นอนกัดฟัน หรือการกัดฟัน (Bruxism) เป็นความผิดปกติที่ใครหลายคนอาจไม่ทันสังเกตเห็นความผิดปกติของตนเอง และไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนที่นอนกัดฟันอาจเจอปัญหาสุขภาพในช่องปากอย่างฟัน กราม และเหงือกได้มากกว่าที่คิด
การนอนกัดฟันคืออะไร? (Bruxism)
การนอนกัดฟัน (Bruxism) เป็นภาวะเมื่อเกิดการบด กัด หรือขบเน้นฟัน ซึ่งภาวะนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวัน หรือขณะกำลังนอนหลับโดยที่ไม่รู้ตัว
นอนกัดฟันจัดว่าเป็นความผิดปกติของการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ (Sleep-Related Movement Disorder) โดยผู้ที่มีการขบเน้นฟันหรือบดกัดฟันในขณะนอนหลับ มักจะพบว่ามีโรคหรือความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกี่ยวของกับการนอนหลับ เช่น นอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep Apnea)
อาการ นอนกัดฟัน เป็นยังไง ?
ลักษณะของการกัดฟันขณะนอนหลับจะมี 2 รูปแบบหลัก ๆ ดังนี้
- กัดฟันแบบมีเสียง เป็นอาการกัดฟันแบบขบเน้นที่ฟันแน่น ๆ หรือใช้ฟันบนล่างบดถูไถซ้ำกันไปมาในขณะนอนหลับ และทำให้เกิดเสียงกัดฟันตามมา โดยในผู้ที่มีอาการกัดฟันอย่างรุนแรง อาจเกิดอาการดังกล่าวได้มากกว่า 100 ครั้งต่อคืน
- กัดฟันแบบไม่มีเสียง เป็นอาการกัดฟันแบบกัดแน่น ไม่มีการถูไถไปมา จึงไม่ทำให้เกิดเสียง
นอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ?
ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าอาการนอนกัดฟันเกิดจากสาเหตุใด แต่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับหลาย ๆ ปัจจัย เช่น
- พันธุกรรม
- ความเครียด หรือวิตกกังวล
- ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาที่ช่วยปรับสารในสมอง
- ผลกระทบจากโรคที่ทำให้กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson)
- เกิดจากความผิดปกติของการนอนหลับอื่นๆ (Sleep disorders) เช่น อาการหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Obstructive sleep apnea) หรือนอนกรน
- อายุ โดยในวัยเด็กจะมีอาการนอนกัดฟันมากกว่าผู้ใหญ่ และส่วนใหญ่มักหายได้เองเมื่อโตขึ้น
- สภาพฟัน อาจมีจุดสูงที่อยู่บนตัวฟัน ที่อาจเกิดจากวัสดุอุดฟัน มีการเรียงกันของฟันที่ผิดปกติ ฟันซ้อนเก หรือเป็นโรคปริทันต์ หรือในคนไข้ที่สูญเสียฟันแท้ไป โดยที่ไม่ได้ใส่ฟันปลอมทดแทน ซึ่งถ้าว่าจุดสูงหรือจุดขัดขวางการบดเคี้ยว โดยธรรมชาติของคนเราจะพยายามกำจัดจุดสูงหรือจุดขัดขวางการบดเคี้ยว โดยพยายามบดเคี้ยวให้จุดสูงนั้นหมดไป มักจะเกิดในเวลาที่เรานอนหลับ ซึ่งเป็นเวลาที่เราไม่รู้สึกตัว
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม
“ผลลัพธ์เปลี่ยนชีวิต” หลังผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ที่ รัตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
วิธีสังเกตตนเอง ว่ามีอาการนอนกัดฟันหรือไม่?
- รู้สึกเสียวฟันเวลาถูกของร้อนหรือเย็นและเวลาแปรงฟัน
- รู้สึกตึงบริเวณหน้าหรือกล้ามเนื้อบริเวณหน้า
- มีรอยเส้นบางๆ ที่เคลือบฟันของฟันบางซี่
- ปวดฟันอย่างรุนแรง เหงือกอักเสบ
- ปวดศีรษะ
- มีแผลที่กระพุ้งแก้มด้านใน
สำหรับ อาการนอนกัดฟัน ที่ยังไม่รุนแรงอาจไม่จำเป็นต้องทำการรักษา แต่สำหรับในผู้ที่นอนกัดฟันถี่ และรุนแรงจนอาจทำให้เกิดความผิดปกติกับขากรรไกร ปวดหัว และสร้างความเสียหายให้กับฟัน จำเป็นต้องได้รับการรักษา
วิธีการรักษา อาการนอนกัดฟัน
1. พฤติกรรมบำบัด ที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย เพียงผู้ป่วยลดความเครียดหรือความกังวลด้วยการทำจิตใจให้สบาย อาจทำโดยการนั่งสมาธิ, เล่นกีฬา, รวมทั้งลด หรือ งดการดื่มกาแฟ และ เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอลล์
2. รักษาสาเหตุและแก้ไขอาการนอนกัดฟัน โดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์หรือทันตแพทย์ อาจจะแนะนำให้ใส่ Splint หรือ เฝือกสบฟันเพื่อลดการสึกของฟัน โดย Splint นั้น มีลักษณะเป็น อะคริลิคใส แข็ง ใสในฟันบน หรือฟันล่าง ใส่เฉพาะในเวลานอนตอนกลางคืนเท่านั้น นอกจากนี้อาจปรึกษาทันตแพทย์เพื่อการกรอ หรือปรับลักษณะสบฟันหรือจัดฟันให้อยู่ในสภาวะปกติ หรือ อาจถอนฟันซี่ที่ไม่มีคู่สบเพื่อป้องกันการเกิดบาดแผลจากการขบฟัน แล้วแต่ลักษณะที่พบ
3. การรักษาด้วยยา เป็นการรักษาด้วยการรับประทานยาหรือฉีดยาเพื่อลดการทำงานหรือให้กล้ามเนื้อคลายตัว ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการให้ยาเพื่อลดอาการข้างเคียงขออาการนอนกัดฟัน
4. การฉีดโบท็อก (Botox, Botulinum Toxin) เข้ากล้ามเนื้อมัดที่ควบคุมการเคี้ยว ถือเป็นการทำให้กล้ามเนื้อลดการทำงานช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ยังสามารถใช้งานหรือเคี้ยวอาหารได้ใกล้เคียงปกติๆ
5. Bio Feedback เหมือนการทำผิดแล้วถูกลงโทษ สอนสมองให้หยุดพฤติกรรมดังกล่าว โดยแพทย์ผู้รักษาจะให้ใช้เครื่องมือที่มีตัวเซนเซอร์กล้ามเนื้อกราม หากกัดเข้าหากันในระดับรุนแรง เครื่องมือชนิดนี้จะส่งสัญญาณที่เป็นได้ทั้งในรูปแบบของเสียงที่ดังพอให้รู้สึกตัวแต่ไม่ถึงกับตื่น หรือในรูปแบบของกระแสไฟฟ้าที่ไม่เป็นอันตรายเพื่อช็อตให้สะดุ้ง เพราะเมื่อผู้ป่วยรู้สึกตัวก็จะหยุดกัดกราม
ลดขนาดกระเพาะแบบไม่ต้องผ่าตัด เทคนิคใหม่ Overstitch
นอนกัดฟัน เกิดจากความอ้วน อันตราย !
เมื่อเรามีน้ำหนักตัวมากหรือน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน จนเกิดเป็น โรคอ้วน นั้นก็มักจะมีอาการหรือโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาทั้งแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว ทั้ง ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, ไขมันในเลือดสูง, ข้อเข่าเสื่อม, โรคที่เกี่ยวกับตับและไต รวมถึงอาการหยุดหายใจขณะหลับ และการนอนกรนด้วย เป็นต้น
และรู้หรือไม่ว่า? การ นอนกัดฟัน จะมีอาการหยุดหายใจขณะหลับและนอนกรนร่วมด้วย! ซึ่งส่งผลกระทบในช่องปาก และอาจถึงขั้นเป็นอันตรายสุขภาพได้ ซึ่งวิธีรักษาอาการ นอนกัดฟัน ร่วมกับการรักษาอาการหยุดหายใจขณะหลับและนอนกรน ที่เกิดจากความอ้วน
- ตรวจการนอนหลับ (sleep test) เพื่อหาสาเหตุของการนอนกัดฟัน และทำการรักษาได้ถูกวิธี
- หากเป็นโรคอ้วน มีน้ำหนักตัวมาก ให้ลดน้ำหนักโดยการ ควบคุมอาหาร (เลือกทานแต่ของที่มีประโยชน์ ลดการทานอาหารที่มีไขมันสูง ,คาร์โบไฮเดรตสูง หรืออาหารรสชาติจัด เช่น เค็มมาก หวานมาก) ร่วมกับการออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และช่วยทำให้การเผาผลาญในร่างกายดีขึ้น
- กรณีในคนที่มีน้ำหนักตัวมาก มีโรคแทรกซ้อนจากความอ้วน และไม่สามารถลดน้ำหนักหรือออกกำลังกายด้วยตัวเองได้ แพทย์จะแนะนำการลดน้ำหนักด้วยวิธีทางการแพทย์ อย่างการ “ผ่าตัดกระเพาะ” เพื่อรักษาโรคและลดความอ้วนไปพร้อมๆ กัน
ผ่าตัดกระเพาะอาหาร ลดน้ำหนัก และรักษาโรค ทำอย่างไร?
ในปัจจุบันการรักษาโรคอ้วนด้วยวิธี “ผ่าตัดกระเพาะอาหาร (ฺBariatric Surgery)” นั้นเป็นที่นิยมมากทั้งในไทยและต่างประเทศ หัวใจสำคัญของการผ่าตัดกระเพาะนั้นคือ การลดน้ำหนักในคนที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน (โรคอ้วน) และมีโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต เมื่อหลังผ่าตัดกระเพาะไปแล้วคนไข้จะมีน้ำหนักอยู่ในระดับปกติ รวมถึงได้กลับมาใช้ชีวิตประจำวัน มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อีกครั้ง
วิธีผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก รักษาโรคอ้วน ในปัจจุบันมีหลากหลายวิธี เช่น
- ผ่าตัดกระเพาะวิธีบายพาส (By Pass)
- ผ่าตัดกระเพาะวิธีสลีฟ (Sleeve)
- การเย็บกระเพาะ Overstitch
- ผ่าตัดกระเพาะเทคนิคแผลรูเดียว (Single Port)
ซึ่งแพทย์จะเลือกวิธีที่เหมาะสมกับแต่ละคน เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และคนที่ผ่าตัดกระเพาะ ส่วนใหญ่จะมีค่าน้ำหนักตัว BMI เกิน 29 ขึ้นไป
รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
ศูนย์ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักที่สามารถทำได้ทุกวิธี
เปิดบริการการรักษามากว่า 20 ปี
มีทีมแพทย์ด้านทางเดินอาหาร และการผ่าตัดโรคอ้วนจากสหรัฐอเมริกา มีประสบการณ์กว่า 30 ปี ดูแลในทุกขั้นตอนการรักษา และดำเนินการผ่าตัดในโรงพยาบาลมาตรฐาน ชั้นนำระดับสากล ในเครือ BDMS รวมถึงดูแลหลังการรักษาและติดตามผลตลอดระยะเวลา 1 ปี โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมโรคอ้วนและเบาหวาน
รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ ได้รับความไว้วางใจและความเชื่อมั่นจากผู้เข้าให้บริการทั้งในไทยและต่างชาติ (บินมาเพื่อรักษาโดยเฉพาะ) ในด้านการรักษาโรคอ้วน ด้วยการผ่าตัดกระเพาะมาอย่างยาวนาน ซึ่งราคาผ่าตัดกระเพาะอาจจะมีราคาสูงกว่าที่อื่น แต่เพราะความชำนาญของแพทย์ ประสบการณ์ในการรักษาที่เห็นผลลัพธ์ชัดเจนทุกเคส ไม่มีปัญหาหลังผ่าตัด ปลอดภัย และได้รับบริการในระดับมาตรฐานสากล
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม : ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก รักษาโรคอ้วน โดย นพ.ปณต ยิ้มเจริญ
รีวิวผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก รักษาโรคอ้วน ทีรัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก คืนสุขภาพดี เรียกความมั่นใจ
นอนกัดฟัน เป็นอาการที่สามารถบรรเทาได้ หากสังเกตเห็นว่าตนเองหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดนอนกัดฟันอย่างต่อเนื่อง ควรปรึกษาทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อบรรเทาอาการอย่างเหมาะสม
เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ก็อาจทำให้มีปัญหาด้านการนอนหลับ ปวดกรามหรือใบหน้าอย่างรุนแรง กล้ามเนื้อใบหน้าใหญ่ขึ้น ฟันเสียหาย หรืออาจก่อให้เกิดภาวะความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular Joint Disorder) ได้ในภายหลัง
Ref.https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1017, https://www.thantakit.com/th/dental-blogs/causes-of-sleep-bruxism/,https://thailanddentalclinic.com/what-is-bruxism-and-how-it-affects-your-dental-health/
บรรยากาศ รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐานสากล
พร้อมด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ
ประสบการณ์กว่า 24 ปี
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
Biography