ปวดหลัง (Back pain) อาจเป็นสัญญาณบอกโรค อาการปวดหลังแบบไหนอันตราย?

อาการ ปวดหลัง แบบไหนอันตราย

ปวดหลัง หรือ อาการปวดหลัง (Back pain) อาจจะไม่ได้เกิดจากสาเหตุ การใช้งานของกล้ามเนื้อมากเกินไป เพียงอย่างเดียว ซึ่งการปวดหลังในบางครั้ง อาจเป็นสาเหตุของโรคบางชนิด แล้วอาการปวดหลังแบบไหนอันตราย?

ถ้าพูดถึงอาการปวดหลัง ก็จะนึกถึงบริเวณกระดูกสันหลัง มีตั้งแต่ คอ หน้าอก เอว และก้น ซึ่งทั้ง 4 จุดนี้ประกอบไปด้วยกระดูกหลายชิ้นเรียงต่อกัน อาการปวดหลังอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น ปัญหาที่กระดูก ข้อต่อ หมอนลองกระดูก รวมถึงกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณโดยรอบ แต่สาเหตุที่เกิดจากอวัยวะภายในก็ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้เช่นกัน แต่อาจจะน้อยกว่าเท่านั้นเอง

ปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดหลัง ปวดหลังเกิดจากอะไร

  • อาการปวดหลังในผู้สูงอายุ

ที่มีภาวะกระดูกพรุน ก็อาจจะทำให้กระดูกสันหลังคต และมีอาการร่วมด้วยเพราะเกิดจากการผิดรูปของกระดูกสันหลัง นอกจากนี้ยังอาจพบอาการ ปวดหลังได้จากการเป็นโรคบางชนิด เช่น เนื้องอก ข้อ กระดูกเสื่อม หมอนรองกระดกที่ผิดปกติ ฯลฯ

  • ปวดหลัง ในวัยหนุ่มสาว

ตามจริงแล้วอาการปวดหลังพบได้บ่อย สามารถเกิดขึ้นได้จากบุคคลที่มีอายุน้อย ๆ ไม่ว่าจะเด็ก วัยรุ่น วัยหนุ่มสาว วัยกลางคน แต่ส่วนใหญ่ที่เป็นก็จะไม่อันตราย และส่วนมากอาจเป็นอาการยอกซะมากกว่าเนื่องจากว่ามีการ ออกกำลังกาย เล่นกีฬา

  • ปวดหลัง จาก น้ำหนักตัวเกิน

น้ำหนักตัวของคนเราคิดว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก คนเราหนักอย่างต่ำ 60 กิโลกรัม ช่วงบนหนัก 30 กิโลกรัม ช่วงล่างหนัก 30 กิโลกรัม กระดูกสันหลังบริเวณเอวก็จะต้องรับน้ำหนักของช่วงบนประมาณ 30 กิโลกรัม ซึ่งกระดูกจะต้องรับน้ำหนักอยู่ทั้งวันก็อาจจะมีอาการอ่อนล้า เมื่อย บริเวณแผ่นหลัง

  • อาการปวดหลังจากโรคบางชนิด

สำหรับผู้ที่ทราบดีว่าตนเองนั้นมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว อย่าง โรคหมอนรองกระดูกที่จะพบด้ในลุ่มผู้ที่มีอายุน้อย วัยรุ่น หนุ่มสาวอายุไม่เกิน 40 ปี ผู้ป่วยปวดหลังจากโรคมะเร็ง โรคกระดูกเสื่อมมักจะพบได้ในวัย 40-50 ปี ขึ้นไป

โรคที่พบได้มากคือ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจากความเสื่อมของร่างกายและมีการกดทับเส้นประสาทหรือกระดูกทับเส้น รวมถึงกลุ่มผู้ที่มีอาการติดเชื้อ เนื้องอกต่าง ๆ อย่างมะเร็งตับ ไต ไทรอยด์ ปากมดลูก ต่อมลูกหมาก

อาการปวดหลัง บอกโรคอะไรได้บ้าง
กลับสู่สารบัญ
  • ปวดหลัง ที่เกิดจาก ท่าทาง อิริยาบถ

การเคลื่อนไหวร่างกาย และการใช้งานหลังที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน ผู้ที่ใช้หลังนาน หรือใช้หลังที่ผิดท่าผิดทาง เช่นไป ยกของหนัก หรือในกรณีที่ต้องยืนแล้วยกของจากพื้นก็ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ ลักษณะของการนายกของที่ช่วยลดอาการปวดหลังคือ นั่งยอง ๆ ลงไปก่อนแล้วค่อยยกของขึ้นมา โดยใช้น้ำหนักทั้งตัวในการยกไม่ควรที่จะใช้ท่าในลักษณะที่ก้มหลังลงไปแล้วยก

  • อาการปวดหลังเพราะไม่ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายในปัจจุบันนี้ถือว่ามีผู้คนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากว่า การออกกำลังกายนั้นมีหลากหลายวิธีเช่น ว่ายน้ำ แบตมินตัน สเก็ตบอร์ด วิ่ง หรือแม้แต่การเดินก็ถือว่าเป็นการได้ออกกำลังแล้วแลพส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีมากขึ้น เพราะออกกำลังกายนั้นช่วยให้กล้ามเนื้อทุก ๆ ส่วนมีความแข็งแรง ช่วยลดประมาณไขมันในร่างกายได้ในระดับหนึ่ง ช่วยให้การนอนหลับนั้นดีมากขึ้น

แต่ในกรณีผู้ที่ไม่ออกกำลังกายที่แน่นอนเลยว่า มีผลเสียมากมายตามมาคือ กล้ามเนื้อไม่แข็งแรงร่างกายขัดขวางการได้รับวิตามินบางชนิด มีอาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้าบ่อย ๆ ไขมันสะสมที่ไม่ออกไปสักที และโอกาสที่จะตามมาคือ ปัญหาของกระดูกที่รับน้ำหนักไม่ไหว ทำให้มีอาการปวดหลัง ปวดเอวได้

  • ปวดหลัง จากการนั่ง, ขับรถนาน 

การที่คนเรานั่งทำงานนาน ๆ นั่งขับรถนานหรือที่เรียกว่า (Office  Syndrome)คือการที่กระดูกสันหลังไม่ได้เคลื่อนไหวเลย เลือดที่เกราะบริเวณกระดูกสันหลังก็ไม่ได้ไหลเวียนก็ทำให้เกิดการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อหรือเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อหลัง ก็จะทำให้เกิดอาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อต้นคอลงมาปวดสะบักหลัง ปวดหลัง หรือปวดเอวได้

  • ปวดหลัง จากการยืนเป็นเวลานาน 

การยืนถือเป็นท่าอิริยาบถหนึ่งสำคัญที่คนเราจะต้องใช้งาน เช่น พ่อครัว แม่ครัว คนที่ต้องยืนขายของทั้งวัน หรือกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลให้ได้รับอาการปวดหลังบริเวณส่วนเอว

  • อาการปวดหลังจากการยกของหนัก 

ทำให้หมอนรองกระดูกสึกหรอ ทำให้หมอนรองกระดูกทับเส้น

  • สูบบุหรี่ ก็ทำให้ ปวดหลัง

ภาวะเสี่ยงจากพฤติกรรมที่มีการพิสูจน์แล้วว่ามีผลต่ออาการปวดหลังอย่างชัดเจนคือ การสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่ทำให้เลือด หรือสารอาหารที่ไปหล่อเลี้ยงหมอนรองกระดูกนั้นน้อยลง ทำให้หมอนรองกระดูกสึกและเสื่อมเร็ว ฉะนั้นใครที่มีพฤติกรรมนี้ควรจะลดละหรือเลิกไปก็จะทำให้โอกาสที่หมอนรองกระดูกที่เสื่อมแล้วหรือยังไม่เสื่อมนั้นชะลออาการปวดหลังลงไปได้

กลับสู่สารบัญ

ปวดหลัง - อาการปวดหลัง มีกี่แบบ

  • แบบปวดฉับพลัน ปวดหลังต่อเนื่องน้อยกว่า 6 สัปดาห์

อาจเกิจขึ้นได้จากกล้ามเนื้อแผ่นหลังอักเสบจากการ หีกโหมในการออกกำลังกาย หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท อุบัติเหตุกระดูกหลังหักและมีการเคลื่อน

  • กึ่งเฉียบพลัน ปวดหลังต่อเนื่อง 6-12 สัปดาห์

เป็นอาการจากเนื่องจากระยะแรกและยังไม่หายขาดหรือจากสาเหตุ กระดูกสันหลังติดเชื้อและโรคกระดูกหลังอักเสบที่ไม่ใช่การติดเชื้อ

  • ปวดเรื้อรัง ปวดหลังต่อเนื่องนานกว่า 12 สัปดาห์

อาจมาจากสาเหตุความเสื่อมสภาพขแงกระดูกหลัง หมอนรองกระดูกเสื่อม โรคกระดูกหลังคด งอ หรือมีการผิดรูปของกระดูกหลังจากการทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ เช่น นั่งขับรถนาน ๆ นั่งทำงานนาน ๆ ยืนในท่าเดิมนาน ๆ นอนในท่าที่ไม่สบาย

อาการ ปวดหลัง มีกี่แบบ
กลับสู่สารบัญ

อาการปวดหลัง แต่ละบริเวณ

  • อาการปวดคอ และปวดหลังส่วนบน

อาจเกิดจากความเสื่อมของข้อต่อ หรือมีการใช้งานมากจนเกินไป และอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

  • อาการปวดหลังส่วนกลาง (ร่วมกับมีอาการที่ขา)

อาจมีอาการมาแต่กำเนิด แต่มารุนแรงเมื่ออายุมากขึ้น เช่น โรคกระดูกคดงอ มีการใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป ออกกำลังกายหนัก หักโหมในการเล่นกีฬา ยกของหนัก ติดเชื้อ และมีเนื้องอก

  • อาการปวดหลัง ที่ไม่มีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วย

หลัก ๆ มักเกิดจากการใช้งานของร่างกายหนัก เช่น แบกหาม ยกหนัก ออกกำลังกาย นั่งนาน ใช้เวลาอยู่กับท่าเดิมนานเกินไป

  • ปวดหลังส่วนล่าง ปวดท้องน้อย

อาการปวดหลังในลักษณะตึง รู้สึกหลังแข็ง ๆ ในตำแหน่งชายโครงไปจนถึงช่วงแก้มก้น บางรายมีอาการร้าวลงที่ขา ซึ่งอาการที่แสดงออกถึงความเจ็บปวดส่งผลให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้อย่างไม่ปกติ หยิบจับอะไรก็จะรู้สึกเจ็บ เคลื่อนตัวไปทางไหนก็รู้สึกปวด แต่สาเหตุที่พบบ่อยคือ การอักเสบที่ไม่ได้ติดเชื้อ อุบัติเหตุของกระดูกสันหลังและความเสื่อมสภาพของข้อต่อ

สาเหตุอาการปวดหลัง บอกโรคอะไรบ้าง?

  • กล้ามเนื้อฉีก : อาการ ปวดหลัง

อาหารการของกล้ามเนื้อฉีกขาดไม่ว่าจะเรื้อรังหรือรุนแรงมักจะมีผลมาจากการ ยกหนัก ที่ถือว่าเป็นความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า พฤติกรรมเสี่ยงหลัก ๆ เลยก็คือกีฬา เช่น กล๊อฟ ฟุตบอล  ที่มักจะมีการใช้กล้ามเนื้อหลังและเอว

  • โรคอ้วน : อาการปวดหลัง

เกิดจากการที่มีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ทำให้กระดูกบริเวณแผ่นหลัง และเอวรับไม่ไหว โอกาสที่คนอ้วนหรือผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินก็จะปวดเมื่อยตาม ต้นคอลงไป

  • หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท : อาการปวดหลัง

หลักๆ เลยก็เกิดจากการยกของ และน้ำหนักตัวที่เกินและรวมถึงปัจจัยเสี่ยงที่ไม่ตั้งใจให้เกิดอย่างการเกิดอุบัติเหตุ

  • กระดูกสันหลังคด : อาการ ปวดหลัง

อาการของโรคกระดูกสันหลังคด หรือเรียกอีกชื่อในภาษาอังกฤษว่า Idiopathic scoliosis เป็นโรคที่พบได้บ่อย บางรายเป็นตั้งแต่กำเนิดหรือ เป็นตั้งแต่อายุน้อย ๆ และจะรุนแรงขึ้นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ แต่โดยทั่วไปยังหาสาเหตุไม่ได้ว่าเกิดจากอะไร ซึ่งบางรายก็เกิดจากพันธุกรรม พ่อเป็น แม่เป็น ลูกจึงเป็น

  • โรคกระดูกพรุน : อาการ ปวดหลัง 

โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เพราะเมื่ออายุมากขึ้นร่างกายก็ย่อมมีการสูญเสียฮอร์โมนไปส่งผลให้เกิดความเสื่อมของกระดูก อย่าง กระดูกเริ่มบางลงในทุก ๆปี บางรายมีประวัติจากพันธุกรรม หรือคนในครอบครัวมีโรคกระดูกพรุน ได้รับวิตามิน แคลเซียมน้อย เน้นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป

  • ปวดหลังจากเนื้องอก หรือมะเร็งกระดูก

ถือเป็นอาการสำคัญที่ไม่ควรละเลย เนื่องจากว่าอาการปวดหลังที่ใคร ๆ ก็บอกว่า กินยาแล้วนอนพักเดี๋ยวเดียวก็หาย แต่ในกรณีที่ไม่หายหรือกลับเพิ่มความถี่ในการปวดมากขึ้น เช่น ปวดบริเวณต้นคอมีอาการร้าวร่วมด้วย เช่น ร้าวลงแขน ขา หรือเลยหัวเข่าลงไปจะข้างเดียวหรือสองข้างก็ตามหาก เป็นมาก ๆเข้าส่งผลให้ระบบประสาทได้รับผลกระทบ เช่น กลั้นอุจจาระไม่อยู่ ก็ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเข้ารับการรักษาตามขั้นตอน

ไขมันช่องท้อง abdominal obesity
  • คนที่มีน้ำหนักตัวมาก อ้วนลงพุง: อาการปวดหลัง

เป็นอีกหนึ่งอาการของโรคที่ชื่อว่า เมตาบอลิซึมที่มีต้นสายมาจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะกินเก่ง กินจุ กินของหวาน ของทอด และรวมถึงอาหารที่อยู่ในกลุ่มบุฟเฟ่ต์ ที่มักจะเต็มไปด้วยอาหารไขมันสูงๆ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง และเมื่อน้ำมากขึ้นการทรงตัวของกระดูกก็ต้องทำงานมากขึ้น บางรายกระดูกรับน้ำหนักไม่ไหวก็เกิดความเสี่ยงของโรคกระดูกเสื่อมที่สำคัญอาจเป็นบ่อเกิดของโรคร้าย อย่าง เบาหวานได้อีกด้วย

  • ติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง: อาการปวดหลัง

จะมีอาการปวดหรือบวมบริเวณแผ่นหลัง บางรายมีไข้ร่วมด้วย สำหรับการติดเชื้อ หลักๆ จะมี 3 สาเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของแบคทีเรีย คือ

  1.  เชื้อเข้าถึงกระดูกสันหลังโดยตรง
  2. เชื้อลามไปในบริเวณที่ใกล้เคียงกับกระดูกสันหลัง 
  3. ติดเชื้อในกระแสเลือด

ลักษณะของการติดเชื้อมี 2 รูปแบบ คือ

  1. ติดเชื้อจากแบคทีเรีย อาการติดเชื้อจากแบคทีเรียส่งผลให้เกิดการอักเสบที่รุนแรง มีไข้ ทรมาน มีหนอง ขยับเขยื้อนตัวยาก
  2. ติดเขื้อจากวัณโรค อาการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง แต่จะค่อยเป็นค่อยไป อาการโดยทั่วไปแล้วแพทย์แทบแยกไม่ออกด้วยซ้ำว่ามีการติดเชื้อ เพราะอาการคล้ายอาการปวดธรรมดาและบางรายไม่มีไข้เลยด้วยซ้ำจะรู้อีกทีคือ เชื้อลามไปมากขึ้น บางกรณีหนองแตกออกมาจากกระดูกมาที่ผิวหนังและอาจพบความผิดปกติคือ พบความนูนของผิวหรือหลังโก่งแต่หากรีบรักษาตั้ฃแต่เนิ่น ๆ โอกาสในการรักษาสามารถหายขาดได้
อาการปวดหลัง อันตรายอย่างไร
กลับสู่สารบัญ

อาการ ปวดหลัง แบบไหนอันตราย ต้องรีบพบแพทย์ทันที!

  1. มีอาการชาหรืออ่อนแรงร่วมกับอาการปวดหลัง
  2. อาการปวดหลังในคนที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปีหรือมากกว่า 55 ปี
  3. อาการปวดในขณะพักหรือไม่มีกิจกรรม
  4. อาการปวดที่หลังบริเวณทรวงอก
  5. น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
  6. มีไข้ร่วมกับการปวดหลังไม่ว่าสูงหรือต่ำ
  7. ประสบอุบัติเหตุก่อนจะปวดหลัง
  8. มีประวัติของการเจ็บป่วยเป็นมะเร็งของคนในครอบครัว
  9. สังเกตพบความคดผิดรูปของหลัง
  10. ปวดหลังต่อเนื่อง และปวดมากขึ้นเรื่อยๆ มากกว่า 4 สัปดาห์
  11. ปวดหลังที่เกิดจากอุบัติเหตุรุนแรง เช่น อุบัติเหตุจราจร ตกจากที่สูง
  12. ปวดหลัง ร่วมกับความผิดปกติของระบบประสาท เช่น ปวดหลังร่วมกับอาการปวดร้าวลงขา ชาขา หรืออ่อนแรงของขา
  13. ปวดหลัง ร่วมกับควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ เช่น สูญเสียการกลั้นอุจจาระ/ปัสสาวะ
  14. ปวดหลังร่วมกับอาการไข้ น้ำหนักลดผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ
  15. คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้
  16. ปวดหลังเรื้อรังมีอาการมากกว่า 2-3 สัปดาห์ , 2-3 เดือนขึ้นไป หรือเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยการเป็นๆ หายๆ มีอาการปวดที่รุนแรงขึ้นจากเดิมแค่ 1-2 ชั่วโมงต่อมาปวดทั้งวัน
  17. Night Pain หรือปวดในช่วงเวลากลางคืน ที่จัดว่าเป็นลักษณะอาการเฉพาะ นอนไปแล้วตี 2-3 ต้องตื่นขึ้นมา ซึ่งถือว่าเป็นอาการปวดที่บ่งบอกถึงการเป็นโรคที่ร้ายแรง เช่น อาจมีการติดเชื้อที่ยังไม่รุนแรงหรือยังไม่มีไข้ หรืออาจจะเป็นเนื้องอกที่ธรรมดาหรือมะเร็ง
  18. ปวดหลังแต่ร้าวลงขา ถือเป็นอาการหนักที่ร้ายแรงแล้วมีอาการอื่นร่วมด้วยคือปวดที่ร้าวลงขา มีอาการชาของนิ้วเท้า หน้าแข้ง (ชาเส้นประสาท) อาการปวดร้าวเลยหัวเข่าลงไป มีอาการผิดปกติของการขับถ่าย ชารอบก้น อุจจาระกลั้นไม่อยู่
อาการ ปวดหลัง แบบไหนอันตราย
กลับสู่สารบัญ

การวินิจฉัยอาการปวดหลัง

  • เริ่มแรกของการตรวจจะซักประวัติ สอบถามอาการเบื้องต้น เช่น เป็นมานานเท่าไหร่?, ปวดหรือเจ็บช่วงไหน?, ก่อนหน้านี้ไปทำอะไรมาหรือเปล่า?, บริเวณส่วนไหนผิดรูปบ้าง, ตรงไหนชา-อ่อนแรง แขน ขาถูกกดทับเส้นประสาทหรือไม่? เป็นต้น
  • กรณีที่ต้องเข้ารับการเอ็กซเรย์ กระดูกส่วนคอ หลัง ท่าที่ใช้ในการเอ็กซเรย์ส่วนใหญ่ใช้ทาที่ยืน ก้ม เงย เพื่อตรวจสอบว่าการเคลื่อนไหวของกระดูกผิดปกติไปหรือไม่

การตรวจ MRI เช็คอาการปวดหลัง

ในบางรายที่มีความจำเป็นก็จะต้องส่งตรวจ MRI เพื่อใช้สนามแม่เหล็กในการดูอวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องบริเวณหลังที่มีอาการปวดได้

ปวดหลัง แล้วเคยเข้ารับการตรวจ MRI จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเข้ารับการตรวจซ้ำ?

ในกรณีที่คนไข้เคยได้รับการตรวจด้วยระบบMRI มาจากที่อื่น การตรวจซ้ำก็จำเป็นมาก เนื่องจากปัจจุบันจะมีเป็นการตรวจแบบท่านอน แต่คนไข้ส่วนใหญ่ที่ปวดหลังจะรู้สึกปวดเมื่อนั่งและยืน ดัฃนั้นจำเป็นต้องเอ็กซเรย์ในท่ายืนด้วยเพื่อดูว่า ระหว่างที่ยืนน้ำหนักถูกกดลงบนข้อกระดูกสันหลังมีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นบ้างหรือไม่

หลายครั้งที่ดู MRI ปกติ เป็นไม่มาก แต่เมื่อเอ็กซเรย์ในท่ายืนแล้วเห็นถึงความผิดปกติมีมากขึ้น ฉะนั้นสรุปได้เลยว่า ค่า MRIนั้นน้อยกว่าอาการที่เป็นจริง นี่เลยจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจMRIซ้ำ ซึ่งค่าใช้จ่ายน้อย แต่สามารถพบอาการที่เกี่ยวกับกระดูก ข้อต่อ ได้ทันทีเลย

กลับสู่สารบัญ

วิธีรักษาอาการปวดหลัง

สำหรับการรักษาจะรักษาตามอาการ ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ลักษณะด้วยกัน คือ

1. การทานยาระงับปวด

คือ ให้ยาแก้ปวด พักการออกกำลังกาย พักการใช้หลัง ใช้เครื่องช่วยพยุง นวด จับเส้น เป็นวิธีที่ไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัด สามารถใช้รักษาในกลุ่มผู้ที่เป็นในระยะแรกๆ ที่ไม่รุนแรงมาก

2. ฉีดยา

ทำโดยการฉีดยาโดยรอบไขข้อกระดูกสันหลังที่มีความสึกหรอเพื่อให้บรรเทาอาการปวด มีการฉีดยารอบ ๆ บริเวณเส้นประสาทที่รักษาอาการอักเสบ

3. ผ่าตัด

ขึ้นอยู่กับลักษณะของรอยโรค แต่ข้อบ่งชี้ของการผ่าตัดโดยทั่วไป มี 2 ข้อ คือ

  • รักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล คนไข้ยังมีอาการปวดทรมาน ไม่สามารถดำรงใช้ชีวิตประจำวันได้
  • มีการกดทับเส้นประสาท รู้สึกชา อ่อนแรง ซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์ด้วย ลักษณะของอาการชา หรือกดทับโอกาสเสี่ยงทำให้อาการแย่งลงเรื่อยๆ ได้

บริเวณที่ต้องทำการผ่าตัด การผ่านตัดจะอิงจากรอยโรค อาจจะเป็นการผ่าตัดหมอนรองกระดูก ผ่าตัดยึดกระดูกสันหลัง ผ่าตัดเพื่อกรอหินปูนออกหรือเอาส่วนที่ไปกดทับเส้นประสาทออก ก็มีหลายเทคนิคและมีตั้งแต่ผ่าแผลเล็ก แผลกลาง แผลใหญ่ ขึ้นอยู่กับเทคนิคของแต่ละที่

ผ่าตัดผ่านกล้อง

วิธีการผ่าตัดโดยใช้กล้อง Endoscope ถือเป็นเทคนิคสมัยใหม่ที่ได้รับความนิยมมากในทางการแพทย์เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่บาดเจ็บน้อยและมีจุดประสงค์เพื่อให้มีการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อให้น้อยที่สุด ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือดีไม่แพ้การผ่าตัดเปิดแผลปกติเลย

กลับสู่สารบัญ

ปวดหลัง แบบไหนถึงต้องทำการผ่าตัดเท่านั้น ?

นอกจากที่ได้อธิบายไปแล้วว่ามีข้อบ่งชี้คือ รักษาโดยใช้วิธีทานยาแล้วเกิดไม่ได้ผล มีการกดทับเส้นประสาท สุดท้ายอาจเกิดจากการปวดหลังในกรณีร้ายแรง เช่น  เป็นเนื้องอก ชนิดธรรมดา ชนิดรุนแรง (ที่เรียกว่าเซลล์มะเร็ง) หรือการติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย วัณโรค ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้จำเป็นที่จะต้องทำการเข้ารับการผ่าตัด แต่ต้องมุ่งไปถึงสาเหตุด้วยว่าเกิดจากอะไร

เช่น หากเป็นเนื้องอกก็ต้องทำการเจาะดูว่าเป็นเนื้องอกชนิดไหนเมื่อตรวจดูแล้วก็อาจจะต้องใส่โลหะเพื่อดามกระดูกสันหลัง เพื่อไม่ให้คนไข้มีอาการเจ็บในระหว่างผ่าเนื้องอก หรืออาจจะต้องทำการผ่าตัดเอาเนื้องอกที่ทับเส้นประสาทนั้นออก การติดเชื้อก็เช่นเดียวกันต้องทำการเจาะหนอง ส่งตรวจชิ้นเนื้อและหลายๆครั้งก็ต้องทำการใส่โลหะยึดเพื่อไม่ให้คนไข้มีอาการเจ็บปวดในขณะที่ให้ยาฆ่าเชื้อ

แก้อาการ ปวดหลัง ด้วยการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายแบบง่าย ๆ หรือ Cardio ที่สามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ ที่ทำได้ในช่วงที่มีเวลาไม่มากประโยชน์ของการออกกำลังกายนี้ก็จะถือเป็นการวอร์มอัพร่างกายก่อนและช่วยเพิ่มอัตราการพัฒนาของกล้ามเนื้อหัวใจ ช่วยให้ไขมันในร่างกายถูกนำออกไปใช้งานมากขึ้นด้วย จะมีอะไรบ้างดังนี้

  1. วิ่ง
  2. ปั่นจักรยาน
  3. เดิน
  4. ว่ายน้ำ
โยคะ ท่าออกกำลังกาย กายบริหาร แก้อาการปวดหลัง
กลับสู่สารบัญ

กายภาพบำบัดแก้ปวดหลัง

แน่นอนว่าวันทั้งวันนั่งทำงานตั้งแต่เช้ากว่าจะได้ลุกออกจากเก้าอี้และโต๊ะทำงานก็ปาไปเกือบเที่ยง ภาวะเมื่อยล้า และอาการปวดหลังก็เริ่มคลานเข้ามา บางคนมีอาการปวดเรื้อรังบ้างแล้วซึ่งเราก็ได้ทำการจัดหาท่าทางการบริหารเอาไว้สำหรับคุณด้วย

1. ท่ายืดเหยียดหลัง

เริ่มต้นจากการนั่งแล้วยืดขาทั้งสองข้างไปข้างหน้า ต่อมาเมื่อจังหวะหายใจเข้าให้ยกมือขึ้นแตะที่บริเวณศีรษะของตัวเองหรือจะเลือกประสานมือระหว่างมืออีกข้างก็ได้

เมื่อหายใจออกก็ค่อยๆลดมือทั้งสองข้างลงมาแตะที่ปลายเท้า ทั้งนี้เข่าต้องไม่งอ และพยายามก้มให้ได้มากที่สุด ซึ่งท่านี้ก็จะได้ทั้งบริเวณช่วงหลังและเอว ช่วยให้ร่างกายได้ผ่อนคลายลง ลดอาการปวดเมื่อยแผ่นหลังได้

2. ท่ายืดหัวเข่า

ยืดเหยียดสะโพกข้างขวา พับขาเข้ามาด้านนอก ให้ส้นเท้าชิดกับสะโพกไว้ จากนั้นค่อยๆ เอนตัวไปด้านหลัง จากนั้นลดข้อศอกลงมาช้าๆ ค่อยๆ นอนลงไปให้แผ่นหลังแนบชิดกับผืนเสื่อ ก็จะเริ่มรู้สึกยืด ตึง ช่วงกล้ามเนื้อขาด้านหน้า ซึ่งเป็นตรงข้ามกับกล้ามเนื้อสะโพกด้านหลัง หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ  หากใครที่ไม่รู้สึกว่าตึง

แนะนำให้ชันขาซ้ายเข้ามา วางฝ่ายเท้าซ้ายลงไปที่พื้นตั้งเข้าไว้ก็จะรู้สึกว่ายืดมากขึ้น แต่หากว่าใครต้องการให้ยืดมากขึ้นกว่าอีกสักหน่อยให้ยกเข่าซ้ายเข่ามาให้เท้าลอยจากพื้นขึ้นมา เอามือช่วยดึงเข่าซ้ายเข้ามาหาอกมากขึ้นจะช่วยให้รู้สึกตึงมากขึ้น ท่านี้ก็จะช่วยผ่อนคลายหัวไหล่ ลำตัว ช่วงบนผ่อนคลาย ท่านี้ก็เหมาะกับคนที่นั่งทำงานนานๆ

3. ท่ายืด บิดสะโพก

ยกขาขวาขึ้นมา ใช้มือซ้ายจับข้อเท้ายกขึ้นมา จากนั้นเอามือซ้ายสอดใต้ขาแล้วดึงขาเข้ามา แขนขวาก็สอดเข้ามาด้วย ส่วนฝ่าเท้าขวาวางไว้ที่ข้อศอกซ้าย มือซ้ายจับที่น่องขวา แล้วมือขวาจับที่ข้อมือซ้ายอีกทีหนึ่ง ดึงหน้าแข้งเข้ามาหาอก

ท่านี้ก็จะให้ความรู้สึกยืดกล้ามเนื้อสะโพกด้านนอกหรือกล้ามเนื้อPiriformisมือซ้ายจับน่องไว้แล้วส่งแรงดึงไปทางซ้ายนิดนึงแล้วค้างไว้หายใจเข้าออกลึกๆ ยาวๆ

ท่าออกกำลังกายแก้อาการ ปวดหลัง
กลับสู่สารบัญ

วิธีป้องกัน อาการปวดหลัง

1.พยายามออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังได้ทำงานบ้าง

2.ไม่ยกของหนัก หากต้องยกควรอยู่ในท่าที่ถูกต้อง ไม่ก้มโค้งโดยใช้แผ่นหลัง แต่ใช้ทั้งตัว

3.ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยไม่รบกวนกระดูก กล้ามเนื้อส่วนเอวและหลังมาก

4.ลดหรือเลิกการสูบบุหรี่ เพื่อให้ระบบภายในร่างกายและของเหลวทำงานได้อย่างปกติ

5.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มแคลเซียมเพื่อบำรุง กระดูกและระบบไขข้อ

Reference: https://www.vejthani.com/th/2014/

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า