นอนกัดฟัน : อาการนอนกัดฟันเป็นปัญหาที่ใครหลายคนเคยประสบ แต่คนที่นอนกัดฟันอาจไม่รู้ตัว ซึ่งคนที่ได้รับไปเต็ม ๆ ก็คงไม่พ้นคนข้าง ๆ การนอนกัดฟันโดยส่วนใหญ่หลายคนยังไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดขึ้นได้จากอะไรและเป็นอันตรายหรือไม่ และมีวิธีแก้ไขอย่างไร สำหรับบทความนี้มีเรื่องราวของการนอนกัดฟันมาฝากและเรื่องของการนอนกัดฟันจะไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้ามอีกต่อไป
ทำไมถึง นอนกัดฟัน ?
เป็นอาการบดเคี้ยวหรือบดฟัน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ชาย หรือผู้หญิง รวมถึง ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ เป็นอาการที่พบได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
นอนกัดฟัน (Sleep disorders) เป็นการทำงานที่ไม่ได้อยู่ในหน้าที่ของระบบบดเคี้ยวซึ่งในขณะหลับทำให้กล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยวหดตัวลงผิดปกติ เลยเกิดอาการกัดฟันขึ้นได้ อาการของการนอนกัดฟันในลักษณะนี้จัดเป็นความผิดปกติของการนอนหลับชนิดหนึ่ง ซึ่งก็ยังไม่สามารถพบที่มาที่ไปอย่างชัดเจน
การนอนกัดฟันในเด็ก
เด็กที่นอนกัดฟันอาจพบเจอร่วมด้วยกับพฤติกรรมที่ผิดปกติของการนอนหลับ เช่น ละเมอ ลุกเดิน ปัสสาวะเล็ดราด ทางเดินหายใจอุดกั้นผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองควรให้ความสำคัญกับโรคนี้ให้มาก
ผลเสียของการ นอนกัดฟัน
การนอนกัดฟันแน่นอนว่าต้องส่งผลเสียได้ในช่องปากหรือบริเวณโดยรอบที่เกี่ยวข้อง เช่น
- ฟันสึก
- ฟันบิ่น
- เสียวฟันเวลาที่กินอาหาร หรือดื่มน้ำ
- ปวดขากรรไกร ปวดใบหน้า คอ และหู (เนื่องจากเป็นอวัยวะที่เชื่อมโยงกันพอดี)
- มีปัญหาในการหลับนอน
- อาจก่อให้เกิดเสียชีวิตขณะหลับได้ (เนื่องจากการกัดฟันอยู่ในระหว่างการหายใจเข้าออก หากหายใจไม่ทันก็อาจเสียชีวิตได้)
วิธีแก้ไขการ นอนกัดฟัน ?
จากการที่ยังหาสาเหตุไม่ได้ วิธีแก้ไขก็ยังไม่หายไป สิ่งที่ทำได้คือต้องรักษาตามอาการและป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย อย่างเช่น
- ผ่อนคลายความเครียด
หากคุณเป็นคนที่รู้ตัวดีอยู่แล้วว่าเป็นคนที่นอนกัดฟัน ซึ่งบ่อยครั้งคนที่รับรู้หรือรู้สึกได้อาจเป็นคู่นอนที่อยู่ข้าง ๆ คุณ ถ้าไม่อยากให้การนอนกัดฟันเป็นปัญหาลองนึกดูดี ๆ การฟังเพลง ดูหนัง ออกกำลังกาย ที่เขาว่าจะมาช่วยให้ผ่อนคลายให้กับร่างกายจริง ลองทำตามนี้ดูซะหน่อยก็ดีไม่น้อย
เรียกได้ว่ายังคงเป็นปริศนาอยู่กับอาการนอนกัดฟันขณะที่หลับมันคงแย่มาก ๆ ถ้าต้องนอนกัดไปยันเช้า แต่ทางที่ดีที่ควรการดูแลในเรื่องอารมณ์และสภาพจิตใจไม่ให้เกิดความเครียด รับประทานอาหารให้อิ่มก็น่าจะช่วยให้การนอนกัดฟันนั้นทุเลาลงได้ถ้าคุณยังไม่อยากที่จะสูญเสียฟันดี ๆ ไปลองดูคงไม่เสียหายอะไร และหากลองแล้วก็อย่าลืมมาแบ่งปันผลลัพธ์ดี ๆ กันด้วยนะ
Reference: https://www.helpguide.org/articles/sleep/sleep-disorders-and-problems.htm
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
Biography