กรดไหลย้อน มีสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่ง มาจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ถูกต้อง และการใช้ชีวิตที่เร่งรีบในสภาพสังคมปัจจุบัน ซึ่งถ้าหากปล่อยให้เกิด อาการกรดไหลย้อน เรื้อรัง จะเกิดผลเสียต่อหลอดอาหารได้ ทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบ เป็นแผลที่หลอดอาหาร หรือหลอดอาหารตีบ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด โรคมะเร็งหลอดอาหาร ในอนาคตได้
กรดไหลย้อน (GERD) เกิดจาก อะไร?
กรดไหลย้อน หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า “GERD – เกิร์ด” (Gastroesophageal Reflux Disease) เป็นอาการที่กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหาร จนทำให้เกิดการ อักเสบของหลอดอาหาร ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกแสบร้อนกลางอก (heartburn) เรอบ่อยๆ หรือเรอเปรี้ยว (acid regurgitation) และรู้สึกคลื่นไส้ รบกวนชีวิตประจำวัน
โรคกรดไหลย้อน เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณส่วนปลายของหลอดอาหาร (Lower Esophageal Sphincter – LES) ทำให้กรดหรือน้ำย่อยภายในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร จนสร้างความระคายเคืองกับผนังของหลอดอาหาร
นอกจากนี้ โรคกรดไหลย้อน ยังเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน หรือโรคบางชนิดมีส่วนกระตุ้นให้เกิด อาการกรดไหลย้อน ได้ เช่น เข้านอนหลังรับประทานอาหารทันที สูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลมหรือแอลกอฮอล์ ซึ่งทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดออกมามากขึ้น รับประทานอาหารปริมาณมากภายในมื้อเดียว เป็นโรคอ้วน หรืออยู่ในช่วงตั้งครรภ์
อาการกรดไหลย้อน เป็นอย่างไร?
การวินิจฉัย อาการ กรดไหลย้อน (GERD)
โดยปกติแล้วแพทย์จะวินิจฉัย ภาวะกรดไหลย้อน จากการซักประวัติ ฟังอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก โดยจะต้องไม่พบความผิดปกติจากการตรวจร่างกายและไม่พบว่าเป็นโรคอื่นที่ร้ายแรงกว่า เพราะอาการเจ็บแสบหน้าอกอาจจะคล้ายโรคอื่น เช่น โรคหัวใจได้อาการอื่นๆ ที่อาจจะคิดถึงโรคอื่นๆนอกเหนือจากกรดไหลย้อนเช่น
- มีอาการกลืนลำบาก (dysphagia)
- มีเลือดออกทางเดินอาหาร (gastrointestinal bleeding)
- ตรวจพบว่าซีด (anemia)
- น้ำหนักลดโดยไม่ตั้งใจ (involuntary weight loss)
- มักอาเจียนมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน (recurrent vomiting)
- กลืนเจ็บ (odynophagia)
ภาวะที่เยื่อบุหลอดอาหารส่วนล่างเป็นแผล เกิดจากการถูกกรดหรือน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร
ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้ดูรุนแรง มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนของหลอดอาหาร เช่น หลอดอาหารตีบ (esophageal stricture) หรือ มะเร็งกระเพาะอาหาร เพราะฉะนั้นถ้ามีเพียงอาการแสบร้อนกลางหน้าอก และเรอเปรี้ยว โดยไม่มีอาการที่รุนแรงข้างต้น แพทย์ถึงจะสามารถวินิจฉัย โรคกรดไหลย้อน ในเบื้องต้น และให้การรักษาแบบโรคกรดไหลย้อนได้ โดยไม่จำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติม
แต่ถ้าเป็น กรดไหลย้อน (GERD) อาการ รุนแรงขึ้น หรือรักษาด้วยการรับประทานยาแล้วไม่ได้ผล แพทย์จึงจะส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (esophagogastroduodenoscopy) หรือตรวจความเป็นกรดในหลอดอาหารตลอด 24 ชั่วโมง (24-hour esophageal pH monitoring) เพิ่มเติม
กรดไหลย้อน รักษาอย่างไร?
ในกลุ่มคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อน วิธีแก้กรดไหลย้อนที่ดีที่สุดคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการดำเนินชีวิตประจำวัน (lifestyle modification) เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นมาก
แต่หากในกรณีที่ต้องอาศัยยาในการรักษาแล้ว บางคนอาจจะต้องกิน ยารักษากรดไหลย้อน ไปตลอดชีวิต เพราะหากหยุดทาน อาการของโรคก็จะกลับมาทันที และวิธีสุดท้ายคือในกรณีที่เป็นโรคกรดไหลย้อนเรื้อรัง ทานยาไม่หาย หรืออยากเลือกทานยา ก็ อาจจะต้องใช้วิธีการผ่าตัดเข้ามาช่วย
วิธีแก้กรดไหลย้อน (GERD) โดยการปรับพฤติกรรม
ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการดำเนินชีวิตประจำวัน (lifestyle modification) เป็นการ แก้กรดไหลย้อน และรักษาในกลุ่มคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนระยะเริ่มต้น ดังนั้นควรเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพให้มากขึ้นกันนะคะ
1. แก้กรดไหลย้อน ด้วยการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
- รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยการทอด อาหารมัน อาหารย่อยยาก ฟาสต์ฟู้ด
- กรดไหลย้อนห้ามกิน อาหารพวกช็อกโกแลต ถั่ว ลูกอม peppermints เนย ไข่ นม
- กรดไหลย้อนห้ามกิน อาหารที่มีรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวานจัด
- กรดไหลย้อนไม่ควรกิน กาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์
- ในแต่ละมื้อไม่ควรรับประทานอาหารมากเกินไป จนแน่นท้อง โดยเฉพาะมื้อเย็น
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารในช่วง 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
2. แก้กรดไหลย้อน การปรับเปลี่ยนนิสัยและการดำเนินชีวิตประจำวัน
- พยายามหลีกเลี่ยงภาวะเครียด
- งดสูบบุหรี่หรือหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีควันบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่คับหรือรัดแน่น โดยเฉพาะบริเวณรอบเอว
- พยายามลดน้ำหนักถ้าน้ำหนักเกิน
- ถ้ามีอาการท้องผูก ควรรักษาและหลีกเลี่ยงการเบ่ง
- หลีกเลี่ยงการนอนราบ หรือยกของหนัก หลังจากรับประทานอาหารทันที หรืออย่างน้อยควรห่างกัน 3 ชม.
- การนอนยกหัวเตียงสูงขึ้นประมาณ 8 นิ้ว สามารถลดระยะเวลาที่พบความเป็นกรดในบริเวณหลอดอาหารได้เมื่อเทียบกับการนอนราบ
รักษากรดไหลย้อนด้วย ยาแก้กรดไหลย้อน
เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น กรดไหลย้อน(GERD)แล้ว แพทย์จะจ่าย ยาลดกรด ที่ออกฤทธิ์ควบคุมการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร (PPI) เป็น ยาแก้กรดไหลย้อน ที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมอาการของกรดไหลย้อน เนื่องจากทำให้กรดในกระเพาะอาการลดลง ซึ่งเป็นยาลดกรดที่ใช้แพร่หลาย ให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
โดยผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ไม่ควรลดขนาดยาหรือหยุดยาเอง และมาพบแพทย์ตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องเพื่อปรับขนาดยานอกจากนี้ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เนื่องจากยาลดกรดบางชนิดทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดเพิ่มขึ้นได้ หรือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวมากขึ้น ทำให้การรักษาได้ผลน้อยลงหรือไม่ได้ผล
ยาลดกรด ออกฤทธิ์ควบคุมการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร (PPI)
นอกจากนี้ สมุนไพรแก้กรดไหลย้อน ยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่อาจรักษาด้วยสมุนไพรไทย โดยสมุนไพรแก้กรดไหลย้อนนั้นคือ ขมิ้นชัน (Turmeric) ซึ่งมีสรรพคุณทางยา ที่ช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคกรดไหลย้อนได้ เช่น อาการท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย กระเพาะอาหารอ่อนแอ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
แต่หากซื้อมารับประทานและใช้ในปริมาณมากเกินไป โดยที่ไม่ศึกษาให้ดีก่อน อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ป่วยได้ อีกทั้งในทางการแพทย์ ก็ไม่สามารถการันตีได้ว่า สมุนไพรแก้กรดไหลย้อน อย่างขมิ้นชั้น สามารถช่วยรักษาโรคกรดไหลย้อนได้หายขาดจริง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นกรดไหลย้อนขั้นเรื้อรัง
กรณีทานยาลดกรด แต่อาการไม่ดีขึ้น ควรทำอย่างไร?
โดยปกติแล้วถ้าอาการกรดไหลย้อนไม่รุนแรง การรับประทานยาลดการการหลั่งกรดนั้นจะใช้เวลาประมาณ 4-8 สัปดาห์ แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น เพิ่มยาจนได้ขนาดเต็มที่แล้ว ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา อีกทั้งอาการเป็นรุนแรงมากขึ้น แพทย์ก็จะมีการส่องกล้องทางเดินอาหาร และวัดค่าความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร เพื่อยืนยันว่าผู้ป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อนจริง แต่รักษาด้วยการรับประทานยาไม่ได้ผล ซึ่ง “การผ่าตัดหูรูดหลอดอาหาร” หรือ “ผ่าตัดกรดไหลย้อน” ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ในการรักษากรดไหลย้อนที่แพทย์จะพิจารณาต่อไป
เช็คให้ชัวร์! อาการที่เข้าข่าย “ผ่าตัดกรดไหลย้อน”
การผ่าตัดกรดไหลย้อน (GERD surgery) คืออะไร?
การผ่าตัดกรดไหลย้อน นั้นเป็นการผ่าตัดมาตรฐานสำหรับคนไข้ที่มี อาการกรดไหลย้อน ขั้นรุนแรง ซึ่งรักษาด้วยยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น จึงต้องอาศัยการ แก้กรดไหลย้อน (GERD) ด้วยวิธีนี้แทนเรียกการผ่าตัดแบบนี้ว่า “Nissen fundoplication” หรือ “การผ่าตัด Nissen” เป็นการผูกหูรูดกระเพาะอาหาร ทำให้สามารถควบคุมกรดไหลย้อนในระยะยาวได้ แต่ก็แนะนำสำหรับคนไข้ที่ไม่ดีขึ้นเมื่อใช้ยายับยั้งการหลั่งกรด (PPI) แล้วเท่านั้น
ขั้นตอนการรักษาด้วยวิธี Nissen fundoplication
การผ่าตัด Nissen แพทย์จะผ่าตัดโดยการใช้กล้องส่องตรวจช่องท้อง (laparoscope) ซึ่งเป็นหลอดเล็กๆ ต่อกับกล้อง ในระหว่างการผ่าตัด แพทย์จะเย็บส่วนบนของกระเพาะอาหาร (gastric fundus) หุ้มรอบหลอดอาหารส่วนปลาย (lower end of the esophagus) 360 องศา เพื่อเป็นการเพิ่มกำลังแรงกดของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (LES) ทำให้ลดการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหาร
การรักษา ผ่าตัดหูรูดกระเพาะอาหาร วิธีนี้ ต้องทำที่โรงพยาบาล โดยแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์เท่านั้น! ทำการดมยาสลบด้วยวิสัญญีแพทย์ หลังผ่าตัดส่วนมากจะต้องพักฟื้นต่อที่โรงพยาบาล 2-3 วัน เพื่อดูว่ามีอาการแทรกซ้อนหลังผ่าตัดหรือไม่ และสามารถกลับไปชีวิตได้ตามปกติประมาณ 3-6 สัปดาห์
การผ่าตัดกรดไหลย้อน ในกรณีคนที่เป็นโรคอ้วน ..
ในผู่ป่วยมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มากๆ หรือเป็นโรคอ้วนนั้น มีแนวโน้มเป็น กรดไหลย้อน มากกว่าคนน้ำหนักปกติทั่วไป หากอยากผ่าตัดแก้อาการกรดไหลย้อน และตรวจเช็คร่างกายแล้วพบว่า เข้าข่ายต้องผ่าตัดกรดไหลย้อน แพทย์อาจจะแนะนำให้เลือกวิธี การผ่าตัดลดน้ำหนักแบบบายพาส (Bypass) แทน ซึ่งนอกจากจะช่วยลดอาการที่เกิดจากกรดไหลย้อนให้หายขาดแล้ว ยังสามารถลดน้ำหนักไปได้พร้อมๆ กัน เรียกได้ว่า ‘ผ่าตัดครั้งเดียว แก้สองโรค’ และเมื่อน้ำหนักลดลง ความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ ที่แฝงมากับความอ้วนก็จะลดลงด้วย เช่น เบาหวาน เป็นต้น
ผ่าตัดแบบบายพาส แก้กรดไหลย้อนได้อย่างไร? อธิบายคร่าวๆ ก็คือ เป็นการตัดกระเพาะให้เล็กลงและนำไปต่อกับลำไส้ส่วนที่สอง ข้อดีคือเป็นการช่วยลดแรงดันของกระเพาะลง และส่งอาหารตรงไปที่ลำไส้ และช่วยลดปริมาณของน้ำย่อยหรือกรดในกระเพาะที่เหลือออกได้ไปจำนวนมากนั่นเองอีกทั้งหลาย
งานวิจัยพบว่า.. การผ่าตัดกรดไหลย้อนอย่างเดียว ในคนไข้ที่มีดัชนีมวลกายเกิน 35 (หรือน้ำหนักเกิน 90 กก) มักจะไม่ได้ผล หากอยากรักศสกรดไหลย้อนในคนที่มีน้ำหนักตัวมากๆ การผ่าตัดแบบบายพาส อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
ที่รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ ราคาผ่าตัดรักษากรดไหลย้อน เริ่มต้นที่ 200,000 บาท
ทำการรักษาในโรงพยาบาล มาตรฐานระดับสากลในเครือ BDMS
ดูแลโดยศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านทางเดินอาหาร และการผ่าตัดโรคอ้วน ประสบการณ์กว่า 30 ปี
อ่านเพิ่มเติม
ศัลยแพทย์ผู้ดำเนินการรักษา
น.อ นพ.ปณต ยิ้มเจริญ (Dr. Panot Yimcharoen)บรรยากาศ รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐานสากล
พร้อมด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ
ประสบการณ์กว่า 24 ปี
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
Biography