ไวรัสตับอักเสบบี ป้องกันก่อนสาย! สาเหตุของ ตับแข็ง ตับวาย มะเร็งตับ

ไวรัสตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบบี เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งที่แฝงอยู่ในสังคมของเรา ถ้าหากพูดถึงโรคติดต่อ หลายคนอาจจะมองข้ามไวรัสตับอักเสบบีไป เพราะถึงแม้โรคนี้จะแฝงอยู่ในคนจำนวนมาก แต่ด้วยความที่ไม่ปรากฎอาการ จึงทำให้หลายคนมองข้ามและลืมฉีดวัคซีน ทั้ง ๆ ที่เราสามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจุบันพบผู้ป่วยที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบีทั่วโลก ประมาณ 350-400 ล้านคน ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสตับอักเสบบีสูง เช่นเดียวกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และอัฟริกา ประมาณร้อยละ 6-10 ของประชากรไทยทั้งหมด คิดเป็นจํานวน 6-7 ล้านคน

ไวรัสตับอักเสบบี ทําให้เกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตได้ หลังจากที่ติดเชื้อไปแล้วสามารถทำให้เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง โรคตับแข็ง และโรคมะเร็งตับ ส่วนพวกที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี มีโอกาสเป็นมะเร็งตับมากกว่าพวกที่ไม่ได้เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบีถึง 223 เท่า

เชื้อไวรัสตับอักเสบบี เกิดจากอะไร และติดต่อทางไหน ?

  • เชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) พบในเลือด รวมถึงสารคัดหลั่งของร่างกายอื่นๆ เช่น น้ำอสุจิ เยื่อเมือกจากช่องคลอด น้ำคร่ำ ประจําเดือน น้ำเหลือง
  • เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางบาดแผล เพศสัมพันธ์ และทางแม่สู่ลูก ขณะคลอดและหลังคลอด
  • สามารถติดต่อทางการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การให้เลือด การฝังเข็ม การทำฟัน การสักตามร่างกายเจาะหู โดยอุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อไม่ถูกต้อง หรือใช้ของใช้ส่วนตัวที่ปนเปื้อนเลือด หรือสารคัดหลั่งร่วมกัน รวมถึงติดต่อผ่านทางเครื่องมือแพทย์ที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้อีกด้วย
  • อย่างไรก็ตาม ไวรัสตับอักเสบบี ไม่ติดต่อหลักทางน้ำลายหรือการสัมผัสภายนอก ดังนั้นการกินอาหารร่วมกัน หรือดื่มน้ำแก้วเดียวกัน เข้าห้องน้ำห้องดียวกัน จึงไม่ใช่ทางติดต่อ
ไวรัสตับอักเสบบี อาการเป็นอย่างไร
กลับสู่สารบัญ

ไวรัสตับอักเสบบี มีอาการอย่างไร?

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เชื้อจะเข้าไปฟักตัวในร่ายกายเราประมาณ 2-3 เดือน โดยอาการจะแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ คือ

  1. ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีชนิดเฉียบพลัน ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย แต่จะมีผู้ป่วยส่วนน้อยที่มีอาการชัดเจน โดยจะเริ่มมีอาการอ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้ อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงขวาจากตับโต ท้องอืด มีไข้ต่ำๆ ปัสสาวะสีเข้ม ตาเหลือง คันตามผิวหนัง โดยจะมีอาการเหล่านี้อยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์ หลังจากนั้นอาการจะทุเลาเป็นปกติภายใน 4-6 สัปดาห์ และร่างกายจะค่อยๆ กําจัดไวรัสตับอักเสบบีออกไปพร้อมๆ กับการสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีซ้ำอีก

ผู้ป่วยประมาณ 5-10 %  อาจโชคไม่ดี ไม่สามารถกําจัดเชื้อออกจากร่างกายได้ เกิดการติดเชื้อเรื้อรัง บางรายจะมีการอักเสบของตับร่วมด้วย ซึ่งหากมีการอักเสบตลอดเวลาจะทำให้มีการตายของเซลล์ตับ เกิดมีพังผืดเพิ่มมากขึ้นจนเป็นตับแข็งในที่สุด ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจะกลายเป็นมะเร็งตับ

  1. ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรัง ส่วนมากไม่มีอาการ ผู้ป่วยจะทราบว่าตนเองเป็นโรคนี้ก็ต่อเมื่อไปตรวจสุขภาพประจำปี บริจาคเลือด หรือต้องการตรวจหาการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้โดยเฉพาะ บางรายมีตับอับเสบเรื้อรังมานานจนกลายเป็นตับแข็ง อาจจะมีอาการของภาวะตับแข็ง เช่น บวม ตาเหลือง ท้องมาน อาเจียนเป็นเลือด
ไวรัสตับอักเสบบี อันตรายไหม อาการเป็นอย่างไร
กลับสู่สารบัญ

พาหะของโรคไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร?

คนที่เป็นพาหะ คือคนที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอยู่ในร่างกาย แต่ไม่มีอาการตับอักเสบ คนที่เป็นพาหะสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ซึ่งก็คือผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังที่ไม่มีอาการนั่นเอง

คําแนะนําสําหรับผู้เป็นพาหะ

  1. บํารุงร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  2. งดสุรา และสิ่งที่มีผลต่อตับ โดยเฉพาะไม่ควรซื้อยากินเอง ซึ่งรวมถึงยาบํารุง วิตามินบางชนิด หรือสมุนไพร
  3. งดบริจาคเลือด รวมถึงน้ำเชื้ออสุจิ
  4. งดการใช้ของร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะของที่ปนเปื้อนเลือดได้ เช่น มีดโกน แปรงสีฟัน
  5. ออกกําลังกายและทํางานได้ตามปกติ เพียงงดกีฬาหรือการทํางานที่หักโหมเกินไป
  6. แนะนําให้ผู้ที่ยังไม่มีภูมิกันโรค ที่ใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นพาหะฉีดวัคซีน
  7. ใช้ถุงยางอนามัย เมื่อจะมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคนี้
  8. เมื่อมีอาการผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์
  9. ควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อติดตามดูความผิดปกติของหน้าที่การทำงานของตับ
  10. ทารกที่คลอดจากหญิงที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีควรได้รับการฉีดวัคซีนและ/หรือซีรั่มป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับบี
  11. หญิงมีครรภ์ควรรับประทานยาต้านไวรัสตับอักเสบบีขณะตั้งครรภ์ภายใต้การดูแลของแพทย์เพื่อลดโอกาสที่ทารกจะได้รับเชื้อไวรัสจากมารดา
  12. มารดาสามารถให้นมบุตรได้ตามปกติ
ไวรัสตับอักเสบบี ไม่ฉีดยา วัคซีน ก่อให้เกิด ตับแข็ง มะเร็งตับได้
กลับสู่สารบัญ

การวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบบี

การวินิจฉัยไวรัสตับอักเสบบีในปัจจุบันทําได้ง่ายมาก เพียงแค่ตรวจเลือดหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg) และปริมาณเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV DNA)  ก็จะทราบได้ว่าเรามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่ ซึ่งแพทย์อาจตรวจเลือดเพิ่มเติมเพื่อดูว่ามีตับอักเสบร่วมด้วยหรือไม่ โดยการตรวจค่าการทำงานของตับ (Liver Function Test)

  • ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง คือผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสปริมาณมาก และมีค่าการทำงานของตับผิดปกติ โดยมีค่าเอ็นไซม์ตับสูงขึ้นนานเกินกว่า 6 เดือน
  • ผู้ป่วยที่เป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบบี คือผู้ที่มีเชื้อไวรัสในร่างกายปริมาณน้อย และมีค่าการทำงานของตับอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ในรายที่ผลการตรวจเลือดไม่ชัดเจนและไม่สามารถวินิจฉัยได้ แพทย์อาจพิจารณาทำการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม เช่น การตรวจหาพังผืดในตับ (Fibro scan) หรือการตรวจชิ้นเนื้อตับ (Liver Biopsy)
วัคซีนป้องกัน ไวรัสตับอักเสบบี
กลับสู่สารบัญ

การรักษาโรค ไวรัสตับอักเสบบี

เป้าหมายของการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี คือการยับยั้งการทำลายเซลล์ตับ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดตามมา เช่น ตับแข็ง ภาวะตับวาย และมะเร็งตับ และช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิต โดยพยายามลดปริมาณเชื้อไวรัสที่อยู่ในร่างกายให้เหลือน้อยที่สุดจนไม่สามารถตรวจนับได้ รวมถึงผู้ป่วยบางรายปริมาณเชื้อหมดไปจากร่างกาย และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้

ยาที่ใช้รักษาในปัจจุบันมีทั้งชนิดฉีดและยารับประทาน การเลือกใช้ยาชนิดใดในการเริ่มรักษาแพทย์จะพิจารณาจาก ระดับเอ็นไซม์ตับ ปริมาณเชื้อไวรัส และการตรวจชิ้นเนื้อตับ เพื่อประเมินระยะของโรคโดยแพทย์จะเป็นผู้อธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงประโยชน์และข้อจำกัดของยาแต่ละชนิดเพื่อให้ผู้ป่วยมีโอกาสร่วมในการตัดสินใจเลือกชนิดการรักษา

ปัจจุบันมีการใช้วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดบีแล้วโดยฉีดให้แก่ทารก และผู้ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันโดยจะฉีดติดต่อกันจำนวน 3 เข็มซึ่งจะทำให้มีภูมิต้านทานการติดเชื้อได้มากกว่า 90%

เพราะฉะนั้นหากคุณสงสัยว่าตัวเองจะเป็นไวรัสตับอักเสบบี ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจเลือด ซึ่งคุณสามารถได้คําตอบในเวลาไม่นาน และเสียค่าใช้จ่ายไม่มาก และที่สำคัญไวรัสตับอักเสบบีสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน และถึงแม้ว่าคุณจะได้รับเชื้อไปแล้วมีภาวะตับอักเสบ ก็ยังรักษาได้โดยการใช้ยา ซึ่งเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอาจจะไม่ได้หมดจากร่างกาย แต่ก็สามารถหยุดยั้งไม่ให้เกิดการอักเสบ ป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนได้

Ref. : https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1186 , http://www.med.nu.ac.th/dpMed/fileKnowledge/146_2018-06-07.pdf , https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/768_1.pdf

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า