ไม่ใช่เฉพาะผู้หญิงเท่านั้นที่จะต้องใส่ใจดูแลเรื่องการปัสสาวะ ปัจจุบันนี้ผู้ชายเองก็ควรที่จะหันมาดูแลด้วย โดยเฉพาะผู้ชายที่มีการปัสสาวะถี่ หรือมีการปัญหาในการปัสสาวะลำบาก ซึ่งคุณเองอาจตกเป็นหนึ่งในผู้ที่ประสบกับอาการต่อมลูกหมากโตได้ และโรค ต่อมลูกหมากโต นับเป็นโรคอันดับ 1 กว่า 80% ของชายไทยเลยก็ว่าได้ ซึ่งมันจะส่งผลดี ผลเสียอย่างไร? อันตรายหรือไม่หากไม่รักษา? วันนี้เราก็มีคำตอบมาฝากทุกท่านกัน
สารบัญ
- ต่อมลูกหมากคืออะไร และมีหน้าที่อย่างไร
- โรคต่อมลูกหมากโต คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร
- ต่อมลูกหมากโต อาการเป็นอย่างไร
- ต่อมลูกหมากโตอันตรายไหม
- ภาวะแทรกซ้อนจากต่อมลกหมากโต
- การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโต
- วิธีการตรวจต่อมลูกหมากโตทางการแพทย์
- การรักษาต่อมลูกหมากโตเบื้องต้น
- ยารักษาต่อมลูกหมากโต
- รักษาโดยการ ผ่าตัดต่อมลูกหมากโต
- สมุนไพรรักษาต่อมลูกหมากโต
ต่อมลูกหมากคืออะไร
ต่อมลูกหมาก (BPH – Benign Prostatic Hyperplasia) คือ ต่อมที่อยู่ภายในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย มีลักษณะเป็นต่อมเล็กๆ คล้ายวอลนัท ตำแหน่งจะอยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะซึ่งมีท่อปัสสาวะผ่านตรงกลางของต่อม ถูกห่อหุ้มด้วยท่อปัสสาวะโดยรอบ
ต่อมลูกหมากมีหน้าที่อย่างไร
ต่อมลูกหมากมีหน้าที่ ในการผลิตน้ำเพื่อหล่อเลี้ยงอสุจิ ซึ่งในน้ำอสุจิเวลาที่ถูกหลั่งออกมาก็จะมีส่วนที่เป็นตัวอสุจิและน้ำ หลายคนสงสัยว่าต่อมลูกหมากกับอัณฑะใช่อวัยวะเดียวกันไหม? ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็นคนละส่วนกัน ตัวอัณฑะจะอยู่ด้านนอกร่างกายและจะอยู่ในถุงอัณฑะ ส่วนต่อมลูกจะอยู่ด้านในกับกระเพาะปัสสาวะ
โรคต่อมลูกหมากโตคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร?
โดยธรรมชาติแล้ว เมื่ออายุเพิ่มขึ้นและฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง (เทสโทสเตอโรน) จะส่งผลทำให้ต่อมลูกหมากโตขึ้น ซึ่งพบมากในผู้ชายตั้งแต่อายุ 40-50 ปีขึ้นไป และยังพบในผู้ชายที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไปมากถึง 80% เลยทีเดียว
ต่อมลูกหมากโตเกิดขึ้นได้อย่างไร?
เมื่อขนาดของต่อมลูกหมากโตขึ้น จะทำให้เกิดแรงดัน ซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะ (ท่อปัสสาวะถูกบีบให้แคบลง) และกระเพาะปัสสาวะ อาจทำให้มีอาการ เช่น ปัสสาวะติดขัด ต้องเบ่ง ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น และหากไม่รีบรักษาอาจส่งผลต่อสุขภาพ และอวัยวะส่วนอื่นๆ ในร่างกายร้ายแรงได้
ต่อมลูกหมากโต อาการเป็นอย่างไร
ต่อมลูกหมากโต อาการจะสังเกตุได้จากการถ่ายปัสสาวะ ซึ่งเป็นอาการที่สังเกตุได้ง่ายว่าเกิดความผิดปกติหรือไม่ โดยสามารถเช็คได้จากด้านล่างนี้
- ปัสสาวะนาน
- แรงปัสสาวะน้อยลง (ไม่ค่อยพุ่ง)
- รู้สึกว่าปัสสาวะไม่สุด (ยังมีหลงเหลืออยู่เล็กน้อย)
- ปัสสาวะไหลๆ หยุดๆ
- ปัสสาวะบ่อย/ถี่
- ชอบตื่นในช่วงกลางดึกเพื่อมาปัสสาวะ
- ปัสสาวะเล็ด เพราะไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะได้ บางท่านเองอาจจะมีอาการของปัสสาวะซึมลดกางเกงชั้นใน
- ปัสสาวะไม่ออก
หรือในกรณีที่มีอาการ ไข้ขึ้น หนาวสั่น ปวดบริเวณหลังหรือท้อง ปัสสาวะแล้วมีเลือดหรือหนองปนออกมาด้วย อาการเหล่านี้ควรรีบเช้าพบแพทย์โดยทันที เนื่องจากอาจจะเกิดภาวะติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ หรือไตเกิดความผิดปกติ ต้องรีบรักษาโดยทันที!
ต่อมลูกหมากโตอันตรายไหม ?
ต้องบอกว่าโรคต่อมลูกหมากโต ถือเป็นเนื้องอกชนิดหนึ่งของลูกหมาก ไม่ใช่มะเร็ง ซึ่งจะก่อให้เกิดความรำคาญเวลาปัสสาวะ หรือกรณีที่ต้องตื่นนอนกลางดึกเพื่อปัสสาวะบ่อย ตรงนี้ก็อาจทำให้คุณภาพชีวิตของการนอนหลับพักผ่อนเปลี่ยนไป เช่น นอนไม่หลับ นอนหลับยาก เป็นต้น
แต่อย่างไรแล้ว หากมีอาการที่คิดว่าคล้ายเป็นต่อมลูกหมากโต ก็ควรรีบเข้าพบแพทย์ดีกว่า เพื่อหาแนวทางในการรักษา ทำให้หมดความกังวลและได้กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ
คลิ๊กอ่าน! เรื่องน่ารู้! เมลาโทนิน แก้การนอนหลับยาก ปรับสมดุลชีวิตให้ดีขึ้น
คนอ้วนมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคต่อมลูกหมากโตจริงหรือไม่?
มีงานวิจัยพบว่า การที่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงก็มีโอกาสเป็นได้ เช่น ยกตัวอย่างคนที่อยู่แทบตะวันตกที่บริโภคอาหารที่มีไขมันสูงกว่าคนเอเชีย และมีอุบัติการณ์จองการเกิดต่อมลูกหมากโตสูงกว่าคนไทย ซึ่งปัจจุบันต่อมลูกหมากโตในคนไทยก็มีเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเริ่มมีการรับประทานอาหารในแนวเดียวกับฝรั่งมากขึ้น
ต่อมลกหมากโต ภาวะแทรกซ้อน
หากว่าการเป็นโรคต่อมลูกหมากโต แต่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ส่งผลให้เกิดเป็นภาวะแทรกซ้อนได้ โดยจะเกิดจากการที่ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะยังค้างอยู่ อาการแทรกซ้อนที่พบคือ
- การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ บางรายมีการติดเชื้อที่ลุกลามไปถึงต่อมลูกหมาก (ต่อมลูกหมากอักเสบ)
- นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะไม่ออก
- ในกรณีที่ปัสสาวะเหลือค้างมากขึ้น จะส่งผลทำให้การทำงานของไตแย่ลงได้
- เกิดหนองหรือเลือดปนออกมากับปัสสาวะ
การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโต
กาวินิจฉัยอาการของโรคต่อมลูกหมากโตนั้น เบื้องต้นสามารถสังเกตุด้วยตัวเองได้ หากมีอาการดังนี้ ควรรีบพบแพทย์ โดยทันที
- มีความผิดปกติในการปัสสวะ
- ปัสสาวะแล้วรู้สึกเจ็บ
- ปัสสาวะแล้วมีหนอง หรือเลือดปน
- ปัสสาวะนานกว่าปกติ หรือ รู้สึกเหมือนปัสสาวะไม่สุด
อีกหนึ่งวิธีคือการเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นต่อมลูกหมากโตจริงหรือไม่ โดยมีขั้นตอนดังนี้
- ซักประวัติ สอบถามอาการ
- ตรวจสุขภาพ ตรวจเลือด
- ตรวจปัสสาวะ ทางเดินปัสสาวะ และต่อมลูกหมาก เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากโรคต่องลูกหมากโตหรือไม่ ขนาดเปลี่ยนแปลงจากปกติหรือไม่ หรือเกิจากปัญหาอื่น
วิธีการตรวจต่อมลูกหมากโตทางการแพทย์
ในทางการแพทย์นั้นสามารถตรวจหาโรคต่องลูกหมากไปหลายวิธี ดังต่อไปนี้
- การตรวจทางทวารหนัก หรือ Digital Rectal Exam: DRE โดยการสอดนิ้วเข้าไปทางทวารหนัก เพื่อตรวจเช็คขนาดของต่อมลูกหมาก
- การตรวจปัสสาวะ หรือ Urinalysis วิธีนี้สามารถตรวจเช็คได้ว่ามีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหรือไม่
- การตรวจค่าครีเอทินินในเลือด หรือ Blood Creatinine Test เป็นการตรวจดูการทำงานของไต มีค่าปกติ หรือทำงานปกติหรือไม่
- การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือ Prostate-Specific Antigen: PSA ตรวจเช็คเพื่อดูว่าอาการที่เกิดนั้นเกิดจากต่อมลูกหมากโต หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก เนื่องจากทั้ง 2 โรคนั้นมีอาการที่ใกล้เคียงกัน
- การตรวจกระเพาะปัสสาวะ หรือ Cystoscopy เป็นการสอดกล้องขนาดเล็กเพื่อตรวจท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งหากมีขนาดจองต่อมลูกหมากโต ก็จะสามารถเห้นได้ชัดเจน เนื่องจากขัดขวางทางเดินปัสสาวะ
นอกจากนี้แพทย์ยังมีวิธีการตรวจเช็คอีกหลายวิธี ขึ้นอยู่กับ ความซับซ้อนของอาการที่เกิด หรือ ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น การอัลตราซาวด์ (Ultrasound) ปริมาณปัสสาวะที่คงค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะหลังจากที่ปัสสาวะแล้ว, การตรวจวัดความแรงและปริมาณการไหลของปัสสาวะ (Urinary Flow Test) รวมถึงการตรวจวัดความดัยภายในกระเพาะปัสสาวะขณะปัสสาวะ, การตรวจด้วยการฉีดสี (Intravenous Pyelogram: IVP) เพื่อให้เห็นการทำงานของไตและการไหลเวียนของปัสสาวะ จนไปถึง การเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อของต่อมลูกหมาก (Prostate Biopsy) เพื่อวินัจฉัยว่า ที่ต่อมลูกหมากโตนั้นเกิดจากสาเหตุใด มะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่?
การรักษาต่อมลูกหมากโตเบื้องต้น
- ลดการดื่มน้ำก่อนนอน 2-3 ชั่วโมง เพื่อลดปริมาณการสร้างปัสสาวะในตอนกลางคืน เพื่อทำให้การนอนหลับนั้นยาวขึ้น
- ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ เนื่องจากว่าตัวคาเฟอีนจะมีผลทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น ซึ่งถ้าหากมีการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตการลดปริมาณเครื่องดื่มและน้ำบางชนิดแล้วอาการดีขึ้นก็ไม่จำเป็นต้องรับประทานยา
- ออกกำลังกายอย่างน้อย 30-60 นาทีต่อวัน นอกจากสุขภาพจะแข็งแรงขึ้นแล้ว ยังมีรายงานพบว่า สามารถลดอาการของโรคต่อมลูกหมากลงได้
- ไม่อั้นปัสสาวะ เนื่อวจากอาจทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบได้
- ปรับเปลี่ยนเวลาเข้าห้องน้ำ 4-6 ชั่วโมง
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดปริมาณไขมัน ของหวาน ของทอด เนื่องจากโรคอ้วนทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดต่อมลูกหมากโตสูงกว่าคนปกติ
ยารักษาต่อมลูกหมากโต
แพทย์จะรักษาต่อมลูกหมากโตจามอาการ เช่น การให้ยาที่ช่วยคลายการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อต่อมลูกหมาก *ห้ามซื้อมารับประทานเอง นื่องจากยามีความรุนแรงและเฉพาะเจาจงต่อการใช้รักษาโรค ต้องให้แพทย์วินิจฉัยก่อนจ่ายยาทุกครั้ง
- แอลฟา-บล็อกเกอร์ (Alpha Blockers) ยาต้านระบบประสาทที่ช่วยยับยั้งการสร้างฮอร์โมนเพศชาย และช่วยคลายกล้ามเนื้อบริเวณของกระเพาะปัสสาวะ และช่วยทำให้ปัสสาวะง่ายขึ้น แต่ยาตัวนี้ก็มีผลข้างเคียง
- 5 แอลฟา รีดักเตส อินฮิบิเตอร์ (5 Alpha Reductase Inhibitor)
- ยาทาดาลาฟิล (Tadalafil) เป็นยาอีกหนึ่งชนิดที่พบว่าสามารถรักษาอาการของโรคต่อมลูกหมากโตได้ อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
ในบางกรณีอาจไม่สามารถใช้ยาเพียงตัวเดียวในการรักษา อาจจะมีการใช้ยาร่วมหลายๆตัว
รักษาโดยการผ่าตัดต่อมลูกหมากโต
รักษาโดยการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตนั้น จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการที่เกิดจากต่อมลูกหมากโตขั้นรุนแรง ซึ่งไม่สามารถรักกษได้ด้วยการปรับพฤติกรรม หรือการทานยาอีกต่อไป รวมถึงเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น มีเลือดออกปนออกมาปับปัสสวาสะ ติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ไตเสียหาย เป็นต้น ซึ่งการรักษาจะมีด้วยกันหลายวิธี ดังต่อไปนี้
- ผ่าตัดต่อมลูกหมากออกด้วยการส่องกล้องกระเพาะปัสสาวะ ด้วยวิธี TURP (Transurethral Resection of the Prostate) เป็นการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องวางยาสลบ หลังจากนั้นแพทย์จะใช้ขดลวดสำหรับจี้ ตัด หรือขูดต่อมลูกหมากออก (ใช้ไฟฟ้าประจุเดี่ยวโมโนโพลาร์)
- ผ่าตัดต่อมลูกหมากออกด้วยการส่องกล้องกระเพาะปัสสาวะ ด้วยวิธี TURPV (Transurethral Vaporized – Resection of the Prostate) หรือ Plasma Kinetic (PK) โดยการใช้ขดลวดสำหรับจี้ ตัด หรือขูดต่อมลูกหมากออก และจี้ด้วยไฟฟ้า(ประจุคู่ไบโพลาร์)
- ผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์กรีนไลท์ PVP ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ เป็นการใช้เลเซอร์พลังงานสูงยิงไปยังตำแหน่งที่เกิดการอุดกั้นในต่อมลูกหมาก ซึ่งมีข้อดีคือเลือดออกน้อย และทำในผู้สูงอายุได้
- การใช้แสงเลเซอร์ทูเลียม (Thulium Laser Vaporesection of the Prostate) ตัวนี้สามารถรักษาได้ดีเทียบเท่ากับวิธี PVP จะแตกต่างตรงที่การใช้แสงเลเซอร์ทูเลียมยิง สามารถเก็บรักษาชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจหาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือใช้รักษาภาวะอาการท่อปัสสาวะตีบจากพังผืดได้
สมุนไพรรักษาต่อมลูกหมากโต
สำหรับต่อมลูกหมากโตที่เกิดจากผู้ที่เริ่มมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น หรือภาวะไขมันสะสมเป็นจำนวนมาก หลักการทางการรักษาให้ต่อมลูกหมากโตหายยังไม่พบว่ามี แต่หากจะใช้ตัวช่วยในการบรรเทาอาการหรือลดระดับขนาดลงปัจจุบันทางการแพทย์ของต่างประเทศก็หันมาให้ความสำคัญกับ ซอว์ ปาล์มเมตโต (Saw Palmetto) เพื่อใช้ในการรักษาปัญหาต่อมลูกหมากโต
ซอว์ ปาล์มเมตโต (Saw Palmetto) คืออะไร
ซอว์ ปาล์มเมตโต ถือเป็นสมุนไพรที่มีชื่อเสียงมาแล้วมากกว่า 200 ปี ที่มาช่วยในการรักษาได้หลายอาการ และถูกจดบันทึกลงตำราสมุนไพรของต่างชาติมาแล้ว ที่สำคัญยังถูกนิยมมากขึ้น เพราะเป็นสมุนไพรที่ปลอดภัยไม่มีผลข้างเคียง Side effects ช่วยลดอาการของต่อมลูกหมากโตด้วย และจากการวิจัยทางการแพทย์พบว่า ซอว์ ปาล์มเมตรโตมีสรรพคุณอันดีดังนีั
- ช่วยลดอัตราการเจริญเติบโตของอาการต่อมลูกหมากโต
- ช่วยให้อาการถ่ายปัสสาวะเป็นไปในทางที่ดีขึ้น หรือถ่ายปัสสาวะออกได้ดีขึ้น (ปัสสาวะไม่คั่ง)
- ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น(ไม่ต้องลุกขึ้นเข้าห้องน้ำบ่อยในช่วยกลางดึกหรือช่วงการทำงาน ทำให้นอนหลับพักผ่อนนั้นเต็มที่)
- ไม่มี Side effects ต่อสมรรถภาพทางเพศหรือความต้องการทางเพศ
- ไม่ทำให้ความดันในเลือดลดลง
ทั้งนี้ทั้งนั้นหากผู้ป่วยต้องการรับการรักษาอาการของต่อมลูกหมากโตหรือต้องการได้รับยาเพื่อลดอาการสามารถปรึกษาพูดคุยถึงเรื่องอาการที่พบได้จากแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญใกล้บ้านเพื่อคำแนะนำที่ดีที่สุดและผลลัพธ์ที่ดีมากขึ้น ฉะนั้นแล้วอาการของต่อมลูกหมากโตนั้นคุณผู้ชายทั้งหลายวางใจไปได้เลยเพราะไม่ใช่อาการที่เลวร้ายอะไร
Reference: https://www.tabletwise.com/medicine-th/saw-palmetto
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
Biography