ผ่าตัดกรดไหลย้อน คือการผ่าตัดสำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่เป็น โรคกรดไหลย้อนเรื้อรัง (GERD) ที่อาจจะ รักษาด้วย การทานยา แต่ไม่ได้ผล! หรือมีความผิดปกติของโครงสร้างอวัยวะภายในร่างกาย เช่น หูรูดกระเพาะอาหารหลวม ทำงานผิดปกติ หรืออาจจะมี ภาวะไส้เลื่อนกระบังลม (Hiatus Hernia) ร่วมด้วย ซึ่งภาวะนี้กระเพาะอาหารบางส่วนจะเลื่อนขึ้นไปอยู่ในช่องอก ทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อน
การรักษาด้วย ยาลดกรด ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ จึงเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ถึงแม้จะให้ยาโดสสูงและได้ยาต่อเนื่องตลอดชีวิต แต่ก็ยังไม่สามารถแก้อาการของโรคได้ เนื่องจากหลอดอาหารเป็นแผล และหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจเกิดความเสี่ยงเป็น มะเร็งหลอดอาหาร อีกด้วย ดังนั้นการผ่าตัดกรดไหลย้อน (ผ่าตัดหูรูดกระเพาะ) จึงเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาโรคกรดไหลย้อนเรื้อรัง เพื่อลดโอกาสในการกลับมาเป็นซ้ำได้ดีที่สุด
สาเหตุการเกิดกรดไหลย้อน
- ความผิดปกติของหูรูดระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะ หูรูดนี้ทำหน้าที่ป้องกันกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหาร กลับมาที่หลอดอาหาร ซึ่งไม่สามารถทนความเป็นกรดได้ จึงมีอาการแสบร้อน อาจจะเกิดจากหูรูดหลวมหรือเปิดบ่อยกว่าในคนปกติ ความผิดปกติเหล่านี้อาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคหอบหืดบางตัว หนึ่งในสาเหตุคือโรคอ้วน
- ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร เช่น โรค achalasia ทำให้อาหารที่รับประทานไหลลงช้า ค้างอยู่ในหลอดอาหารนานกว่าปกติ
- ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหารเอง ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ ไม่ย่อย ทำให้เพิ่มโอกาสของการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหารมากขึ้น อาหารประเภทไขมันสูงและช็อกโกแลตจะทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวลดลง
อาการของโรคกรดไหลย้อน ที่ไม่ควรมองข้าม !
อาการกรดไหลย้อน (GERD)
- อาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่หรือยอดอก (Heart Burn)
- ภาวะเรอเปรี้ยว ซึ่งเป็นกรดหรือน้ำย่อยที่มีรสเปรี้ยวปนขมย้อนขึ้นมาที่คอหรือปาก โดยจะเป็นมากขึ้นหลังจากการกินอาหารโดยเฉพาะเมื่อกินปริมาณมากๆ หรือเมื่อมีการก้มโน้มตัวไปข้างหน้า เมื่อออกแรงยกของหนัก หรือเวลานอนหงาย
- บางรายอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการอื่นที่ไม่เกี่ยวกันเช่น ไอเรื้อรัง เสียงแหบหรือหอบหืด เจ็บหน้าอกคล้ายอาการของโรคหัวใจ
- สำหรับเด็กก็เป็นโรคนี้ได้ ซึ่งจะมีอาการดังนี้ อาเจียนบ่อยหลังดูดนม มีภาวะโลหิตจาง น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้น เจริญเติบโตช้า ไอเรื้อรัง หอบหืด อาจมีปอดอักเสบเรื้อรัง
ข้อเสียของการปล่อยให้เป็นโรคกรดไหลย้อนเวลานาน
เนื่องจากเนื้อหลอดอาหารจะไม่ทนกับกรดเหมือนเนื้อกระเพาะ ดังนั้นหากเป็นภาวะนี้นานๆ จะทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบหรือเป็นมากจนเป็นแผลรุนแรง แผลเรื้อรัง อาจทำให้ปลายหลอดอาหารตีบ (peptic stricture) หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหาร จนถึงขั้นเป็น มะเร็งหลอดอาหาร ได้
การผ่าตัดแก้กรดไหลย้อน GERD คืออะไร ?
ในภาวะปกติ เราจะมีหูรูดอยู่ชิ้นหนึ่ง กั้นระหว่างกระเพาะอาหารและหลอดอาหารเอาไว้ อาการกรดไหลย้อน คือภาวะที่กรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งควรถูกักไว้ที่กระเพาะเท่านั้น สามารถไหลย้อนกลับไปที่หลอดอาหารได้ผ่านหูรูดนี้ ซึ่งหูรูดอาจจะมีความเสื่อมหรือหลวม ทำให้ทั้งกรดและอาหารสามารถผ่านกลับไปที่หลอดอาหารได้ ขณะที่หลอดอาหาร กลับไม่สามารถทนกรดที่สร้างจากกระเพาะได้ จึงเกิดเป็นแผลขึ้นมา จนมีอาการแสบ จุก ร้อนแน่นในอก หรือเรอบ่อยๆ ได้
วิธีการแก้กรดไหลย้อนขั้นรุนแรง คือผ่าตัดสร้างหูรูดเพิ่มเติมคร่อมหูรูดเดิม ด้วยการเอาเนื้อกระเพาะตอนต้น (กระเพาะส่วน fundus) ม้วนกลับไปพันคร่อมหูรูดนั้น เพิ่มความแข็งแรงเวลากระเพาะอาหารบีบตัว และก็จะอาศัยแรงของกระเพาะกระชับหูรูด ที่มีความผิดปกตินั้นไปด้วย จนกรดไม่สามารถไหลผ่านกลับขึ้นไปยังหลอดอาหารได้ ทำให้ลดอาการของโรคและลดการใช้ยาได้ในที่สุด เราเรียกการผ่าตัดนี้ว่าการ ผ่าตัดกรดไหลย้อน หรือ GERD surgery
ผ่าตัดแก้กรดไหลย้อน แบบนี้อันตรายไหม ?
การผ่าตัดกรดไหลย้อน ในปัจจุบันใช้วิธีผ่าตัดแบบส่องกล้อง คือการเจาะรูเล็ก ๆ บริเวณหน้าท้อง โดยเครื่องมือจะถูกสอดเข้าไปในช่องท้องผ่านรูเล็กๆ เหล่านั้น แล้วใช้ความชำนาญการของศัลยแพทย์ในการหยิบจับเนื้อกระเพาะมาพันและเย็บหูรูดใหม่ ในบางกรณีก็จะมีการเย็บซ่อมไส้เลื่อนกระบังลม ที่เป็นสาเหตุของกรดไหลย้อนร่วมด้วย และหลังการผ่าตัดแก้กรดไหลย้อน ใช้เวลาในการพักฟื้นสั้น ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลเพียง 1 คืนก็เพียงพอ ก็สามารถกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย
ผลข้างเคียงของการ ผ่าตัดกรดไหลย้อน หรือ GERD surgery
- มีความเสี่ยงต่ำ เพราะเป็นการผ่าตัดระยะสั้นไม่เกินสองชั่วโมง แต่อาจจะมีอาการข้างเคียงจากการดมยาสลบและการผ่าตัดเพียงเล็กน้อย
- หลังผ่าตัดใหม่ๆ หูรูดอาจจะมีความแน่นมากจนกลืนอาหารลำบากในช่วงแรก แก้ไขด้วยการทานอาหารเหลวในช่วงแรกๆ ก่อน
- อาการ เรอ อาจจะลดลงมากจนรำคาญ เนื่องจากความแน่นของหูรูดที่ไม่ค่อยชิน
ผ่าตัดรักษาโรคกรดไหลย้อน
โดยศัลยแพทย์ด้านการส่องกล้อง ศัลยศาสตร์ทางเดินอาหารและผ่าตัดลดน้ำหนัก
ใครที่เหมาะกับการผ่าตัดกรดไหลย้อน
คนที่เหมาะกับการ ผ่าตัดกรดไหลย้อน หรือ GERD คือคนที่ มีอาการของกรดไหลย้อนขั้นรุนแรง เรื้อรัง และไม่อยากทานยาลดกรดไหลย้อนไปตลอดชีวิต หรือได้ตรวจพิสูจน์แล้วว่าเป็นโรคนี้จริง เพราะอาการโรคกรดไหลย้อน (GERD) อาจจะเหมือนอาการโรคอื่นๆ
- คนที่เป็นกรดไหลย้อนและทานยาไม่ได้ผล
- คนที่เป็นกรดไหลย้อน ทานยารักษากรดไหลย้อนก็ดีขึ้นแต่อยากผ่าเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่านี้ หรือ ไม่อยากทานยาอีกต่อไป
- คนที่มีผลแทรกซ้อนจากการเป็น โรคกรดไหลย้อน GERD เป็นเวลานานๆ เช่น แผลเรื้อรัง การตีบของกระเพาะ (Peptic stricture) และแผลในหลอดอาหารเช่นโรค Barrette’s esophagitis
- เริ่มมีอาการอื่นๆ นอกเหนือจากอาการในช่องท้อง เช่น อาการไอเรื้อรังจาก GERD หรือ กรดไหลย้อน อาการเสียงแหบ อาหารเจ็บหน้าอกปวดร้าวไปแขน
บทความที่เกี่ยวข้อง
ก่อนการผ่าตัดกรดไหลย้อน ต้องเตรียมตัวอย่างไร ?
คนที่ตัดสินใจผ่าตัดควรไปพบแพทย์ผู้ชำนาญทางเดินอาหารเพื่อตรวจ โดยจะทำการตรวจเพิ่มเติมดังนี้
- การส่องกล้องกระเพาะอาหาร (Upper gastroscope) ดูความผิดปกติอื่นๆ โดยเฉพาะไส้เลื่อนกระบังลม (Hiatus Hernia) และแผลหลอดอาหาร (Barrette’s esophagitis)
- การวัดระดับความเป็นกรดด่าง (24 hour pH monitoring) ที่หลอดอาหาร เพื่อดูว่า น้ำกรดไหลย้อนมาจริงๆ
- การวัดการเคลื่อนตัวของหลอดอาหาร โดยใส่สายเข้าไปเพื่อตรวจดูในหลอดอาหาร ปัจจุบันได้มีเทคนิคการตรวจวัดการทำงานคือ วิธีการ High resolution manometry ที่สามารถตรวจดูการเคลื่อนที่และการเคลื่อนไหวในระบบทางเดินอาหารที่ละเอียด ทำให้ได้ผลการวินิจฉัยชัดเจน ทำให้วางแผนผ่าตัดมีความละเอียดเฉพาะบุคคลมากขึ้น
เครื่องมือ High resolution manometry หลังจากการตรวจเพิ่มเติมเหล่านี้ ก็จะทราบว่าควรวางแผนการรักษาอย่างไร หากผลการตรวจออกมาปกติ ก็อาจจะไม่ใช่โรคกรดไหลย้อนซึ่งอาจจะต้องกลับไปรักษาด้วยยาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเต็มที่อีกครั้ง เช่นการ ลดน้ำหนัก
บทความที่เกี่ยวข้อง
การผ่าตัดกรดไหลย้อนกับการทานยา อันไหนดีกว่ากัน ?
จากการศึกษาและติดตามคนไข้ที่
ผ่าตัดกรดไหลย้อน ในหลายงานวิจัย พบว่า
” การผ่าตัดได้ผลดีกว่าการทานยา
เพราะเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ “
เอกสารอ้างอิง
- Mehta S, Bennett J, Mahon D, Rhodes M (2006) Prospective trial of laparoscopic nissen fundoplication versus proton pump inhibitor therapy for gastroesophageal reflux disease: Seven-year follow-up. J Gastrointest Surg 10:1312-1316; discussion 1316-1317
- Lundell L, Miettinen P, Myrvold H E, Pedersen S A, Thor K, Lamm M, Blomqvist A, Hatlebakk J G, Janatuinen E, Levander K, Nystrom P, Wiklund I (2000) Long-term management of gastro-oesophageal reflux disease with omeprazole or open antireflux surgery: results of a prospective, randomized clinical trial. The Nordic GORD Study Group. Eur J Gastroenterol Hepatol 12:879-887
- Lundell L, Attwood S, Ell C, Fiocca R, Galmiche J P, Hatlebakk J, Lind T, Junghard O (2008) Comparing laparoscopic antireflux surgery with esomeprazole in the management of patients with chronic gastro-oesophageal reflux disease: a 3-year interim analysis of the LOTUS trial. Gut 57:1207-1213
- Lundell L, Miettinen P, Myrvold H E, Hatlebakk J G, Wallin L, Malm A, Sutherland I, Walan A (2007) Seven-year follow-up of a randomized clinical trial comparing proton-pump inhibition with surgical therapy for reflux oesophagitis. Br J Surg 94:198-203
การผ่าตัดกรดไหลย้อน ในคนอ้วน หรือ น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
ในกรณีที่ผู่ป่วยมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มากๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของกรดไหลย้อน อาจจะเลือกวิธี การผ่าตัดลดน้ำหนักแบบบายพาส (Bypass) ไปเลยจะดีกว่า เพราะจะเป็นการช่วยลดแรงดันของกระเพาะลง และส่งอาหารตรงไปที่ลำไส้ ‘ผ่าตัดครั้งเดียว แก้สองโรค’ คือ กรดไหลย้อน และลดน้ำหนักไปได้พร้อมๆ กัน อีกทั้งการผ่าตัดแบบบายพาส จะช่วยลดปริมาณของน้ำย่อยหรือกรดในกระเพาะที่เหลือออกได้ไปจำนวนมาก อีกทั้งหลายงานวิจัยพบว่าการผ่าตัดกรดไหลย้อนอย่างเดียว ในคนไข้ที่มีดัชนีมวลกายเกิน 35 (หรือน้ำหนักเกิน 90 กก มักจะไม่ได้ผล)
เอกสารอ้างอิง การผ่าตัดกรดไหลย้อนในคนอ้วน : Kendrick M L, Houghton S G (2006) Gastroesophageal reflux disease in obese patients: the role of obesity in management. Dis Esophagus 19:57-63)
ปรับพฤติกรรมเพื่อรักษากรดไหลย้อนอย่างไร ?
- อย่าให้เครียด และงดการสูบบุหรี่ (เพราะนิโคตินเพิ่มน้ำกรด)
- พยายามลดน้ำหนักถ้าน้ำหนักเกิน (หากสนใจการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก กดที่นี่)
- ถ้ามีอาการท้องผูก ควรรักษาและหลีกเลี่ยงการเบ่ง
- หลังรับประทานอาหาร ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย, การยกของหนัก, การเอี้ยวหรือก้มตัวในทันที ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 3 ชม.
- รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยการทอด, อาหารมัน, อาหารย่อยยาก,
- ลดพืชผักบางชนิด เช่น หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ และอาหารฟาสต์ฟู้ด
- หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกช็อกโกแลต ถั่ว ลูกอม เนย ไข่ นมหรืออาหารที่มีรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวานจัด กาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์
- รับประทานอาหารปริมาณพอดีในแต่ละมื้อ ไม่ควรรับประทานอาหารจนอิ่มแน่นท้องมาก
ปรับนิสัยการนอน
- ไม่ควรนอนหลังการรับประทานอาหารทันที หรืออย่างน้อยควรเว้นระยะห่าง 3 ชม.
- เวลานอน ควรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นประมาณ 6-10 นิ้วจากพื้นราบ
ราคาค่าผ่าตัดกรดไหลย้อน
อัตราค่าผ่าตัดแบบแพกเกจ ราคา 250,000 บาท (*ราคานี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้า) อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า การผ่าตัดกรดไหลย้อน (ผ่าตัดหูรูดกระเพาะอาหาร) นั้น สามารถช่วยรักษาผู้ป่วยที่มีอาการของโรคกรดไหลย้อนเรื้องรัง หรือขั้นรุนแรงที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ เนื่องจากเกิดแผลในหลอดอาหาร
ดังนั้นทางแก้ไขคือควรรักษาให้ทันท่วงที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจเกิดความเสี่ยงเป็นโรคร้ายอย่าง มะเร็งหลอดอาหาร ซึ่งการรักษาด้วยการผ่าตัดนี้ เป็นวิธีมาตรฐานที่มีความปลอดภัยสูง , แผลเล็ก เพราะผ่าตัดแบบส่องกล้อง รวมถึงมีภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดน้อยมาก
คำถามที่พบบ่อย ผ่าตัดกรดไหลย้อน
- เหมาะกับคนที่เป็น กรดไหลย้อนเรื้อรัง (GERD)แล้วรักษาด้วยการทานยาลดกรด ไม่ได้ผล
- ไม่อยากทานยาลดกรดตลอดชีวิต
- คนที่มีความผิดปกติของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น หูรูดกระเพาะอาหารเสือม หลวม หรือทำงานผิดปกติ
ในคนที่เป็นกรดไหลย้อน เกิดการอักเสบบริเวณหลอดอาหาร หลอดอาหารเป็นแผล หรือเป็นแผลเรื้อรัง และหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจเกิดความเสี่ยงเป็น มะเร็งหลอดอาหาร ได้
กรดไหลย้อน จะมีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก หรือลิ้นปี่ เรอเปรี้ยว หรือในบางคนมีอาการ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกในเวลากลางคืน ไอเรื้องรัง หรือสำลักน้ำลาย เป็นต้น
- คนที่เป็นโรคกรดไหลย้อน ควรงดหรือลดการทานพืชผักบางชนิด เช่น หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ และอาหารฟาสต์ฟู้ด
- หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกช็อกโกแลต ถั่ว ลูกอม เนย ไข่ นม
- อาหารที่มีรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวานจัด
- กาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์
ศัลยแพทย์ผู้ดำเนินการรักษา
น.อ นพ.ปณต ยิ้มเจริญ (Dr. Panot Yimcharoen)รายละเอียดการรักษา
ใช้เวลาผ่าตัด
ไม่นาน
วิธีวางยาชา
ยาสลบ
นอนโรงพยาบาล
1 วัน
ระยะพักฟื้น
หลังผ่าตัด 1 อาทิตย์
Alert : อาการแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังทำศัลยกรรมโดยทั่วไปเช่น มีเลือดออก,ติดเชื้อ หรืออาการอักเสบนั้น แตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายในแต่ละบุคคล จึงควรปฏิบัติตามข้อควรระวังอย่างเคร่งครัด
บรรยากาศ รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐานสากล
พร้อมด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ
ประสบการณ์กว่า 24 ปี
รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ ให้บริการเพื่อลูกค้าทุกท่าน ได้รับความพึงพอใจสูงสุด เราพัฒนาคุณภาพการรักษาและการบริการอย่างต่อเนื่อง