ออฟฟิศซินโดรม กับ ไมเกรน เหมือนหรือต่างกันอย่างไร มีอาการปวดหัวแบบไหน?

อาการปวดแบบไหน เป็น ไมเกรน หรือ ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) กับ ไมเกรน (Migraine) หลายคนสงสัยว่า คือโรคเดียวกันหรือไม่? หากไม่ใช่ เราจะมีวิธีรู้ได้อย่างไรว่า เมื่อเรามีอาการปวดหัว ปวดหัวเรื้อรัง มันเป็นอาการของ ออฟฟิศซินโดรม หรือ ไมเกรน .. วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ 2 นี้ให้มากขึ้นกันค่ะ

ไมเกรน (Migraine) คืออะไร

ไมเกรน คือ โรคที่มีการปวดศีรษะชนิดหนึ่ง และอาการปวดศีรษะลักษณะนี้จะพบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ส่วนใหญ่พบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการปวดศีรษะของไมเกรน จะปวดศีรษะเพียงข้างในข้างหนึ่ง หรืออาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัว เป็นต้น

ปวดหัวไมเกรน อาการเป็นอย่างไร ?

อาการของไมเกรน คือ ปวดศีรษะเพียงข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งอาจจะปวดศีรษะสลับซ้ายขวา บ้างในบางครั้งหรือในแต่ละรอบ โดยอาการปวดศีรษะที่พบมักจะมีอาการปวดตื้อๆ ปวดตุ๊บๆ มึน งง มีอาการตาพร่ามัว อาการคลื่นไส้ อาเจียน บางรายจะมีอาการเห็นแสงจ้านำมาก่อน หรือมีอาการแขนขาอ่อนแรงข้างในข้างหนึ่งข้างใดก็ได้ และค่อยมีอาการปวดศีรษะตามมา

ทำไมไมเกรนถึงพบมากในวัยทำงาน? ปัจจัยที่กระตุ้นที่ทำให้เกิดไมเกรน คือความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอ จึงพบในวัยทำงานได้ง่ายกว่านั่นเอง

อาการปวดหัวข้างเดียว ไมเกรน หรือ ออฟฟิศซินโดรม

วิธีรักษาไมเกรนด้วยตัวเอง

โดยทั่วไปเลยคือหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงหากเลี่ยงไม่ได้และมีอาการปวดศีรษะขึ้นมา ถ้าปวดไม่เยอะ ปวดไม่บอย การใช้ยาพาราเซตามอล ทีมเป็นยาสามัญประจำบ้านอาจใช้ก่อนได้ แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการปวดศีรษะถี่ขึ้น รุนแรงขึ้น แนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำการตรวจเช็คเพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี

ไมเกรน อาการปวดหัว เป็นแบบไหน รักษาอย่างไร
กลับสู่สารบัญ

โรค ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คืออะไร

คือกลุ่มอาการหรือความผิดปกติของร่างกายที่เกิดจากการทำงานต่อเนื่องซ้ำเป็นเวลานานหรือเกิดจากการทำงานที่ผิดพลาดซึ่งการทำงานแบบนี้จะก่อให้เกิดความผิดปกติตามมาต่อระบบต่างๆได้ 

อาการปวดหัว ออฟฟิศซินโดรม

อาการปวดหัว ออฟฟิศซินโดรม โดยทั่วไปอาการออฟฟิศซินโดรมมีด้วยกันหลายอย่างเช่น

  1. กลุ่มอาการของกล้ามเนื้อ อาจจะมีอาการปวด เกร็ง หรือปวดตึงบริเวณคอ   บ่า ไหล่ และหลัง ส่วนขนาดของการเจ็บปวดก็มีตั้งแต่เล็กน้อยแค่ปวดตึงๆน่ารำคาญจนถึงปวดมากทรมานได้
  2. กลุ่มอาการที่เกี่ยวกับระบบประสาท อาจมีอาการชาอ่อนแรงบริเวณมือและเท้า
  3. กลุ่มอาการที่เกี่ยวกับประสาทอัตโนมัติ  ปวดศีรษะ เวียนหัว เหงื่อออก เป็นตะคิว บางรายมีอาการปวดกระบอกตาและนิ้วมือกระตุกร่วมด้วย

การักษาอาการ ออฟฟิศซินโดรม

การรักษาของอาการ ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) ในปัจจุบัน ก็สามารถทำได้ตั้งแต่

  • การยืดกล้ามเนื้อด้วยตนเองอย่างถูกวิธี 
  • การทานยา 
  • การประคบอุ่น 
  • การออกกำลังกายอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการมีกล้ามเนื้อ หรือเสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ

บางรายที่ออกกำลังกายแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการปวดบ่อยๆ ก็แนะนำว่าควรจะพบแพทย์ ด้วยการทำกายภาพบำบัดโดยเครื่องมือที่ถูกต้อง เช่นการใช้เครื่องมืออัลตร้าซาวด์ การใช้เลเซอร์ การนวดโดยการใช้เทคนิคของนักกายภาพ หรือการลงเข็มเพื่อคลายจุดกล้ามเนื้อ โดยได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ

ออฟฟิศซินโดรม อาการปวดหัว เป็นแบบไหน รักษาอย่างไร
กลับสู่สารบัญ

ออกกำลังกาย แก้ออฟฟิศซินโดรม

ในกรณีผู้ที่ต้องการแก้ไขอาการออฟฟิศซินโดรมด้วยตนเองก็ขอแนะนำการออกกำลังกาย 2 วิธีดังนี้

  1. การออกกำลังกายโดยยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อเกิดการยืดหยุ่นหรือผ่อนคลายลง
  2. การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

นอกเหนือจากนี้ก็ยังสามารถออกกำลังกายแบบแอโรบิกได้ เช่น การว่ายน้ำ การปั่นจักรยาน ในการวิ่งจ๊อกกิ้งเพื่อเป็นการช่วยให้กล้ามเนื้อขยับตัวและป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้

วิธีรักษาอาการปวดคอ บ่า หลังตึงง่ายๆ ดังนี้

  • ใช้ยาในกลุ่ม แก้ปวด คลายกล้ามเนื้อ หรือ ยาแก้อักเสบ ที่ไม่มีสารสเตียรอยด์ การรักษาเมื่อกล้ามเนื้อบาดเจ็บ และเกิดขึ้นไม่บ่อย เช่น เคล็ด ขัด ยอก จากการยกหนัก ยกผิดท่า  และเล่นกีฬา
  • ประคบร้อน สำหรับการประคบที่เหมาะกับอาการปวดเมื่อย คอ ต้นคอ บ่า ไหล น่องและหลัง ควรเป็นประคบร้อนระยะเวลาในการประคบคือ 15-20 นาที วันละ2-3ครั้งเพื่อลดอาการปวดและคลายกล้ามเนื้อ
  • นวดกดจุด เป็นเทคนิคที่สามารถเลือกทำได้เมื่ออาการปวด โดยมีการศึกษาพบว่าเป็นวิธีที่ได้ผลดีกว่าการรับประทานยาอีกด้วย
อาการ ไมเกรน หรือออฟฟิศซินโดรม
กลับสู่สารบัญ

คนที่เป็นไมเกรน เกือบ 50% มีอาการ ออฟฟิซินโดรม ร่วมด้วย

สาเหตุจากอาการไมเกรนที่ปวดศีรษะเพียงข้างใด ข้างหนึ่งหรือสองข้าง จากปัจจัยทางความเครียดจากการทำงานอาการ Office Syndrome ก็ถือเป็นโอกาสในความเสี่ยงที่จะได้รับในกลุ่มวัยทำงาน ที่ต้องนั่งจดจ่ออยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่กระทั่งนั่งบนเก้าอี้ตัวเก่าที่ตกท้องช้าง(ยุบ) ก็เป็นตัวส่งเสริมให้เกิดเป็นการใช้ร่างกายในท่าที่ผิดรูปนั่นเอง

เพราะ Life style การดำเนินชีวิต : ไมเกรนและ office syndrome เป็นคนวัยทำงาน นั่งหน้าคอมพิวเตอร์ ดูหนังสือ เล่นโทรศัพท์ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของทั้ง 2 โรค 

เนื่องจากอยู่ในท่าทางที่ผิดรูป หรือ อยู่ในท่านั้น ๆ นานเกินไป โดยที่ไม่ได้ขยับร่างกายไปทางไหน ซึ่งส่งผลกระทบให้กระดูกสันหลังต้องแบกภาระและการเล่นมือถือเล่นคอมเป็นเวลานานเสี่ยงทำให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรมและไมเกรนเมื่อคืนได้ เนื่องจากการเล่นมือถือใช้สายตานานๆก็เป็นสิ่งกระตุ้นไมเกรนและการนั่งในท่าเดิมจนกล้ามเนื้อทำงานหนักก็เป็นออฟฟิศซินโดรมซึ่งทั้งสองโลกหากเป็นพร้อมกันจะทำให้เกิดอาการปวดไมเกรนและออฟฟิศซินโดรมมากขึ้นทั้งคู่

ปวดไมเกรนนานจนกล้ามเนื้อหด สมองที่มีอาการปวดหัวและถูกกระตุ้น มันจะมีการสั่งกล้ามเนื้อให้ หดตัว 

มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองอย่าง (Serotonin)ที่ลดลงในช่วงที่มีอาการปวดร่วมกับสารเคมีในสมองชนิดอื่น ทำให้เกิดการอักเสบของเส้นประสาทที่บริเวณใบหน้าและศีรษะส่งผลให้เกิดอาการขาดเลือดหรือเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ

อาการ ออฟฟิศซินโดรม Office Syndrome
กลับสู่สารบัญ
มีหลายงานวิจัยบ่งว่า คนที่เป็นไมเกรน  จะปวดคอบ่าไหล่ มากกว่าคนปกติหลายเท่าตัว!

วารสารการพิมพ์ไทยฉบับที่18 ได้รับรองถึงข้อมูลเกี่ยวกับอาการปวดศีรษะว่ามีจำเพาะกับการปวดศีรษะไมเกรนคือการปวดข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งอัตราการปวดรุนแรงก็มีตั้งแต่รุนแรงปานกลางจนถึงรุนแรงมาก และส่วนใหญ่อาการปวดไมเกรนจะมีความทรมานถึงขั้นรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

อาการ ออฟฟิศซิมโดรม สามารถกระตุ้นให้เกิด ไมเกรน ได้
อาการปวดกล้ามเนื้อคอ ร้าวขึ้นจนเป็นไมเกรน อาจจะถูกกระตุ้นด้วย กลิ่น แสง ความร้อน

ปัจจัยการกระตุ้นของไมเกรน มีค่อนข้างหลากหลาย พบบ่อยๆ ก็คือการพักผ่อนไม่เพียงพอความเครียด เสียง สี แสง กลิ่น ฤดูกาล การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่โดยผู้หญิงจะพบได้ค่อนข้างมากโดยเฉพาะผู้หญิงที่มีรอบเดือนและการใช้ยาคุมกำเนิด

สรุป : ไมเกรน กับ ออฟฟิศซินโดรม คือโรคเดียวกันไหม? คำตอบคือ ไม่ใช่!

ไมเกรน คือ โรคที่เกี่ยวกับสมอง มีลักษณะอาการคือ ปวดศีรษะข้างเดียว เกิดจากสารเคมีในสมองไม่สมดุล ร่วมกับมีปัจจัยภายนอกอื่นๆ ร่วมด้วย หรืออาจะเกิดจากพันธุกรรม ซึ่งไม่มีทางรักษาให้หายได้

แต่ ออฟฟิศซินโดรม เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณ บ่าตึง หรือมีอาการชาในบางครั้ง เนื่องจากเส้นประสาทถูกกดทับ และเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนของศีรษะได้ หากแก้ไขด้วยการยืดกล้ามเนื้อก็จะช่วยให้อาการปวดทุเลาลงได้ 

ซึ่งทั้ง ไมเกรน และ ออฟฟิศซินโดรม จะเกิดพร้อมกันได้ เพราะถูกกระตุ้นกันและกัน

ท้ายนี้การดูแลตัวเองเพื่อให้ห่างไกลจาก อาการปวดไมเกรน (Migrain) และ ออฟฟิศซิรโดรม (Office Syndrome) ก็สามารถเลือกทำได้หลากหลายวิธี ไมว่าจะเป็นการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การปรับสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวและรวมถึงการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในการส่งเสริมให้กล้ามเนื้อแข็งแรงก็จะข่วยลดโอกาสการเกิดของทั้ง 2โรคนี้นั่นเอง

Reference:

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ การใช้งานเว็บไซต์นี้แสดงว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า