เนื่องจากสถานการณ์ตอนนี้ มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) เป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้โรงพยาบาลหลายแห่ง มีเตียงผู้ป่วยเพื่อทำการรักษาไม่เพียงพอ ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขจึงได้ประกาศให้มีการรักษาแบบ Home Isolation หรือ แยกกักตัวที่บ้าน ในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มสีเขียว ที่มีอาการไม่รุนแรงมาก ไม่แสดงอาการ รวมถึงผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลมาแล้ว ไม่ต่ำกว่า 7-10 วัน และมีอาการดีขึ้น แพทย์ยินยอมให้กลับมากักตัวที่บ้านได้ แต่อย่างไรก็ตาม การทำ Home Isolation ก็จะมีข้อปฏิบัติ ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อจะต้องทำตาม ซึ่งเราได้รวบรวมข้อมูลไว้ดังนี้
สารบัญ
- Home Isolation คืออะไร
- ผู้ที่เข้าเกณฑ์การเข้าระบบHome Isolation
- ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว อาการเป็นอย่างไร
- ขั้นตอนการลงทะเบียน เข้าระบบHome Isolation
- หากติดเชื้อโควิด-19 แล้วต้องรักษาตัวแบบHome Isolation ต้องทำอย่างไรบ้าง
- สิ่งที่ต้องระวัง ระหว่างการทำHome Isolation
- สิ่งสำคัญที่ต้องหมั่นตรวจเมื่อทำการแยกกักตัวที่บ้าน
- สิ่งที่ผู้ป่วยโควิด-19 ต้องเตรียม ระหว่างการทำ Home Isolation
- หากรักษาตัวแบบHome Isolation แล้วมีอาการแย่ลง จะทำอย่างไร
- การกำจัดขยะติดเชื้อ ระหว่างทำHome Isolation
- ข้อปฏิบัติหลังหายป่วย จากการทำHome Isolation
- คำถามที่พบบ่อย
Home Isolation คืออะไร ?
Home Isolation หรือ การแยกกักตัวที่บ้าน นั้นเป็นการรักษาตัวในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีอาการรุนแรงมากนัก หรืออาจจะไม่แสดงอาการ แต่จะต้องเข้าหลักเกณฑ์เบื้องต้นตามที่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดไว้ด้วย ซึ่งการทำ Home Isolation จะรวมถึงผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลมาแล้วไม่น้อยกว่า 7-10 สามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านต่อโดยต้องผ่านความยินยอมของแพทย์และความสมัครใจของผู้ป่วย
ผู้ที่เข้าเกณฑ์การเข้าระบบ Home Isolation
เบื้องต้นของการเข้าระบบHome Isolation จะเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว คือ พบว่าติดเชื้อโควิด-19 แต่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการไม่รุนแรงมาก ประกอบกับแพทย์พิจารณาว่าสามารถรักษาตัวที่บ้านได้ ซึ่งหลักเกณฑ์การเข้าระบบมีดังต่อไปนี้
- เป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ (asymptomatic cases)
- มีอายุน้อยกว่า 60 ปี
- มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
- พักอาศัยอยู่คนเดียว หรืออยู่ร่วมกับคนอื่นไม่เกิน1 คน หรือมีห้องส่วนตัว และไม่อยู่ร่วมกับผู้สูงอายุ
- ไม่มีภาวะอ้วน (ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 30 กก./ ม.2 หรือ น้ำหนักจัวไม่เกิน 90 กก.)
- ไม่มีโรคร่วม หรือโรคแทรกซ้อน เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคไตเรื้อรัง (CKD ระยะ 3-4) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานที่คุมไม่ได้ หรือโรคอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ เป็นต้น
- ยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง
- พักอาศัยอยู่คนเดียว หรืออยู่ร่วมกับคนอื่นไม่เกิน 1 คน
ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว อาการเป็นอย่างไร ?
เป็นผู้ป่วยที่เพิ่งตรวจพบเชื้อโควิด-19 แต่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยจะเรียกว่า “ผู้ป่วยสีเขียว” ซึ่งจะมีอาการทั่วไปดังต่อไปนี้
- มีไข้ วัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
- ระดับออกซิเจนไม่ต่ำกว่า 96%
- ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ
- จมูกไม่ได้ กลิ่นลิ้นไม่รับรส ตาแดง มีผื่น
- ถ่ายเหลว
- ไม่มีอาการหายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก
- ไม่มีปอดอักเสบ
ข้อดีของการแยกกักตัวที่บ้านสำหรับผู้ป่วยสีเขียว
- ลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อเพิ่ม
- การอยู่บ้านช่วยลดความเครียด ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น และสุขภาพจิตที่ดีทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
- ช่วยให้คนป่วยที่เพิ่งตรวจพบเชื้อได้รับการดูแลและรักษาที่เร็วขึ้น แก้ปัญหาเดิมที่เข้าไม่ถึงการบริการ
ขั้นตอนการลงทะเบียน เข้าระบบ Home Isolation
- ตรวจโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR แล้วพบว่าติดเชื้อ หรือมีผลเป็นบวก ( + , Detected , Positive )
ในกรณีทำการตรวจด้วยวิธี Rapid Antigen Test Kit (ATK) ด้วยตัวเอง แล้วผลปรากฏว่าเป็นบวก หรือติดเชื้อ ผู้ป่วยจะต้องทำการตรวจเพื่อยืนยันผลอีกครั้งด้วยวิธี RT-PCR (มีใบผลตรวจ หรือใบรับรองแพทย์)
หรือหากตรวจด้วย Antigen Test Kit จะต้องผ่านการรับรองจาก อย. ชุดตรวจต้องระบุว่าสำหรับทดสอบด้วยตัวเอง (Home Use / Home Test / Self Test) หรือตรวจจากหน่วยตรวจโควิดเชิงรุก และจะต้องเป็นการตรวจผ่านโพรงจมูก (Nasal Swab) หรือน้ำลายเท่านั้น
2. ติดต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำการลงทะเบียนเพื่อขอเข้าระบบ Home Isolation
หากผลตรวจด้วย RT-PCR ถูกยืนยันแล้วว่าติดเชื้อโควิด-19 จริง ให้ท่านติดต่อยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ได้ 3 ช่องทาง ได้แก่
- ลงทะเบียนHome Isolation กรณีเป็นบัตรทอง
สำหรับผู้ที่ถือสิทธิ์บัตรทอง (คลิกดูวิธีสมัครบัตรทองที่นี่) โทร.ติดต่อสายด่วน สปสช. ที่เบอร์ 1330กดต่อ 14 หรือมีความประสงค์จะขอกลับไปรักษาตัวที่ต่างจังหวัด ให้ติดต่อเบอร์ 1330 ต่อ 15 และเพิ่มเพื่อนทางไลน์ LINE@ : @nhso กดลงทะเบียนในระบบอีกครั้ง
- ลงทะเบียนHome Isolation กรณีเป็นประกันสังคม
สำหรับผู้ที่ถือสิทธิ์ประกันสังคม โทร.ติดต่อสายด่วน สปสช. ที่เบอร์ 1506 กด 6
- ลงทะเบียนHome Isolation ผ่านไลน์ FMCoCare
FammedCocare เป็นอีกหนึ่งช่องทางลงทะเบียน เพื่อเข้าสู่ระบบการทำHome Isolation หรือแยกกักตัวที่บ้าน ซึ่งเป็นความร่วมมือจากแพทย์เครือข่ายเวชศาสตร์ครอบครัว ดูแลผู้ป่วยโควิดที่บ้านในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล แอดไลน์ LINE@ : @fammedcocare
3. เข้าสู่ระบบการทำHome Isolation หรือ การแยกกักตัวที่บ้าน
เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับ หลังจาก จับคู่ผู้ป่วยกลับคลินิก ศูนย์บริการสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลที่จะรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยระหว่างแยกกักตัวที่บ้าน และหากแพทย์ทำการพิจารณาผู้ป่วยแล้วพบว่า เป็นผู้ป่วยสีเขียว จึงสามารถเริ่มต้นเข้าสู่ระบบการแยกกักตัวที่บ้านได้ทันที
หากติดเชื้อโควิด-19 แล้วต้องรักษาตัวแบบ Home Isolation ต้องทำอย่างไรบ้าง ?
เมื่อยืนยันท่านเข้าสู่ระบบการทำHome Isolation แล้ว ทางเจ้าหน้าที่ดำเนินตามขั้นตอน พร้อมส่งอุปกรณ์ให้ท่าน ดังต่อไปนี้
- แจกเครื่องวัดไข้ วัดออกซิเจนในเลือด ยาฟ้าทะลายโจร และอาหาร 3 มื้อ
- วิดีโอคอล หรือโทร.ติดต่อ เพื่อติดตามอาการ วันละ 2 ครั้ง
- ส่งต่อโรงพยาบาลเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลงระหว่างรอเตียง พร้อมจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อประคับประคองอาการระหว่างรอ
และผู้ป่วยโควิด-19 จะต้องปฏิบัติตัวตามกฎของการทำHome Isolation อย่างเคร่งครัด ดังนี้
- ห้ามออกจากที่พัก อยู่ห้องส่วนตัว และห้ามคนมาเยี่ยมที่บ้าน
- หากในบ้านที่กักตัวนั้นมีผู้ร่วมอาศัยคนอื่นอยู่ด้วย ให้เว้นระยะห่างจากคนในครอบครัว โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ
- แยกของใช้ส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับใคร เช่น โทรศัพท์มือถือ จาน ช้อน ส้อม แก้วน้ำ ผ้าขนหนู เป็นต้น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
- ห้ามรับประทานอาหารร่วมกัน
- กรณีคุณแม่ให้นมลูก ยังสามารถให้นมได้ปกติ เพราะไม่มีรายงานพบเชื้อโควิดในน้ำนม แต่คุณแม่ต้องสวมหน้ากากและล้างมือ ก่อนสัมผัสลูกหรือให้นม
- ผู้ป่วยควรดื่มน้ำสะอาดและพักผ่อนอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
- ห้องน้ำแยกเดี่ยว ใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น หรือถ้าจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน ให้ปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำ เครื่องใช้ให้ทำความสะอาดโถสุขภัณฑ์ทันที
- ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากไม่ได้อยู่คนเดียว
- ล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล ก่อนและหลังทุกครั้งที่ต้องต้องสัมผัสของใช้ต่าง ๆ
- เปิดประตูให้มีช่องลมเข้าออก เพื่อลดการสะสมเชื้อโรค
- เสื้อผ้าเครื่องนอนต้องสะอาด ซักผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู ด้วยสบู่หรือผงซักฟอก หากใช้เครื่องซักผ้าให้ซักด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้าในอุณหภูมิ 60 ถึง 90 องศาเซลเซียส
สิ่งที่ต้องระวัง ระหว่างการทำ Home Isolation
ระหว่างการทำHome Isolation นั้นมีผู้ร่วมอาศัยคนอื่นอยู่ด้วย ผู้ป่วยติดเชื้อจะต้องระวังเรื่องดังต่อไปนี้ (อยู่คนเดียวก็สามารถปฏิบัติได้)
- ล้างมือเป็นประจำอย่างถูกวิธีอย่างน้อย 30 วินาทีโดยเฉพาะหลังการไอ จาม และขับถ่าย
- ฆ่าเชื้อเมื่อสัมผัสสิ่งของต่างๆ เช่น ลูกบิดประตู สวิตช์ไฟ เพื่อไม่ให้คนอื่นที่มาใช้ต่อเสี่ยงรับเชื้อ
- ระวังเรื่องการไอจาม หากรู้สึกอยากไอจามต้องออกให้ห่างคนอื่นอย่างน้อย 2 เมตร และหันหน้าไปทางทิศตรงข้าม หากไอจามขณะสวมหน้ากากไม่ต้องเอามือปิดและไม่ต้องถอดหน้ากาก เพราะเชื้ออาจจะติดมากับมือ แต่ถ้าไอจามตอนไม่สวมหน้ากากให้ใช้ต้นแขนด้านในปิดปากและจมูก
- สวมหน้ากากตลอดเวลาเมื่อต้องเจอคนอื่น
- ทิ้งหน้ากากอนามัย หรือซักทำความสะอาด (หน้ากากผ้า) หลังใช้ครบ 8 ชั่วโมง หรือเมื่อพบว่าหน้ากากเปียกชื้น มีรอยสกปรก
สิ่งสำคัญที่ต้องหมั่นตรวจเมื่อทำการแยกกักตัวที่บ้าน
เมื่อทำการแยกกักตัวที่บ้าน ผู้ป่วยจะต้องหมั่นตรวจ วัดค่าออกซิเจนปลายนิ้ว – อุณหภูมิร่างกายและบันทึกค่าเหล่านี้ไว้เพื่อนำไปรายงานประกอบการวินิจฉัยของแพทย์
- การใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
- ใส่ถ่านหรือชาร์จให้เต็ม
- กดปุ่มเปิดเครื่อง และสอดปลายนิ้วตามตำแหน่งที่กำหนด
- หายใจเข้าออกลึกๆ แล้วรอสักพัก จากนั้นจดค่าที่วัดได้
- อ่านค่าและแปรผลเลข (ตัวบน คือค่าระดับออกซิเจนในเลือด มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ / เลขตัวล่าง คือค่าอัตราการเต้นของหัวใจ มีหน่วยเป็นครั้ง/นาที
- ค่าปกติของระดับออกซิเจนที่วัดได้อยู่ที่ 96-100% หากต่ำกว่าเกณฑ์นี้ให้รีบติดต่อแพทย์
- การใช้ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล มีหลายวิธี เช่น
- สอดส่วนหัวสีเงิน เข้าไปใต้รักแร้ พับแขนหนีบทิ้งไว้ 2-3 นาที
- อมปรอทไว้ใต้ลิ้นนาน 3 นาที (ไม่ควรดื่มน้ำร้อนหรือน้ำเย็นก่อนวั 10-15 นาที)
- หากมีไข้เกิน 37.5 องศาเซลเซียส พักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำให้เพียงพอ กินยาลดไข้ แต่ถ้าไม่ดีขึ้นให้รีบติดต่อแพทย์
*ทำความสะอาดตลอดทุกครั้งหลังใช้
สิ่งที่ผู้ป่วยโควิด-19 ต้องเตรียม ระหว่างการทำ Home Isolation
- อุปกรณ์ป้องกันการแพร่เชื้อ
- เจลล้างมือ
- แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ
- หน้ากากอนามัย
- ถุงสำหรับขยะติดเชื้อ
- ทิสชูแห้ง ทิสชูเปียก
- น้ำยาฟอกขาวสำหรับทำความสะอาด
2. ยารักษาโรคที่กินเป็นประจำ
หากรักษาตัวแบบ Home Isolation แล้วมีอาการแย่ลง จะทำอย่างไร ?
ในกรณีที่ทำการรักษาตัวแบบHome Isolation แล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแย่ลง ให้รีบติดต่อแพทย์ตามช่องทางที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้ เพื่อขอรับการช่วยเหลือ โดยสามารถสังเกตอาการได้ดังต่อไปนี้
- ไข้สูงเกิน 5 องศาเซลเซียส
- ท้องเสีย อาเจียน กินอาหารไม่ได้
- วัดค่าออกซิเจนปลายนิ้วได้ต่ำกว่า 96%
- หายใจไม่สะดวก พูดเป็นประโยคยาวๆ ไม่ได้
- ไอมาก แน่นหน้าอกต่อเนื่อง นอนราบไม่ได้
- หายใจลำบาก หายใจเหนื่อย หายใจเร็ว
- มีอาการซึม เรียกไม่รู้สึกตัว หรือไม่ตอบสนอง
การกำจัดขยะติดเชื้อ ระหว่างทำ Home Isolation
หลังจากการทำHome Isolation หรือการแยกกักตัวที่บ้าน จะต้องมีขยะติดเชื้อเป็นจำนวนมาก ซึ่งขยะติดเชื้อ ได้แก่ ขยะปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย สารคัดหลั่ง เช่น หน้ากากอนามัย กระดาษทิชชู ภาชนะใส่อาหาร ชุดตรวจโควิด เป็นต้น จำเป็นต้องกำจัดทิ้ง และเพื่อให้ทุกคนปลอดภัย ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติดังต่อไปนี้
- เก็บรวบรวมขยะติดเชื้อทุกวันใส่ถุงขยะ 2 ชั้น (ถ้าเป็นไปได้ให้ใช้ถุงขยะสีแดงสำหรับขยะติดเชื้อ)
- ถุงขยะชั้นแรกเมื่อใส่ขยะติดเชื้อแล้ว ให้ราดด้วยสารฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ 70% หรือน้ำยาฟอกขาว เพื่อทำลายเชื้อ
- มัดปากถุงให้แน่น แล้วฉีดฆ่าเชื้อบริเวณปากถุง
- ซ้อนด้วยถุงอีกชั้น รัดให้แน่น และฉีดฆ่าเชื้อบริเวณปากถุงอีกรอบ
- ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ทันที
ข้อปฏิบัติหลังหายป่วย จากการทำ Home Isolation
- ยังต้องระวังตัวอย่างเคร่งครัด ด้วยการสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ
- พยายามแยกตัวจากผู้อื่น เลี่ยงการทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จนครบ 1 เดือนนับจากวันที่กักตัว
- หากยังไม่ฉีดวัคซีนแนะนำให้ฉีดโดยเว้น 3-6 เดือนนับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ
คำถามที่พบบ่อย
จะต้องขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์ผู้ดูแลรักษา
ในกรณีรักษาตัวโดยแยกกักตัวที่บ้าน อยากเคลมประกันชดเชยรายวัน สามารถทำได้หรือไม่?
ตอบ : สามารถทำได้ แต่ผู้ที่ทำการรักษาแบบHome Isolation จะต้องย้ายเข้าไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล จึงจะได้รับการคุ้มครอง และค่าชดเชยรายวัน เนื่องจากตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ สัญญาประกันภัย ระบุบไว้ใน คำสั่งที่ 43/2564 และ 44/2564 ตามประกาศ คปภ. วันที่ 1 ส.ค. 2564
จากคำสั่ง คปภ. ที่ 43/2564 และ 44/2564 ระบุว่า “กรณีประกันภัยโควิด-19 แบบเจอจ่ายจบ ที่กรมธรรม์ประกันภัยไม่ได้กำหนดเงื่อนไขใดเพิ่มเติมนั้น ไม่เกี่ยวว่าจะรักษาตัวที่ไหน ถ้ามีหลักฐานที่กำหนดมาแสดงว่าติดเชื้อจริง บริษัทประกันภัยต้องจ่าย ทั้งนี้บริษัทประกันภัยจะมาอ้างว่าเป็นกรณีHome Isolation หรือแบบ Community Isolation แล้วไม่จ่ายเคลมไม่ได้
ทั้งนี้ ผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 จะต้อง ดูตามสัญญาประกันด้วยว่าต้องใช้เอกสารใดบ้างเพื่อมายืนยันรับค่าชดเชย เช่น ใบรับรองแพทย์, ใบรับรองจากสถานพยาบาล, ผลตรวจ ใบเสร็จ หรือหลักฐานต่างๆ เป็นต้น
พญ. รัตตินันท์ ตรีรัตน์ (คุณหมอแต๋ม)
แพทย์ผู้ชำนาญด้านผิวพรรณและเลเซอร์
เกียรตินิยมด้านเวชศาสตร์ความงามจาก American Academy of Aesthetic Medicine
ประสบการณ์มากกว่า 20 ปี