“โรคเบาหวาน” รักษาแผลกดทับ แผลเรื้อรัง แผลติดเชื้อ ด้วย PRP Therapy

โรคเบาหวาน แผลกดทับ แผลเรื้องรัง รักษาด้วย PRP Therapy

โรคเบาหวาน เป็นที่รู้กันว่าผู้ป่วยเบาหวาน ส่วนใหญ่จะต้องพบกับปัญหาแผลเรื้อรัง โดยเฉพาะแผลที่เท้า เมื่อเริ่มเป็นแผลมักไม่รู้สึก ทำให้แผลยิ่งลุกลาม เกิดเป็นแผลใหญ่ขึ้น และเนื่องจากเส้นเลือดที่เสื่อมสภาพก็ส่งผลทำให้การรักษาและฟื้นฟูเป็นไปได้ช้า เสี่ยงต่อการลุกลามเป็นแผลใหญ่จนต้องตัดอวัยวะ

โรคเบาหวาน แผลเบาหวาน ทำไมถึงหายช้า มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง

  1. ปลายประสาทเสื่อม
  • ประสาทรับความรู้สึกเสื่อม (sensory neuropathy) ผู้ป่วยเบาหวานจะสูญเสียการรับความรู้สึกเจ็บปวด หรือความรู้สึกร้อนเย็น ดังนั้นเมื่อเป็นแผลขึ้นแล้วแต่ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวด จึงมักไม่ได้หยุดพักการใช้งาน แผลจึงเกิดการอักเสบลุกลามมากขึ้น
  • ประสาทควบคุมกล้ามเนื้อเสื่อม (motor neuropathy) ทําให้กล้ามเนื้อเล็กๆ ที่เท้าฝ่อลีบ เมื่อกล้ามเนื้อที่เท้าไม่อยู่ในสภาพสมดุล ก็จะทําให้เกิดภาวะเท้าผิดรูป จุดรับน้ำหนักเปลี่ยนแปลงไปมีจุดรับน้ำหนักมากผิดปกติในบางจุดเวลาที่ยืนหรือเดิน ก็ทำให้มีโอกาสเป็นตาปลา หรือเกิดแผลได้ง่าย
  • ประสาทอัตโนมัติเสื่อม (autonomic neuropathy) ระบบประสาทควบคุมเกี่ยวกับการหลั่งเหงื่อผิดปกติไป ทำให้เหงื่อออกลดลง ผิวหนังแห้งแตกเป็นร่องเป็นแผลได้ง่าย ทำให้เชื้อโรคอาจเข้าไปตามรอยแตกแล้วเกิดเป็นแผลลุกลามมากขึ้น และยังทําให้เท้าบวม รองเท้าจึงคับขึ้นและกดเท้าจนเป็นแผลตามมาได้ รวมถึงการหดและขยายตัวของหลอดเลือดเสียไป มีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงที่กระดูกและผิวหนังลดลง ทำให้แผลหายช้า
โรคเบาหวาน แผลกดทับ แผลเรื้องรัง รักษาด้วย PRP Therapy

2. ความผิดปกติของหลอดเลือด

เนื่องจากเกิดภาวะเส้นเลือดตีบแข็งจนบางครั้งก็อุดตัน ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งในหลอดเลือดแดงใหญ่และหลอดเลือดฝอย โดยเฉพาะหลอดเลือดส่วนปลาย ทําให้เกิดแผลที่เท้าขึ้นเองได้เนื่องจากเนื้อเยื่อขาดเลือดไปเลี้ยง ซึ่งจะพบมากที่ปลายนิ้วเท้าหรือส้นเท้า ในผู้ป่วยบางรายซึ่งเกิดแผลจากสาเหตุอื่น เช่น อุบัติเหตุของมีคม เล็บขบ ยุงกัดและการเกา เป็นต้น การรักษาแผลให้หายเป็นไปได้ยากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากหลอดเลือดตีบไม่มีเลือดไปเลี้ยงเพียงพอ ทําให้ไม่มีการสมานแผล การตีบตันของหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานไม่ได้เกิดเพียงเฉพาะที่เท้าเท่านั้น ยังเกิดกับหลอดเลือดอื่นๆ ด้วย เช่น หลอดเลือดหัวใจและสมอง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสริมที่ทําให้มีการตีบตันเร็วและมากขึ้นอีก คือการสูบบุหรี่ ไขมันในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง เป็นต้น

3. แรงกดทับและกลไกการบาดเจ็บของเท้า

มีงานวิจัยพบว่า ตามปกติเนื้อเยื่อที่ขาดเส้นประสาทมาเลี้ยง จะไม่เกิดแผลเองยกเว้นถูกกดทับนานๆ และไม่มีการปรับเปลี่ยนจุดกดทับ แต่เมื่อเป็นแผลแล้วสามารถซ่อมแซมให้หายได้ คล้ายกับเนื้อเยื่อปกติ ยกเว้นว่ามีการติดเชื้อหรือขาดเลือดมาเลี้ยงร่วมด้วย

4. การติดเชื้อแทรกซ้อน

ภาวะเบาหวานที่ควบคุมได้ไม่ดี จะมีความผิดปกติของการทำงานของเม็ดเลือดขาว โดยมีจำนวนลดลง และมีความสามารถในการทำลายเชื้อแบคทีเรียลดลง ทำให้เกิดแผลติดเชื้อได้ง่าย จึงมักพบว่าแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานจะมีการติดเชื้อร่วมด้วยอยู่เสมอ โดยเฉพาะการมีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ทําให้การอักเสบลุกลามมากขึ้น ยิ่งหากมีภาวะแทรกซ้อนทางประสาทและหลอดเลือดด้วยแล้ว โอกาสที่จะรักษาให้หายยิ่งยากมากขึ้น

โรคเบาหวาน แผลกดทับ แผลเรื้องรัง รักษาด้วย PRP Therapy

การรักษาแผลที่เท้า จาก โรคเบาหวาน

  1. การรักษาเบื้องต้น เมื่อเป็นแผลจากของมีคมหรือแผลขีดข่วน ควรล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำอุ่นและสบู่ เช็ดให้แห้งและใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีนอย่างเจือจาง ปิดแผลด้วยผ้าปิดแผลที่แห้งและผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ไม่ควรใช้พลาสเตอร์ปิดแผลโดยตรง ถ้าหากแผลบวมแดงขึ้นมีน้ำเหลืองออกมา แม้ว่าจะไม่มีความเจ็บปวดก็ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว
  2. หากแผลมีหนอง ลักษณะเป็นแผลติดเชื้อ ควรทำแผลที่โรงพยาบาล
  3. การใช้ยาปฏิชีวนะ แพทย์จะพิจารณาว่าผู้ป่วยควรได้รับยาปฏิชีวนะหรือไม่ และพิจารณาตามลักษณะและความรุนแรงของแผล
  4. การหยุดพักบริเวณที่เป็นแผล โดยหากเป็นจุดที่ลงน้ำหนักควรนอนพักเฉยๆ พยายามเดินเท่าที่จำเป็น หรือสวมรองเท้าที่ทำขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักในบริเวณที่เป็นแผล
  5. การผ่าตัดหลอดเลือด ในกรณีที่แผลนั้นได้รับการตรวจสืบค้นเพิ่มเติมและวินิจฉัยแล้วว่ามีสาเหตุมาจากการขาดเลือดเนื่องจากมีเส้นเลือดตีบแข็ง หากผ่าตัดรักษาเพื่อให้มีเลือดไปหล่อเลี้ยงบริเวณแผลได้ดีขึ้นก็จะทำให้แผลหายเร็วขึ้น ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้ประเมินพยาธิสภาพของโรคและความพร้อมของผู้ป่วยว่าเหมาะสมที่จะเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่
  6. รักษาด้วยออกซิเจนความดันบรรยากาศสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy) ซึ่งปัจจุบันเข้ามามีบทบาทและเป็นที่ยอมรับในการร่วมรักษาแผลเบาหวานเรื้อรังอีกด้วย
  7. การผ่าตัดเท้าทิ้ง จะทำต่อเมื่อไม่สามารถรักษาแผลด้วยวิธีที่กล่าวมาแล้วให้ได้ผล ระดับที่ผ่าตัดจะอยู่ใต้เข่าหรือเหนือเข่าขึ้นอยู่กับแผล หลังการผ่าตัดแล้วสามารถประกอบขาเทียมได้ ทำให้ผู้ป่วยเดินและเคลื่อนไหวได้ดังเดิม

นอกจากนี้ก็ยังมีการรักษาอีกวิธีหนึ่ง ที่ช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้นและได้มีการนำมาใช้รักษาแผลมาตั้งแต่ปี พ.ศ 2528 นั่นก็คือการใช้เกล็ดเลือดเข้มข้น หรือ PRP นั่นเอง

Platelet-rich plasma (PRP) รักษา โรคเบาหวาน

PRP คือสารสกัดพลาสม่าจากเลือดของเราเอง ที่มีความเข้มข้นของเกล็ดเลือดสูงกว่าระดับปกติ ซึ่งภายใน PRP จะประกอบไปด้วย Growth factor ที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตและการฟื้นฟูของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย โดยหลังจากการเก็บเลือดจากผู้ป่วย ก็จะนำเลือดมาเข้าเครื่องหมุนเหวี่ยงพิเศษเพื่อแยกชั้นเลือด ทำให้ได้เป็นชั้นพลาสมา ในนั้นจะมีเกล็ดเลือดเข้มข้น หรือ PRP ออกมา และจะถูกฉีดเข้าไปในบริเวณที่เป็นแผล หรือบริเวณที่ต้องการจะกระตุ้นให้ฟื้นฟู

โรคเบาหวาน แผลกดทับ แผลเรื้องรัง รักษาด้วย PRP Therapy

PRP ผลิตจากเลือดของผู้ป่วยเอง ดังนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ใดๆ อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ในการช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย นอกจากนี้ยังสามารถช่วยกระตุ้นกระบวนการรักษาและฟื้นฟูการเติบโตของเซลล์ กระตุ้นให้ร่างกายเกิดการซ่อมแซมตัวเอง รักษาบาดแผลให้หายเร็วขึ้นจากการที่ Growth factor ไปกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อ และเส้นเลือดเล็กๆ ทำให้มีเลือดและสารอาหารไปเลี้ยงแผลมากขึ้น แผลจึงหายไวขึ้น

การฉีด PRP สามารถทำได้ทั้งในแผลที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ โดยจะใช้วิธีนี้เข้าไปร่วมกับการทำแผลตามปกติ มีงานวิจัยที่ใช้ PRP มารักษาแผลเรื้อรัง โดยฉีด PRP ไปรอบๆ แผล ทุกสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าการฉีด PRP ช่วยให้แผลมีขนาดเล็กลง และมีผลต่อการหายของบาดแผลจริง

อ่านเพิ่มเติม

  • 10 โรคยอดฮิตจากภาวะ อ้วนลงพุง

  • Overstitch ลดขนาดกระเพาะรักษาโรคอ้วน เทคนิคใหม่! ไม่ต้องผ่าตัด

  • ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก คืออะไร? รักษาโรคอ้วนได้จริงหรือไม่?

Ref.

  1. ผศ.พญ.สุภาพร โอภาสานนท์, แผลเบาหวาน (Diabetic Foot) และการดูแลเท้า, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/915_pdf
  2. http://clmjournal.org/_fileupload/journal/202-5-6.pdf
  3. การดูแลบาดแผลขั้นสูง (Advanced wound care), VAJIRA NURSING JOURNAL 104 Volume 22 No.1 January – June 2020
  4. https://thaidj.org/index.php/CMJ/article/view/10172/9157

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า