โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกิดจากอะไร? อาการและสาเหตุที่ห้ามมองข้าม!

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกิดจากอะไร

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปัจจุบันเราพบว่าโอกาสของการเกิดโรคต่างๆนั้นค่อนข้างที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะเกี่ยวกับโรคสมองซึ่งส่วนใหญ่แล้วล้วนมีที่มาที่ไปมาจากการรับประทานอาหารทั้งสิ้นซึ่งในบทความนี้ก็จะมาบอกเล่าถึงอาหารการกินที่ส่งผลให้เกิดภาวะหรืออาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หากว่าคุณอยากรู้ว่าอาหารชนิดไหนที่เป็นตัวนำพาร่างกายได้รับผลกระทบห้ามพลาดกับบทความนี้

สาเหตุของการเกิด โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

หลายๆคนคงไม่ทราบเลยว่าอาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบนั้นจะมาเยือนเมื่อไหร่…

ในความเป็นจริงแล้วโอกาสของการเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบในคนเรานั้นมีสูงอยู่แล้วในด้านการรับประทานอาหารซึ่งเราจะเน้นไปทางอาหารในกลุ่มดิบ โดยเฉพาะหอยโข่ง หอยปัง หอยเชอรี่ซึ่งตระกูลหอยเหล่านี้จะมีตัวอ่อนของพยาธิตัวจี๊ดฝังอยู่เป็นจำนวนมหาศาล และพยาธิตัวจี๊ดเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้

สำหรับปัจจัยของการเกิดผู้ที่เป็นโรคสมองอักเสบติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อคางทูมเชื้อนี้ก็จะแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดทำให้เกิดอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ นอกจากเชื้อคางทูมแล้วเชื้อวัณโรค เชื้อรา และพยาธิตัวจี๊ด

ทางนี้สิ่งที่เป็นปัจจัยนอกจากในกลุ่มเชื้อก็ยังมีอุจจาระไก่และอุจจาระนกพิราบที่ส่งผลให้เกิดเรื่องสมองอักเสบได้ด้วย

อาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

  1. มีไข้สูง ไข้มักจะขึ้นลงๆอยู่ตลอดเวลาแม้ว่าจะรับประทานยาลดไข้แล้วก็ตาม
  2. ปวดศีรษะมาหรือเฉพาะเวลาที่ก้มหรือเงยหน้ามากๆ
  3. รู้สึกมึนงงสับสน
  4. กลัวแสงและมองเห็นสิ่งรอบข้างไม่ชัดเจน
  5. อาเจียนและกลืนอาหารได้ยากกว่าปกติ
  6. มีอาการชักและหมดสติ
อาการของ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

วินิจฉัยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เมื่อแพทย์ได้ทำการสอบถามจากการซักถามประวัติคนไข้แล้ว หลังจากนั้นจะทำการตรวจ Spinal Tap หรือของเหลวจากไขสันหลังเพื่อตรวจหาสัญญาณการอักเสบเพื่อดูว่าเป็นการติดเชื้อประเภทใด ส่วนการตรวจวินิจฉัยวิธรอื่น ๆ ได้แก่ การตรวจปัสสาวะและหาค่าของโลหิต, การประเมินระบบประสาท, เก็บตัวอย่างเพื่อหาเชื้อ, การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองและการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดทางคอมพิวเตอร์

การรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยทันทีเนื่องจากอาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบนั้นจะคล้ายๆกับอาการเป็นไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่แต่จะแตกต่างกันก็คือเจ็บต้นคอมากเป็นพิเศษโดยแพทย์จะฉีดยาลดอาการเกร็งและเจาะบริเวณหลังดูดเอาน้ำไขสันหลังไปตรวจวัดหาความผิดปกติเพื่อที่จะให้การรักษานั้นถูกวิธีหรือในกรณีที่เผลอไปสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคกาฬหลังแอ่นควรที่จะป้องกันการติดเชื้อด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะไรแฟมพิซิน

และแม่ว่าจะมีวิธีในการรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบแล้วโอกาสที่จะเกิดซ้ำนั้นมีสูงมากหากไม่ป้องกันให้ดี

ภาวะแทรกซ้อนของ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

วิธีการป้องกัน โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

  1. สำหรับผู้ที่เป็นโรคคางทูมต้องรีบรักษาให้หายเพื่อป้องกันเชื้อแพร่กระจายสู่กระแสเลือด
  2. ไม่แนะนำให้เข้าใกล้หรือใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรคและพ่อแม่ที่ให้กำเนิดบุตรควรที่จะพาบุตรหลานไปรับการฉีดวัคซีน BCG ตั้งแต่แรกเกิดเพื่อป้องกันการเกิดวัณโรค และ วัคซีนIPDเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่นำไปสู่การเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้
  3. หากว่ามีคนใกล้ชิดหรือคนรอบข้างมีโรคหูน้ำหนวกหรือหูชั้นกลางอักเสบไม่ควรที่จะทิ้งไว้ควรที่จะเข้ารับการรักษาไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายเข้าสู่สมอง
  4. มีวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือไม่ควรกินหอยดิบปลาดิบหรือกุ้งดิบแหล่งอาหารที่เป็นของดิบจะทำให้พยาธิตัวจี๊ดเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายมากขึ้น
  5. ในชาวเกษตรกรจำเป็นที่จะต้องสวมใส่รองเท้าบูทและหาผ้ามาปิดจมูกทุกครั้งที่ทำการเหยียบมูลสัตว์โดยเฉพาะมูลไก่และมูลนกพิราบ
  6. แนะนำในการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ภาวะแทรกซ้อนของ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ในภาวะแทรกซ้อนของโรคมีหลากหลายอาการ ซึ่งขึ้นอยู่กับเชื้อที่ได้รับและความรุนแรงของเชื้อ บางรายที่มีภาวะแทรกซ้อนคือ ชัก มีปัญหาด้านสติ สมาธิ การจดจำ พบปัญหาของการเคลื่อนไหว ทรงตัวลำบาก  สูญสิ้นการได้ยิน  สัมผัสการรับรู้ไม่ทำงาน การมองเห็นแย่ลง ซึ่งบางรายสูญเสียการมองเห็น

ทั้งนี้ทั้งนั้นการป้องกันอันตรายจากภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบนั้นสามารถป้องกันได้ด้วยการเข้ารับการฉีดวัคซีนและพยายามเลือกทานอาหารที่ผ่านการปรุงสุกอยู่เสมอ ในรายที่รับประทานอาหารประเภทดิบก็แนะนำให้ตรวจหาพยาธิเพื่อที่จะได้กำจัดพยาธิตัวจี๊ดที่เป็นสาเหตุของการเกิดเยื่อหุ้มสองอักเสบ สุดท้ายนี้กันไว้ก็ย่อมดีกว่าการรักษาแน่นอนว่าบทความนี้เป็นประโยชน์อย่าลืมใส่ใจสุขภาพตัวคุณเองและคนรอบข้างด้วย

Reference

  1. Borg J, Christie D, Coen PG, Booy R and Viner RM (2009) Outcomes of meningococcal disease in adolescents: prospective matched cohort study. Paediatrics. 123(3): e502 – e50

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ การใช้งานเว็บไซต์นี้แสดงว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า