แพ้แอลกอฮอล์ กินเหล้าแล้วหน้าแดง ตัวแดงเกิดจากอะไร เสี่ยงมะเร็งจริงหรือไม่?

แพ้แอลกอฮอล์ แล้วตัวแดง เกิดจากอะไร

แพ้แอลกอฮอล์ ( Alcohol flush Reaction ) เป็นอาการผิดปกติของร่างกายที่เกิดขึ้นหลังจากการกินเหล้า หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งแต่ละคนจะแสดงอาการแพ้แอลกอฮอล์แตกต่างกัน เช่น หน้าแดง (flushing) ตัวแดง ตาแดง เกิดผื่นแดง มีอาการคัน หรือหัวใจเต้นเร็วร่วมด้วย บางคนคิดว่าอาการเหล่านี้เป็นอาการปกติที่มักจะเกิดหลังจากการกินเหล้า แต่ความจริงแล้วร่างกายกำลังบอกคุณว่า ร่างกายมีความผิดปกติหน่ะสิ!

แพ้แอลกอฮอล์ คืออะไร?

โดยปกติแล้ว เมื่อเรากินเหล้า กินเบียร์ ฯลฯ เข้าไป ในตับจะมีเอนไซม์ชนิดหนึ่ง ชื่อว่า “ALDH2” คอยทำหน้าที่เปลี่ยนสารพิษที่เข้าสู่ร่างกายที่ชื่อว่า อะซิทัลดีไฮด์ (Acetaldehyde) ให้กลายเป็น อะซิเตต (Acetate) ที่ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย ในระหว่างที่ร่างกายกำลังเผาพลาญแอลกอฮอล์ (Ethanol) แต่ในกรณีคนที่ แพ้แอลกอฮอล์ นั้นเกิดจากการที่ร่างกายนั้นขาดเอนไซม์ ALDH2 หรืออาจจะมีเอนไซม์ชนิดนี้อยู่แต่ทำงานบกพร่อง ทำให้ไม่สามารถเผาพลาญแอลกอฮอล์ออกไปได้ ส่งผลให้เกิดการคั่งของสารพิษอะซิทัลดีไฮด์ ทำให้เกิดอาการหน้าแดง มึนเมา ปวดหัว ฯลฯ หรืออาจจะมีอาการที่รุนแรงกว่าหลังจากได้รับแอลกอฮอล์เข้าไปในร่างกาย ถึงขั้นเกิดโรคแทรกซ้อน หรือเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

แพ้แอลกอฮอล์ Alcohol Flushing

ชาวเอเชียที่มีอาการแพ้แอลกอฮอล์ กินเหล้าแล้วหน้าแดง

กลับสู่สารบัญ

อาการแพ้แอลกอฮอล์ เป็นอย่างไร?

จากที่กล่าวข้างต้นว่า อาการแพ้แอลกอฮอล์ นั้นเกิดจากการที่ ในตับขาดเอนไซม์ที่ชื่อว่า “ALDH2” หรือเอนไซม์ทำงานบกพร่อง ALDH2 deficient ซึ่งเป็นผลมาจาก พันธุกรรมบกพร่อง … เมื่อเอนไซม์ ALDH2 ทำงานบกพร่อง ทำให้บางคนที่กินเหล้าเข้าไปแล้วแม้เพียงเล็กน้อย ก็ทำให้เกิดอาการมึนหัว หน้าแดง ตัวแดง (อาจจะเป็นแค่ช่วงหัว-หน้าอก หรือแดงทั้งตัวก็ได้) ตาแดง ฯลฯ ได้เร็วกว่าคนทั่วไป และต้องใช้เวลานานกว่าอาการจะหายเป็นปกติ เพราะสารพิษที่คั่งทำให้เกิดอาการต่างๆ นั่นเอง

และยิ่งในคนที่มีความบกพร่องเอนไซม์ชนิดนี้มากๆ เอนไซม์เผาพลาญแอลกอฮอล์ได้ไม่ดี ก็อาจจะทำให้เกิดอาการรุนแรงหลังกินเหล้าได้ เช่น เป็นลม หรือสลบไปเลย เพราะทนต่อสารพิษ อะเซทาลดีไฮด์ (acetaldehyde) ไม่ไหว หรืออาจจะเกิดกรณีร้ายแรง เช่น ทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก คล้ายโรคภูมิแพ้ เนื่องจากทำให้เนื้อเยื้อทางเดินหายใจบวมจนไปปิดกั้นหลอดลม ส่งผลให้หายใจไม่ออก หายใจติดขัด ซึ่งหากพบอาการเช่นนี้ต้องรีบส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เสียชีวิตได้

metabolic แอลกอฮอล์

แพ้แอลกอฮอล์ มักเกิดกับคนกลุ่มใด?

อาการแพ้แอลกอฮอล์ ส่วนมากแล้วจะพบในคนเชื้อสายเอเชีย เช่น ไทย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฯลฯ โดยสังเกตุได้ง่ายๆ จากเวลาดื่มเหล้า ฯลฯ คนเอเชียมักจะมีอาการแพ้แอลกอฮอล์ และมีอาการ hang over หรือเมาค้างมากกว่าคนชาติอื่น เพราะต้องใช้เวลาในการเผาพลาญสารพิษช้ากว่า จนมีชื่อเรียกเฉพาะของอาการแพ้แอลกอฮอล์ของคนเอเชียด้วยว่า Asian Flush ซึ่งหากปล่อยอาการผิดปกตินี้ทิ้งไว้ในระยะยาว อาจทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นโรคร้ายอย่างมะเร็งได้ เช่น มะเร็งหลอดอาหาร 

อ่านบทความเพิ่มเติม

มะเร็งกระเพาะอาหาร เกิดจากอะไร มีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง

กลับสู่สารบัญ

จะรู้ได้อย่างไรว่าแพ้แอลกอฮอล์ ?

ให้ทดสอบโดยการ

1. ตอนกินเหล้าครั้งแรก ให้สังเกตุอาการว่าเกิดอาการหน้าแดง หรือไม่? หากมีอาการแดง แสดงว่าร่างกายขาดเอนไซม์ ALDH2 และมีแนวโน้ม เสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งหลอดอาหาร

2. สังเกตุอาการตอนกินเหล้า ในช่วง 1-2 ปีหลัง ว่าทุกครั้งที่กินยังมีอาการหน้าแดง ตัวแดง อยู่หรือไม่? หากตัวแดงในครั้งแรก และจางลงเรื่อยๆ จนไม่มีอาการแดงแล้ว แสดงว่า ร่างกายเริ่มติดเหล้า ซึ่งก็ไม่ใช่ผลดี เพราะในอนาคตก็ยังมีความเสี่ยงโรคต่างๆ เช่น ตับแข็ง พิษสุราเรื้อรัง ฯลฯ รวมถึง มะเร็งหลอดอาหาร

อันตรายของอาการแพ้แอลกอฮอล์

ข้อควรระวังของคนที่แพ้แอลกอฮอล์ คือไม่ควรทานเหล้ามาก เพราะอาจจะเกิดความเสี่ยงเป็นโรคได้หลายชนิด เช่น ความดันโลหิตสูง โรคที่เกีย่วกับระบบทางเดินอาหาร ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ฯลฯ รวมถึงมะเร็งหลอดอาหารด้วย

มีงานวิจัยพบว่า คนที่มีอาการแพ้แอลกอฮอล์ หรือขาดเอนไซม์ย่อยสลายแอลกอฮอล์ ALDH2 นี้ หากดื่มเบียร์เพียงวันละ 2 กระป๋อง ก็อาจเกิดความเสี่ยงเป็น มะเร็งหลอดอาหาร มากกว่าคนทั่วไปถึง 6-10 เท่า! เลยทีเดียว แต่หากเราสามารถควบคุม หรือลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ลงได้ ก็สามารถลดความเสี่ยงการเกิด มะเร็งหลอดอาหารได้ถึง 53%

อาการ แพ้แอลกอฮอล์

บทความใกล้เคียง น่าอ่าน!

กรดไหลย้อน (GERD) แก้ก่อนสาย ภัยเงียบเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหาร!

กลับสู่สารบัญ

แพ้แอลกอฮอล์ ( Alcohol flush Reaction ) รักษาอย่างไร?

ในปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้รักษาอาการแพ้แอลกอฮอล์นี้โดยตรง บางคนใช้ยาที่รักษา โรคกรดไหลย้อน แทน ซึ่งมีทั้งได้ผลและไม่ได้ผลกับผู้ป่วย เพราะยานี้เป็นเพียงแค่การปกปิดอาการไว้ ไม่ใช้ยารักษาจริงๆ แต่ปัจจุบันยาดังกล่าวได้ถูก อ.ย เรียกคืนแล้ว เนื่องจากเสี่ยงกับการเป็นมะเร็ง

ในขณะเดียวกันมีคนบางกลุ่มใช้ยาที่มีสารควบคุมฮิสตามีน 2 เพื่อช่วยให้หายจากอาการเมา แต่จริงๆ แล้วยาตัวนี้ไม่ได้ช่วยทำให้หายเมาแต่ทำให้เมาเร็วขึ้นต่างหาก อีกทั้งยังทำให้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงกว่าปกติ อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งผิวหนัง อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีอีกกรณีคือ แพทย์จะจ่ายยาจำพวกเอพิเนฟรีน ที่มาในรูปแบบปากกาฉีดยาแบบพกพาให้ผู้ป่วย เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินหากผู้ป่วยเกิดอาการ และผู้ที่ใช้ยานี้จะต้องได้รับการจ่ายยาและเรียนรู้วิธีการฉีดจากแพทย์ก่อนเท่านั้น หลังจากการฉีดยาผู้ป่วยต้องรีบพบแพทย์ทันที เพื่อให้แพทย์ได้ทำการวินิจฉัยและรักษาอาการที่เกิดขึ้นต่อไป

ลดความเสี่ยง มะเร็งหลอดอาหาร

หากรู้ว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่เกิดเป็น มะเร็งหลอดอาหาร ต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรค .. เช่น

  1. ลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
  2. ไม่สูบบุหรี่
  3. รับประทานผักและผลไม้ที่มีประโยชน์
  4. ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่ร้อนจัดจนเกิดไป
  5. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อย่าปล่อยให้ อ้วน หรือน้ำหนักเกิน

อาการแพ้แอลกอฮอล์ ที่ทำให้เกิดอาการต่างๆ เหล่านั้น เกิดจากการที่เอนไซม์ในตับทำงานบกพร่อง หรือขาดเอมไซม์นี้ไป ทำให้ร่างกายนั้นไม่สามารถขับสารพิษหรือแอลกอฮอล์ออกไปจากร่างกายได้ ซึ่งถ้าหากรู้ตัวว่ามีอาการดังกล่าวนี้ก็ควรจะลดปริมาณในการดื่มแอลกอฮอล์ลง และหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพให้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อลดและป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ที่จะเกิดตามมาอีกด้วย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ การใช้งานเว็บไซต์นี้แสดงว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า