รู้เท่าทัน! อาการของโรค มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคยอดฮิตคนไทย

มะเร็งลำไส้ใหญ่ เกิดจากอะไร

มะเร็งลำไส้ใหญ่ สำหรับผู้ที่มีภาวะปัญหาในเรื่องของการขับถ่าย เช่นอุจจาระไม่สุด มีอาการปวดเบ่ง ท้องเสีย ถ่ายไม่ค่อยออก หรือแม้แต่การรับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น เนี่ยเป็นสาเหตุหลักๆของการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้ ซึ่งวันนี้บทความนี้ก็นำเสนอเกี่ยวกับปัญหามะเร็งลำไส้ใหญ่แต่คุณจะอยู่ในระยะไหนและจะมีวิธีการรักษาอย่างไรเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำบทความนี้มีคำตอบ

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักปัจจุบันเป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 3 ของคนไทยแต่เห็นของมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่แท้จริงเรายังไม่ทราบ

ส่วนใหญ่ 70-90 เปอร์เซ็นต์ไม่รู้สาเหตุมีส่วนน้อยไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ที่เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมเช่นมีบุคคลในครอบครัวโดยเฉพาะพ่อแม่พี่น้องหรือลูกเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ คนเหล่านี้ก็มักมีความเสี่ยงกว่าคนปกติหรือในผู้ที่มีภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบเนื้อรังกลุ่มนี้ก็พบว่ามีความเสี่ยงเหมือนกัน

ส่วนน้อยที่เป็นลักษณะของลำไส้มีติ่งจำนวนมากกลุ่มนี้ก็ถือว่ามีความเสี่ยงไม่แพ้กันแต่สำหรับคนปกติยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ว่า 90% ของผู้ที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักมีอยู่ 4 ระยะเหมือนกับมะเร็งอื่นๆ

  • ระยะที่ 1 เป็นระยะของมะเร็งลำไส้ใหญ่ยังไม่ลุกลาม คือก้อนมะเร็งยังอยู่กับที่หรืออยู่ที่ผนังของลำไส้ยังไม่กระจายไปที่ไหน
  • ระยะที่ 2 เริ่มลุกลามไปที่กล้ามเนื้อชั้นลึก ก็ยังอยู่ที่ผนังของลำไส้แต่ลุกลามไปที่ชั้นลึก
  • ระยะที่ 3 เริ่มลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลือง มะเร็งกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง
  • ระยะที่ 4 เริ่มลุกลามไปเที่ยวอวัยวะต่างๆ มะเร็งกระจายไปยังตับและปอด
ระยะของ มะเร็งลำไส้ใหญ่

โดยประสบการณ์ระยะของโรคใน 30 % เป็นระยะที่ 4 30% เป็นระยะที่3อีก30% เป็นระยะที่2 สุดท้ายเป็นระยะที่1 ประมาณเพียงแค่ 10 %

บางรายมักจะรอให้มีอาการแล้วค่อยมาพบแพทย์ การที่อาการว่าก้อนนั้นต้องมีขนาดใหญ่พอสมควร หรือมีแผลลึกพอสมควร แนะนำว่าให้ตรวจโดยที่ไม่มีอาการซึ่งเราเรียกว่า”การตรวจคัดกรอง”การตรวจคัดกรองและนำว่าผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าคุณไม่จำเป็นที่จะต้องมีความผิดปกติใดๆก็สามารถเดินเข้าพบแพทย์และแจ้งขอตรวจคัดกรองภาวะมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้เพราะให้มีอาการมักจะมีระยะของโลกที่เพิ่มมากขึ้น

อาการที่พบบ่อย คนไข้ส่วนใหญ่มักพบด้วยอาการท้องผูก บางคนก็ท้องเสีย ขับถ่ายผิดปกติ การขับถ่ายผิดปกติก็คือบางคนท้องผูกบ้าง บางคนท้องเสียบ้าง สลับกันไป หรือบางคนท้องเสียถ่ายไม่ออก รับประทานยาแล้วไม่ดีขึ้น บางครั้งอุจจาระลีบเป็นเส้นๆก็มี ปวดเบ่งถ่ายไม่สุดก็เป็นอีกอาการหนึ่ง ส่วนน้อยจะมาด้วยภาวะซีดก็ได้หรือคลำก้อนเจอในช่องท้อง

อาการของ มะเร็งลำไส้ใหญ่

  1. ท้องผูกหรือท้องเสีย
  2. ถ่ายอุจจาระมีมูกเลือด
  3. ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
  4. ถ่ายไม่สุดปวดเบ่ง
  5. ลักษณะอุจจาระเป็นลำเล็ก
  6. ซีด/คลำก้อนเจอในลำไส้

การวินิจฉัย มะเร็งลำไส้ใหญ่

จากประวัติที่พบจากคนไข้ส่วนใหญ่มีการถ่ายเป็นมูกเลือดและมีปวดเบ่งถ่ายไม่สุดและท้องผูกรับประทานยาแล้วไม่ดีขึ้นในบางรายที่มีอายุเยอะต้องนึกถึงเรื่องก้อนหรือความผิดปกติในลำไส้ก่อนและจะข้อมูลดังกล่าวก็ทำให้แพทย์สงสัยมะเร็งลำไส้ใหญ่มากที่สุดแล้วทำการส่องกล้องก็เพราะว่ามีก้อนเนื้อก้อนเดียว คนไข้ปกติจะไม่มีก้อน เอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ก็พบว่าก้อนนั้นอยู่กับที่หรือยังไม่มีการแพร่กระจายไปที่ไหนเพราะฉะนั้นการรักษาที่ดีที่สุดก็คือ “การผ่าตัด “

ในกรณีที่ส่องกล้องแล้วพบว่ามีก้อนอยู่ที่ลำไส้ตรง ขนาดจะประมาณ 3 เซนติเมตร มีก้อนเดียวลำไส้ส่วนอื่นไม่มีก้อนผิดปกติ จากการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจพบว่ามีเซลล์ผิดปกติ มีเซลล์ที่ไม่ดี ในภาษาชาวบ้านเรียกว่า มะเร็งลำไส้

การที่ก้อนอยู่ในลำไส้ในยังไม่มีการกระจายไปยังตำแหน่งของต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่นๆในช่องท้องก็จะอยู่ในระยะต้นๆส่วนใหญ่ไม่ระยะที่ 2 ก็ระยะที่3

มะเร็งลำไส้ใหญ่ รักษาอย่างไร

การรักษา มะเร็งลำไส้ใหญ่

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่มีขั้นตอนคร่าวๆดังนี้

ระยะที่ 1 ยังอยู่ในผนัง(เฉพาะที่)การรักษาที่ดีที่สุดก็คือการผ่าตัด การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 1 และ 2 สามารถรักษาให้หายขาดได้ ส่วนระยะที่ 3 ซึ่งมีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองหลังผ่าตัดและจะต้องให้เคมีหรือเคมีและการฉายแสงเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

สำหรับระยะที่ 4 ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับอาการหนักๆการรักษาคือเคมีบำบัดหรือการรักษาแบบประคับประคองตามอาการของโรค

มะเร็งลำไส้สามารถรักษาให้หายขาดได้ในระยะเริ่มต้นหากสังเกตตัวเองว่ามีอาการลำไส้ผิดปกติหรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

Reference

  1. Whitlock EP, Lin JS, Liles E, et al. Screening for colorectal cancer: a targeted, updated systematic review for the U.S. Preventive Services Task Force. Ann Intern Med. 2008 Nov 4;149(9):638–58.
  2. Walsh JM, Terdiman JP. Colorectal cancer screening: scientific review. JAMA. 2003 Mar 12;289(10):1288–96.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ การใช้งานเว็บไซต์นี้แสดงว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า