ยาโรคซึมเศร้า หรือยาต้านเศร้า มีตัวไหนบ้าง ออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาโรคซึมเศร้า หรือยาต้านเศร้า มีตัวไหนบ้าง ออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาโรคซึมเศร้า ยารักษาโรคซึมเศร้า หรือยาต้านเศร้า : โรคซึมเศร้านั้นหากได้รับการรักษาผู้ที่เป็นจะอาการดีขึ้นมาก อาการซึมเศร้า ร้องไห้บ่อยๆ หรือรู้สึกท้อแท้หมดกำลังใจ จะกลับมาดีขึ้นจนผู้ที่เป็นบางคนบอกว่าไม่เข้าใจว่าตอนนั้นทำใมจึงรู้สึกเศร้าไปได้ถึงขนาดนั้น สิ่งสำคัญคือโรคซึมเศร้าถ้าได้รับการรักษาจนหายดีแล้วก็จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม ยิ่งหากมารับการรักษาเร็วเท่าไรก็ยิ่งจะอาการดีขึ้นเร็วเท่านั้น ยิ่งป่วยมานานก็ยิ่งจะรักษายาก

การรักษาที่สำคัญในโรคนี้คือการรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้า

โดยเฉพาะในรายที่อาการมาก ส่วนในรายที่มีอาการไม่มาก แพทย์อาจรักษาด้วยการช่วยเหลือชี้แนะการมองปัญหาต่างๆ ในมุมมองใหม่ แนวทางในการปรับตัว หรือการหาสิ่งที่ช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลายความทุกข์ใจลง ร่วมกับการให้ยาแก้ซึมเศร้าหรือยาคลายกังวลเสริมในช่วงที่เห็นว่าจำเป็น

ข้อควรทราบเกี่ยวกับการรักษาด้วย ยาโรคซึมเศร้า

  1. อาการของโรคซึมเศร้า ไม่ได้หายทันทีที่กินยา โดยเฉพาะอาการซึมเศร้า โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ขึ้นไปอาการจึงจะดีขึ้นอย่างเห็นชัด
  2. ยาโรคซึมเศร้า มีส่วนช่วยในระยะแรกๆ โดยทำให้ผู้ป่วย หลับได้ดีขึ้น เจริญอาหารขึ้น เริ่มรู้สึกมีเรี่ยวแรงจะทำอะไรมากขึ้น ความรู้สึกกลัดกลุ้มหรือกระสับกระส่ายจะเริ่มลดลง
  3. ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า บางคนไม่กล้ากินยามากตามที่แพทย์สั่ง แพทย์สั่งกิน 4 เม็ดก็กินแค่ 2 เม็ด หรือกินบ้างหยุดกินบ้าง เพราะกลัวว่าจะติดยา หรือกลัวว่ายาจะไปสะสมอยู่ในร่างกาย แต่ตามจริงแล้ว ยารักษาโรคซึมเศร้าไม่มีการติดยา ถ้าขาดยาแล้วมีอาการไม่สบาย นั่นเป็นเพราะว่ายังไม่หายจากอาการของโรค การกินๆ หยุดๆ หรือกินไม่ครบขนาดกลับจะยิ่งทำให้การรักษาไม่ได้ผลดี และรักษายากมากขึ้น
  4. จากการศึกษาไม่พบว่า ยารักษาโรคซึมเศร้า ตัวไหนดีกว่าตัวไหนอย่างชัดเจน ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยคนไหนจะถูกกับยาตัวไหนเป็นเรื่องเฉพาะตัว ซึ่งโดยรวมแล้วก็มักจะรักษาได้ผลทุกตัว

ชนิดของยาต้านเศร้า - ยาโรคซึมเศร้า

ในปัจจุบัน ยารักษาโรคซึมเศร้า แบ่งออกได้หลายกลุ่ม ตามลักษณะโครงสร้างทางเคมีและวิธีการออกฤทธิ์ คือ

  1. กลุ่มไตรไซคลิก (Tricyclic antidepressants: TCAs)
  2. กลุ่มเอ็มเอโอไอ (Monoamine oxidase inhibitors: MAOI)
  3. กลุ่มเอสเอสอาร์ไอ (Serotonin-specific reuptake inhibitor: SSRI)

ซึ่ง ยารักษาโรคซึมเศร้า แต่ละกลุ่มมีข้อดีข้อเสียต่างกัน แต่ประสิทธิภาพการรักษาเท่าเทียมกัน โดยยารักษาโรคซึมเศร้านั้น จะออกฤทธิ์โดยไปปรับระดับสารเคมีในสมองให้เกิดความสมดุลย์ เป็นการรักษาโรคโดยตรง ไม่ใช่แค่ยาที่ทำให้ง่วงหลับ

ยากลุ่มที่ใช้ปัจจุบันกันมากคือยากลุ่ม SSRI  ซึ่งกลไกสำคัญคือจะไปยับยั้งการดูดซึมซีโรโตนินกลับเข้าเซลล์ (serotonin reuptake inhibitor: SSRI) ทำให้ซีโรโตนินเพิ่มขึ้นบริเวณส่วนต่อระหว่างเซลล์ประสาท ยาขนานที่ปัจจุบันใช้เป็นยาขนานแรกในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้แก่ยา ฟลูออกซิทีน (fluoxetine) และเซอร์ทราลีน (sertraline)

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่ มักต้องการหยุดกินยาเร็วกว่าที่ควรเป็น เพราะกลัวว่าหากกินไปนานๆ จะทำให้เกิดการติดยา แต่ข้อสำคัญและควรปฏิบัติที่สุดก็คือ การกินยาอย่างต่อเนื่อง จนกว่าแพทย์จะบอกให้ท่านหยุด ถึงแม้ว่าจะรู้สึกดึขึ้นแล้วก็ตาม

ยาบางตัวต้องค่อยๆ ลดขนาดลง เพื่อให้โอกาสร่างกายปรับตัว ไม่ต้องกังวลว่า ยารักษาโรคซึมเศร้าเป็นยาที่กินแล้วติดหยุดยาไม่ได้ และควรถามแพทย์ทุกครั้งที่ท่านมีปัญหาที่เกิดจากยา หรือเกิดปัญหาที่คิดว่าอาจเกิดจากยา

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์
ผ่านช่องทางไลน์ หรือโทรศัพท์

086-570-7040
CTA Lipo 2
CTA Lipo 1
QR code surgery

สแกน QR Code เพื่อแอดไลน์

ยาต้านเศร้า หรือ ยาโรคซึมเศร้า สามารถซื้อมากินเองได้หรือไม่? ซื้อที่ไหน?

การซื้อ ยาโรคซึมเศร้า มากินเองจากร้านขายยา ยืมยาจากเพื่อน หรือกินยาจากแพทย์ท่านอื่นปนกับยาโรคซึมเศร้า โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ของท่านก่อน เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะก่อให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงได้ รวมถึงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็จะไปลดประสิทธิภาพของยาลงเช่นเดียวกัน

ผลข้างเคียงจากยาต้านเศร้า ยาโรคซึมเศร้า

ผลข้างเคียง ยารักษาโรคซึมเศร้า ยาโรคซึมเศร้า

ยารักษาโรคซึมเศร้ามีผลข้างเคียงอยู่บ้างกับผู้ใช้บางคนอันอาจก่อความรำคาญ แต่ไม่อันตราย อย่างไรก็ตามเมื่อรู้สึกว่ามีผลข้างเคียงของยาเกิดขึ้น กรุณาแจ้งให้แพทย์ทราบ

  • ผลข้างเคียงต่อไปนี้มักเกิดจากยาแก้ซึมเศร้ากลุ่มเก่า ซึ่งเดิมทีจะใช้กันบ่อยได้แก่ amitriptyline และ nortriptyline
  1. ปากแห้งคอแห้ง
  2. ท้องผูก
  3. ปัญหาการถ่ายปัสสาวะ
  4. ปัญหาทางเพศ
  5. ตาพร่ามัว
  6. เวียนศีรษะ
  7. ง่วงนอน เพลีย ซึมๆ
  • สำหรับยาแก้ซึมเศร้ากลุ่มใหม่พวก SSRI อาจมีผลข้างเคียงที่ต่างออกไป ดังต่อไปนี้
  1. ปวดศรีษะ
  2. คลื่นไส้
  3. นอนไม่หลับหรือกระวนกระวาย
  • ผลข้างเคียงจากยาแก้ซึมเศร้าที่พบได้ทั้ง 2 กลุ่ม และพบได้บ่อยอีกอย่างได้แก่ น้ำหนักตัวเพิ่ม

พบว่าน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจากการใช้ยาทางจิตเวชจะนำไปสู่ภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วน (obesity) และกลุ่มอาการผิดปกติทางเมแทบอลิก (metabolic syndrome)  เช่น อ้วนลงพุง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ระดับไขมันในเลือดสูง ซึ่งส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดรวมถึงเพิ่มอัตราการเสียชีวิตได้

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์
ผ่านช่องทางไลน์ หรือโทรศัพท์

086-570-7040
CTA Lipo 2
CTA Lipo 1
QR code surgery

สแกน QR Code เพื่อแอดไลน์

กลไกการเกิดภาวะน้ำหนักเกิน จากยาโรคซึมเศร้า

เชื่อว่าอาจเกิดจากปัจจัยจากโรคจิตเวช ปัจจัยจากการดีขึ้นของอาการทางจิต และปัจจัยด้านยา

  1. เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการทำงานของสารสื่อประสาท เช่น
  • ฮิสตามีน (histamine) ซึ่งโดยปกติฮิสตามีนที่หลั่งออกมา จะช่วยทำให้ลดความอยากอาหาร เพิ่มอุณหภูมิของร่างกาย และเร่งกระบวนการสลายไขมัน (lipolysis) หรือระบบเผาผลาญของร่างกาย แต่เนื่องจากพบว่ายาต้านซึมเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก (TCAs) นั้นทำให้สารตัวนี้ออกฤทธิ์น้อยลง จึงให้ผลในทางตรงกันข้าม ส่งผลทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  • ในระบบการทำงานของสารสื่อประสาทซีโรโทนิน (serotonin) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเลปติน (Leptin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมความอยากอาหารและการใช้พลังงาน เกิดการสูญเสียของการควบคุมความอยากอาหาร ทำให้อยากอาหารมากขึ้น

2. การลดการใช้พลังงาน เนื่องจากอาการข้างเคียงของยาที่ทำให้การเคลื่อนไหวลดลง

3. การเกิดระดับไขมันในเลือดสูง การเปลี่ยนแปลงความไวต่ออินซูลินของเนื้อเยื่อ และการรบกวนกระบวนการเมตาบอลิซึมภายในร่างกายจากยาต้านเศร้า ส่งผลทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากการใช้ยาทางจิตเวชได้

4. พันธุกรรมก็มีส่วนเช่นกัน ในผู้ที่มีความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการทำงานของฮอร์โมนเลปติน มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะน้ำหนักเกินมากกว่าผู้ที่มียีนปกติ

5. ปัจจุบันยังคงมีการศึกษากลไกการเกิดภาวะน้ำหนักเกินจากยาจิตเวชอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะค้นหาแนวทางการป้องกันและรักษา รวมถึงพัฒนายาที่มีผลทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินน้อยที่สุด

ยาทุกชนิดสามารถทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นยาแก้ปวด ยาแก้แพ้ หรือยาระบาย ก็ตาม แม้ว่าโอกาสที่เกิดอาการข้างเคียงจะมากน้อย และมีความรุนแรงต่างกันไป

การใช้ยาโรคซึมเศร้า หรือยาต้านเศร้า จึงควรใช้ในขนาดและกินตามเวลาที่แพทย์สั่งเท่านั้น หากมีความจำเป็นที่ทำให้กินยาตามสั่งไม่ได้ และควรแจ้งแพทย์ทุกครั้งหากเกิดอาการใดๆ ที่ไม่แน่ใจว่าเป็นอาการข้างเคียงหรือไม่

Ref https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1017, http://www.smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_detail=T&art_id=1959

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาแพทย์
ผ่านช่องทางไลน์ หรือโทรศัพท์

086-570-7040
CTA Lipo 2
CTA Lipo 1
QR code surgery

สแกน QR Code เพื่อแอดไลน์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า