ความดันโลหิตสูง (Hypertension) โรคยอดฮิตของคนอ้วน

ความดันโลหิตสูง (hypertension)

ความดันโลหิตสูง กับ ความอ้วนนั้น เป็นภาวะที่พบร่วมกันได้บ่อย และต่างก็เป็นปัจจัยเสี่ยงหลักๆ ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable diseases หรือ NCDs) ซี่งเป็นปัญหาที่สำคัญของคนไทยและคนทั่วโลก โดยจากรายงานขององค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2555 พบว่า โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต ของประชากรโลก คือประมาณร้อยละ 68 ดังนั้นการลดภาวะอ้วนลงพุง และความดันโลหิตสูงจึงมีความสำคัญอย่างมาก

จากข้อมูลสำรวจสุขภาพประชาชนไทย พบว่าในกลุ่มคนที่มีน้ำหนักเกิน (ดัชนีมวลกาย > 25 กก/ม.2) มีความชุกของความดันโลหิตสูงมากกว่ากลุ่มคนที่มีดัชนีมวลกาย < 25 กก/ม.2 ประมาณ 2 เท่า ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของประชากรทั่วโลกที่ว่า ในกลุ่มคนอ้วนลงพุงนั้นจะมีความชุกของความดันโลหิตสูงมากขึ้น

โรค ความดันโลหิตสูง คืออะไร ? (Hypertension)

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นโรคที่สำคัญมาก โดยจะตรวจพบได้จากการวัดความดันโลหิต ได้ในระดับที่สูงกว่าปกติเรื้อรังอยู่เป็นเวลานาน โดยองค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2552 ว่า ใครก็ตามที่

วัดความดันโลหิตได้มากกว่า 140 /90 มม.ปรอท ถือว่าเป็น “ความดันโลหิตสูง”

และผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและไม่รักษาให้ถูกต้องจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคอัมพาตจากหลอดเลือดในสมองตีบ โรคหลอดเลือดในสมองแตก โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย โรคไตวาย หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง เป็นต้น

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยปัจจุบันสำรวจพบว่าคนไทยประมาณร้อยละ 20 เป็นโรคความดันโลหิตสูง คนส่วนใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูงมักจะไม่รู้ตัวว่าเป็นโรค เมื่อรู้ตัวว่าเป็นส่วนมากจะไม่ได้รับการดูแลรักษา ส่วนหนึ่งอาจจะเนื่องจากไม่มีอาการทำให้คนส่วนใหญ่ ไม่ได้ให้ความสนใจ เมื่อเริ่มมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนแล้วจึงจะเริ่มสนใจและรักษา ซึ่งบางครั้งก็อาจจะทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร

กลับสู่สารบัญ

ปัจจัยเสี่ยงของ ความดันโลหิตสูง

  • มีประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่
  • การรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง
  • มีปัญหาเรื่องการนอนกรน
  • มีประวัติเป็นโรคไต
  • ประวัติครอบครัวของโรคความดันโลหิตสูง และประวัติโรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
  • มีการใช้ยาและสารที่ทำให้ความดันโลหิตสูง เช่น ยาสเตียรอยด์ (corticosteroid), ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal antiinflammatory drugs หรือ NSAIDs) ,ยาคุมกำเนิด, ยาหยอดจมูกที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว, แอมเฟตามีน, ชะเอม รวมถึงสมุนไพรบางชนิด
กลับสู่สารบัญ

ความดันโลหิตสูง อาการเป็นอย่างไร ?

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการใดๆ เลยก็ได้ หรืออาจจะพบว่ามีอาการปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ และเหนื่อยง่ายผิดปกติ ซึ่งความดันโลหิตสูงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ 2 กรณี ได้แก่

  1. ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงโดยตรง เช่น ภาวะหัวใจวายหรือหลอดเลือดในสมองแตก
  2. ภาวะแทรกซ้อนจากหลอดเลือดแดงตีบหรือตัน เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ หลอดเลือดสมองตีบ เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือหลอดเลือดแดงในไตตีบมากถึงขั้นไตวายเรื้อรังได้

จากข้อมูลทางการแพทย์ระบุไว้ว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและไม่ได้รับการรักษาจะเสียชีวิตจากหัวใจวายถึงร้อยละ 60-75 เสียชีวิตจากหลอดเลือดในสมองอุดตันหรือแตกร้อยละ 20-30 และเสียชีวิตจากไตวายเรื้อรังร้อยละ 5-10

กลับสู่สารบัญ

ความดันโลหิตสูง รักษาอย่างไร?

การรักษาโรค ความดันโลหิตสูง (Hypertension) ที่เป็นการรักษามาตรฐานมี 2 วิธี คือ

  1. การปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต
  2. การให้ยาลดความดันโลหิต

การป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตในระยะยาวเป็นหัวใจสำคัญของการป้องกันกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (non-communicable diseases, NCDs) รวมทั้งโรคความดันโลหิตสูง และยังเป็นพื้นฐานการควบคุมความดันโลหิตสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทุกราย ไม่ว่าผู้ป่วยจะใช้ยาลดความดันหรือไม่ก็ตาม

  1. การลดน้ำหนักในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วน

ควรพยายามควบคุมให้มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ตั้งแต่ 18.5 – 22.9 กก./ตร.ม. และมีเส้นรอบเอวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยในคนไทยผู้ชายไม่เกิน 90 ซม. (36 นิ้ว) และผู้หญิงไม่เกิน 80 ซม. (32 นิ้ว) หรือ ไม่เกินส่วนสูงหารสอง ทั้งเพศชายและหญิง

  1. การปรับรูปแบบของการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ

ควรแนะนำให้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกมื้อ โดยในแต่ละมื้อมีปริมาณอาหารที่เหมาะสม

  1. การจำกัดปริมาณเกลือและโซเดียมในอาหาร

องค์การอนามัยโลกกำหนดปริมาณการบริโภคโซเดียมที่เหมาะสมไว้คือ ไม่เกินวันละ 2 กรัม การจำกัดโซเดียมให้เข้มงวดขึ้นในปริมาณไม่เกินวันละ 1.5 กรัมนั้นอาจช่วยลดความดันโลหิตได้เพิ่มขึ้น

  1. การเพิ่มกิจกรรมทางกาย หรือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิก อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน หรืออย่างน้อยวันละ 30 นาที – 1 ชั่วโมง

  1. การจำกัด หรืองดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ในผู้ที่ไม่เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่แนะนำให้ดื่ม หรือ ถ้าดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่แล้ว ควรจำกัดปริมาณ กล่าวคือผู้หญิงไม่เกิน 1 ดื่มมาตรฐาน (standard drink) ต่อวัน และผู้ชายไม่เกิน 2 ดื่มมาตรฐานต่อวัน โดยปริมาณ 1 ดื่มมาตรฐานของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หมายถึง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ประมาณ 10 กรัม

  1. การเลิกบุหรี่

การเลิกบุหรี่อาจไม่ได้มีผลต่อการลดความดันโลหิตโดยตรง แต่สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาความดันโลหิตสูงในผู้ที่อ้วนลงพุง คือ การลดน้ำหนักโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพราะจะช่วยได้ทั้งการควบคุมความดันโลหิต และป้องกันไม่ให้เป็นโรคอื่นๆ ที่เกิดจากความอ้วนตามมา นอกจากนี้สุขภาพโดยรวมก็จะดีขึ้น มีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น ส่วนการใช้ยาลดความดันโลหิตนั้นเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ ไม่ได้ช่วยลดรอบเอว ไม่ช่วยลดระดับน้ำตาล และไขมันในเลือด เพราะฉะนั้นจึงควรใช้ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยเสมอ

กลับสู่สารบัญ

สาเหตุที่ทำให้ผู้ที่อ้วนลงพุงนั้นมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น

ภาวะน้ำหนักตัวเกิน คนอ้วน กับโรค ความดันโลหิตสูง

1. ภาวะดื้อต่ออินซูลิน และภาวะอ้วน ซึ่งในภาวะปกติอินซูลินจะมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด แต่เมื่อเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน เลยทำให้การขยายตัวของหลอดเลือดลดลง การหดตัวของหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น และเกิดความดันโลหิตสูงตามมา

2. ระบบประสาทอัตโนมัติจะถูกกระตุ้นให้ทำงานมากกว่าคนทั่วไป และการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นของเซลล์ประสาทโดยอัตโนมัติ (reflex) ก็เปลี่ยนไป

3. การทำงานของไตบกพร่อง มีการหลั่งฮอร์โมนหลายชนิดเปลี่ยนไป ส่งผลให้ท่อไตมีการขับเกลือโซเดียมลดลง ดูดเกลือโซเดียมกลับสู่ร่างกายมากขึ้น และมีโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะเพิ่มขึ้น

4. เนื้อเยื่อบุผนังด้านในของหลอดเลือดทำงานผิดปกติ (endothelium dysfunction) จากการหลั่งของสารต่าง ๆ และฮอร์โมนเปลี่ยนไป ส่งผลให้การหดและคลายตัวของหลอดเลือดผิดปกติ

นอกจากสาเหตุข้างต้นแล้ว ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้น้ำหนักตัว และความดันโลหิตเพิ่มขึ้น คือ พฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยเฉพาะการบริโภคที่ไม่เหมาะสม และการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดโรคร่วมอีกหลายชนิด เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง กรดยูริกสูง และการหยุดหายใจขณะหลับ

 photo : .who.int

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ การใช้งานเว็บไซต์นี้แสดงว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า