Dumping Syndrome เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังจากการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร แต่ก็ไม่ได้เป็นในทุกคนเสมอไป ซึ่งผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลและได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้ชำนาญการ นักโภชนาการ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งหลังการผ่าตัด เพื่อปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงการรับประทานอาหารด้วย เพื่อปรับสมดุลในร่างกาย
Dumping Syndrome หลังผ่าตัดกระเพาะอาหาร คืออะไร ?
อาการ Dumping Syndrome หลังผ่าตัดกระเพาะอาหาร แบ่งออกเป็น 2 ชนิด โดยเรียกชื่อตามเวลาที่เกิดอาการ หลังจากการรับประทานอาหาร
1. อาการ Dumping Syndrome : Early dumping
Early dumping เกิดอาการภายใน 10-30 นาที หลังรับประทานอาหาร โดยอาการที่เกิดขึ้นจะเกิดจากการที่อาหารที่ทานเข้าไปไหลออกจากกระเพาะอาหาร เข้าไปสู่ลำไส้เล็กส่วนต้นรวดเร็วเกินไป (rapid gastric emptying time) ซึ่งอาหารเหล่านี้ก็จะดึงเอาสารน้ำหรือของเหลว (fluid shift) ที่อยู่ในหลอดเลือด (intravascular compartment) เข้าไปในลำไส้ (intestinal lumen) ทำให้ลำไส้เกิดการโป่งพอง (small bowel distension) และบีบตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เช่น
- คลื่นไส้/อาเจียน(nausea/vomiting)
- อืดแน่นท้อง (epigastric fullness)
- ปวดท้อง (abdominal cramping)
- ถ่ายเหลว (diarrhea)
นอกจากนี้ก็ทําให้มีการลดลงของสารน้ำที่อยู่ในหลอดเลือด (Intravascular Volume) จนร่างกายตอบสนองด้วยการหลั่งสารสื่อประสาทต่างๆ จึงทําให้เกิดอาการทาง Vasomotor ได้ เช่น
- ใจสั่น (palpitation)
- ตามัว (blurred vision)
- มึนศีรษะ (dizziness)
- เหงื่อออกท่วมตัว (diaphoresis)
สาเหตุ เกิดจากหลังจากการทำผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ รวมไปถึงการผ่าตัดแบบบายพาส (Bypass) จะส่งผลทําให้การทำงานของอวัยวะที่ควบคุมระยะเวลาที่อาหารคงอยู่ในกระเพาะหรือ gastric emptying time ทำงานไม่ปกติและเสียสมดุลไป เป็นผลให้อาหารที่ทานเข้าไป และยังไม่ย่อย (Hyperosmolar Chyme) ผ่านลงสู่ลําไส้เล็กส่วนต้นอย่างรวดเร็ว
Schölmerich J. Postgastrectomy syndromes–diagnosis and treatment. Best Pract Res Clin Gastroenterol. 2004 Oct;18(5):917-33.
ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก แผลขนาดเล็กเท่ารูกุญแจ
ผ่าตัดกระเพาะ 1 เดือน ลด 10 โล คุณก๊อฟ เกวลิน
2. อาการ Dumping Syndrome : Late dumping
Late dumping เกิดอาการหลังทานอาหาร 1-3 ชั่วโมง มีอาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ (Vasomotor symptoms) เช่น
- หน้าแดง (flushing)
- มึนศีรษะ (dizziness)
- ใจสั่น (palpitation)
- ตรวจร่างกาย พบมีความดันต่ำ (hypotension)
- หัวใจเต้นเร็ว (tachycardia)
ผู้ป่วย late dumping พบประมาณ 25% ของผู้ป่วย dumping syndrome ทั้งหมด เกิดจากมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหลังทานอาหาร (Postprandial hypoglycemia) เนื่องจากการหลั่งอินซูลิน ที่ไม่สัมพันธ์กับระดับน้ำตาล
สาเหตุ มาจากอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ผ่านลงสู่ลำไส้เล็กอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสอย่างรวดเร็ว จึงกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งอินซูลินออกมามาก(hyperinsulinemic response) และทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำตามมา (reactive hypoglycemia) ผู้ป่วยที่มีอาการ dumping รุนแรงจะทำให้เกิดการกลัวการทานอาหาร (Sitophobia) ทำให้น้ำหนักลด และขาดสารอาหาร (malnutrition)
ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก สาธิตเครื่องมืออัตโนมัติ นพ ปณต ยิ้มเจริญ
การวินิจฉัยอาการ Dumping Syndrome
- Oral glucose provocation and hydrogen breath test ช่วยวินิจฉัยในรายที่ยังวินิจฉัยได้ไม่ชัดเจน โดยให้ผู้ป่วยดื่มกลูโคส 50 กรัม หลังจากที่ให้อดอาหาร10 ชั่วโมง ถ้าหากพบว่ามีอัตราการเต้นของหัวใจ (heart rate) เพิ่มขึ้น 10 ครั้ง/นาที ในชั่วโมงแรก ถือว่าผลเป็นบวก (positive) โดยการทดสอบนี้มีความไวของการทดสอบ (sensitivity) 100%และความจำเพาะของการทดสอบ (specificity) 92%
- Hydrogen breath test หลังจากดื่มกลูโคส มีความไวของการทดสอบ (sensitivity)100% สำหรับ early dumping
- การวินิจฉัย late dumping โดยเก็บตัวอย่างเลือด (blood sampling) ซ้ำๆ หลังให้การทดสอบด้วยการดื่มน้ำตาลกลูโคส โดยจะพบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือด (plasma glucose level) เพิ่มสูงขึ้นในชั่วโมงแรกและลดลงในอีก 1-2 ชั่วโมงถัดมา
- การตรวจพิเศษทางรังสีของทางเดินอาหารส่วนต้น (upper GI study) ก็ช่วยยืนยันการที่มีrapid gastric emptying time
ผลลัพธ์เปลี่ยนชีวิต” หลังผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ที่ รัตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
วิธีการรักษาอาการ Dumping Syndrome
- การรักษาหลัก คือ เริ่มจากการปรับวิธีการรับประทานอาหาร (dietary modification)
- ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรือของเหลวระหว่างรับประทานอาหาร โดยให้ดื่มน้ำได้หลังจากรับประทานอาหารอย่างน้อย 30 นาที
- ปริมาณอาหารควรเพิ่มเป็นอย่างน้อย 6 มื้อ/วัน
- ควรลดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต (Low carbohydrates) หรือทานเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Complex carbohydrate) ก็คือคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านกรรมวิธีหรือการขัดสี เช่น ข้าวกล้อง, ข้าวโอ๊ต, ธัญพืชต่างๆ, เผือก, มันเทศ, ฟักทอง เป็นต้น
- นมและครีมต่างๆ ควรหลีกเลี่ยง แต่ให้เน้นอาหารที่มีโปรตีน และไขมันสูง เพื่อให้ได้พลังงานตามที่ต้องการ
- อาหารที่มีเส้นใย (fiber) ต่างๆ ช่วยลดอาการน้ำตาลต่ำหลังกินหรือ late hypoglycemia ได้
- พยายามไม่รับประทานอาหารที่เป็นของเหลวและของแข็งปนกัน (Liquid & solid Diet)
ผู้ป่วยส่วนมากตอบสนองต่อการควบคุมอาหาร แนะนำให้นอนราบเป็นเวลา 30นาที หลังรับประทานอาหาร เพื่อลดอาการเป็นลม (syncope) โดยสามารถเพิ่มระยะเวลาให้อาหารอยู่ในกระเพาะได้นานขึ้น และช่วยเพิ่มอัตราการไหลของเลือดกลับสู่หัวใจ (Venous return)
ผ่าตัดกระเพาะ ลดน้ำหนัก เปลี่ยนจากจากไซส์ XXL เป็น size M ได้ ในเวลาไม่ถึง 1 ปี ที่ รัตตินันท์
หากไม่ได้ผลจึงพิจารณาใช้ยาในการรักษา
- โดยยาในกลุ่ม Somatostatin analog (Octreotide) 50-100 µg. sc. ประมาณ 15-30 นาทีก่อนรับประทานอาหาร มีรายงานว่าสามารถช่วยลดการหลั่งของ Vasomotor Substances ลงได้ ช่วยเพิ่มระยะเวลาที่อาหารอยู่ในกระเพาะ ในระยะแรกของการรักษาสามารถ ลดอาการได้เกือบ 100% แต่มีข้อเสีย คือ ต้องฉีดยาวันละ 3 ครั้ง ปัจจุบันมี long-acting release octreotide, Sandrostatin LAP ซึ่งฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เพียงเดือนละครั้ง ทำให้เพิ่ม compliance และ quality of life ขึ้นมาก
- ยาเม็ดลดน้ำตาลในเลือด (acarbose) ยารักษาเบาหวาน Alpha-Glucosidase inhibitors จะไปลดการดูดซึมสารอาหารที่ลำไส้เล็กส่วนต้น โดยจะชะลอการเปลี่ยนแป้งไปเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) ทำให้ลำไส้เล็กดูดซึมน้ำตาลได้ช้าลง เป็นการไปลดการเพิ่มขึ้นของน้ำตาลในเลือด และอินซูลิน
จะมีผู้ป่วยส่วนหนึ่งจํานวนไม่มากที่อาการไม่ดีขึ้นหลังจากให้ยาและปรับการรับประทานอาหาร ซึ่งจําเป็นต้องให้การรักษาด้วยการผ่าตัดแต่ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับการผ่าตัดด้วยวิธีใดที่ให้ผลการรักษาดีที่สุด
บรรยากาศ รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐานสากล
พร้อมด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ
ประสบการณ์กว่า 24 ปี
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์