โรคซึมเศร้า และ โรคอ้วน เป็นปัญหาด้านสุขภาพที่มีผลกระทบเป็นวงกว้าง ในต่างประเทศเคยมีการรายงานว่า ทั้งสองโรคสร้างผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของโลก เป็นจำนวนเงินที่สูงกว่า 30 ล้านล้านบาทต่อปี ถึงแม้ว่าทั้งสองโรคดูเหมือนจะไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย แต่การศึกษาทางจีโนมิกส์ได้พบข้อมูลว่าทั้งสองโรคมีความเกี่ยวข้องกัน
ผลงานศึกษาในอดีต ระบุว่าพบว่าบ่อยครั้งที่โรคซึมเศร้าจะพบในกลุ่มคนที่น้ำหนักเกินมาตรฐานและโรคอ้วน แต่ผลงานวิจัยกลุ่มตัวอย่างกลับไม่สามารถเจาะจงได้ว่า โรคอ้วนทำให้เกิดโรคซึมเศร้าหรือไม่ เพราะมีตัวแปรหลากหลายที่ส่งผลต่อโรคซึมเศร้า
ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอ้วน ก่อให้เกิดโรคหลายอย่างตามมา เมื่อเกิดป่วยจากน้ำหนักที่เพิ่ม ส่งผลให้เป็นโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าต้นเหตุมาจากโรคอื่นไม่ได้มาจากความอ้วนโดยตรง
ในขณะที่ นักวิจัยบางกลุ่มได้แสดงความคิดเห็นที่โต้แย้งในทางตรงข้ามว่าโรคซึมเศร้า ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวได้มากกว่า
ทำให้ ไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนระหว่างความสัมพันธ์ของสองโรคนี้
- โรคอ้วนอาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ง่ายกว่าคนปกติ
- คนที่ซึมเศร้ามีแนวโน้มที่จะทำให้ไม่อยากออกกำลังกายจนน้ำหนักตัวเพิ่มมากเกินมาตรฐานได้
งานวิจัยระหว่างโรคอ้วนและ โรคซึมเศร้า ( Depression and Obesity )
จากงานวิจัยระหว่างกลุ่มนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอ็กเซเตอร์ ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยในรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ได้เผยแพร่วารสารทางการแพทย์เกี่ยวกับทางระบาดวิทยาในปี 2018
ผู้เขียนงานวิจัย ดร. เจส ไทเรลล์ ได้กล่าวถึง ปัญหาใหญ่จากโรคอ้วนและโรคซึมเศร้าที่ส่งต่อสุขภาพและการใช้ชีวิต รวมถึงค่าใช้จ่ายในการรักษา ซึ่งได้มีการศึกษาสรุปได้ว่าทั้งโรคอ้วนและโรคซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กันจริง แต่ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า โรคอ้วนทำให้เกิดโรค ซึมเศร้า หรือ โรคซึมเศร้าทำให้เกิดโรคอ้วน รวมถึงปัญหาสุขภาพอาจเกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้ามากกว่า
นักวิจัยได้ใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมและทางการแพทย์จากผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 48,000 คน เทียบกับกลุ่มควบคุมกว่า 290,000 คน
พบว่ากลุ่มที่มีค่าดัชนีมวลกายสูงกว่าที่กำหนด โดยเฉพาะผู้หญิง จะมี 21% ที่มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้า ส่วนผู้ชายจะมีเพียง 8% เท่านั้น แล้วยังมีตัวแปรอีกหลายอย่างที่มีอิทธิพล เช่น ตำแหน่งทางเศรษฐกิจและสังคม, ดื่มแอลกอฮอล์, สูบบุหรี่ และสภาพร่างกาย
หลังจากวิเคราะห์ในหลายขั้นตอน ดร. เจส ไทเรลล์ ได้ข้อสรุปว่า “การเป็นโรคอ้วนส่งผลต่อสภาพจิตใจ ซึ่งทำให้เกิด ภาวะซึมเศร้า ได้”
อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างโรคอ้วนกับ โรคซึมเศร้า นั้น ยังคงเป็นเรื่องซับซ้อนและยังหาข้อสรุปที่ชัดเจนไม่ได้ จึงมีการวิจัยเพื่อศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างสองโรคนี้ต่อไป
แก้ปัญหาด้วยการลดน้ำหนัก
ในคนอ้วนที่มี ภาวะซึมเศร้า ร่วมด้วย การลดน้ำหนักลงจะทำให้อาการซึมเศร้าดีขึ้นอย่างชัดเจน ผู้ป่วยหลายรายสามารถหยุดยา มีความสุข กับรูปร่างใหม่ กล้าที่จะออกบ้านมากขึ้น จึงส่งผลต่อการปรับตัวปรับอารมณ์เศร้าให้ดีขึ้น
ดังนั้น การลดน้ำหนัก ไม่ว่าจะด้วยวิธีออกกำลังกายหรือวิธีอื่นๆ เพื่อให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จึงเป็นวิธีบรรเทาโรค ซึมเศร้า ที่ได้ผลมาก
บทความที่เกี่ยวข้อง
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
Biography