่วชนิดต่าง ๆ ผักสด ผลไม้เปลือกบาง ฯลฯ

อาหารที่ควรเลี่ยง สำหรับคนเป็นไทรอยด์

1. น้ำตาล แป้งขัดขาว

น้ำตาล แป้งขัดขาว เพราะ ทำให้น้ำหนักขึ้นง่าย และรบกวนการเผาผลาญพลังงาน

2. ของทอด ของมัน

ของทอด ของมัน เพราะเพิ่มไขมันสะสม ทำให้ร่างกายอักเสบมากขึ้น

3. ผักตระกูลกะหล่ำดิบ

ผักตระกูลกะหล่ำดิบ เช่น กะหล่ำปลี บรอกโคลี หัวผักกาด ถ้ากินดิบมากเกินไป อาจขัดขวางการดูดซึมไอโอดีน หากปรุงสุกจะปลอดภัยมากขึ้น

4. กาแฟ / ชา / นมถั่วเหลือง

ควรเว้น กาแฟ / ชา / นมถั่วเหลือง อย่างน้อย 30–60 นาที หลังจากกินยา เพราะอาจรบกวนการดูดซึมยา

วิธีรักษา ไทรอยด์ อ้วน ทำอย่างไร?

วิธีรักษา ไทรอยด์ อ้วน ทำอย่างไร?

ไทรอยด์อ้วน มักหมายถึงอาการ น้ำหนักเพิ่มขึ้นจากภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ (Hypothyroidism) ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย ทำให้ระบบเผาผลาญช้าลง น้ำหนักขึ้นง่ายถ้ารักษาให้ไทรอยด์กลับมาสมดุล และน้ำหนักจะค่อย ๆ ลดลงได้

1. รักษาด้วยยา (ฮอร์โมนทดแทน)

  • ยาหลักคือ Levothyroxine (ไทรอยด์ฮอร์โมนสังเคราะห์)
  • ทานตอนเช้า ขณะท้องว่าง (ก่อนอาหาร 30-60 นาที)
  • แพทย์จะค่อย ๆ ปรับขนาดยาให้เหมาะกับร่างกายคุณ
  • เมื่อฮอร์โมนสมดุลแล้ว ระบบเผาผลาญจะกลับมาทำงานดีขึ้น ผลข้างเคียงน้อยมาก และต้องทานต่อเนื่อง

2. ควบคุมอาหารแบบเหมาะกับคนไทรอยด์ต่ำ

  • เน้น คาร์บเชิงซ้อน (ข้าวกล้อง, ธัญพืช) เลี่ยง น้ำตาล, ของทอด, แป้งขัดขาว
  • ทานโปรตีนคุณภาพดี (ไข่, ปลา, เต้าหู้)
  • เสริมผัก-ผลไม้ที่มี ไอโอดีน, ซีลีเนียม, สังกะสี
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่รบกวนต่อมไทรอยด์ เช่น กะหล่ำปลีดิบ, ถั่วเหลืองดิบ

Tip : คุมแคลอรีแบบไม่หักโหม เพราะคนไทรอยด์ต่ำเผาผลาญช้าอยู่แล้ว

3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

  • เพื่อกระตุ้นการเผาผลาญ แม้ไทรอยด์ยังไม่ปกติ 100%
  • เริ่มจากกิจกรรมเบา ๆ เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ โยคะ
  • ค่อย ๆ เพิ่มความหนักตามระดับพลังงานในร่างกาย

ทำต่อเนื่องอย่างน้อย 3–5 วัน/สัปดาห์

4. จัดการความเครียด & พักผ่อนให้เพียงพอ

  • ความเครียดส่งผลต่อไทรอยด์และน้ำหนัก
  • การนอนหลับไม่พอ ทำให้ร่างกายดื้ออินซูลินและสะสมไขมันง่าย

5. ติดตามผลเลือดเป็นระยะ

  • ตรวจ TSH, FT3, FT4 ทุก 3–6 เดือน
  • เพื่อปรับยาให้เหมาะสม จะช่วยให้การลดน้ำหนักได้ผลดีขึ้น

สรุป ไทรอยด์ (Thyroid disease) คืออะไร มีวิธีการรักษาไหม

ไทรอยด์ คือ ต่อมไร้ท่อขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายผีเสื้อ อยู่บริเวณลำคอด้านหน้า หน้าที่หลักคือ สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ (T3, T4) ซึ่งควบคุมระบบเผาผลาญพลังงาน, การเต้นของหัวใจ, อุณหภูมิ, และการทำงานของร่างกายโดยรวม ซึ่งสามารถรักษาได้ 100% ถ้ารู้เร็วและดูแลต่อเนื่อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ การใช้งานเว็บไซต์นี้แสดงว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า