การดูดไขมัน เราไม่ได้ทำเพื่อลดความอ้วน หรือลดน้ำหนัก อย่างที่ทราบกันดีกว่าการลดความอ้วนที่ดีที่สุดคือการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย ดังนั้นข้อบ่งชี้ของการดูดไขมันนั่นก็คือการกำจัดไขมันส่วนเกินในบางตำแหน่งในคนที่ไม่อ้วน เพื่อทำให้รูปร่างดีขึ้น สมส่วน
การดูดไขมันเพื่อลดความอ้วนเป็นการกระทำที่ผิดข้อบ่งชี้และนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ยิ่งคนที่อ้วนมาก ๆ (BMI>35 kg/m2) แล้วมาดูดไขมันก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มมากขึ้น รวมถึงเสี่ยงต่อการ ดูดไขมันเสียชีวิต ด้วย เป็นต้น
ดูดไขมันเสียชีวิต สาเหตุมาจากอะไรบ้าง ?
สาเหตุของการเสียชีวิตจากการดูดไขมันนั้นมีด้วยกันหลายสาเหตุ ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อย ๆ มีดังนี้
1. ดูดไขมันเสียชีวิต ที่เกิดจากภาวะที่มีลิ่มเลือดอุดกั้นเส้นเลือดในปอด
ภาวะที่มีลิ่มเลือดอุดกั้นเส้นเลือดในปอด (pulmonary thromboembolism) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยที่สุดจากการดูดไขมันและทำให้เสียชีวิต โดยพบมากกว่าร้อยละ 23 ของสาเหตุการเสียชีวิตจากการดูดไขมันทั้งหมด ซึ่งลิ่มเลือดที่มาอุดตันนี้ก็มักเกิดขึ้นที่หลอดเลือดดำในขา (deep vein thrombosis; DVT) แล้วไหลไปที่ปอด โดยมีสาเหตุอยู่ 3 อย่าง คือ
- เลือดดำไม่ไหลเวียน (venous stasis) เกิดจากการที่คนไข้ดมยาสลบและอยู่ในท่านอนหงาย และไม่ได้ขยับเป็นเวลานาน
- มีแผลภายในหลอดเลือด (vascular lesion) เกิดจากการดมยาสลบเช่นเดียวกัน มีผลทำให้เส้นเลือดขยายตัวและเกิดการดึงรั้งจนเกิดแผลภายในเส้นเลือด
- ภาวะที่เลือดแข็งตัวง่าย (hypercoagulability) เป็นภาวะที่มีอยู่ในตัวคนไข้บางคนเองอยู่แล้ว
การเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดในปอด เป็นสิ่งที่ป้องกันได้ ถ้าคนไข้ได้รับการประเมินก่อนผ่าตัด และผ่าตัดในระยะเวลาที่เหมาะสม ไม่นานเกินไป หากจำเป็นต้องผ่าตัดเป็นเวลานานจะต้องมีการป้องกันทั้งการให้ยาและการใช้อุปกรณ์ปั๊มลมบริเวณขาเพื่อให้เกิดการไหลเวียนของเลือด
2 ดูดไขมันเสียชีวิต เกิดจากอวัยวะในช่องท้องทะลุ
อวัยวะในช่องท้องทะลุ ที่พบบ่อยที่สุดจะเป็นลำไส้เล็กส่วนปลาย (Ileum) ส่วนอวัยวะอื่น ๆ ก็พบได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นลำไส้ใหญ่หรือม้าม ซึ่งปัจจัยที่ทำให้อวัยวะในช่องท้องทะลุอาจเกิดมาจากผนังหน้าท้องอ่อนแอในคนไข้ที่ผ่าตัดบริเวณหน้าท้องมาก่อน (abdominal surgeries) มีไส้เลื่อนที่หน้าท้อง (hernia) หรือในคนไข้ที่อ้วน เป็นต้น
นอกจากนี้ เทคนิคการผ่าตัดไม่ถูกต้องทำให้หัวดูดไขมันพลาดไปแทงอวัยวะภายในทำให้ทะลุตามมาก็เกิดขึ้นได้ อาจทำการรักษาโดยแพทย์ที่ไม่มีประสบการณ์ และไม่มีความชำนาญ ในคนที่สงสัยว่าจะมีผนังช่องท้องไม่แข็งแรง หรือมีไส้เลื่อนหน้าท้อง การตรวจอัลตร้าซาวก็สามารถช่วยวินิจฉัยได้
การสังเกตุอาการหลังการดูดไขมันก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก การวินิจฉัยอาการได้เร็วก็สามารถช่วยให้รักษาได้ทันเวลา ซึ่งอาการที่ต้องระวัง ได้แก่ ปวดท้องมาก คลื่นไส้อาเจียนตลอดเวลา และการบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ ถ้าสงสัยว่าจะเกิดการทะลุจะต้องรีบตรวจเพิ่มเติม เช่น x-ray หรือ CT scan และต้องรีบผ่าตัดซ่อมแซมอวัยวะนั้น ๆ
รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ คลินิกที่ให้บริการด้านการดูดไขมัน ดูแลโดย นพ.สุทธิพงษ์ ตรีรัตน์ ประสบการณ์กว่า 24 ปี ดูดไขมันมากกว่า 15,000 เคส (ข้อมูล ณ ปี 2567) พร้อมด้วยทีมแพทย์มากประสบการณ์ มีเครื่องมือที่ทันสมัย สะอาด ปลอดภัย และได้รับการรับรองมาตรฐานทางการแพทย์ เช่น
- ห้องผ่าตัดขนาดใหญ่ ตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข
- ใบรับรอง THAI STOP COVID+ คลินิกปลอดเชื้อ จากกรมอนามัย
- AACI ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล ในด้านความปลอดภัยและการบริการ แห่งแรกในเอเชีย
3. ปัญหาจากการให้สารน้ำหรือน้ำเกลือในระหว่างดูดไขมัน
ดูดไขมันแล้วเสียชีวิต จากการให้สารน้ำหรือน้ำเกลือในระหว่างดูดไขมัน เนื่องจากในเวลาที่ดูดไขมันจะมีการเสียเลือด จึงจำเป็นต้องมีการให้สารน้ำทดแทนทางเส้นเลือด ซึ่งถ้าให้น้ำเกลือไม่ถูกวิธี เช่น
- ให้น้อยเกินไปก็ทำให้คนไข้ช็อกได้ (hypovolemia)
- ถ้าให้มากเกินไปก็ทำให้น้ำท่วมปอด (pulmonary edema)
ในการดูดไขมันจะมีความแตกต่างจากการผ่าตัดอื่น ๆ ตรงที่จะมีการฉีดสารน้ำที่ผสมยาชาและอะดรีนาลีน (adrenaline) ปริมาณมากในบริเวณที่จะทำการดูดไขมัน โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการเสียเลือด บางส่วนของสารน้ำนั้นจะถูกดูดซึมเข้าเส้นเลือดได้ ทำให้ต้องคำนวณการให้สารน้ำทางเส้นเลือดอย่างระมัดระวังไม่เหมือนการผ่าตัดอื่น ๆ
4. ดูดไขมันเสียชีวิต จากการได้รับยาชาเกินขนาด
อย่างที่ทราบว่าการดูดไขมันจะต้องมีการฉีดสารน้ำที่ผสมยาชา (Tumescent) ซึ่งโดยปกติก็จะมีการคำนวณปริมาณยาชาตามน้ำหนักตัวของคนไข้ เพื่อไม่ให้เกินขนาด ซึ่งการใช้ยาชาในการดูดไขมันนั้นสามารถทำได้ในการดูดบริเวณเล็ก ๆ เช่น ดูดไขมันใต้คาง และ การดูดไขมันต้นแขน
ถ้าหากใช้วิธีฉีดยาชาเฉพาะจุดในส่วนที่ใหญ่ ๆ เช่น ดูดไขมันหน้าท้อง ดูดไขมันขา หรือดูดหลาย ๆ ส่วนพร้อมกันในครั้งเดียว เช่น ดูดไขมันหน้าท้องร่วมกับสร้างซิกแพค หรือดูดไขมันหน้าท้องร่วมกับสร้างร่อง 11 และต้องใช้ยาชาในปริมาณมาก ก็มีความเสี่ยงที่ยาชาจะเกินขนาด ต้องทำโดยทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง แต่ก็จะไม่นิยมทำเพราะคนไข้อาจได้รับยาชาเกินขนาดได้ ส่วนใหญ่แล้วการดูดไขมันในบริเวณใหญ่ ๆ รวมกันหลายจุด แพทย์จะแนะนำใช้การดมยาสลบร่วมด้วยแทน จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
นอกจากนี้ ดูดไขมันเสียชีวิต ที่เกิดจากการให้ยาชามากเกินไป ในบางกรณีอาจจะเห็นว่า คนไข้มีอาการเจ็บจึงเติมยา หรือต้องการดูดปริมาณที่เพิ่มขึ้นก็เติมยาอีก การทำกับหมอที่ไม่ชำนาญหรือคำนวณผิดพลาดก็อาจส่งผลให้เกิดให้เกิดความเป็นพิษของยาชาได้ ( lidocaine toxicity)
ไม่ว่าจะเป็น อาการชารอบปาก หรือรุนแรงขึ้นจนหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชัก และหัวใจหยุดเต้นได้ อาการของการได้รับยาชาเกินขนาดอาจไม่ได้เกิดขึ้นทันที เนื่องจากยาชาจะค่อย ๆ ถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด ทำให้อาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้หลายชั่วโมงหลังจากดูดไขมันเสร็จ การสังเกตอาการหลังดูดไขมันจึงมีความสำคัญมาก
5. ดูดไขมันเสียชีวิต ปัญหาจากยาสลบ
ในบางคลินิกมีการฉีดยาให้หลับ หรือยาคลายกล้ามเนื้อ โดยที่ไม่ได้มีวิสัญญีแพทย์ดูแลอยู่ ความเสี่ยงที่ตามมาคือ บางครั้งคนไข้ไม่รู้สึกตัวแล้วเกิดทางเดินหายใจมีการตีบ อุดตัน หรือปอด หัวใจ ทำงานไม่ดี และไม่ได้ใส่ท่อช่วยหายใจอยู่ เกิดการขาดออกซิเจน ก็มีโอกาสเสียชีวิตคาเตียงได้
การวางยาสลบในระหว่างการดูดไขมัน เนื่องจากมีโอกาสที่จะทำให้ผู้ที่เข้ารับการรักษาอาจจะไม่ฟื้นขึ้นมา หรือเกิดผลข้างเคียงจากการวางยาสลบ ไม่ว่าจะมาจากการใช้ในปริมาณที่มากเกินไป หรือเกิดการแพ้ยาสลบ
การวางยาสลบในระหว่างการศัลยกรรมจะค่อนข้างอันตราย หากไม่มีวิสัญญีแพทย์เป็นคนทำ ไม่มีผู้ชำนาญ หรือไม่มีการคัดกรองโรคประจำตัวต่าง ๆ รวมถึงไม่มีอุปกรณ์ที่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาระหว่างการดมยาสลบ ดังนั้น หากสถานที่ไหน ใช้ยาสลบแล้วไม่มีวิสัญญีแพทย์คอยดูแลร่วมด้วยควรหลีกเลี่ยง
6. เกิดจากกรดไขมันอุดตันหลอดเลือด
ดูดไขมันแล้วเสียชีวิต ที่เกิดจาก กรดไขมันอุดตันหลอดเลือด (Fat embolism; FE) จะคล้าย ๆ กับภาวะที่มีลิ่มเลือดอุดกั้นเส้นเลือดในปอด (pulmonary thromboembolism) แต่จะเป็นกรดไขมันที่ไหลไปอุดตันหลอดเลือดแทนที่จะเป็นลิ่มเลือด เกิดขึ้นได้ประมาณ 8.5% ของคนไข้ที่ดูดไขมัน กลไกการเกิดภาวะนี้มี 2 อย่าง คือ
- มีเนื้อเยื่อไขมันหลุดไปอุดตันเส้นเลือดในปอด (macro FE)
- เป็นกรดไขมันไหลเข้าไปในเส้นเลือด (fat embolism syndrome ;FES)
มีโอกาสเกิดภาวะนี้ในคนไข้ที่ดูดไขมันเกิน 5,000 ซีซี และมีโอกาสเกิดภาวะนี้จากการที่เส้นเลือดได้รับการบาดเจ็บและมีกรดไขมันไหลเข้าไปในเส้นเลือด การได้รับสารน้ำทางเส้นเลือดน้อยเกินไปก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเช่นเดียวกัน
รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น ท่อดูดไขมันที่ใหญ่เกินไป หรือใช้อุปกรณ์ดูดออกแล้วเอามาฉีดดันเข้าไป ส่งผลให้ไขมันเข้าไปในเส้นเลือด และมันไปอุดตันในปอดหรือหัวใจ ทำให้เสียชีวิต
วิธีการที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการ ดูดไขมันเสียชีวิต
ก่อนดูดไขมันจะต้องศึกษารายละเอียดที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนก่อน เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ซึ่งสิ่งที่เราจะต้องดูหลัก ๆ คือ
- แพทย์ที่ทำการรักษา มีประสบการณ์และความชำนาญมากน้อยแค่ไหน
- คลินิกดูดไขมัน มีความน่าเชื่อถือหรือไม่? ได้มาตรฐานหรือไม่? เปิดมานานหรือยัง และต้องมีเลขจดทะเบียนอย่างถูกต้อง
- เทคนิคการดูดไขมัน เช่น ใช้เครื่องดูดไขมันแบบไหน ลองศึกษาข้อดี-ข้อเสียของเครื่อง เพื่อพิจารณาดูก่อนว่า ตอบโจทย์เราหรือไม่
- มาตรฐานของเครื่องมือ ใช้เครื่องแท้ มีอุปกรณ์ที่พร้อมและครบ รวมถึงห้องที่ทำการรักษาสะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐานหรือไม่
- หากต้องใช้วิธีการดมยา ให้เช็กว่ามีวิสัญญีแพทย์ด้วยหรือไม่ เพื่อความปลอดภัย
ดูดไขมัน ที่รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
- นำทีมดูแลโดย นพ.สุทธิพงษ์ ตรีรัตน์ (คุณหมอหนึ่ง) พร้อมด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางหลากหลายสาขา
- มีเทคนิคเฉพาะ ‘360 Body Contouring’ ชำนาญในการออกแบบรูปร่างเฉพาะบุคคล ทั้งการกำจัดไขมันส่วนเกิน กระชับผิว และเติมเต็มไขมันให้รูปร่างสวยงามที่สุด
- ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานระดับ Global พร้อมเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
- ได้รับรองมาตรฐานคุณภาพการบริการ AACI จากสหรัฐอเมริกา เป็นศูนย์ศัลยกรรมผู้ป่วยนอกแห่งแรกในเอเชีย-แปซิฟิก
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติ่ม :
ดูดไขมันที่ไหนดี? ให้สวยอย่างปลอดภัย ดูดไขมัน BofyTite Pro ดูดไขมัน PALRef Strategies for Reducing Fatal Complications in Liposuction https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5682182/pdf/gox-5-e1539.pdf
บรรยากาศ รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐานสากล
พร้อมด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ
ประสบการณ์กว่า 24 ปี
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
Biography