รากฟันเทียม กับ ฟันปลอม ต่างกันอย่างไร แบบไหนดีกว่ากัน?

รากฟันปลอม กับ ฟันปลอม

รากฟันเทียม หรือ ฟันปลอม เป็นหนึ่งในทางแก้ปัญหาสุขภาพฟัน ที่มีสาเหตุมาจากการถอนฟัน หรือฟันเกิดความเสียหาย เช่น ฟันผุ ฟันร้าว ฟันแตก ฯลฯ และไม่ว่าจะเกิดจากพฤติกรรมของแต่ละคน หรือเกิดจากอุบัติเหตุก็ตาม อย่าคิดว่าปัญหาพวกนี้เป็นเรื่องเล็กๆ เพราะถ้าหากไม่ยอมรักษา ปัญหาของฟันเหล่านี้อาจจะส่งผลเสีย ทั้งเรื่องของการรับประทานอาหาร ปวดฟันจนทำให้ทานอาหารได้น้อย ไม่เอ็นจอยกับเรื่องการกินอีกต่อไป ส่งผลทำให้ชีวิตประจำวันของเราไม่มีความสุขไปโดยปริยาย หรือในกรณีหนักๆ อาจจะถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือดได้เลย!

เพราะฉะนั้นหารู้ตัว่าฟันมีปัญหาก็ควรเข้าพบทันตแพทย์ เพื่อทำการรักษาให้ไวที่สุด ไม่ว่าจะอุดฟัน รักษารากฟัน ครอบฟัน ฯลฯ หรือถ้าหากต้องทำรากฟันเทียม หรือต้องใส่ ฟันปลอม แล้วนั้น เรามาทำความรู้จักกับรากฟันเทียม กับ ฟันปลอม ให้มากขึ้นกันหน่อยดีกว่า ว่าแต่ละประเภทนั้นมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร และควรเลือกใช้แบบไหนดี

รากฟันเทียม คืออะไร?

รากฟันเทียมเปรียบเสมือนการใส่ฟันปลอมถาวร ติดยึดแน่นในช่องปาก และไม่สามารถถอดมาทำความสะอาด โดยจะเป็นการจำลองในลักษณะของฟันธรรมชาติทั้งส่วนของตัวฟันและรากฟันขึ้นมา ทำมาจากวัสดุไทเทเนียม ซึ่งวัสดุไทเทเนียมสามารถเข้ากับร่างกายของมนุษย์ได้ดี โดยรากฟันเทียมจะทำหน้าที่แทนรากฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป หรือฟันที่ถูกถอนออกไป กลับขึ้นมาใหม่อีกครั้ง สามารถทำรากเทียมได้ตั้งแต่ 1 ซี่ หรือหลายซี่ ก็ได้

ฟันปลอม คืออะไร?

ฟันปลอม จะเป็นฟันที่ถูกทำขึ้นโดยทันตแพทย์ ใส่ให้กับผู้ป่วยที่สูญเสียฟันไป ไม่ว่าจะเป็นถอนฟัน ฟันผุ ฟันหัก หรือฟันแตก จนไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้เองใหม่ หรือในกรณีที่ถอนฟันจากการที่ฟันโยกเพราะเหงือกอักเสบนั่นเอง ซึ่งสามารถใส่ฟันปลอมได้ตั้งแต่ 1 ซี่ หรือหลายซี่ ก็ได้เช่นกัน

นอกจากรากฟันเทียมและฟันปลอมแล้ว ยังมีวิธีรักษาฟันอีกแบบ คือ การครอบฟัน ซึ่งการครอบฟันนั้นเป็นการทำฟันขึ้นมา เพื่อครอบไปตรงบริเวณที่ทำรากฟันเทียมทันที ซึ่งการครอบฟันจะมีข้อดีคือใช้เวลาในการรักษาไม่นาน และฟันมีความสวยงาม แต่วิธีนี้ก็ยังไม่สามารถใช้ได้กับคนไข้ทุกคน ต้องดูเป็นกรณีไป

กลับสู่สารบัญ
รากฟันเทียม ฟันปลอม Dental implant

สาเหตุที่ต้องทำรากฟันเทียม หรือใส่ฟันปลอม

จากสาเหตุที่ต้องรักษา หรือต้องเข้ารับทำรากฟัน อาจมาจากฟันผุ ซึ่งถ้าเรารักษาตั้งแต่เนิ่นๆ โดยการอุดฟัน ก็อาจจะไม่ต้องถอนฟัน หรือเสียฟันซี่นั้นไป แต่ถ้าหากฟันผุลึกจนทำให้ฟันร้าว มีความแตกหัก บิ่น ผิดรูปและทะลุไปถึงปมประสาทฟันแล้ว การอุดฟันอาจไม่ได้ผล ต้องทำการถอนและทำรากฟันเทียม หรือใส่ ฟันปลอม แทน

อีกกรณีคือ การได้รับอุบัติเหตุส่งผลให้มีเชื้อโรคเข้าถึงโพรงประสาทฟันทำให้เกิดการติดเชื้อในเวลาต่อมาที่สำคัญส่งผลเสียทำให้การรับประทานอาหารเป็นเรื่องยาก เช่น เคี้ยวอาหารแล้วไปโดนโพรงประสาททำให้รู้สึกปวด รำคาญ และใช้ชีวิตได้ยากขึ้น

รากฟันเทียม กับ ฟันปลอม แตกต่างกันอย่างไร

1. รากฟันเทียมคือการทำรากฟันเทียมขึ้นมา เป็นแบบติดแน่น เพื่อมาใช้ทดแทนฟันที่เสียไป จำลองได้ทั้งตัวรากฟันและตัวฟันได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยที่ไม่ต้องกรอฟันหรือตัดแต่งรูปฟันใดๆ แต่ฟันปลอมที่ถูกทำขึ้นมานั้นสามารถถอดออกได้

2. วัสดุในการใช้ทำรากฟันเทียม และฟันปลอม ก็แตกต่างกัน ซึ่งรากฟันเทียมจะใช้วัสดุไทเทเนียม ที่มีความคงทนมากกว่าวัสดุที่ใช้ทำฟันปลอมที่เป็นประเภทโลหะ หรือพลาสติก

3. การทำรากฟันเทียม จะมีราคาสูงกว่า การทำฟันปลอม แต่การทำรากฟันเทียมก็ยังเป็นที่นิยมมากกว่า

4. การทำฟันปลอม แบบถอดออกได้ถึงแม้จะใช้งานสะดวก ทำความสะอาด และดูแลรักษาง่าย แต่ก็ยังมีปัญหาในหลายๆ เรื่อง จนสร้างความรำคาญใจให้แก้ผู้ใส่ เช่น ฟันปลอมใส่แล้วหลวมเกินไป เวลาทานข้าวทำให้เวลาเคี้ยวอาหารได้ไม่สะดวก หรือมีเศษอาหารเข้าไปติดในฟันปลอม เป็นต้น

5. รากฟันเทียมมีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวเทียบเท่ากับฟันแท้ตามธรรมชาติ และจะไม่มีเกิดการผุอีก

กลับสู่สารบัญ
รากฟันเทียม กับ ฟันปลอม ต่างกันอย่างไร

ข้อดีของการทำ รากฟันเทียม

  • รากฟันเทียมเป็นแบบติดแน่น ไม่ต้องถอดเข้า-ออกเหมือนฟันปลอม
  • การทำรากฟันเทียม ช่วยเพิ่มความมั่นใจ ให้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • การทำรากฟันเทียม ไม่ต้องกรอแต่งฟันข้างเขียง
  • หลังใส่รากฟันเทียมสามารถพูด ออกเสียงได้อย่างเป็นธรรมชาติ
  • หมดปัญหาเรื่องของการบดเคี้ยวอาหาร แล้วฟันปลอมจะหลุดหรือหลวม

ข้อเสียของการทำ รากฟันเทียม

  • มีราคาแพง เมื่อเทียบกับฟันปลอมชนิดอื่น ๆ
  • เป็นการผ่าตัดเปิดเหงือก ซึ่งหลายคนกลัวเจ็บก็อาจจะเป็นกังวลในเรื่องนี้
  • ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม ใช้ระยะเวลาในการทำค่อนข้างนาน
  • เรื่องความสวยงามของสีฟันอาจไม่เท่ากัน

รากฟันเทียม ราคา

รากฟันเทียมราคาเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 39,000 บาท ซึ่งราคารากฟันเทียมจะขึ้นอยู่กับประเภทของวัสดุที่เลือกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง 

จัดฟัน ทั้งที คิดให้ดี อย่าให้มีรอบสอง! (ถ้ายังไม่อ่าน)

กลับสู่สารบัญ

ขั้นตอนการรักษารากฟัน

  1. ตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด โดยการซักประวัติ ตรวจฟัน   เอกซเรย์ และพิมพ์ปาก เพื่อนำไปประกอบการวางแผนในการรักษาและใส่รากฟันเทียม
  2. นัดผ่าตัดและใส่รากฟันเทียม*หลังการใส่รากฟันเทียมเรียบร้อยแล้วต้องรอให้รากฟันเทียมยึดเข้ากับกระดูกเองโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 2-6 เดือน
  3. พิมพ์ปากบริเวณรากเทียม เมื่อรากเทียมยึดเข้ากับกระดูกดีแล้วขั้นตอนต่อไปคือการพิมพ์ฟันเพื่อวางแผนใส่เดือยในรากเทียมเพื่อรองรับครอบฟันและทำครอบฟัน ขั้นตอนการพิมพ์ฟันจะใช้เวลาเพียง 30 นาที
  4. นัดใส่เดือยฟันและครอบฟัน
  5. นัดตรวจเช็ครากฟันเทียม

หลังจากการกลับไปใช้งานรากฟันเทียมสักพักแพทย์จะนัดตรวจเช็คว่าใช้งานได้ดรหรือไม่อย่างไร การเคี้ยวอาหารได้เป็นปกติหรือไม่

ยาติดฟันปลอม หรือ กาวติดฟันปลอม สำคัญไหม? และสำคัญอย่างไร?

ยาติดฟันปลอม จะใช้ควบคู่กับฟันปลอมแบบถอดได้ ซึ่งยาติดฟันปลอมจะทำหน้าที่ยึดระหว่างฟันปลอมกับเพดานลิ้นให้ติดกัน และไม่ส่งเป็นอันตรายต่อช่องปาก ซึ่งยาติดฟันปลอมหลักๆ จะมีหลายยี่ห้อ ได้แก่

  • Polident
  • Rapident
  • Fittydent
รากฟันเทียม
กลับสู่สารบัญ

วีเนียร์ คืออะไร?

วีเนียร์ คือการทำฟันปลอมอีกรูปแบบหนึ่ง โดยเป็นการเคลือบสีฟันด้วยวัสดุบางอย่างลักษณะคล้ายฟัน  ซึ่งวีเนียร์ถือว่าเป็นการทำฟันปลอมที่แตกต่างจากฟันปลอมแบบทั่วไปที่มีมา โดยวีเนียร์จะมีแค่ส่วนบริเวณผิวหน้าของฟันที่ไม่ไดเป็นเหมือนฟันปลอมทั้งหมด ก็จะมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ

  • พลอสเลน วีเนียร์ (Porcellan Veneers) เป็นวัสดุจากเซรามิคที่มีความเรียบเนียนสวย และให้ความรู้สึกที่เหมือนฟันธรรมชาติ
  • คอมโพสิต วีเนียร์ (Composite Veneer) ที่เป็นวัสดุคล้ายกับใช้สำหรับอุดฟัน

การทำ วีเนียร์ มีกี่แบบ? อะไรบ้าง?

วีเนียร์ มี 2 แบบ คือ

  • Traditional Veneers เป็นการทำวีเนียร์ทั่วไปที่มีการตกแต่งและเจียหน้าฟันออก
  • No-Prep เป็นการทำวีเนียร์แบบไม่มีการเจียผิวของหน้าฟัน การทำวีเนียร์ลักษณะนี้ ข้อจำกัดสำหรับบางคนเท่านั้น และขึ้นอยู่กับรูปร่างฟันแต่ละบุคคล ที่ต้องตรวจแล้วผ่านดุลพินิจของทันตแพทย์
กลับสู่สารบัญ

การดูแล ฟันเทียม

  1. ควรแปรงฟันและแปรงฟันปลอมให้ได้ทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร
  2. ไม่แนะนำให้ใส่ฟันปลอมนอน เพื่อให้ผิวบริเวณเหงือกได้พักผ่อน
  3. พยายามเลี่ยงการใช้ฟันปลอมในส่วนซี่หน้ากัดหรือเคี้ยวอาหาร
  4. เก็บฟันปลอมได้ด้วยการนำฟันปลอมที่ทำความสะอาดแล้วไปแช่ไว้ในภาชนะที่เตรียมไว้สำหรับแช่ฟันปลอม และควรเติมน้ำให้ระดับของน้ำสูงกว่าฟันปลอม ซึ่งการแช่ฟันปลอมในน้ำก็จะช่วยให้คงสภาพเดิมอยู่ไม่หด ไม่เบี้ยว จนเสียรูป
  5. เมื่อใส่ฟันปลอมแล้วรู้สึก แน่นเกินไป รู้สึกเคืองเล็กน้อย ควรกลับไปปรึกษาทันตกรรมที่ได้รับการรักษาทันทีเพื่อจะตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดได้ทัน
  6. พบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อตรวจช่องปากและฟัน
  7. ทุกครั้งหลังการถอดหรือใส่ควรมีที่เก็บหรืออุปกรณ์เก็บฟันปลอมเพื่อป้องกันการตก หล่น หรือหาย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ การใช้งานเว็บไซต์นี้แสดงว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า