Anorexia Nervosa (อะนอร์เร็กเซีย) หรือที่เรียกว่าโรคคลั่งผอม เดิมเรียกกันเต็มๆ แต่ต่อมานิยมเรียกแค่ อะนอร์เร็กเซีย คือปัญหาทางจิตแบบหนึ่ง มักเกิดในเพศหญิงเป็นส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดหรือมาจากพันธุกรรม เป็นโรคที่เกี่ยวการกินผิดปกติ (Eating Disorders) ซึ่งแก้ขได้ยาก เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่ ไม่คิดว่าตัวเอง ป่วยและไม่อยากแก้
โดยผู้ป่วยโรคนี้จะคิดว่าตัวเองอ้วน ทำทุกอย่างเพื่อให้ผอมและมีน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาก กลัวน้ำหนักขึ้นมากและพูดถึงตลอดเวลา รวมทั้งมีความคิดในสมองเกี่ยวกับน้ำหนักตัวและรูปร่างที่ผิดไปจากความเป็นจริง เนื่องจากต้องการควบคุมน้ำหนัก (ที่คิดเอาเองว่าเกิน) ผู้ที่เป็นโรคนี้ให้คุณค่ากับการควบคุมน้ำหนักและรูปร่างมากเกินจริง และหาวิธีควบคุมน้ำหนักและรักษารูปร่างที่เสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น การจำกัดปริมาณอาหารที่รับประทาน ล้วงคออาเจียนหลังรับประทานอาหาร ทานคำน้อยๆ สั่งอาหารและเขี่ยออก ใช้ยาระบาย ยาลดความอ้วน หรือยาขับปัสสาวะรวมทั้งหักโหมออกกำลังกายตลอดเวลา หรือเข้ามาปรึกษาดูดไขมันแบบทำแล้วทำอีก เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและลดน้ำหนักต่อไปเรื่อย ๆ เพราะมองกระจกทุกครั้งก็มองเห็นไขมันส่วนเกินทุกวัน
Anorexia ไม่ใช่โรคที่เกี่ยวเนื่องกับอาหารโดยตรง แต่เกี่ยวข้องกับความคิดและเป็นการตอบสนองต่อความเครียด พฤติกรรมการรับประทานอาหารแบบนี้เป็นวิธีควบคุมสภาวะอารมณ์ที่เผชิญอยู่ และมักพบว่า คนที่เป็นจะป่วยเป็นโรคทางจิตเวชอื่น ๆ หรือใช้ยาและสารเสพติดร่วมด้วย เช่น โรคซึมเศร้า ใช้สารเสพติดกลุ่มยานอนหลับ แอลกอฮอล์ มีโรควิตกกังวล หรือบุคลิกภาพแปรปรวนแบบก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder) โรคจิตบางชนิด
นอกจากปัญหาทางจิตแล้ว ผู้ป่วย Anorexia Nervosa ยังจะเจอภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่น กระดูกพรุนจากการขาดแคลเซี่ยม โรคซีดจากการขาดเหล็กและวิตามินบี โรคตับจากการขาดโปรตีนรวมทั้งประสบปัญหาสุขภาพหัวใจขั้นร้ายแรงหรือไตวาย ซึ่งสุดท้ายทำให้เสียชีวิตได้
อาการของ anorexia nervosa คืออะไร
คนที่เป็นโรคนี้มักมีสัญญาณเบื้องต้นหรืออาการทางกาย ที่เกี่ยวกับลักษณะของคนที่อดอาหาร อย่างไรก็ตาม อาการป่วยของโรคนี้ยังเกี่ยวเนื่องกับอารมณ์ พฤติกรรม และความรู้สึก โดยอาการของโรค Anorexia Nervosa แบ่งออกเป็น
- อาการของสุขภาพกาย
- อาการทางด้านจิตและพฤติกรรม
อาการทางกาย
- น้ำหนักตัวลดลงมากเกินไปตลอดเวลา
- รูปร่างผอมแห้ง ไม่มีกล้ามเนื้อและไขมัน
- ซีด เลือดจาง
- ไม่มีแรง ลุกนั่งเวียนศีรษะคล้ายเป็นลม เพราะแรงดันเลือดน้อย
- นอนไม่หลับ
- นิ้วเขียวซีด ปากแห้ง รวมทั้งผิวแห้งและเหลือง
- ผมบางและร่วง ผมแตกหักง่าย
- ประจำเดือนไม่มา เพราะระบบฮอร์โมนผิดปกติ
- ท้องผูก
- ทนหนาวไม่ได้
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ และหัวใจเต้นช้าผิดปกติ
- ความดันโลหิตต่ำ
- กระดูกเปราะ
- แขนหรือขาบวม
โดยรวมๆ มีอาการของระบบฮอร์โมนตกต่ำแทบทุกระบบ มีอาการขาดโปรตีนจะบวมน้ำ ท้องป่อง และจึงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่คนเป็น anorexia ยังคงคิดว่าตัวเองอ้วนอยู่อีก
อาการทางด้านอารมณ์และจิตใจ
ผู้ป่วยโรคนี้จะปรากฏพฤติกรรมบ่นเรื่องอ้วนได้ตลอดเวลา หมกมุ่นกับการอยากผอม และการลดน้ำหนักด้วยการจำกัดปริมาณอาหารที่รับประทาน อดอาหาร อดทุกอย่างที่เข้าปาก อาจล้วงคออาเจียนอาหารที่รับประทานเข้าไป หรือใช้ยาระบาย ยาสวนทวารหนัก ยาลดน้ำหนัก หรืออาหารเสริมสมุนไพรอื่น ๆ เพื่อลดน้ำหนักและรักษารูปร่าง บางคนหักโหมออกกำลังกายทำเหวทและวิ่งวันละหลายชั่วโมง บางคนไปพบแพทย์เพื่อ ตัดกระเพาะให้ผอม หรือ ไปตระเวณ ดูดไขมัน ตามที่ต่างๆนอกจากนี้ ผู้ป่วยยังมีสภาวะอารมณ์และพฤติกรรม ดังนี้
- คิดฟุ้งซ่านเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร รวมทั้งนับจำนวนแคลอรี่ของอาหารที่จะรับประทานอยู่เสมอทุกคำที่กิน
- ปฏิเสธที่จะรับประทานอาหารหรือสิ่งต่าง ๆ ถ้าถูกถามว่าทานข้าวหรือยังมักโกหกว่ารับประทานอาหารไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่ได้กิน เพื่อเลี่ยงการรับประทานอาหาร
- มีอาการเบื่ออาหาร
- กังวลและกลัวว่าน้ำหนักตัวเพิ่มหรืออ้วนขึ้น ทั้งที่น้ำหนักตัวน้อยเกินไป รวมทั้งไม่ยอมทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- หมกมุ่นอยู่กับการมีรูปร่างที่ดี รวมทั้งไม่ยอมรับว่าผอมมากจนอยู่ในเกณฑ์อันตราย รวมทั้งรู้สึกภูมิใจเมื่อน้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่อง
- ซึมเศร้า ไร้อารมณ์ความรู้สึกกับสิ่งรอบตัว แยกตัวออกจากสังคม
- หงุดหงิดและฉุนเฉียวง่าย หรือรู้สึกเครียด
- ไม่มีความรู้สึกทางเพศหรืออาจจะเกลียด (ส่วนหนึ่งคืออาการขาดอาหารทำให้ช่องคลอดแห้งและเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์)
- คิดฆ่าตัวตายบ่อย
หากคุณสงสัยว่าคนในครอบครัวหรือคนรอบตัวป่วยเป็น Anorexia จะต้องสังเกตว่ามีพฤติกรรมที่เสี่ยงหรือไม่ เช่นคนเหล่านั้นมักงดรับประทานอาหารมื้อต่าง ๆ เลี่ยงที่จะไม่กินอาหาร หรือกินอาหารบางอย่างซ้ำ ซึ่งมักเป็นอาหารที่มีไขมันหรือพลังงานต่ำเช่นแครอทจิ้มซอสมะเขือเทศ ชอบทำอาหารหรือหาอาหารให้ผู้อื่นแต่นั่งดูอย่างเดียว ไม่กินเองบางทีมีพฤติกรรมการรับประทานที่เป็นรูปแบบแปลกๆ
เช่น เคี้ยวคายอาหารออกมา กินแล้วล้วงคออ้วก อาจมีพฤติกรรมซ้ำ ๆ หรือแสดงถึงความกังวลย้ำคิดย้ำทำ เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดสัดส่วน ส่องกระจก หรือบ่นว่าอ้วนอยู่เป็นประจำ หากมีบุคคลรอบข้างที่เข้าข่ายแบบนี้ ควรพาไปปรึกษาหมอ เนื่องจากโรคนี้จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพถึงตายได้
Cr. https://www.healthyplace.com/
สาเหตุของ Anorexia
ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคนี้ แต่โรคนี้มีปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นร่วมกัน ได้แก่ ยีนหรือพันธุกรรม สภาวะจิตใจ และสภาพแวดล้อม ดังนี้
ยีนหรือพันธุกรรม
ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับยีน การทำงานในสมอง หรือระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น นับเป็นข้อสันนิษฐานว่าอาจเป็นสาเหตุของโรค Anorexia โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจกระทบสมองส่วนใดส่วนหนึ่งที่ทำหน้าที่ควบคุมน้ำย่อย หรืออาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยรู้สึกกังวลและรู้สึกผิดเมื่อรับประทานอาหารหลังอดอาหารหรือหักโหมออกกำลังกาย
ทั้งนี้ ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคผิดปกติเกี่ยวกับการกิน โรคซึมเศร้า หรือใช้สารเสพติด ก็เสี่ยงเป็น อะนอร์เร็กเซีย ได้ เนื่องจากอาการป่วยหรือการใช้สารเสพติดของบุคคลในครอบครัวต่างส่งผลต่อยีนอันนำไปสู่โรคนี้
สภาวะจิตใจ
สภาวะอารมณ์หรือจิตใจบางอย่างอาจส่งผลให้ป่วยเป็น อะนอร์เร็กเซีย ได้ โดยผู้ที่ประสบสภาวะอารมณ์หรือจิตใจต่อไปนี้อาจเสี่ยงป่วยเป็นโรคนี้
- มีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล
- จัดการความเครียดได้ไม่ดี
- กังวล กลัว และคิดมากเกี่ยวกับอนาคตมากเกินไป
- เสพติดความสมบูรณ์แบบ หรือตั้งมาตรฐานและเป้าหมายในชีวิตออย่างเคร่งครัด
- ตึงเครียดเกินไป
- มีพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ
ภาพแวดล้อม
การเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์อาจเป็นปัจจัยที่นำไปสู่การป่วยโรคนี้ได้ เนื่องจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง อารมณ์แปรปรวน และเกิดความเครียดกังวลต่าง ๆ อันเกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมของโรค Anorexia หรือการรับเอาวัฒนธรรมและค่านิยมความผอมที่เผยแพร่ตามสื่อต่าง ๆ ทั้งนี้ ยังปรากฏปัจจัยจากสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคคลั่งผอม ดังนี้
- แรงกดดันจากเพื่อนที่นิยมรูปร่างผอม โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นหญิง หรือถูกกลั่นแกล้งล้อเลียนเรื่องรูปร่างและน้ำหนัก
- อาชีพหรืองานอดิเรกบางอย่างที่ได้รับความชื่นชม โดยกิจกรรมเหล่านั้นมาพร้อมภาพลักษณ์ของผู้ที่มีรูปร่างผอม เช่น นักเต้น นางแบบ หรือนักกีฬาบางประเภท
- เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด
- เผชิญกับปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว
- ถูกทำร้ายร่างกายหรือทารุณกรรมทางเพศ
บทความน่าสนใจ
การวินิจฉัย Anorexia
แพทย์จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเข้าข่ายป่วยเป็นโรคนี้่หรือไม่ โดยเบื้องต้นจะซักถามคำถามทั่วไปเกี่ยวกับน้ำหนักตัวและพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น น้ำหนักตัวที่ลดลงในช่วงที่ผ่านมา ความรู้สึกหรือความกังวลเกี่ยวกับน้ำหนักตัว พฤติกรรมล้วงคออาเจียน ปัญหาประจำเดือนไม่มาหรือปัญหาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ผู้ป่วยต้องตอบคำถามเหล่านี้ตามความจริง เพื่อให้ประมวลผลออกมาได้อย่างแม่นยำ ทั้งนี้ แพทย์อาจตรวจด้านอื่น ๆ สำหรับประกอบการวินิจฉัย ดังนี้
ตรวจร่างกาย
แพทย์จะวัดน้ำหนักและส่วนสูงผู้ป่วย โดยผู้ป่วย อะนอร์เร็กเซีย จะมีน้ำหนักที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งคิดเป็นร้อยละอย่างน้อย 15 รวมทั้งวัดดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) โดยทั่วไปแล้ว ผู้ใหญ่จะมีค่าดัชนีมวลกายในเกณฑ์สุขภาพดีอยู่ที่ 18.5-24.9 หากป่วยเป็นโรคดังกล่าวมักจะมีค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่า 17.5 นอกจากนี้ แพทย์จะตรวจร่างกายด้านอื่น เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตและอุณหภูมิร่างกาย ปัญหาสุขภาพเล็บและผม ฟังหัวใจและปอด และตรวจท้อง
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพิ่มเติม ได้แก่ ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC) ตรวจอิเล็กโทรไลต์ (Electrolites) และโปรตีนในเลือด ตรวจการทำงานของตับ ไต และต่อมไทรอยด์ รวมทั้งตรวจปัสสาวะ
วัดผลทางจิตวิทยา
แพทย์จะพูดคุยซักถามเกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรมการกินของผู้ป่วย ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจต้องทำแบบประเมินตนเองทางจิตวิทยาเพื่อวัดผลด้วย
ตรวจวิธีอื่น
แพทย์จะเอกซเรย์ผู้ป่วยเพื่อตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก การแตกหรือเปราะของกระดูก และตรวจหาโรคปอดบวมหรือปัญหาสุขภาพหัวใจ ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) เพื่อดูว่าหัวใจผิดปกติหรือไม่ การตรวจทั้งหมดนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถประมวลผลว่าร่างกายผู้ป่วยใช้พลังงานไปเท่าไหร่ ซึ่งช่วยให้วางแผนการบริโภคสารอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ป่วยการวินิจฉัยโรคทางจิตเวช (Diagnotis and Statistical Manual of Mental Disorders: DSM-5) กำหนดเกณฑ์ที่ระบุลักษณะของผู้ป่วย Anorexia ไว้ ดังนี้
- จำกัดการรับประทานอาหาร
ผู้ป่วย อะนอร์เร็กเซีย จะรับประทานอาหารน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย เพื่อรักษาน้ำหนักตัวให้น้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามอายุและส่วนสูงของตัวเอง
- กลัวน้ำหนักขึ้น
กลัวและกังวลว่าน้ำหนักตัวจะขึ้นหรือมีรูปร่างอ้วนเป็นอย่างมาก อีกทั้งพยายามลดน้ำหนักอยู่เสมอทั้งที่น้ำหนักตัวน้อยเกินไป เช่น ล้วงคออาเจียน หรือใช้ยาระบาย
- มีปัญหากับรูปร่างตนเอง
ผู้ป่วยไม่รู้สึกกังวลที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน โดยให้คุณค่าตัวเองผูกติดอยู่กับน้ำหนัก รวมทั้งรับรู้ภาพลักษณ์หรือรูปร่างของตนเองที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริง
การรักษา Anorexia
เกิดจากความคิดหรือเหตุผลของผู้ป่วยที่ต่อต้านการรักษา ได้แก่ คิดว่าไม่จำเป็นต้องเข้ารับการบำบัด กลัวว่าน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นมา รวมทั้งไม่ได้มองพฤติกรรมของตนเองเป็นอาการป่วย แต่เป็นลักษณะการใช้ชีวิตแบบหนึ่งเท่านั้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษา เนื่องจากการบำบัดและรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้มีสุขภาพดี รวมทั้งอาการของโรคไม่กำเริบขึ้นเมื่อต้องเผชิญภาวะเครียดรุนแรงหรือสถานการณ์กระตุ้นต่าง ๆ
ปัญหาสำคัญในการรักษาโรคนี้ คือคนไข้ไม่ยอมรักษา !!
การรักษาโรค อะนอร์เร็กเซีย ประกอบด้วยการรักษาที่ต้องให้คำปรึกษาในการบำบัด การรักษาด้วยยา และการดูแลสุขภาพและโภชนาการ เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่มีความซับซ้อน กลุ่มผู้ทำการรักษาจึงมีหลากหลาย ได้แก่ ผู้ให้คำปรึกษาพิเศษ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา พยาบาลพิเศษ และนักโภชนาการ ทั้งนี้ อาจมีกุมารแพทย์หรือหมอเด็กเข้ามาร่วมทำการรักษาด้วยในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็กหรือวัยรุ่นการรักษาอะนอร์เร็กเซีย มีเป้าหมายช่วยให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวกลับมาเป็นปกติ รักษาภาวะทางจิตอันเกี่ยวเนื่องกับรูปร่างของตัวเอง รวมทั้งทำให้ผู้ป่วยหายป่วยจากโรคดังกล่าวในระยะยาวหรือฟิ้นตัวได้อย่างเต็มที่
จิตบำบัด
ผู้ป่วยโรค อะนอร์เร็กเซีย จะได้รับการรักษาด้วยวิธีจิตบำบัดต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ โดยวิธีนี้มักใช้เวลารักษาอย่างน้อย 6-12 เดือน หรือมากกว่านั้น วิธีจิตบำบัดที่ใช้รักษา อะนอร์เร็กเซีย ต้องใช้เวลานาน ผู้ป่วยต้องยินยอมและให้ความร่วมมือสูง นักจิตวิทยาต้องมีประสบการณ์พอสมควร เพราะมักไม่ค่อยได้ผลเนื่องจากคนไข้ไม่ร่วมมือ
การบำบัดครอบครัว
ครอบครัวนับว่ามีบทบาทสำคัญในการรักษาในกรณีที่ผู้ป่วยอะนอร์เร็กเซีย เป็นเด็กหรือมีอายุน้อย เนื่องจากปัญหาสุขภาพจิตนี้ส่งผลต่อบุคคลในครอบครัวทุกคน การบำบัดครอบครัวจะมุ่งเน้นไปที่ผลกระทบโรคที่ส่งผลต่อครอบครัว ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจลักษณะของโรคและวิธีที่บุคคลในครอบครัวจะช่วยเหลือผู้ป่วยด้วย
วิธีเพิ่มน้ำหนัก
แผนการรักษาโรคนี้จะครอบคลุมคำแนะนำในการรรับประทานอาหารเพื่อเพิ่มน้ำหนักตัวอย่างปลอดภัย โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยเริ่มรับประทานอาหารในปริมาณน้อย และค่อย ๆ เพิ่มปริมาณอาหารอย่างช้า ๆ เมื่อร่างกายปรับตัวได้แล้ว เนื่องจากการเพิ่มปริมาณอาหารเร็วเกินไปสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้โดยมีเป้าหมายให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 0.5 กิโลกรัม ผู้ป่วยเด็กหรือวัยรุ่นจะได้รับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามผลการรักษาให้เป็นไปตามเป้าหมาย การเพิ่มน้ำหนักตัวจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมารับประทานอาหารครบ 3 มื้อเป็นปกติ
ยารักษา
โรค อะนอร์เร็กเซีย ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาเพียงอย่างเดียว แพทย์มักใช้รักษาควบคู่กับวิธีบำบัด โดยใช้ยาเพื่อรักษาภาวะทางจิตอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือโรคซึมเศร้า ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วย อะนอร์เร็กเซีย ได้แก่ ยากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ และยาโอแลนซาปีน ดังนี้
- ยากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ (Selective Serotonin Ruptake Inhibitors: SSRIs) ยานี้จัดเป็นยารักษาอาการซึมเศร้าชนิดหนึ่ง มักใช้รักษาผู้ที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับภาวะทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า หรือวิตกกังวล อย่างไรก็ตาม แพทย์จะจ่ายยากลุ่มเอสเอสอาร์ไอให้ผู้ป่วยในกรณีที่น้ำหนักตัวผู้ป่วยเริ่มเพิ่มขึ้นแล้ว เนื่องจากการใช้ยาดังกล่าวขณะที่ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวน้อยมากเกินไปเสี่ยงได้รับผลข้างเคียงสูง ทั้งนี้ ผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ควรใช้ยากลุ่มเอสเอสอาร์ไออย่างระมัดระวัง
- ยาโอแลนซาปีน (Olanzapine) ผู้ป่วยอะนอร์เร็กเซีย ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น จะได้รับยานี้เพื่อลดอาการวิตกกังวลเกี่ยวกับน้ำหนักตัวและการรับประทานอาหาร
การแพทย์ทางเลือก
วิธีนี้ไม่ใช่วิธีรักษาตามหลักแพทย์แผนปัจจุบัน ยังไม่ปรากฏงานวิจัยเกี่ยวกับการรักษาโรค Anorexia ด้วยการแพทย์ทางเลือก อย่างไรก็ดี วิธีนี้อาจช่วยลดอาการวิตกกังวลลงได้ โดยทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีและผ่อนคลายมากขึ้น การแพทย์ทางเลือกที่ใช้รักษาอาการวิตกกังวล ได้แก่ การฝังเข็ม การนวด โยคะ และการนั่งสมาธิ ผู้ที่ต้องการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อให้ทราบและเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงจากการรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือกวิธีต่าง ๆ
การรักษาปัญหาสุขภาพอื่น
CR. https://dimensionsofdentalhygiene.com/
ภาวะแทรกซ้อนจาก Anorexia
ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้หลายอย่าง ซึ่งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต แม้น้ำหนักจะเป็นปกติ ไม่ต่ำมากก็ตาม เนื่องจากเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะและภาวะเกลือแร่ที่ไม่สมดุล ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอะนอร์เร็กเซีย แบ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนทางกาย และภาวะแทรกซ้อนทางจิต ดังนี้
ภาวะแทรกซ้อนทางกาย
- ซีด
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นช้าผิดปกติ หรือหัวใจวาย จากการขาดวิตามินบี เช่นโรค beri beri
- มีปัญหาเกี่ยวกับสมองและระบบประสาท เช่น ชัก สมาธิสั้น หรือความจำไม่ดี
- มีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น กระดูกอ่อนแอหรือกระดูกพรุน สูญเสียมวลกระดูก ส่งผลให้เสี่ยงกระดูกหักได้ในอนาคต
- ผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นรวม มีปัญหาเกี่ยวกับการเติบโต ตัวเตี้ยต่ำเกณฑ์
- ประสบปัญหาสุขภาพทางเพศ ได้แก่ มีลูกยากและประจำเดือนไม่มาสำหรับผู้หญิง หรือฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนลดลงและหย่อนสมรรถภาพทางเพศสำหรับผู้ชาย
- มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องผูก ท้องอืด หรือคลื่นไส้
- อิเล็กโทรไลต์ผิดปกติ เช่น โพแทสเซียม โซเดียม หรือคลอไรด์ในเลือดต่ำทำให้ซึม
- มีปัญหาเกี่ยวกับไตเช่นไตวาย
- พยายามฆ่าตัวตาย
- เกิดโรคเกี่ยวกับการกินผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น บูลิเมีย (Bulimia Nervosa) โดยผู้ป่วยจะทำให้ตัวเองป่วย หรือใช้ยาระบายเพื่อขับอาหารออกจากร่างกาย
ภาวะแทรกซ้อนทางจิต
- ประสบภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว
- ประสบภาวะบุคลิกภาพแปรปรวน (Personality Disorders)
- ป่วยเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorders)
- ใช้แอลกอฮอล์ ยาหรือสารเสพติดอื่น ๆ
นอกจากนี้ ผู้ป่วย อะนอร์เร็กเซีย ที่ตั้งครรภ์ สามารถประสบภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ขึ้นมา ได้แก่ แท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด ทารกมีน้ำหนักตัวต่ำ และอาจต้องเข้ารับการผ่าคลอด
CR.https://eatingdisordersolutions.com/
การป้องกัน Anorexia
Anorexia ต่างจาก Bulimia ยังไง
สรุป : ในประเทศไทยอาจจะไม่ค่อยเจอคนที่เป็นโรคนี้แบบรุนแรงมากนัก อาจจะเจอแต่ในกลุ่มที่เป็นน้อย คือเริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับรูปร่างแม้ผอมมากแล้วอย่างไม่สมเหตุผล ยังมีอยู่เยอะ หากสังเกตคนรอบข้างที่มีอาการดังกล่าว ควรแนะนำไปพบแพทย์
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
Biography