การที่ผู้ชายมีนมแหลม เต้านมโต นั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากการกินอาหารที่มีไขมันสูง ของหวาน ของมัน ของทอด ฯลฯ จนเกิดไขมันสะสมบริเวณหน้าอก ซึ่งการทำให้หน้าอกกลับมาเรียบเนียนก็ทำได้หลายวิธี ตั้งแต่ คุมอาหาร ออกกำลังกาย เป็นต้น แต่ถ้าหากการมีเต้านมโต ที่เกิดจากสาเหตุอื่นอย่างการมี ฮอร์โมนเอสโตรเจน ในร่างกายที่สูงเกินไป บางครั้งการ ลดหน้าอกผู้ชาย ด้วยตัวเองอาจไม่ได้ผล แล้วจะทำอย่างไร? วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอีกหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้ชายมีนม พร้อมวิธีการรักษากัน!
ฮอร์โมนเอสโตรเจน คืออะไร?
เอสโตรเจน (Estrogen) คือ กลุ่มฮอร์โมนเพศที่พบได้ทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย แต่ในผู้หญิงจะมีปริมาณฮอร์โมนชนิดนี้มากกว่าและเป็นฮอร์โมนหลักของผู้หญิง มีหน้าที่สำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา และควบคุมหลายๆ ระบบการทำงานในร่างกาย ที่สำคัญในผู้หญิงก็คือ กระตุ้นให้มีการพัฒนาและควบคุมระบบสืบพันธุ์ และการพัฒนาลักษณะทางเพศแบบทุติยภูมิหรือลักษณะเด่นของเพศหญิง (secondary sex characteristics) เช่น ช่วงไหล่แคบ สะโพกผาย มีหน้าอก และมีไขมันสะสมบริเวณสะโพก ผิวตึง มีเสียงแหลม ในผู้หญิงตั้งแต่วัยที่เริ่มย่างเข้าสู่ภาวะเจริญพันธุ์ไปจนถึงวัยก่อนหมดประจำเดือน นอกจากนี้ก็ยังทำให้ร่างกายสะสมไขมัน, ช่วยให้ตับสร้างโปรตีน, เพิ่มการสะสมแคลเซียมในกระดูก, เร่งกระบวนเผาผลาญของร่างกาย
เอสโตรเจนที่สำคัญในร่างกายมนุษย์มีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่
- เอสตราไดออล (Estradiol)
- เอสไตรออล (Estriol)
- เอสโทรน (Estrone)
โดยปกติฮอร์โมนเอสโตรเจนจะสร้างมาจากรังไข่ (ovary) ซึ่งเป็นอวัยวะหลักที่มีการสังเคราะห์และหลั่งเอสโตรเจนที่สำคัญคือ 17β-estradiol (E2)
ในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน (postmenopausal women) และในผู้ชาย แหล่งที่มาของเอสโตรเจน (E2) จะได้มาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (testosterone) และแอนโดรสตีนไดโอน (androstenedione) ไปเป็นเอสโตรเจน E2 โดยอาศัยเอนไซม์ cytochrome P450 aromatase (CYP 19A1) ที่พบได้ในเนื้อเยื่อนอกรังไข่ ได้แก่ เต้านม สมอง และเนื่อเยื่อไขมัน
ฮอร์โมนเอสโตรเจน สำคัญกับผู้ชายอย่างไร (ข้อดี)
ฮอร์โมนเอสโตรเจนทำหน้าที่สำคัญและอาจส่งผลต่อสุขภาพของผู้ชายในหลายด้าน เช่น
- ช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (testosterone)
- ช่วยในการควบคุมให้การเพิ่มมวลกล้ามเนื้อเป็นไปอย่างเหมาะสม
- ช่วยให้กระดูกแข็งแรง ลดความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุน
ยับยั้งการสลายของเนื้อกระดูก เนื่องจากเอสโตรเจนควบคุมให้เกิดความสมดุลของแคลเซียมในร่างกาย โดยเพิ่มการดูดซึมของแคลเซียมในลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือดและเข้าเกาะกับเนื้อกระดูกได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ลดการสลายตัวของแคลเซียมออกจากเนื้อกระดูก ผลคือทำให้เนื้อกระดูกหรือมวลกระดูดยังคงความหนาแน่น แข็งแรง ไม่เปราะบางและแตกหักง่าย
4. ช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล
มีผลต่อกระบวนการเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน พบว่าเอสโตรเจนทำให้โคเลสเตอรอลชนิดดีหรือที่เรียกว่า เอชดีแอล โคเลสเตอรอล (HDL-cholesterol) เพิ่มขึ้นและปริมาณโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดีหรือที่เรียกว่า แอลดีแอล โคเลสเตอรอล (LDL-cholesterol) ลดลง นอกจากนั้นยังทำให้ระดับของไตรกรีเชอไรด์ลดลง การเปลี่ยนแปลงของไขมันในลักษณะนี้ ทำให้ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
5. ช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด
6. ช่วยควบคุมระบบการเผาผลาญพลังงานให้เป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม
7. มีผลช่วยควบคุมการทำงานของสมองและภาวะทางอารมณ์
8. ช่วยให้สุขภาพของผิวหนังเป็นปกติ
9. ช่วยให้สุขภาพทางเพศเป็นไปอย่างปกติ
หากระดับเอสโตรเจนของผู้ชายอยู่ในระดับปกติ สมดุลกับระดับของเทอโทสเตอโรน ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป สุขภาพของผู้ชายก็จะสมบูรณ์แข็งแรง
สาเหตุ ฮอร์โมนเอสโตรเจน สูงในผู้ชาย เกิดจากอะไร ?
1. อายุที่มากขึ้น (Aging)
อายุที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในร่างกายของผู้ชายค่อย ๆ ลดลง ในขณะที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนกลับสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องมาจากเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า เอนไซม์อะโรมาเทส (Aromatase enzyme) เป็นเอนไซม์ที่เปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) มาเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งจะเกิดขึ้นบริเวณ กล้ามเนื้อ ไขมัน และตับ ซึ่งในผู้ชายสูงอายุกลับมีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนมากกว่าผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเสียอีก
2. ไขมันสะสมในร่างกายเพิ่มมากขึ้น
เมื่ออายุมากขึ้น จะพบว่ามวลกล้ามเนื้อลดลง แต่ปริมาณไขมันกลับเพิ่มมากขึ้น รวมถึงในคนที่มีโรคเมตาบอลิกร่วมด้วย เช่น เป็นเบาหวาน เป็นโรคอ้วน เนื่องจากในเซลล์ไขมันจะมีเอนไซม์อะโรมาเทส (Aromatase enzyme) อยู่ ดังนั้นเมื่อไขมันมีปริมาณมาก ก็ยิ่งไปเพิ่มระดับเอนไซม์ดังกล่าวที่ช่วยในการเปลี่ยนเทสโทสเตอโรน มาเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน อีกทั้งเซลล์ไขมันยังเป็นแหล่งกักเก็บเอสโตรเจน (E2) จึงส่งผลทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายยิ่งสูงขึ้น
3. การให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน (Testosterone therapy)
ผู้ชายที่ได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสังเคราะห์ในรูปแบบฉีด มักจะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป รวมถึงการรักษาด้วยฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทางชีวภาพ (Biodentical) ก็ยังสามารถทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้ชายสูงมากขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ในปริมาณที่มากเกินไปหรือใช้ในผู้ชายที่เป็นโรคอ้วน
4. การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนที่ผิดปกติ
เมื่อไหร่ที่ผู้ชายมีฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป ร่างกายก็จะรับรู้ว่าระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงผิดปกติแล้วนะ ก็จะส่งสัญญาณไปที่สมองซึ่งควบคุมการหลั่งฮอร์โมนเหล่านี้ และส่งผลทำให้อัณฑะผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนหรือฮอร์โมนเพศชายน้อยลง ตามกลไกการทำงานของระบบการสร้างและหลั่งฮอร์โมน
เมื่อ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ในร่างกายของผู้ชายสูงเกินไป
อาการเป็นอย่างไร มีผลเสียอย่างไรตามมา?
ผู้ชายที่มีเอสโตรเจนสูงเกินไป สุดท้ายสามารถส่งผลทำให้เทสโทสเตอโรนในร่างกายลดลงได้ เพราะฉะนั้นจึงมักมีอาการของภาวะเทสโทสเตอโรนต่ำควบคู่ไปด้วย ซึ่งอาจสังเกตุได้จากสัญญาณและอาการต่าง ๆ ดังนี้
- มีปัญหาสุขภาพทางเพศ เช่น ความต้องการทางเพศลดลง อวัยวะเพศไม่แข็งตัวตอนเช้า หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
- มีนมเต้าใหญ่ขึ้น หรือที่เรียกว่า เต้านมโตในผู้ชาย (Gynecomastia)
- มีปัญหาที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ที่สัมพันธ์กับต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia หรือ BPH)
- มีไขมันหน้าท้อง หรือ อ้วนลงพุง
- มวลกล้ามเนื้อลดลง
- เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หมดพลังงาน
- นอนไม่หลับ เพราะปวดปัสสาวะบ่อย และมีเหงื่อออกตอนกลางคืน
- มีปัญหาด้านอารมณ์ โดยเฉพาะอาการซึมเศร้า
- เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
อ่านเพิ่มเติม :
- ผ่าตัดกระเพาะรักษาเบาหวาน ได้อย่างไร?
- ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก รักษาโรคอ้วน ได้อย่างไร?
ฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป ทำอย่างไรดี ?
จริงๆ แล้วกุญแจสำคัญอยู่ที่ความสมดุลระหว่างฮอร์โมนเอสโตรเจน และเทสโทสเตอโรน ไม่ได้อยู่ที่ระดับของเอสโตรเจนเพียงตัวเดียว เรามาดูกันว่าพอจะมีวิธีไหนบ้างที่ช่วยลดระดับเอสโตรเจน และช่วยเพิ่มความสมดุลของฮอร์โมนทั้ง 2 ตัวนี้ (วิธีควบคุมหรือลดฮอร์โมน)
1. เพิ่มการทานอาหารที่มีโฟเลต, วิตามินบี 12, บีเทน (betaine) และโคลีน (choline) ให้กับร่างกาย เนื่องจากสารอาหารกลุ่มนี้จะไปช่วยส่งเสริมการเผาผลาญของเอสโตรเจน (estrogen metabolism) และการขจัดเอสโตรเจนส่วนเกินได้ ได้แก่อาหารจำพวก เนื้อสัตว์ ปลา หอย ไข่ผักโขม หัวบีท และควินัว
2. กินผักตระกูลกะหล่ำ (Cruciferous vegetables) เช่น กะหล่ำปลี บร็อคโคลี กะหล่ำดอก กะหล่ำดาว บ็อกชอย และผักกาดเขียว ที่อุดมไปด้วย สารประกอบกำมะถัน ที่เรียกว่า กลูโคซิโนเลต (Glucosinolates) หนึ่งในสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (Bioactive Compound) ที่ช่วยลดเอสโตรเจน และขจัดเอสโตรเจนส่วนเกินออกจากร่างกาย หรือกินอาหารเสริมที่มีสารสกัด Indole-3-Carbinol (I3C) และ Diindolylmethane (DIM) ซึ่งเป็นสารพฤกษเคมีที่พบได้ในผักตระกูลกะหล่ำ เพื่อช่วยลดระดับเอสโตรเจนในร่างกาย และปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ปริมาณที่แนะนำ I3C (200 มก. ต่อวัน) and DIM (100 มก. ต่อวัน)
3. เพิ่มไฟเบอร์ ออกกำลังกายให้มากขึ้น และลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี วิธีเหล่านี้นอกจากจะช่วยลดอาการเอสโตรเจนสูงเกินไปในผู้ชายได้แล้ว ยังอาจส่งผลให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นได้ด้วย
4. ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือดสูงขึ้น เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม นอกจากนี้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางชนิดยังมีแคลอรี่สูง การดื่มบ่อย ๆ อาจทำให้น้ำหนักตัวขึ้น จนส่งผลให้ฮอร์โมนเพศชายอย่างเทสโทสเตอโรนลดลงด้วย
ซึ่งถ้ารู้สึกว่ามีอาการที่แสดงว่าเราน่าจะมีอาการของเอสโตรเจนสูงผิดปกติ ทางที่ดีที่สุดคือไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง และยืนยันว่ามีภาวะดังกล่าวจริง เพื่อจะได้รักษาได้ถูกต้อง โดยวิธีเบื้องต้นที่กล่าวไปเป็นวิธีที่สามารถทำร่วมกันได้ เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นโดยรวมค่ะ
ผู้ชายมีนม นมแหลม เต้านมโต
จากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มากเกินไป จะรักษาอย่างไร?
หากตรวจพบว่า เต้านมที่โต หน้าอกที่แหลม นั้นเกิดจากการมีเนื้อเยื่อเต้านมโตผิดปกติ การออกกำลังกายหรือคุมอาหารจะไม่สามารถทำให้เนื้อเยื่อตรงหน้าอกลดลงหรือหายไปได้ จะต้องทำการรักษา ซึ่งในทางการแพทย์จะเรียกเต้านมโตในผู้ชาย ลักษณะนี้ว่าภาวะ Gynecomastia (ไกเนโคมาสเตีย)
การรักษาเต้านมโตในผู้ชาย (Gynecomastia) จะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ
- ดูดไขมันหน้าอกผู้ชาย : หากตรวจพบว่าเต้านมแหลมนั้นเกิดจากไขมันสะสมเพียงอย่างเดียว ก็สามารถดูดไขมันหน้าออกผู้ชายได้ โดยใช้เครื่อง BodyTite ในการดูดไขมันพร้อมกับกระชับผิวบริเวณหน้าอกในเรียบเนียน ใช้เทคนิคซ่อนแผล แผลมีขนาดเล็กมาก และไม่ต้องพักฟื้น เลือดออกน้อย หลังทำสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
- ผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อออก : แต่ถ้าตรวจแล้วพบว่านมโตจากเนื้อเยื่อ แพทย์จะรักษาโดยการผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อเต้านมออก ผ่านแผลขนาดเล็กทางปานนม และถ้ามีไขมันเต้านมเยอะ แพทย์จะ ดูดไขมันหน้าอกผู้ชาย ให้เรียบแบนร่วมด้วย แผลเป็นก็มีขนาดเล็กมากเช่นกัน แผลเล็ก เลือดออกน้อย และไม่ต้องพักฟื้นนาน
รีวิว gynecomastia
อ่านเพิ่มเติม :
Gynecomastia ภาวะเต้านมโตในผู้ชาย รักษาอย่างไร? 4 วิธีลดหน้าอกผู้ชาย กระชับหน้าอกให้เข้ารูปบรรยากาศ รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐานสากล
พร้อมด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ
ประสบการณ์กว่า 24 ปี
รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ ให้บริการด้านความงามและการรักษา โดยทีมแพทย์เฉพาะทางระดับอาจารย์หลากหลายสาขา ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีความปลอดภัยสูงและเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ได้รับรองมาตรฐานจาก AACI สหรัฐอเมริกา ด้านศูนย์ศัลยกรรมผู้ป่วยนอกแห่งแรกในเอเชียแปซิฟิก 2 ปีซ้อน รวมถึงรางวัลจาก WhatClinic ด้านบริการลูกค้ายอดเยี่ยมระดับสากล เป็นปีที่4 จากลูกค้ากว่า 30 ประเทศทั่วโลก ที่ให้ความไว้วางใจและใช้บริการอย่างต่อเนื่อง