ปัญหาสิวเป็นปัญหาโลกแตกของใครหลายๆ คน เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาด้านอื่นๆ บนผิวหนัง อย่างที่ทราบกันดีว่าสิวเกิดจากการอักเสบของต่อมไขมัน (sebaceous) เพราะฉะนั้นมักพบในบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก และพบสิวได้หลายระยะทั้งสิวอุดตัน หรือ สิวอักเสบเป็นต้น การรักษานั้นในแบบที่ได้ผลต้องรักษาสิวเดิมควบคู่กับการตัดวงจรสิวที่จะเกิดใหม่โดย รักษาตามความรุนแรงของสิว
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิว
มีหลายอย่างที่ดูคล้ายสิวแต่ไม่ใช่สิวอย่างเช่น สิวผดซึ่งคือผื่นเม็ดเล็ก ๆ สีแดงมักเห่อขึ้นมาช่วงอากาศร้อน ซึ่งจะทำการรักษาคนละแบบกับการรักษาสิว และต้องทำความเข้าใจเพิ่มขึ้นว่าการรักษาสามารถทำให้สิวเห่อได้เนื่องจากผลิตภัณฑ์รักษาสิวส่วนมากจะเร่งการผลัดผิวทำให้การอุดตันใต้ผิวผุดออกมาเร็วขึ้น และช่วงเวลาของการเกิดสิวไม่ได้เกิดขึ้นภายใน 1-2 วัน มักใช้เวลาก่อตัวเป็นสัปดาห์เป็นต้น
กลไกลการเกิดสิวมีได้ 2 ปัจจัย
1.ปัจจัยภายใน
คือระดับฮอร์โมนในร่างกาย กรรมพันธุ์ หรือการอักเสบเป็นต้น ทำให้เกิดภาวะต่างๆ ตามมา เช่น
การแบ่งและผลัดผิวหนังผิดปกติ (Hyperkeratosis)
เกิดจากเซลล์ของผิวหนังถูกสร้างมากเกินทำให้ผิวหนังเกาะแน่นไม่ยอมหลุดออกไปจนเกิดการอุดตันของรูขุมขน วิธีแก้คือต้องทำการผลัดเซลล์ผิวเหมือนเป็นการล้างท่อให้ระบายออกนั่นเอง
ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากเกิน (Seborrhea)
เกิดจากการอุดตันเล็กๆ ที่มองไม่เห็น เช่น ขับน้ำมันออกไม่ทันหรือน้ำมันคุณภาพแย่ลง หนืดเหนียว ติดอยู่ในท่อรูขุมขน วิธีแก้ ต้องลดการผลิตน้ำมันอาจจะใช้ผลิตภัณฑ์ที่คุมมันเป็นตัวช่วย
2.ปัจจัยภายนอก
เกิดจากปัยจัยอื่นๆ เช่น ยา แสงแดด อาหาร การใช้เครื่องสำอางที่อุดตัน หรือการล้างหน้าแบบผิดวิธี
ประเมินระดับความรุนแรงของสิว
การรักษาสิวที่ดีจะต้องรักษาตามอาการความรุนแรงของสิว โดยมุ่งเน้นไปที่การแก้กลไกของการก่อสิวโดยประเมินความรุนแรงจะดูจาก 2 ปัจจัยหลักๆ คือ ประเมินจากสิวที่มีและประเภทของสิวแต่ละแบบ
สิวแต่ละประเภท
1.สิวอุดตัน
- สิวหัวขาว หรือ หัวปิด ตุ่มนูนจะเล็กเป็นสีขาวหรือสีเนื้อ ใช้ระยะเวลานานกว่าสิวจะหลุด ทำให้เกิดแบคทีเรียสะสมเยอะและจะกลายเป็นสิวอักเสบในอนาคต
- สิวหัวดำ หรือ หัวเปิด ตุ่มนูนตรงจุดจะมีรอยดำลักษณะแข็งๆ เกิดจากการสะสมตัวของ เซลล์คอร์นีโอไซต์ (Corneocyte) และซีบัม (Sebum) ในช่องรูขุมขน ที่ทำให้เกิดการขยายตัวจนช่องรูขุมขนเปิดออก เผยให้เห็นจุดสีเข้มที่อุดตันรูขุมขนอยู่ภายใน
2.สิวอักเสบ
- หัวแดง มีลักษณะแดงเมื่อสัมผัสจะเจ็บ หรือเป็นหนองมักพัฒนาจากการอุดตันและการติดเชื้อ
- ตุ่มแดงเล็ก (papule) เป็นสิวอักเสบที่อาจจะเกิดได้ทั้งจากการติดเชื้อแบคทีเรียผสมกับการอุดตันของรูขุมขน
- ตุ่มหนอง (pustule) มีลักษณะเป็นตุ่มแดงๆบริเวณฐาน และมีจุดสีขาวเหลืองอยู่บริเวณหัวหรือด้านบนของสิว ซึ่งจุดสีขาวเหลือง คือ หนองที่เกิดภายใต้ผิวหนัง
- หัวช้าง (nodules) เกิดจากการอักเสบรุนแรงที่ผิวหนังชั้นหนังแท้ (Dermis) ซึ่งเป็นผิวหนังชั้นที่อยู่ลึกลงไป มีลักษณะไตใหญ่แข็ง อักเสบแดงมาก ไม่มีหัวทำให้สามารถรักษาได้ยากกว่าสิวประเภทอื่นๆ
- ซีสต์ (cysts) มีลักษณะก้อนนูนใหญ่ นิ่มๆ เป็นถุงน้ำใต้ผิวมีหนองเลือด
แนวทางการรักษาสิวเรื้อรัง
แนวทางการรักษาแบ่งเป็น 3 ประเภท
1.ทายา เป็นตัวเลือกแรกในการรักษา เหมาะสำหรับผู้ที่มีสิวไม่อักเสบหรือมีสิวอักเสบเพียงเล็กน้อย นิยมใช้ยาในรูปแบบทา โดยยาทาที่พบบ่อย ได้แก่
- ยาทาที่มีฤทธิ์ผลัดเซลล์ผิว เช่น benzoyl peroxide, adapalene, retinoic acid ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบครีมหรือเจลใช้ทาบางๆ ทั่วหน้า จะทำให้มีสิวเห่อมากขึ้นเล็กน้อยในช่วงแรกที่เริ่มใช้ยา อาจมีผลข้างเคียงคือมีอาการ แสบ ผิวลอก อาการเหล่านี้แก้ไขได้ด้วยการลดความเข้มข้นหรือลดระยะเวลาที่ทา แนะนำให้หลีกเลี่ยงแสงแดด หรือทาผลิตภัณฑ์กันแดดร่วมด้วย
2.กินยา เป็นตัวเลือกของคนที่เป็นสิวระดับปานกลาง หรือ รุนแรง มักมียากินร่วม เช่น
- ยาปฏิชีวนะ มักต้องกินเป็นระยะเวลานานถึงจะมีประสิทธิภาพในการลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียยาปฏิชีวนะเหล่านี้ มีผลอาจทำให้ผิวไวต่อแสง จึงควรใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดร่วมด้วย
- ยารับประทานอื่นๆ มักจะใช้ในผู้ที่มีสิวอักเสบรุนแรงเป็นจำนวนมาก ผลข้างเคียงที่พบได้คือ ปากแห้ง ผมร่วง ผิวแห้ง ผิวไวต่อแสงแดดแนะนำให้หลีกเลี่ยงแสงแดด หรือทาผลิตภัณฑ์กันแดดร่วมด้วย
ก่อนซื้อยาแนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชก่อนเสมอยาบางตัวมีผลข้างเคียงรุนแรงทั้งยาทาและยากิน ต้องประเมินและปรับยาเรื่อยๆ ตามความเหมาะสม และยาบางชนิดยังห้ามใช้ในบุคคลบางประเภทเช่น หญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรควรเลี่ยง
3.การรักษากับคุณหมอ เป็นตัวเลือกที่ตรงจุด ครอบคลุม ลดโอกาสเกิดแผลได้ เลเซอร์ตัวดังเป็นที่นิยมในการรักษาสิวก็จะมีทั้ง
– กดฉีดสิว
– เลเซอร์
– ทรีทเมนต์
– ฉายแสง
ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสิวและดุลยพินิจของแพทย์ บางกรณีอาจจะต้องรักษาร่วมกันทั้ง 3 แบบ เพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
การดูแลผิวหลังรักษาสิว
เมื่อเป็นสิวแล้วเราควรดูแลผิวที่บอบบางให้กลับมาแข็งแรง สามารถได้หลายวิธีทั้งทา มอยเจอร์ไรเซอร์ ทำความสะอาดผิวให้สะอาด หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรด หรือทำเลเซอร์เพื่อผลลัพธ์ที่ตรงจุดและรวดเร็วขึ้น
สำหรับเลเซอร์นั้นมีหลายประเภทที่สามารถเลือกทำได้ระหว่างเป็นสิวหรือหลังเป็นสิวเช่น การทำ E-Matrix ช่วยรักษาหลุมสิวและช่วยกระชับรูขุมขนหรือ Pico Laser
โดยเฉพาะผู้ที่มีแผลสิว หลุมสิวทิ้งไว้ให้ดูต่างหน้า เลเซอร์ตัวนี้จะเข้าไปตัดพังผืดใต้ชั้นผิวหนังและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนช่วยทำให้หลุมสิวตื้นขึ้นตั้งแต่ทำครั้งแรก
บทความที่เกี่ยวข้อง : รักษาหลุมสิว ผิวเรียบเนียน ด้วย Picosecond laser เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด!
ref https://shorturl.asia/ujt64
พญ. รัตตินันท์ ตรีรัตน์ (คุณหมอแต๋ม)
แพทย์ผู้ชำนาญด้านผิวพรรณและเลเซอร์
เกียรตินิยมด้านเวชศาสตร์ความงามจาก American Academy of Aesthetic Medicine
ประสบการณ์มากกว่า 20 ปี