โรคมือเท้าปาก (Hand-foot-and-mouth disease; HFMD) เป็นหนึ่งในกลุ่มอาการที่เกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส (ENTEROVIRUS) มีลักษณะเฉพาะ คือ มีตุ่มน้้าใสที่ปาก มือ และเท้า เชื้อที่พบเป็นสาเหตุบ่อยที่สุดโดยทั่วไป คือ เชื้อคอกซากีไวรัส เอ 16 (COXSACKIE A16) และเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 (ENTEROVIRUS 71; EV71) ในประเทศไทยพบสาเหตุจากเชื้อ EV71 ประมาณร้อยละ 15-30 ซึ่งเชื้อ EV71 นั้นมีโอกาสก่อให้เกิดอาการรุนแรงและทำให้เสียชีวิตได้ และ โรคมือเท้าปาก นั้นมีการระบาดแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ซึ่งในประเทศไทยจะพบได้ตลอดทั้งปี แต่จะชุกในช่วงฤดูฝน และช่วงที่มีอากาศร้อนชื้น
โรคมือเท้าปาก ติดต่ออย่างไร?
โรคมือเท้าปาก สามารถติดต่อกันได้ง่าย โดยการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งจากจมูก, ลำคอ พวกน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ และน้ำจากในตุ่มใสที่อยู่ตามมือและเท้า รวมถึงอุจจาระของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อไวรัสอยู่ (fecal – oral route)
ช่วงที่มีการแพร่กระจายมากที่สุด คือ ในสัปดาห์แรกที่ผู้ป่วยมีอาการ และจะยังแพร่เชื้อได้จนกว่าตุ่มน้ำหรือรอยโรคจะหายไป แต่ก็ยังพบเชื้อในอุจจาระผู้ป่วยต่อได้อีกประมาณ 2-3 สัปดาห์ เชื้อเอนเทอโรไวรัส (ENTEROVIRUS) สามารถทนสภาวะความเป็นกรดในทางเดินอาหารของมนุษย์ได้ และมีชีวิตอยู่ในอุณหภูมิห้องได้ 2-3 วัน ซึ่งอาจพบเชื้อในอุจจาระได้นานถึง 6-12 สัปดาห์
โรคมือเท้าปาก มีอาการอย่างไร
- โดยปกติพอรับเชื้อมาแล้ว ก็จะมีระยะฟักตัวประมาณ 3-6 วัน
- อาการเริ่มต้น คือ มักจะเริ่มจากการมีไข้ 38-39 องศา และมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว ระยะนี้จะมีระยะเวลาประมาณ 1-2 วัน
- จากนั้นจะเริ่มมีอาการเจ็บปาก ตรวจร่างกายจะพบมีรอยโรคในบริเวณปาก มือ และเท้าตามมา
- โดยทั่วไปโรคมือเท้าปาก จัดว่ามีอาการน้อย โดยมากมักมีเพียงไข้ ครั่นเนื้อ ครั่นตัว และเจ็บปาก
อาการจาก โรคมือเท้าปาก แบบไหนต้องรีบพบแพทย์ทันที!
- ไข้สูง
- ซึม หรือ กระสับกระส่าย ร้องกวนตลอดเวลา
- ชัก เกร็งกระตุก
- อาเจียนบ่อยๆ
- ตัวลาย ซีด
- หอบเหนื่อย
- ไม่ยอมรับประทานอาหารและนํ้า
รอยโรคบริเวณปาก
พบในผู้ป่วยทั้งหมด ทุกบริเวณในปาก แต่ที่พบได้บ่อย คือ เพดานปาก ลิ้น และเยื่อบุกระพุ้งแก้ม โดยในระยะเริ่มต้น จะมีลักษณะเป็นรอยสีแดง อาจนูนเล็กน้อย ขนาด 2-8 มิลลิเมตร จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นตุ่มนํ้าสีเทาขนาดเล็กขอบแดง ซึ่งช่วงเวลาที่เป็นตุ่มนํ้าจะสั้นมาก จึงมักตรวจไม่พบรอยโรคในระยะนี้ แต่ก็มักพบลักษณะเป็นแผลตื้นๆ สีเหลืองถึงเทามีขอบแดง ซึ่งอาจจะมารวมกันเป็นรอยโรคใหญ่ได้
รอยโรคที่ผิวหนัง
อาจเกิดขึ้นพร้อมกับรอยโรคที่ปาก หรือหลังจากนั้นเล็กน้อย พบมีผื่นที่มือ เท้า หรือ ง่ามนิ้วมือนิ้วเท้า โดยจะพบที่มือบ่อยกว่าเท้า
ลักษณะเป็นรอยแดงๆ อาจนูนเล็กน้อยขนาด 2-10 มิลลิเมตร ตรงกลางสีเทา บางรอยโรคมี ลักษณะเป็นตุ่มน้ำใสขอบแดง มีกระจายขนานไปกับแนวของผิวหนัง อาจเจ็บหรือไม่ก็ได้ หลังจากนั้น 2-3 วัน จะค่อยๆเริ่มตกสะเก็ด และค่อยๆ หายไปภายใน 7-10 วัน บริเวณอื่นๆ ที่อาจพบรอยโรคได้ เช่นกัน คือ ก้น แขน ขา และอวัยวะสืบพันธุ์ ในเด็กทารกอาจพบกระจายทั่วตัวได้
ภาวะแทรกซ้อน จาก โรคมือเท้าปาก
ในผู้ป่วยบางรายอาจพบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ โดยเฉพาะจากการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 (enterovirus 71) ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง แบ่งเป็น
- ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท เช่น ก้านสมองอักเสบ (brainstem encephalitis), สมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningoencephalitis), เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่ไม่ใช้การติดเชื้อแบคทีเรีย (aseptic meningitis), กล้ามเนื้ออ่อนแรงคล้ายโปลิโอ (poliomyelitis like paralysis)
- ภาวะแทรกซ้อนระบบหัวใจ และหลอดเลือด เช่น กล้ามเนื้อหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โดยผู้ป่วยจะมีไข้นํามาก่อนประมาณ 3-6 วัน โดย มักมีไข้สูง หัวใจเต้นเร็ว และมักมีอาการทางระบบประสาทนํามาก่อน ต่อมามีอาการหายใจล้มเหลวอย่างรวดเร็ว และมีปอดบวมน้ำ (pulmonary edema)
โรคมือเท้าปาก มีวิธีรักษาอย่างไร ?
การวินิจฉัย โรคมือเท้าปาก โดยทั่วไปจะวินิจฉัยจากอาการและอาการแสดงเป็นหลัก (Clinical diagnosis)
โรคมือเท้าปาก ถ้าหากไม่มีภาวะแทรกซ้อนอะไร ก็เป็นโรคที่สามารถหายได้เองโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 7 วัน โดยจะให้การรักษาแบบประคับประคองและบรรเทาอาการ โดยเฉพาะการลดไข้ และลดอาการเจ็บปวด จากแผลในปาก โดยอาจใช้ยาชาป้ายบริเวณที่เป็นแผลก่อนรับประทานอาหาร ในผู้ป่วยบางคนที่เป็นแผลเยอะ และเจ็บปากมาก รับประทานอาหารไม่ค่อยได้ ถ้าเกิดว่ามีอาการเพลียมาก ก็อาจจะต้องมาโรงพยาบาลเพื่อให้น้ำเกลือเข้าทางเส้นเลือด ช่วยประคับประคองไป จนกว่าอาการจะดีขึ้น รับประทานได้ดีขึ้นก็กลับบ้าน
หลังจากการติดเชื้อผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสที่ก่อโรค แต่อาจเกิดโรคมือ เท้า ปาก ซ้ําได้จากเอนเทอโรไวรัส (enterovirus) ตัวอื่นๆ ได้
การป้องกันการแพร่เชื้อ และติดเชื้อ จากโรคมือเท้าปาก
- แยกผู้ป่วยที่เป็นโรคออกจากกลุ่มเพื่อนในโรงเรียน และสถานเลี้ยงเด็ก เป็นสิ่งที่สําคัญที่สุด โดยการให้เด็กพักอยู่บ้าน หยุดเรียน หลีกเลี่ยงในการพาไปในที่ชุมชน ประมาณ 7-10 วัน
- ใช้ผ้าหรือทิชชู่ ปิดปาก ปิดจมูก ขณะไอจาม
- ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากที่สัมผัสกับผู้ป่วย ก่อนและหลังรับประทานอาหาร หรือเข้าห้องน้ำ
ตรวจ COVID-19 ด้วยวิธี RT-PCR
“3 FIT” ที่รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
- จองคิวล่วงหน้า เพียง 1 วัน!
- สถานที่ให้บริการ สะอาด ปลอดภัย ไม่แออัด
- ปลอดเชื้อด้วยห้องตรวจความดันลบ ที่ได้มาตรฐาน
- ผลลัพธ์แม่นยำ ส่งตรวจห้อง Lab มาตรฐาน จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เท่านั้น
- รู้ผลภายใน 24 ชม. (รับผลด้วยตัวเอง หรือบริการส่งแมส)
- มีที่จอดรถ / เดินทางสะดวกด้วย BTS และ MRT
- ได้รับผลตรวจ COVID-19 และใบรับรองแพทย์ FIT To Fly
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
Biography