วิธีลดน้ำหนักในทางการแพทย์นั้นมีหลากหลาย เริ่มตั้งแต่วิธีลดขนาดกระเพาะอาหาร เช่น การใส่ห่วงรัดกระเพาะอาหาร, การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร หรือการผ่าตัด เช่น การผ่าตัด กระเพาะออก 75%-80% แบบสลีฟ , การผ่าตัดกระเพาะร่วมกับตัดต่อลำไส้แบบบายพาส ไปจนถึงวิธีผ่าตัดกระเพาะเทคนิคใหม่ๆ เช่น Single Port ผ่าตัดกระเพาะแบบแผลหน้าท้องรูเดียว , Overstitch การเย็บกระเพาะแบบส่องกล้อง ไม่มีแผลเป็นหน้าท้อง และการผ่าตัดกระเพาะแบบ Sleeve Plus เป็นต้น
ซึ่งการลดน้ำหนักด้วยวิธีต่างๆ มีข้อดีและข้อเสียต่างกัน รวมถึงความเหมาะสมของคนไข้ที่รับการรักษาที่แตกต่างกันด้วย เพราะฉะนั้นก่อนทำจะต้องเข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ เพื่อแพทย์จะได้เลือกวิธีที่เหมาะสม ได้ผลลัพธ์ที่ดี และปลอดภัยที่สุด
การใส่ห่วงรัดกระเพาะอาหาร (Gastric Banding) คืออะไร?
การใส่ห่วงรัดกระเพาะอาหาร (Gastric Banding) คือ การส่องกล้องเข้าไปใส่ห่วงเพื่อลดขนาดของกระเพาะอาหาร ให้มีขนาดเล็กลง ลดน้ำหนักส่วนเกินได้ร้อยละ 30-40
โดยวิธีการส่องกล้องจะใช้เครื่องมือผ่านแผลขนาดเล็กบริเวณหน้าท้อง 3-4 แผล แล้วเอาห่วงไปคล้องเพื่อเข้าไปรัดส่วนบนของกระเพาะอาหาร โดยไม่ได้ตัดอะไรออก ทำให้อาหารถูกกักไว้ ส่งผลให้รู้สึกอิ่มเร็ว รับประทานอาหารได้น้อยลง ทำให้น้ำหนักลดลง ห่วงจะต่อกับท่อเล็ก มาติดที่ผิวหนัง เพื่อปรับขนาดได้หากต้องการให้รัดแน่นขึ้นหรือคลายออก
เราสามารถปรับระดับความแน่นของห่วงมากหรือน้อยได้ โดยเพิ่มหรือลดระดับน้ำเกลือผ่านท่อเล็ก เมื่อห่วงแน่นมากก็จะกินได้น้อย แต่ถ้าห่วงหลวมเกินไปก็จะกินได้เป็นปกติ
เครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัดใส่ห่วงรัดกระเพาะ ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับวิธีผ่าตัดส่องกล้องโดยเฉพาะ ทำจากซิลิโคนและวัสดุที่ทนการกัดกร่อนได้ จึงใส่ได้เป็นเวลานาน
ข้อดีของการ ใส่ห่วงรัดกระเพาะอาหาร เพื่อลดน้ำหนัก
- แผลมีขนาดเล็ก
- ใช้ระยะเวลาพักฟื้นไม่นาน
- ไม่เจ็บมาก
- นอนโรงพยาบาลเพียง 1 คืน
- สามารถปรับขนาดได้ตามต้องการ
- ไม่มีการตัดกระเพาะออกไป
ข้อเสียของการ ใส่ห่วงรัดกระเพาะอาหาร เพื่อลดน้ำหนัก
ความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด รวมถึงข้อเสียของการใส่ห่วงรัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก
- อาการแทรกซ้อนหรืออาการข้างเคียงจากการดมยาสลบ เช่น อาจจะเกิดปัญหาหายใจติดขัด หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดอาการแพ้
- การบาดเจ็บในอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในช่วงท้อง
- ห่วงขยับได้ตลอดเวลา ตามการเคลื่อนตัวของกระเพาะทำให้ต้องกลับมาพบแพทย์เพื่อปรับเรื่อยๆ ทำให้มีค่าใช้จ่ายอยู่ตลอดเวลาไม่จบ
- เนื่องจากห่วงมีขนาดเล็ก ทำให้ต้องรับประทานของเหลวเป็นหลัก ยากต่อการใช้ชีวิต
- ในระยะยาวน้ำหนักอาจจะไม่ลด เกิดความรู้สึกเบื่อ
- ห่วงอาจจะหลุด หรือเลื่อน ไปรัดหลอดอาหารจนเกิดภาวะฉุกเฉินต้องเอาออก
- เป็นแผลในกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะอาหาร หรือกรดไหลย้อน
จากข้อเสียดังกล่าว ทำให้การผ่าตัดใส่ห่วงรัดกระเพาะอาหาร ได้รับความนิยมน้อยลงในปัจจุบัน เนื่องจากมีปัญหาจากการใส่ห่วงรัด และน้ำหนักลดน้อยลงกว่าที่คาดหวังไว้ ทำให้มีคนไข้จำนวนน้อยที่สามารถใส่ห่วงได้ในระยะยาว
อ่านเพิ่มเติม : ผ่าตัดกระเพาะอาหารลดน้ำหนัก มีกี่วิธี?
- การผ่าตัดกระเพาะคืออะไร?
- ผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ (Gastric Sleeve)
- ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบบายพาส (Gastric Bypass)
- Overstitch เย็บกระเพาะด้วยการส่องกล้อง ไร้แผลหน้าท้อง
- ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบแผลเดียว (Single Port Access)
บรรยากาศ รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐานสากล
พร้อมด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ
ประสบการณ์กว่า 24 ปี
รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ ให้บริการด้านความงามและการรักษา โดยทีมแพทย์เฉพาะทางระดับอาจารย์หลากหลายสาขา ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีความปลอดภัยสูงและเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ได้รับรองมาตรฐานจาก AACI สหรัฐอเมริกา ด้านศูนย์ศัลยกรรมผู้ป่วยนอกแห่งแรกในเอเชียแปซิฟิก 2 ปีซ้อน รวมถึงรางวัลจาก WhatClinic ด้านบริการลูกค้ายอดเยี่ยมระดับสากล เป็นปีที่4 จากลูกค้ากว่า 30 ประเทศทั่วโลก ที่ให้ความไว้วางใจและใช้บริการอย่างต่อเนื่อง