น้ำในหูไม่เท่ากัน วิธีรักษา ควรทำอย่างไร?

น้ำในหูไม่เท่ากัน

โรคน้ำในหูไม่เท่ากันหรือโรคมีเนียร์ (Meniere’s disease) เป็นภาวะที่มีน้ำในหูชั้นในคั่งหรือมีความดันเพิ่มขึ้น โดยที่สาเหตุที่แน่ชัดยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด อย่างไรก็ตาม มีสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการสร้างน้ำในหูชั้นในมากขึ้น ทำให้ท่อทางเดินน้ำในหูชั้นในตีบแคบลง หรือมีการดูดซึมน้ำในหูชั้นในน้อยลงกว่าปกติ โรคนี้มักพบได้บ่อยในช่วงอายุ 40-60 ปี และส่วนใหญ่มักเกิดความผิดปกติในหูเดียวเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 10-25 อาจมีโรคนี้เกิดขึ้นทั้งสองข้างของหูได้เช่นกัน

เมื่อน้ำในหูไม่เท่ากัน จะมีอาการอย่างไร

เมื่อน้ำในหูไม่เท่ากัน จะมีอาการต่าง ๆ ดังนี้

  1. ประสาทหูเสื่อม : ผู้ป่วยมีการเสียการได้ยินแบบประสาทเสียงเสีย (sensorineural hearing loss) ทำให้หูอื้อ ได้ยินไม่ชัด รู้สึกแน่นในหูเป็นๆหายๆ บางครั้งการได้ยินดีขึ้น บางครั้งการได้ยินแย่ลง อาจมีอาการที่หูข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ระดับการได้ยินจะแย่ลงเรื่อย ๆ และอาจถึงขั้นหูหนวกได้ อาจมีอาการปวดหู หรือปวดศีรษะข้างที่เป็นร่วมด้วยได้
  2. เสียงดังในหู : มักมีเสียงดัง ๆ ในหูร่วมกับอาการอื่น ๆ
  3. เวียนศีรษะ : บ้านหมุน บางครั้งอาจมี คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกร่วมด้วย อาการเวียนศีรษะมักเป็นๆหายๆ ส่วนใหญ่มักบ้านหมุนไม่เกินครึ่งชั่วโมง แต่อาจเวียนศีรษะเป็นชั่วโมงได้ เมื่อมีอาการเวียนศีรษะ มักมีอาการหูอื้อ หรือเสียงดังในหูร่วมด้วย ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ต้องนอนพัก

โรคนี้พบมากในคนอายุ 30-60 ปี พบได้ทั้งเพศชายและหญิง ส่วนใหญ่อาการมักจะเริ่มเมื่ออายุ 30 ปี และอาจเป็นทั้งสองหูได้ร้อยละ 30 อาการมักเกิดขึ้นทันที รวมถึงบางคนอาจจะเป็นโรคปวดฉี่แต่ฉี่ไม่ออกตามอายุ อาจมีอาการเป็นระยะเวลาสั้นๆเป็นนาที หรือนานเป็นชั่วโมงได้ อาจมีอาการน้อยหรือมากก็ได้

สาเหตุของการเกิดโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

สาเหตุของการเกิดโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

สาเหตุของการเกิดโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นเรื่องที่ยังไม่มีข้อมูลที่แน่นอน อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาและสมมุติฐานหลายอย่างเกี่ยวกับสาเหตุที่อาจทำให้เกิดโรคนี้ โดยเน้นไปที่การดูดซึมของน้ำในหูชั้นในหรือการอุดกั้นเส้นทางการไหลเวียนของน้ำในหูชั้นใน สมมุติฐานเหล่านั้น ได้แก่

  • โครงสร้างของทางไหลเวียนของน้ำในหูชั้นในผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
  • โรคที่ถ่ายทอดต่อกันมาในตระกูล
  • ปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ
  • ภาวะภูมิคุ้มกันไวเกิน
  • การติดเชื้อจากไวรัส, การติดเชื้อในหูชั้นกลาง หรือการติดเชื้อจากเชื้อแบคทีเรียชนิดซิฟิลิส
  • อุบัติเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นกับศีรษะ
  • ความผิดปกติของระบบเผาผลาญและฮอร์โมน รวมถึงการสูญเสียสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย และอื่น ๆ อีกมาก

น้ำในหูไม่เท่ากัน วิธีรักษาการรักษา

การรักษาโรคน้ำในหูไม่เท่ากันอาจไม่สามารถทำให้โรคหายขาดได้ แต่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการได้โดยการใช้ยาและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ดังนี้

1. การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเมื่อมีอาการเวียนศีรษะ

  • เมื่อมีอาการเวียนศีรษะขณะเดิน ควรหยุดเดินและนั่งพัก เพื่อป้องกันการล้มหรือเกิดอุบัติเหตุ
  • หากมีอาการเวียนศีรษะขณะขับรถหรือทำงาน ควรหยุดรถข้างทางหรือหยุดการทำงาน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยทางเรือ เนื่องจากอาจทำให้มีอาการเวียนศีรษะมากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน (เช่น ชา, กาแฟ, และน้ำอัดลม), เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, การสูบบุหรี่, และความเครียด เนื่องจากสามารถทำให้อาการแย่ลงได้ เนื่องจากส่งผลให้มีการลดเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีปริมาณเกลือสูง เนื่องจากอาจทำให้มีการคั่งน้ำในร่างกายและในหูชั้นในมากขึ้น และอาจทำให้อาการแย่ลงได้

2. รักษาด้วยยา

2.1 การรับประทานยา

  • ยาขยายหลอดเลือด (ฮิสตะมีน) จะช่วยให้การไหลเวียนของน้ำในหูชั้นในดียิ่งขึ้น
  • ยาขับปัสสาวะ อาจทำให้น้ำคั่งในหูชั้นในลดลง ผู้ป่วยอาจมีอาการดีขึ้นได้
  • ยาบรรเทาอาการเวียนศีรษะ หรือคลื่นไส้ และอาเจียน

2.2 การฉีดยาเข้าไปในหูชั้นกลาง เพื่อให้ดูดซึมเข้าไปในหูชั้นใน ยาที่ฉีด เช่น gentamycin เป็นยาที่มีพิษต่อระบบประสาทหูและการทรงตัว ทำให้อาการเวียนศีรษะลดลง แต่การได้ยินอาจเสียไปด้วย

3.การผ่าตัด เพื่อระบายน้ำที่คั่งอยู่ในหูชั้นใน จะทำการผ่าตัดในกรณีที่ให้ยารักษาเต็มที่แล้ว แต่อาการเวียนศีรษะไม่ดีขึ้น และรบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมาก

เราจะบรรเทาอาการด้วยตนเองและป้องกันโรคน้ำในหูไม่เท่ากันได้อย่างไร

เราสามารถบรรเทาอาการที่เกิดจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากันด้วยตัวเองได้บ้าง โดยการระวังและป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นจากอาการเวียนศีรษะ เช่น เวียนศีรษะขณะขับรถ ว่ายน้ำ หรือปีนป่ายในที่สูง ให้หยุดกิจกรรมทันทีแล้วนั่งหรือนอนพัก รับประทานยาแก้เวียนศีรษะ หากไม่ดีขึ้นหรือมีอาการผิดปกติอื่นเพิ่มขึ้น เช่น อ่อนแรง ตามัว หรือพูดไม่ชัด ควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาอย่างเหมาะสม

เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคน้ำในหูไม่เท่ากันได้อย่างไร แม้ว่าสาเหตุของโรคนี้ยังไม่ชัดเจน แต่เรายังสามารถทำได้ดังนี้

  • ไม่ควรวิตกกังวลจนเกินไปและพยายามรักษาอารมณ์ให้แจ่มใส
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อสุขภาพที่ดี
  • พักผ่อนให้เพียงพอและหลีกเลี่ยงการเครียด
  • ลดการบริโภคอาหารที่มีเกลือเยอะ
  • มารับการรักษาอย่างถูกต้องต่อเนื่อง เพื่อควบคุมอาการเวียนศีรษะและใช้ชีวิตได้ตามปกติ

น้ำในหูไม่เท่ากันวิธีรักษา

สรุปน้ำในหูไม่เท่ากันวิธีรักษา

การรับประทานยา

  • ยาขยายหลอดเลือด (ฮิสตะมีน) เพื่อช่วยให้การไหลเวียนของน้ำในหูชั้นในดีขึ้น
  • ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดปริมาณน้ำในหูชั้นในและช่วยบรรเทาอาการ
  • ยาบรรเทาอาการเวียนศีรษะ หรือคลื่นไส้ และอาเจียน

การฉีดยาเข้าไปในหูชั้นกลาง

การใช้ยาเข้าไปในหูชั้นกลาง เช่น gentamycin เพื่อช่วยลดอาการเวียนศีรษะ แต่อาจมีผลข้างเคียงต่อการได้ยิน

การผ่าตัด

ในกรณีที่การรักษาด้วยยาไม่ผลสำเร็จและอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาให้ผ่าตัดเพื่อระบายน้ำที่คั่งอยู่ในหูชั้นใน

นอกจากนี้ยังมีวิธีการบรรเทาอาการเวียนศีรษะด้วยการระวังและป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นจากอาการเวียนศีรษะ โดยเฉพาะเมื่อกำลังทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การขับรถหรือว่ายน้ำ ควรหยุดกิจกรรมทันทีและพักผ่อน รับประทานยาแก้เวียนศีรษะ และหากไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาเพิ่มเติม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ การใช้งานเว็บไซต์นี้แสดงว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า