7 เหตุผลที่ทำให้คนอ้วน มีความเสี่ยง โควิด-19 มากกว่ากลุ่มอื่น

โควิด-19 กับโรคอ้วน

เป็นที่ทราบดีว่า โควิด ทำให้เกิดอาการปอดอักเสบ ซึ่งคนที่อ้วนมีโรคเบาหวานความดันหัวใจ จะพบกับความเสี่ยงที่สูงมากยิ่งขึ้น เกิดโรคแทรกซ้อนกับคนเป็นโรคอ้วน อัตราตายที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ในหลายๆ ประเทศ ก็จะเกิดในคนไข้กลุ่มนี้ในอัตราส่วนที่สูงกว่าคนร่างกายปกติ

เหตุผลที่ทำให้คนอ้วนมีความเสี่ยงที่สูงกว่าคนอื่น มีดังนี้

1. โรคความดันและเบาหวาน เพิ่มความเสี่ยง

คนอ้วนมักมีโรคความดันและเบาหวานเป็นโรคร่วม สองโรคนี้ทำให้การติดเชื้อรุนแรงขึ้น หายยากขึ้น มีงานวิจัยในต่างประเทศจากกรณีที่จีนและอเมริกา ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโควิด-19 กับโรคอ้วน พบว่าผู้ที่อยู่ในเกณฑ์อ้วนและเบาหวาน จะมีความเสี่ยงที่เสียชีวิตจากโรคนี้มากกว่าปกติ

2. มีปัญหากับท่อช่วยหายใจ

โดยปกติคนอ้วนจะหายใจลำบากอยู่แล้ว เมื่อมีอาการทางปอดจะทำให้ออกซิเจนลดระดับลงอย่างรวดเร็ว และเมื่อถึงเวลาใส่ท่อก็จะใส่ท่อช่วยหายใจยากมาก เพราะส่วนคอที่ใหญ่กว่าคนทั่วไป

3. เข้ารับการ CT ปอดยาก

ปัจจุบันเราต้องมีการ CT ปอดเพื่อช่วยในการวินิจฉัย และคนอ้วนก็เข้ารับการ CT ยากมากเช่นกัน

4. ไม่สามารถใส่ชุดหรืออุปกรณ์อื่นๆ ได้ง่าย

อุปกรณ์บางชนิดออกแบบมาขนาดมาตรฐาน หลายชนิดเป็นแบบนำเข้าซึ่งไม่ค่อยมีไซส์ให้สำหรับคนตัวใหญ่

5. หาเส้นเลือดยาก เพิ่มปัญหาในการรักษา

เจาะเลือด หาเส้นเลือดยาก การนอนโรงพยาบาลนานๆ อาจจะต้องมีการเปลี่ยนสายน้ำเกลือบ่อย และการแทงใหม่ก็จะยากขึ้นไปอีก

6. นอนคว่ำยาก รักษาโควิด-19 ยากขึ้น

เป็นที่พิสูจน์แล้วว่าในคนไข้ที่เป็นโรค โควิด นี้การนอนท่าคว่ำให้ได้อย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวันจะช่วยทำให้อาการดีขึ้นจริงๆ ซึ่งการนอนคว่ำกลับเป็นเรื่องยากมากสำหรับคนอ้วน เพราะจะหายใจไม่สะดวก อึดอัด บางคนที่น้ำหนักตัวมากไม่สามารถนอนคว่ำได้

7. เคลื่อนย้ายด้วยเตียงยาก

ด้วยขนาดร่างกายที่ใหญ่โต ทำให้การขนย้ายด้วยเตียงปกติลำบาก ยิ่งเตียงที่ต้องคลุมพลาสติก เพื่อกันเชื้อกระจาย ก็ยิ่งทำได้ยากยิ่งขึ้น

จะเห็นว่าภาวะโรคอ้วนและน้ำหนักที่เกินมากเกินไป ไม่ได้ส่งผลดีกับสุขภาพเลย โดยเฉพาะภาวะวิกฤติที่เราต้องอยู่ร่วมกับ โควิด ไปอีกอย่างน้อย 1-2 ปี กว่าที่จะมีวัคซีนออกมาไว้ใช้ป้องกัน

การลดน้ำหนักให้กลับมาเป็นปกติโดยเร็ว เช่นการ ผ่าตัดกระเพาะ จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการรับมือกับโรคร้ายนี้ ทั้งทำให้ภาพลักษณ์ดูดีขึ้น แล้วยังช่วยให้สุขภาพ กับยืดอายุไขให้ยาวนานมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

บทความเขียนโดย นพ สุทธิพงษ์ ตรีรัตน์

อ้างอิงข้อมูลจาก: World Obesity

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ การใช้งานเว็บไซต์นี้แสดงว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า