ไทยเป็นประเทศแรกๆ ที่พบเชื้อโควิด-19 โดยเริ่มพบครั้งแรกเมื่อ 12 มกราคม 2563 และกลายเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดในโลกนอกประเทศจีน (ตอนนั้นเจอเพียง 10 คน) และเคยมียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่พุ่งถึงหลักร้อยคนต่อวัน แต่กลับมียอดผู้ติดเชื้อลดลงอย่างรวดเร็ว และมียอดผู้เสียชีวิตที่น้อยมากเมื่อเทียบกับหลายประเทศ สมกับเป็นประเทศที่มีดัชนีความมั่นคงด้านสุขภาพที่อยู่อันดับ 6 ของโลกและเป็นอันดับ 1 ของเอเชียในปีที่ผ่านมาก และเป็นหนึ่งในประเทศอันดับต้นๆ ที่น่าเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด 19 ดีขึ้น
เมื่อปลายปีที่ผ่านมา John Hopkins University และองค์กร Nuclear Threat Initiative ได้เผยข้อมูลการจัดอันดับ 2019 Global Health Security Index ของ 195 ประเทศทั่วโลก โดยพิจารณาการชี้วัด 6 ด้านได้แก่
- การป้องกันโรค อันดับ 3 ของโลก
- ความสามารถในการตรวจจับโรค และรายงานที่รวดเร็ว อันดับ 15 ของโลก
- การตอบโต้ และบรรเทาผลกระทบของโรคระบาดอย่างรวดเร็ว อันดับ 5 ของโลก
- มีระบบสุขภาพที่เข้มแข็ง และมั่นคง อันดับ 2 ของโลก
- ความมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพของประเทศ มีแผนงบประมาณด้านป้องกันควบคุมโรค และดำเนินงานตามแนวปฏิบัติสากล อันดับ 12 ของโลก
- ความเสี่ยงต่อภัยคุกคามด้านชีวภาพ อันดับ 93 ของโลก
ส่งผลให้ประเทศไทย มีคะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 73.2 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 6 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย
เทียบกับประเทศอื่นใน 10 อันดับแรก
อันดับ 1 สหรัฐอเมริกา (83.5 คะแนน)
อันดับ 2 สหราชอาณาจักร (77.9 คะแนน)
อันดับ 3 เนเธอร์แลนด์ (75.6 คะแนน)
อันดับ 4 ออสเตรเลีย (75.5 คะแนน)
อันดับ 5 แคนาดา (75.3 คะแนน)
อันดับ 6 ไทย (73.2 คะแนน)
อันดับ 7 สวีเดน (72.1 คะแนน)
อันดับ 8 เดนมาร์ก (70.4 คะแนน)
อันดับ 9 เกาหลีใต้ (70.2 คะแนน)
อันดับ 10 ฟินแลนด์ (68.7 คะแนน)
ถึงคะแนนรวมจะอยู่ในเกณฑ์เพียงอันดับ 6 แต่เมื่อพบสถานการณ์จริง ยอดผู้ติดเชื้อ และ ผู้เสียชีวิตจาก Covid-19 กลับน้อยที่สุด จนสมควรจะได้อันดับ 1 มากกว่า
ผลจาการรับมือจัดการปัญหา โควิด-19 ได้ดี ทำให้ผู้นำระดับประเทศและสื่อต่างๆ พากันชื่นชมคนไทยตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา เช่น ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ที่แถลงข่าวชื่นชมไทยเป็นที่ 1 ของเอเชีย และติดอันดับ TOP 10 ในการรับมือ, องค์กร WHO ชื่นชมกระทรวงสาธารณสุขของไทยสามารถควบคุมปัญหาได้ดี, นายจอห์น แมคอาร์เธอร์ ผอ.ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อสหรัฐ หรือ ซีดีซี ประจำประเทศไทย ชมการทำงานของกระทรวงสาธารณสุขไทยมีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19, ส.ส.ในสภาอังกฤษ ยกย่องนโยบายของรัฐบาลไทยรับมือกับสถานการณ์ แล้วยังมีสื่ออีกหลายประเทศที่ชื่นชมไทยจากการรับมือปัญหาโควิด-19
สาเหตุหลายประการที่น่าเชื่อว่า ทำไมไทยถึงควบคุม COVID19 ได้ดี
- ระบบสาธารณสุข ถูกออกแบบมารับมือโรคติดเชื้อตามฤดูกาล (seasonal infectious disease) เช่นไข้เลือดออก (dengue hemorrhagic fever) ไข้หวัดใหญ่หลายสายพันธุ์ จนมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอาสาสมัคร กว่า 1 ล้านคนกระจายทั่วประเทศสำหรับการทำ tracing and tracking ผู้ติดเชื้อได้ถึงระดับทุกหมู่บ้าน
- การตื่นตัวให้เริ่มมีการคัดกรองไข้ ที่สนามบิน ตั้งแต่วัที่ 3 มกราคม 2020 ก่อนที่จะมีการประกาศว่า COVID19 ติดต่อจากคนสู่คน
- อากาศร้อน ผู้คนไอ จาม ขากเสลดน้อย รวมถึงเชื้อในน้ำลายน่าจะตายเร็วในภาวะนอกอาคาร (outdoor)
- วัฒนธรรมไทย ที่ไม่นิยมทักทายด้วยการ กอด จูบ จับมือ รวมถึงการไว้ตัวระหว่างหญิงชาย ที่มีระยะห่างกันโดยธรรมชาติ
- งานวิจัยบางแห่ง ระบุว่าเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนวัณโรณหรือ BCG ที่พบว่าประเทศที่มีการฉีดเยอะ ให้กับประชากรทุกคน จะพบการระบาดต่ำและอัตราตายต่ำ
- ความรุนแรงของมลพิษอากาศ (air pollution) pm2.5 ตอนปลายปี 2019 ต่อเนื่องถึงต้นปี 2020 ทำให้คนส่วนใหญ่ใส่แมสก์เพื่อลดมลพิษ ซึ่งเป็นช่วงประจวบเหมาะกับการเริ่มต้นระบาดโควิดพอดี จึงทำให้ลดการระบาดลงมาก
เชื่อว่าสถานการณ์โควิด-19 น่าจะอยู่กับเราอีกอีกหลายปี และอาจกลับมาระบาดได้ทุกเมื่อ จนกลายเป็นเรื่องปกติในการเดินทาง การรับมือกับปัญหาโรคระบาดจะกลายเป็นหนึ่งในปัจจัยในการเลือกท่องเที่ยวมากขึ้น ดีกว่าการเสี่ยงกับประเทศที่รับมือปัญหาแย่ ประเทศไทยจึงถือเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าเที่ยวมากที่สุด ทั้งก่อนและในโลกหลังโควิด-19
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
Biography