‘โรคอ้วน’ ภาวะน้ำหนักตัวเกิน ส่งผลเสียต่อสุขภาพ!
ความอ้วนเป็นภาวะที่ก่อให้เกิดปัญหาสำคัญต่อสุขภาพ ที่พบได้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ ในสภาวะสังคมปัจจุบัน ซึ่งเกิดมาจากหลายปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดภาวะความอ้วนได้ ทั้งจากพฤติกรรมการกิน การรับประทานอาหารที่มากเกินความต้องการของร่างกาย รับประทานอาหารจุกจิก หลายมื้อ หรือรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูง การมีวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ที่มีกิจกรรมทางกายลดลง หันไปใช้เครื่องอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตมากขึ้น
เช่น การใช้บันไดเลื่อนหรือลิฟท์แทนการขึ้นบันได การใช้ยานพาหนะ ทั้งรถจักรยานยนต์และรถยนต์เพื่อเดินทางแทนการใช้จักรยานและการเดิน เป็นต้น รวมไปถึงการขาดเอาใจใส่ในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ร่างกายเกิดภาวะอ้วนได้
ยาลดความอ้วน กับ โยโย่เอฟเฟกต์ (Yoyo Effect)
โดยภาวะอ้วนนี้สามารถเกิดได้ในทุกเพศทุกวัย ทั้งวัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงานและวัยสูงอายุ ซึ่งการเกิดภาวะอ้วนในวัยรุ่นและวัยทำงาน หนุ่มๆสาวๆ ในวัยดังกล่าวบางคนแทนที่จะหาวิธีลดความอ้วนด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน หันมาออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ แต่กลับเลือกใช้วิธีอดอาหาร หนักสุดบางรายเลือกใช้วิธีลดความอ้วนทางลัดหันไปใช้ยาลดความอ้วน ทำให้น้ำหนักลดได้จริงในช่วงแรก แต่หลังจากนั้นก็เกิด โยโย่เอฟเฟกต์ (Yoyo Effect) น้ำหนักที่เคยลดกลับเด้งขึ้นมามากกว่าตอนที่จะเริ่มลดน้ำหนักเสียอีก
และสำหรับคนที่ใช้ยาลดความอ้วนก็ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายอย่างใหญ่หลวง จนบางคนเป็นสาเหตุให้เกิดการเสียชีวิตได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังจะพยายามลดน้ำหนัก วันนี้เราจะนำเสนอบทความเกี่ยวกับอันตรายอันเกิดจากการใช้ยาลดความอ้วน และขอแนะนำวิธีการลดความอ้วนที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อให้ทุกท่านนำไปประยุกต์ใช้ในการลดความอ้วนกันค่ะ
อ่านเพิ่มเติม :
วิธีแก้อาการ 'โยโย่เอฟเฟกต์'ยาลดความอ้วนคืออะไร?
อันตรายจากยาลดความอ้วนมีอะไรบ้าง?
ยาลดความอ้วนที่มีขายทั่วไปตามสื่อโซเชี่ยล ตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือคลินิกที่ไม่ได้รับการรับรอง อาจจะมีการใช้ส่วนผสมที่เป็นสารที่มีอันตราย มีส่วนผสมของยาหลายๆ ตัว ซึ่งมีผลเสียต่อร่างกายของเรา เนื่องจากผู้ผลิตหรือผู้ขายต้องการที่จะให้ยาลดความอ้วนมีประสิทธิภาพเห็นผลรวดเร็ว น้ำหนักลดได้รวดเร็ว แต่ผู้ผลิตหรือผู้ขายเองไม่ได้คำนึงถึงผลเสียที่จะตามมา ซึ่งสารที่มักจะพบในยาลดน้ำหนักและมีอันตรายได้แก่
1. ยาไซบูทรามีน (sibutramine)
เป็นยาที่ออกฤทธ์ต่อระบบประสาทลดความอยากอาหาร ทำให้เบื่ออาหารปัจจุบันถูกถอนจากทะเบียนยาและไม่อนุญาตให้ใช้ในประเทศไทยแล้ว เนื่องจากมีผลวิจัยที่ชัดเจนแล้วว่าผู้ที่ได้รับสารไซบูทรามีนจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคเส้นเลือดสมองเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ยังคงมีการตรวจพบว่ามีการลักลอบใส่ไซบูทรามีนในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อวดอ้างสรรพคุณในการลดน้ำหนัก ซึ่งมีรายงานการเกิดอันตรายรุนแรงต่อผู้บริโภค ถึงขั้นเสียชีวิต
2. ยาเฟนเทอร์มีน (phentermine)
ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของสารแอมเฟตามีน ออกฤทธิ์ต่อสมองกระตุ้นศูนย์ควบคุมความอิ่ม ทำให้ลดความอยากอาหารและเกิดการเบื่ออาหารได้ มีผลข้างเคียงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้ปากและคอแห้ง ใจสั่น นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง ไม่ควรใช้ในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ซึ่งยาเฟนเทอร์มีนนี้มีข้อบ่งชี้ในการรักษาโรคอ้วนโดยตรง แต่ให้ใช้ในระยะสั้นเท่านั้น
เช่น ไม่ควรใช้เกิน 3-6 เดือน และหากรับประทานยาลดความอ้วนกลุ่มนี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการติดยาได้ เนื่องจากยามีฤทธิ์ทำให้เคลิ้มมีความสุข และถ้าหากหยุดยาทันทีทันใด อาจเกิดภาวะถอนยาได้ อาการถอนยาดังกล่าวได้แก่ สับสน หวาดระแวง ประสาทหลอน เป็นต้น ยากลุ่มนี้จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 2 ดังนั้นการใช้ยากลุ่มนี้จึงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
3. ยาระบายบิสซาโคดิล (Bisacodyl) และ ยาขับปัสสาวะฟูโรซีไมด์ (Furosemide)
เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้าและอาการในกลุ่มวิตกกังวล มีผลในการช่วยทำให้ไม่อยากอาหาร แต่มีผลข้างเคียง คือทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่
4. ไทรอยด์ฮอร์โมน
เป็นยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำกว่าปกติ ซึ่งยามีผลเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ทำให้น้ำหนักลดลงเร็ว โดยยากลุ่มนี้ทำให้เกิดผลข้างเคียงหลายอย่าง
เช่น น้ำหนักที่ลดลงเป็นน้ำหนักที่ลดลงที่เกิดจากน้ำหนักตัวที่ปราศจากไขมัน (lean body mass) แทนที่จะเป็นไขมัน ซึ่งเป็นการทำลายโปรตีนของกล้ามเนื้อ มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดได้ เช่น ทำให้ใจสั่นหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น
5. ยาลดการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหาร
ยานี้ไม่มีผลต่อการลดน้ำหนัก แต่ใช้เพื่อลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากยาลดความอยากอาหารที่มีผลทำให้ไม่หิว ดังนั้นร่างกายจึงไม่ได้รับอาหารหรืออาจได้รับอาหารเพียงเล็กน้อย ซึ่งการที่ร่างกายไม่ได้รับอาหารแต่ยังมีกรดในกระเพาะอาหารหลั่งเพื่อย่อยอาหารอยู่ อาจเป็นเหตุให้เกิดโรคกระเพาะได้ จึงให้ยานี้เพื่อลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร
6. ยาลดอัตราการเต้นของหัวใจ
เช่น โพรพราโนลอล (Propranolol) ปกติจะใช้เพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ การใช้ร่วมกับยาชุดลดความอ้วนนั้น เพื่อลดอาการใจสั่นที่เป็นผลข้างเคียงของยาลดความอยากอาหาร และไทรอยด์ฮอร์โมน ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากยาลดอัตราการเต้นของหัวใจได้แก่ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หัวใจเต้นช้า ความดันโลหิตต่ำ เป็นต้น
7. ยานอนหลับหรือยาที่มีฤทธิ์ข้างเคียงทำให้ง่วงนอน
เช่น ไดอะซีแพม (Diazepam) ใช้เพื่อลดผลข้างเคียงจากยาลดความอยากอาหารซึ่งกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้นอนไม่หลับ ซึ่งยาในกลุ่มยานอนหลับนี้ยังจัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภทที่ 2
ดังนั้นการใช้ยากลุ่มนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ นอกจากนี้หากรับประทานยากลุ่มนี้ในขนาดที่สูงเกินไป อาจมีผลทำให้เกิดการกดการหายใจและความดันโลหิตต่ำได้
จะเห็นได้ว่ายาชุดลดความอ้วนดังกล่าว ประกอบด้วยยาที่มีผลลดน้ำหนักโดยตรงและยาอื่นๆ ที่ไม่มีผลลดน้ำหนักโดยตรง แต่เป็นยารักษาโรคอื่นที่นำมาใช้เพื่อลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาลดความอ้วน แต่กลับส่งผลให้ได้รับอันตรายจากผลข้างเคียงมากมาย ดังนั้นการหาซื้อยาลดความอ้วนมาใช้เองโดยที่ไม่มีแพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด อาจส่งผลเสียต่อร่างกายต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
อยากลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน! ทำอย่างไรดี?
ในปัจจุบันหลายคนหันมาให้ความสนใจรูปร่างและสุขภาพกันมากขึ้น ทั้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร, ออกกำลังกาย รวมถึงการทำศัลยกรรมความงาม เพราะมีแพทย์ให้คำแนะนำอย่างถูกต้อง ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนและปลอดภัยกว่า การทานยาลดน้ำหนัก
ลดสัดส่วนด้วยการดูดไขมัน
ดูดไขมัน เป็นการเอาไขมันสะสมที่เป็นส่วนเกินออกในบางบริเวณของร่างกาย เช่น มีไขมันหน้าท้อง มีพุงหมาน้อย สามารถดูดไขมันหน้าท้องให้แบนเรียบได้ , ต้นขาใหญ่มาก ดูดไขมันเหมาขา ก็จะทำให้ขาเรียว ฯลฯ แต่การดูดไขมันนั้นมีจุดประสงค์เพื่อลดสัดส่วน ปรับรูปร่างให้เข้ารูปสวยงามเฉพาะส่วน เพิ่มความมั่นใจในการสวมใส่เสื้อผ้าและการใช้ชีวิตเท่านั้น ไม่ใช่การลดน้ำหนัก
การดูดไขมันในปัจจุบันก็ไม่น่ากลัวและไม่เจ็บอย่างที่คิด เพราะมีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่สวยงาม เป็นที่น่าพอใจในเวลาเร่งด่วน ดูดไขมันเสร็จสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยไม่ต้องพักฟื้น
อ่านเพิ่มเติม :
ดูดไขมันเจ็บไหม? แผลดูดไขมันอยู่ตรงไหน? ดูดไขมันแล้วน้ำหนักลดลงไหม?ลดน้ำหนักด้วยการผ่าตัดกระเพาะอาหาร รักษาโรคอ้วน
ผ่าตัดกระเพาะลดความอ้วน เหมาะกับคนที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน เป็นโรคอ้วน ไม่สามารถลดน้ำหนักด้วยตัวเองได้ หรือมีโรคแทรกซ้อนจากความอ้วนร่วมด้วย ซึ่งการดูดไขมันอาจไม่ตอบโจทย์ แพทย์อาจจะแนะนำการ ‘ผ่าตัดกระเพาะ’ แทน เพราะให้ผลลัพธ์คือ ได้สุขภาพที่ดีกลับคืนมา สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ รวมถึงลดอาการหรือโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากความอ้วนได้อีกด้วย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น
ในปัจจุบันการผ่าตัดกระเพาะมีหลายวิธี ทั้ง ผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ (ตัดกระเพาะอย่างเดียว), บายพาส (ตัดกระเพาะร่วมกับตัดต่อลำไส้), การเย็บกระเพาะแบบส่องกล้อง, single port ผ่าตัดกระเพาะแผลหน้าท้องรูเดียว, การใส่บอลลูนกระเพาะอาหาร แต่ละวิธีนั้นจะมีข้อดีและข้อเสียต่างกัน คนที่สนใจผ่าตัดกระเพาะ จะต้องได้รับคำแนะนำและปรึกษาแพทย์ผู้เชียวชาญก่อนเพื่อเลือกวิธีที่เหมาะสม และให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ เป็นศูนย์ผ่าตัดกระเพาะอาหารลดน้ำหนัก ที่สามารถทำได้ทุกวิธี รักษาโดยทีมแพทย์ศัลยศาสตร์ส่องกล้อง และผ่าตัดกระเพาะรักษาโรคอ้วน จากสหรัฐอเมริกา ประสบการณ์กว่า 30 ปี ทำการรักษาในโรงพยาบาลชั้นนำมาตรฐานสากล พร้อมด้วยเทคนิคเฉพาะที่ทำให้ได้ผลลัพธ์ชัดเจนและปลอยภัย
อ่านเพิ่มเติม :
ผ่าตัดกระเพาะ ลดน้ำหนัก รักษาโรคอ้วน หยุดหายใจขณะหลับ (SLEEP APNEA) ร่วมกับนอนกรนดังนั้นการลดน้ำหนักที่ดีและปลอดภัย คือ การควบคุมอาหารควบคู่กับการออกกำลังกาย อีกทั้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารร่วมด้วย ซึ่งถึงแม้การใช้ยาลดความอ้วนจะเป็นวิธีเห็นผลเร็ว น้ำหนักลดลงได้เร็วก็จริง แต่หากไม่ได้มีการควบคุมอาหารและออกกำลังกายร่วมด้วย เมื่อหยุดยาลดความอ้วนน้ำหนักก็จะเพิ่มขึ้นเช่นเดิมได้ อีกทั้งยังมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดอันตรายต่อชีวิตได้หากใช้ยาในขนาดที่สูงเกินไป ดังนั้นหากต้องการใช้ยาลดความอ้วน ควรปรึกษาแพทย์และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้ยาได้มากที่สุด
รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ ให้บริการด้านความงามและการรักษา โดยทีมแพทย์เฉพาะทางระดับอาจารย์หลากหลายสาขา ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีความปลอดภัยสูงและเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ได้รับรองมาตรฐานจาก AACI สหรัฐอเมริกา ด้านศูนย์ศัลยกรรมผู้ป่วยนอกแห่งแรกในเอเชียแปซิฟิก 2 ปีซ้อน รวมถึงรางวัลจาก WhatClinic ด้านบริการลูกค้ายอดเยี่ยมระดับสากล เป็นปีที่4 จากลูกค้ากว่า 30 ประเทศทั่วโลก ที่ให้ความไว้วางใจและใช้บริการอย่างต่อเนื่อง