รวมสิ่งที่ต้องรู้ เกี่ยวกับ “ตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19” คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่?

ตรวจ ภูมิคุ้มกันโควิด-19 คืออะไร

ตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19 (Covid-19 Antibody Level Test) หลายคนอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว วันนี้เราจะพาไปไขข้อข้องใจเกี่ยวกับประเด็นนี้กันว่า คืออะไร? มีข้อดีอย่างไร? จำเป็นต้องตรวจหรือไม่? ไปหาคำตอบกัน

สารบัญ

1. ตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19 (Covid-19 Antibody Level Test) คืออะไร?

2. ตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19 มีกี่ประเภท

  • การตรวจภูมิคุ้มกันโควิด ด้วยวิธี CMIA
  • การตรวจภูมิคุ้มกันโควิด ด้วยวิธี ELISA
  • การตรวจภูมิคุ้มกันโควิด ด้วยวิธี PRNT

3. ข้อดีของการตรวจภูมิคุ้มกันโควิ-19

4. ตรวจภูมิคุ้มกันโควิด สามารถตรวจได้ตอนไหนบ้าง?

5. ตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19 มีขั้นตอนอย่างไร? และใช้เวลานานเท่าไหร่กว่าจะทราบผล?

6. เมื่อตรวจแล้วพบว่ามีระดับภูมิคุ้มกันโควิด-19 สูงดีอย่างไร?

7. หลังได้รับการฉีดวัคซีน ระดับภูมิคุ้มกันโควิด-19 หรือแอนติบอดี จะขึ้นทันทีเลยหรือไม่?

8. คำถามที่พบบ่อย การตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19

ตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19 คืออะไร?

เป็นการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกัน หรือแอนติบอดีต่อเชื้อ SARS-CoV2 (COVID-19) ในร่างกาย ก่อน/หลังการฉีดวัคซีน หรือหลังการติดเชื้อโควิด-19 ว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใด ซึ่งหากร่างกายมีการสร้างภูมิหรือมีระดับของภูมิต้านทานที่มากเพียงพอ ก็สามารถช่วยลดโอกาสการติดเชื้อโควิด และความรุนแรงของโรค รวมถึงลดความเสี่ยงการเสียชีวิตลงได้

การตรวจภูมินี้ไม่สามารถสร้างหรือเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันภายในร่างกายได้ ภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดีจะเพิ่มก็ต่อเมื่อร่างกายเกิดการสร้างขึ้นมาตามธรรมชาติ หรือได้รับการฉีดวัคซีนเข้าไปกระตุ้น อีกทั้งการตรวจภูมิคุ้มกันโควิดไม่ใช่การตรวจหาเชื้อโควิด-19 แต่อย่างใด หากอยากตรวจหาเชื้อ Covid-19 โดยตรงจะต้องใช้วิธีการตรวจแบบ RT-PCR หรือ Rapid Antigen Test (ATK) เป็นการสวอปโพรงจมูก หรือลำคอเท่านั้น

ตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19 มีกี่ประเภท

ตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19 หรือ ตรวจหาแอนติบอดีต่อสไปค์โปรตีนของเชื้อไวรัสโควิด-19 (spike protein หรือ s-protien) มี 2 ประเภท คือ

  • Binding Antibody : ตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด-19 หรือ แอนติบอดีที่จับกับโปรตีนแอนติเจนของเชื้อไวรัส (Spike Protein) ที่ร่างกายสร้างขึ้นภายหลังการติดเชื้อ หรือการฉีดวัคซีน สามารถด้วย 2 วิธีคือ CMIA (ตรวจหาค่า IgG) หรือ ELISA (ตรวจหาค่า IgG และ IgM)
  • Neutralizing Antibody : เป็นการตรวจภูมิคุ้มกัน หรือ แอนติบอดี ที่สามารถลบล้างฤทธิ์ของเชื้อไวรัส ทดสอบความสามารถของแอนติบอดีในการยับยั้งไวรัสไม่ให้เข้าสู่เซลล์โดยการเจาะเลือดและนำเข้าสู่กระบวนการ ปั่น-เพาะเชื้อ-วิเคราะห์ผล ทำภายในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับสูง หรือที่เรียกว่า Plaque Reduction Neutrazation (PRNT)
ตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19 มีกี่วิธี

*Spike Protien หรือ โปรตีนหนาม ของไวรัสโควิด-19  เป็นส่วนหนึ่งที่มีความจำเพาะของเชื้อไวรัส ใช้จับกับตัวรับบนผิวเซลล์ของร่างกาย (RBD = Receptor Binding Domain)

กลับสู่สารบัญ

การ ตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19 ด้วยวิธี CMIA

วิธีการตรวจแบบ CMIA  หรือ Chemiluminescent Microparticle Immunoassay เป็นประเภท Binding Antibody คือการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกัน หรือแอนติบอดี ชนิด IgG (ภูมิคุ้มกันระยะยาว) ต่อ Spike Protien ของเชื้อไวรัสโควิด-19 เชิงปริมาณ ต่อการตอบสนองหลังการฉีดวัคซีน โดยการเจาะเลือดและส่งตรวจยังห้องปฏิบัติการ เพื่อหาค่าระดับของภูมิคุ้มกัน โดยรายงานผลเป็นหน่วย AU/mL ซึ่งวิธี CMIA เป็นหนึ่งในวิธีที่นิยม ให้ผลลัพธ์แม่นยำ ได้มาตรฐานของ WHO อีกทั้งเป็นวิธีที่ รพ.ศิริราช นำมาทดสอบหาภูมิ รวมถึงในงานวิจัยต่างประเทศด้วย

การตรวจภูมิคุ้มกันโควิด ด้วยวิธี CMIA สามารถตรวจวัดระดับแอนติบอดีได้ละเอียดกว่าการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบรวดเร็ว (Rapid Diagnostic Test) ที่เป็นการตรวจแบบเชิงคุณภาพ บนตลับจะแสดงผลแค่ Positive = พบภูมิคุ้มกัน หรือ Negative = ไม่พบภูมิคุ้มกัน หรือบางยี่ห้อบอกผลตรวจแบบแถบรวม (Total Antibody) เท่านั้น

การอ่านค่าผลตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19 วิธี CMIA

การตรวจภูมิคุ้มกันด้วยวิธี CMIA จะรายงานผลเป็นหน่วย AU/mL ซึ่งอ่านค่าได้ดังนี้

  • ปริมาณ IgG มากกว่าหรือเท่ากับ 50 AU/mL แปลว่า มีการตอบสนองหรือมีการสร้างของระบบภูมิต้านทานต่อ Spike Protein ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ณ วันที่ตรวจวิเคราะห์
  • ปริมาณ IgG น้อยกว่า 50 AU /mL แปลว่า ยังไม่มีการตอบสนอง หรือยังไม่มีการสร้างระบบภูมิต้านทาน ณ วันที่ตรวจวิเคราะห์
Spike Protien หรือ โปรตีนหนาม ของไวรัสโควิด-19 
กลับสู่สารบัญ

การ ตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19 ด้วยวิธี ELISA

วิธีการตรวจแบบ ELISA เป็นประเภท Binding Antibody เช่นเดียวกันกับ CMIA คือการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิดเชิงปริมาณ แต่จะเป็นการตรวจวัดระดับแอนติบอดีรวม (ชนิด IgG’ และ igM) ต่อ Spike Protien ของเชื้อไวรัสโควิด-19 และรายงานผลเป็นหน่วย U/mL (เป็นวิธีที่ รพ.จุฬา นำมาทดสอบหาภูมิ)

การอ่านค่าผลตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19 วิธี ELISA

การตรวจภูมิคุ้มกันด้วยวิธี ELISA จะรายงานผลเป็นหน่วย U/mL ซึ่งอ่านค่าได้ดังนี้

  • ปริมาณ igG < 1.0 U/mL แปลว่า ยังไม่มีการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ณ วันที่ตรวจวิเคราะห์
  • ปริมาณ igG ≥ 1.0 U/mL แปลว่า มีการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ต่อ Spike Protein ณ วันที่ตรวจวิเคราะห์

การตรวจภูมิคุ้มกันโควิด ด้วยวิธี PRNT

การตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19 หรือหาแอนติบอดี้ต่อสไปค์โปรตีน ด้วยวิธี PRNT หรือ Plaque Reduction Neutrazation เป็นการตรวจประเภท Neutralizing Antibody คือการลบล้างฤทธิ์ของไวรัส ซึ่งจะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่าแบบ CMIA และ ECLIA เนื่องจากต้องนำเลือดไปเข้ากระบวนการ ปั่น เพาะเชื้อ จำลองไวรัสขึ้นมาให้คล้ายกับไวรัสโควิด (pVNT) แล้วดูว่าสามารถลบล้างไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ที่เพาะเลี้ยงได้ในระดับใด และจะต้องทำในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยที่มีความปลอดภัยสูงระดับ 3 (BSL 3)

ตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19 วิธี PRNT
กลับสู่สารบัญ

ข้อดีของการตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกันโควิด-19

  1. เพื่อวินิจฉัยว่าเคยติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่และติดมานานหรือยัง ในกรณีที่ไม่เคยได้รับวัคซีนโควิดมาก่อน แต่วิธีนี้อาจจะทำให้วินิจฉัยโรคได้ช้ากว่าการตรวจแบบ ATK หรือ RT-PCR วิธีนี้จึงไม่ได้รับความนิยมมากนัก แต่ก็ยังมีประโยชน์ในบางกรณี
  2. ติดตามระดับภูมิต้านทานโควิด-19 หลังจากที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว เพื่อหาประสิทธิภาพของวัคซีนที่ได้รับ
  3. เพื่อให้ทราบว่าร่างกายมีการตอบสนองต่อวัคซีนที่ได้รับดีมากน้อยเพียงใด และนำไปวางแผนการรับวัคซีนเข็มที่สามต่อไป

ตรวจภูมิคุ้มกันโควิด สามารถตรวจได้ตอนไหนบ้าง?

  • ก่อนการฉีดวัคซีน : เป็นการตรวจเช็คเบื้องต้น ในกรณีสงสัยว่าตนเองติดเชื้อโควิด-19 แต่ไม่แสดงอาการ หรืออาจมีภูมิต้านทานตามธรรมชาติแล้วว่ามีปริมาณมากน้อยแค่ไหน
  • หลังการฉีดวัคซีน : ต้องการตรวจเช็คระดับภูมิคุ้มกัน หรือแอนติบอดีภายในร่างกายว่ามีปริมาณเท่าไหร่ โดยสามารถตรวจหาภูมิตอบสนองหลังฉีดวัคซีนเข็มแรกและเข็มที่สองแล้ว 2-4 สัปดาห์ แต่เพื่อให้ระบบภูมิตอบสนองทำงานได้อย่างเต็มที่ แนะนำให้ตรวจหลังฉีดวัคซีนเข็มที่สองไปแล้วประมาณ 4 สัปดาห์
  • หลังการติดเชื้อโควิด-19 : ต้องการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดี ในกรณีเคยติดเชื้อโควิด-19 มาแล้ว (1 เดือน) หรือในกรณีสงสัยว่าตนเองได้รับเชื้อโควิด-19 แต่ไม่แสดงอาการ
ข้อดีของการ ตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19
กลับสู่สารบัญ

ตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19 มีขั้นตอนอย่างไร? และใช้เวลานานเท่าไหร่กว่าจะทราบผล?

การตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19 จะเป็นการเจาะเลือดและส่งไปยังห้องปฏิบัติการ เพื่อทำการตรวจหาภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดี้เชิงลึก ซึ่งใช้เวลาในการตรวจประมาณ 30 นาที (ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล) ส่วนระยะเวลาที่ผลตรวจออกนั้น จะขึ้นอยู่กับว่าตรวจด้วยวิธีไหน? หากตรวจเชิงปริมาณแบบ CMIA หรือ ELICIA ก็จะทราบผลไม่เกิน 24 ชม. ส่วนการตรวจแบบ PRNT ที่เป็นการตรวจเชิงคุณภาพจะใช้เวลานานกว่า ทราบผลตรวจไม่เกิน 7 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแลปที่ส่งตรวจด้วย หากที่ผู้ใช้บริการเยอะก็จะทราบผลช้ากว่าปกติเล็กน้อย

เมื่อตรวจแล้วพบว่ามีระดับภูมิคุ้มกันโควิด-19 สูงดีอย่างไร?

เมื่อตรวจแล้วพบว่ามีระดับภูมิคุ้มกันโควิด-19 (Covid-19)ในปริมาณที่สูงมากพอ ก็จะสามารถช่วยลดโอกาสและลดความรุนแรง รวมถึงการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 ได้ แต่หากหลังการตรวจภูมิแล้วพบว่า ระดับภูมิคุ้มกันมีปริมาณที่น้อย อาจมีสาเหตุจากหลายปัจจัย เช่น สุขภาพไม่แข็งแรง มีโรคประจำตัวหรือโรคแทรกซ้อน การรับประทานยาบางชนิด มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น จึงทำให้การตอบสนองภูมิคุ้มกันระดับเซลล์หลังการฉีดวัคซีนทำงานได้ไม่ดีพอ 

ตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19
กลับสู่สารบัญ

หลังได้รับการฉีดวัคซีน ระดับภูมิคุ้มกันโควิด-19 หรือแอนติบอดี จะขึ้นทันทีเลยหรือไม่?

หลังได้รับการฉีดวัคซีน ระดับภูมิคุ้มกันในร่างกายจะไม่ขึ้นโดยทันที แต่จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นหลังการฉีดวัคซีนประมาณ 2-4 สัปดาห์ขึ้นไป(ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล) ถ้าหากได้รับการวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 2 จะยิ่งทำให้เกิดการกระตุ้นของระดับภูมิคุ้มกันสูงขึ้นและรวดเร็วขึ้น ข้อควรระวังก็คือถึงแม้หลังการตรวจจะพบว่ามีภูมิที่สูงขึ้น แต่ไม่ได้การันตีว่าจะป้องกันการติดเชื้อได้ 100% ยังสามารถติดเชื้อโควิด-19 ได้ เพียงแต่อาการจะไม่หนักเท่ากับผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน

เพราะฉะนั้น ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ยังต้องปฏิบัติตัวอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัดในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 คือการใส่หน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือให้สะอาด พกสเปรย์แอลกอฮอล์ และรักษาระยะห่าง ในระหว่างที่ยังมีการระบาดของโรคโควิด-19

FAQ : คำถามที่พบบ่อย การตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19

การตรวจภูมิคุ้มกันไม่จำเป็นต้องงดข้าวหรือน้ำ สามารถตรวจได้ทุกเมื่อที่ต้องการ

  1. ขึ้นอยู่กับผู้ตรวจว่า ต้องการตรวจเช็คระดับแอนติบอดี้ในร่างกายว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใดหรือไม่
  2. เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่าร่างกายตอบสนองต่อวัคซีนที่ได้รับดีหรือไม่ได้เช่นกัน
  3. เป็นการตรวจเช็คระดับภูมิคุ้มกัน โควิด-19 เพื่อที่จะวางแผนในการรับวัคซีนเข็มที่สามหรือรับวัคซีนเข็มใหม่เพิ่มเติม

การตรวจภูมิคุ้มกัน ควรตรวจหลังจากที่ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 เดือน และไม่ควรนานเกิน 3 เดือน

ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานที่ให้บริการ ว่าตรวจด้วยวิธีไหน ซึ่งราคาก็จะแตกต่างกัน

การตรวจภูมิโควิด มีสถานที่ให้บริการอยู่หลายแห่ง ซึ่งที่รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ นั้น มีการตรวจภูมิโควิด ด้วยวิธี CMIA (ตรวจเชิงปริมาณ) และวิธี PRNT (ตรวจเชิงคุณภาพ) ซึ่งเป็นวิธีสากล ผลแม่นยำ และรู้ผลเร็ว โดยราคาอยู่ที่ 2,400 บาท

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ การใช้งานเว็บไซต์นี้แสดงว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า