กลืนบอลลูนลดน้ำหนัก VS ใส่บอลลูนลดน้ำหนัก ต่างกันอย่างไร?

กลืนบอลลูน

สารบัญ

กลืนบอลลูนลดน้ำหนัก VS ใส่บอลลูนลดน้ำหนัก ต่างกันอย่างไร?

ลดน้ำหนักแบบไม่ต้องผ่าตัด เปรียบเทียบระหว่าง กลืนบอลลูนแบบไม่ส่องกล้อง กับ ใส่บอลลูนแบบส่องกล้อง วิธีใดปลอดภัยมากกว่ากัน?

ในทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับร่างกาย อันดับแรกที่เราควรคำนึงถึง คือ เรื่องของความปลอดภัย เช่นเดียวกับการ ลดน้ำหนักแบบไม่ต้องผ่าตัด หลายคนอาจสังสัยว่าระหว่าง กลืนบอลลูนแบบไม่ส่องกล้อง กับ ใส่บอลลูนแบบส่องกล้อง ควรเลือกวิธีการใด เพื่อเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจนนำไปสู่การตัดสินใจเลือกสิ่งที่ปลอดภัยให้แก่ตนเอง 

ดังนั้นในบทความนี้ทาง รัตตินันท์ ขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ การกลืนบอลลูนลดน้ำหนัก แตกต่างกับ การใส่บอลลูนลดน้ำหนักอย่างไร

การ กลืนบอลลูนลดน้ำหนัก แบบไม่ส่องกล้อง คือ

การกลืนบอลลูน (Allurion Balloon) คือ การลดน้ำหนักแบบไม่ต้องผ่าตัด มีวิธีให้ผู้เข้ารับการรักษากลืนบอลลูนลงไปในกระเพาะเอง โดยไม่ต้องวางยาสลบและไม่ต้องส่องกล้อง หลังจากนั้นแพทย์จะทำการเติมน้ำเกลือลงไปเพื่อให้บอลลูนขยายตัว เหมาะสำหรับผู้ที่กลัวเจ็บ กลัวการส่องกล้อง หรือกลัวการผ่าตัด ซึ่งบอลลูนจะอยู่ในร่างกายได้ประมาณ 4 เดือน และหลุดออกมาผ่านการขับถ่าย 

แต่อย่างไรก็ตาม การกลืนบอลลูนลดน้ำหนักนั้นไม่ได้มีเพียงแต่ข้อดีเท่านั้น เพราะการกลืนบอลลูนยังมีข้อจำกัดอีกมากมาย เช่น ระยะเวลาของวิธีการกลืนบอลลูนจะอยู่ได้สั้นกว่าวิธีการส่องกล้อง อีกทั้งระยะเวลาใช้งานยังสั้นกว่าบอลลูนประเภทอื่น การกลืนบอลลูนจึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักปริมาณปานกลาง

ประโยชน์ของการกลืนบอลลูนลดน้ำหนัก แบบไม่ส่องกล้อง

  • ไม่ต้องผ่าตัด
  • ไม่ต้องส่องกล้อง
  • ไม่ต้องวางยาสลบ
  • ระยะเวลาการรักษารวดเร็ว
  • ย่อยสลายผ่านการขับถ่าย

ข้อจำกัดของการกลืนบอลลูนลดน้ำหนัก แบบไม่ส่องกล้อง

  • กลืนบอลลูน (Allurion Balloon) อยู่ได้เพียง 4 เดือน หรืออาจจะสั้นกว่านั้น
  • ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักปริมาณมาก
  • บอลลูนลดขนาดตัวไว จึงทำให้การลดน้ำหนักไม่เป็นไปตามที่หวังไว้
  • การสลายตัวของบอลลูนอาจเกิดการอุดตันในลำไส้
ขั้นตอนกลืนบอลลูน แบบไม่ส่องกล้อง

ขั้นตอนการกลืนบอลลูนลดน้ำหนัก แบบไม่ส่องกล้อง

Upload Image...

1. การเตรียมตัวก่อนกลืนบอลลูน

ปรึกษาแพทย์และตรวจสุขภาพ ซึ่งแพทย์จะประเมินว่าสามารถใช้บอลลูนลดน้ำหนักได้หรือไม่ หลังจากนั้นจะทำการตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น ดัชนีมวลกาย (BMI) การทำงานของกระเพาะอาหาร ประวัติสุขภาพ

หลังจากนั้นให้ผู้เข้ารับการรักษาเตรียมตัวก่อนทำ ด้วยการงดอาหารและน้ำ อย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการรักษา ซึ่งอาจจะได้รับยาเพื่อช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลอดอาหารก่อนกลืนบอลลูน

2. ขั้นตอนการกลืนบอลลูน (ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที)

กลืนแคปซูลบอลลูน (Allurion Balloon) บอลลูนมาในรูปแบบ แคปซูลเล็ก ๆ ติดกับสาย catheter โดยผู้เข้ารับการรักษาจะกลืนแคปซูลนี้ พร้อมน้ำเปล่า และเมื่อแคปซูลบอลลูนถึงกระเพาะอาหาร แพทย์จะใช้ X-ray ตรวจสอบตำแหน่งให้แน่ใจ และทำการเติมน้ำเข้าไปในบอลลูนผ่านสาย catheter เมื่อตำแหน่งถูกต้อง แพทย์จะเติม น้ำเกลือ (ประมาณ 550 ml) เข้าไปในบอลลูน เพื่อให้บอลลูนพองตัวในกระเพาะอาหาร หลังจากนั้นจะทำการเอ็กซเรย์ตรวจซ้ำเพื่อยืนยันว่า บอลลูนอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง จากนั้นจึงดึงสาย catheter ออก

Upload Image...
Upload Image...

3. หลังกลืนบอลลูน การปรับตัวและการดูแลตนเอง

ในช่วง 3-5 วันแรก ผู้เข้ารับการรักษาอาจมีอาการ คลื่นไส้ ปวดเกร็งท้อง หรืออาเจียน เนื่องจากร่างกายปรับตัวกับบอลลูน โดยที่แพทย์อาจให้ยา ลดกรดและยาแก้อาเจียน เพื่อลดอาการข้างเคียง ซึ่งทางเราแนะนำให้เริ่มรับประทาน อาหารเหลว ก่อนเปลี่ยนเป็นอาหารปกติ

และหลังจากนั้นให้ผู้เข้ารับการรักษาปรับพฤติกรรมการกิน ซึ่งควรรับประทานอาหารในปริมาณน้อยลง เพราะบอลลูนจะช่วยทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง ไขมันสูง และเครื่องดื่มอัดลม

แพทย์จะนัดติดตามผลทุก 2-4 สัปดาห์ และทำการเข้าพบนักโภชนาการ เพื่อปรับแผนการรับประทานอาหารให้การลดน้ำหนักได้ผลเหมาะสมแก่ผู้เข้ารับการรักษา

4. การสลายของบอลลูนแบบกลืน

บอลลูนจะย่อยสลายเองโดยอัตโนมัติ โดยที่บอลลูนจะปล่อยของเหลวออกมาเองหลังจากผ่านไป ประมาณ 4 เดือน หลังจากนั้นบอลลูนจะแฟบลง ร่างกายจะขับออกทางระบบขับถ่ายตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องผ่าตัดหรือส่องกล้อง

หลังจากบอลลูนหลุดออก แพทย์จะแนะนำแนวทาง ควบคุมน้ำหนักต่อไปหลังบอลลูนหลุด ซึ่งควรรักษา พฤติกรรมการกินและการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันน้ำหนักกลับมา

การ ใส่บอลลูนลดน้ำหนัก แบบส่องกล้อง คือ

การใส่บอลลูน (Orbera Balloon) คือ การลดน้ำหนักแบบไม่ต้องผ่าตัด โดยมีวิธีการเข้ารับการรักษาแบบส่องกล้อง ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เข้ารับการรักษากลั้วปากด้วยยาชาและมีการให้ยานอนหลับ (ไม่ใช่ยาสลบ) เพื่อช่วยคลายกังวลและไม่รู้สึกเจ็บระหว่างแพทย์ให้การรักษา หลังจากนั้นแพทย์จะทำการส่องกล้องลงไปทางหลอดอาหาร จนถึงกระเพาะแล้วนำบอลลูนลงไปวางในตำแหน่งที่เหมาะสม และใส่น้ำเกลือลงไปในบอลลูนเพื่อทำการขยายกระเพาะ โดยปกติจะใส่น้ำเกลือประมาณ 350-500 CC 

โดยข้อดีของการใส่บอลลูนแบบส่องกล้อง คือ มีประสิทธิภาพสูง แพทย์สามารถประเมินอาการและตำแหน่งของบอลลูน ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อร่างกายของผู้เข้ารับการรักษาสูง อีกทั้งยังมีระยะเวลาการใช้งานนานถึง 12 เดือน และเป็นบอลลูน (Orbera Balloon) ที่ได้รับการรับรองจาก US FDA และ Thai FDA

การใส่บอลลูกลดน้ำหนักโดยไม่ต้องผ่าตัด เหมาะสำหรับ ผู้ที่พยายามลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่นแต่ไม่สำเร็จและต้องการหลีกเลี่ยงการผ่าตัด

ประโยชน์ของการใส่บอลลูนลดน้ำหนัก แบบส่องกล้อง

  • ช่วยลดน้ำหนักได้ 10-15% ของน้ำหนักตัวภายใน 6 เดือน
  • ไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีแผล ไม่ต้องพักฟื้นนาน
  • ช่วยปรับพฤติกรรมการกิน ลดความอยากอาหาร
  • ช่วยลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง
  • เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักก่อนการผ่าตัดกระเพาะอาหาร
  • มีงานวิจัยรองรับ และได้รับการรับรองจาก US FDA

ข้อจำกัดของการกลืนบอลลูนลดน้ำหนัก แบบส่องกล้อง

  • ต้องนำออกเมื่อครบ 1 ปี
  • อาจมีผลข้างเคียงช่วงแรก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
  • ห้ามใช้ในผู้ที่มีโรคกระเพาะรุนแรง หรือเคยผ่าตัดกระเพาะมาก่อน
  • ต้องปรับพฤติกรรมการกิน หากไม่มีการปรับอาจทำให้น้ำหนักกลับมาเพิ่มขึ้น
  • ไม่สามารถปรับขนาดบอลลูนได้

ขั้นตอนการใส่บอลลูนลดน้ำหนัก แบบส่องกล้อง

1. การเตรียมตัวก่อนใส่บอลลูน

เข้ารับปรึกษาแพทย์และประเมินสุขภาพ เพื่อตรวจสอบว่าผู้เข้ารับบริการเหมาะสมกับการใส่บอลลูนหรือไม่ เมื่อตรวจร่างกายและซักประวัติสุขภาพ เช่น BMI โรคประจำตัว การทำงานของกระเพาะอาหารเสร็จเรียบร้อย พร้อมแจ้งข้อห้ามการใช้บอลลูนสำหรับผู้ที่มี โรคกระเพาะรุนแรง กรดไหลย้อนรุนแรง หรือเคยผ่าตัดกระเพาะอาหารมาก่อน

หลังจากนั้นจะให้ผู้เข้ารับการรักษางดอาหาร 8-12 ชั่วโมง และงดน้ำ 6 ชั่วโมงก่อนใส่บอลลูนเพื่อให้กระเพาะอาหารว่าง ลดความเสี่ยงการสำลักในระหว่างแพทย์ทำการรักษา

Upload Image...
Upload Image...

2. ขั้นตอนการใส่บอลลูน (ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที)

แพทย์จะทำการให้ยาคลายเครียด หรือยาชาเฉพาะที่ เพื่อให้ผู้เข้ารับการรักษาผ่อนคลาย และลดอาการไม่สบายตัวระหว่างทำ ซึ่งจะไม่ใช้ยาสลบ และสามารถกลับบ้านได้ภายในวันเดียว

หลังจากนั้นจะทำการส่องกล้องเข้าไปในกระเพาะอาหาร โดยที่แพทย์จะใช้กล้องส่องตรวจภายในกระเพาะอาหารก่อน เป็นการตรวจสอบว่ามีความผิดปกติ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร หรือการอักเสบหรือไม่

และเมื่อทำการใส่บอลลูนเข้าไปในกระเพาะอาหาร บอลลูนจะอยู่ในลักษณะ แฟบ (ไม่มีของเหลว) จะถูกใส่ผ่านกล้องส่องกระเพาะ เมื่อบอลลูนเข้าไปถึงตำแหน่งที่เหมาะสมแล้ว แพทย์จะเติมของเหลวเข้าไป

แพทย์จะทำการเติมน้ำเกลือพิเศษเข้าไปในบอลลูน โดยมีปริมาตรของเหลวที่เติมเข้าไปในบอลลูนประมาณ 400-700 มิลลิลิตร ซึ่งน้ำเกลือจะมี สารสีฟ้า Methylene Blue ผสมอยู่ (หากบอลลูนรั่ว ผู้ป่วยจะสังเกตได้จากสีปัสสาวะที่เปลี่ยนเป็นสีเขียว-ฟ้า)

ภายหลังเมื่อแพทย์ตรวจสอบบอลลูนให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องและจะค่อย ๆ นำกล้องออก

3. หลังใส่บอลลูน การปรับตัวและการดูแลตนเอง

ในช่วง 3-5 วันแรก อาจมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเกร็งท้อง หรือรู้สึกแน่นท้อง โดยแพทย์อาจให้ยา ลดกรดและยาแก้อาเจียน เพื่อลดผลข้างเคียง หลังจากนั้นให้ผู้เข้ารับการรักษาเริ่มรับประทาน อาหารเหลวและค่อย ๆ ปรับเป็นอาหารอ่อน ก่อนเข้าสู่การกินอาหารปกติ

ซึ่งการลดน้ำหนักแบบใส่บอลลูน ต้องมีการปรับพฤติกรรมการกิน ควรรับประทานอาหารทีละน้อย เน้นโปรตีน ผัก และหลีกเลี่ยงของมัน ของหวาน น้ำอัดลม และหลีกเลี่ยง การกินเร็ว กินมากเกินไป หรือเคี้ยวไม่ละเอียด เพื่อป้องกันอาการอึดอัด

Upload Image...

4. การนำบอลลูนออกจากกระเพาะอาหาร

การนำบอลลูนออกเมื่อครบ 1 ปี เพราะถ้าหากปล่อยไว้นานเกินไป บอลลูนอาจเสื่อมสภาพและเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน โดยวิธีการนำบอลลูนออก (ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที) มีดังนี้

  1. ให้ยากล่อมประสาทหรือยาชาเฉพาะที่
  2. ใช้กล้องส่องเข้าไปในกระเพาะ
  3. ใช้เครื่องมือดูดของเหลวออกจากบอลลูน
  4. ค่อย ๆ นำบอลลูนที่แฟบออกทางปาก

หลังจากนั้นติดตามผลกับแพทย์และนักโภชนาการ ซึ่งแพทย์จะนัดตรวจเป็นระยะ เช่น 2 สัปดาห์, 1 เดือน, 3 เดือน และ 6 เดือน และมีการแนะนำให้มีโปรแกรม ออกกำลังกายและโภชนาการที่เหมาะสม เพื่อให้การลดน้ำหนักมีประสิทธิภาพและระยะยาว

เปรียบเทียบ กลืนบอลลูน VS ใส่บอลลูน 

หัวข้อ กลืนบอลลูน ใส่บอลลูน
วิธีการใส่ กลืนแคปซูลบอลลูน ส่องกล้องและใส่ทางปาก
การใช้ยาสลบ ❌ ไม่ต้องใช้ ✅ ต้องใช้ยาชาและยานอนหลับ
ระยะเวลาหัตถการ ประมาณ 15 นาที ประมาณ 20-30 นาที
ระยะเวลาบอลลูนอยู่ในร่างกาย ประมาณ 4 เดือน ประมาณ 12 เดือน
การนำออก ❌ ไม่ต้อง บอลลูนสลายเอง ✅ ต้องส่องกล้องเพื่อนำออกทางปาก
เหมาะกับใคร คนที่ต้องการลดน้ำหนักเร็ว ไม่อยากส่องกล้อง คนที่ต้องการลดน้ำหนักระยะยาว

การดูแลตัวเองหลังเข้ารับการรักษา

อาหารที่ควรรับประทาน ช่วง 3-5 วันแรก

ในช่วง 3-5 วันแรก หลังกลืนหรือใส่บอลลูน เพื่อลดอาการคลื่นไส้และช่วยให้กระเพาะอาหารปรับตัว

  • น้ำเปล่า (จิบน้ำบ่อย ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ)
  • น้ำซุปใส (ซุปไก่, ซุปผัก, น้ำซุปกระดูก)
  • เครื่องดื่มเกลือแร่หรือน้ำผลไม้เจือจาง (เช่น น้ำแอปเปิ้ลแบบใส)
  • โยเกิร์ตรสธรรมชาติแบบเหลว หรือ นมไขมันต่ำ
  • สมูทตี้ผลไม้แบบใส ไม่มีน้ำตาล (แนะนำผสมนมอัลมอนด์หรือโยเกิร์ต)
  • โปรตีนเชค หรือ นมโปรตีนสูง (เพื่อรักษามวลกล้ามเนื้อ)

อาหารที่ไม่ควรรับประทาน ช่วง 3-5 วันแรก

  • นมวัวไขมันเต็ม (อาจทำให้ท้องอืด)
  • เครื่องดื่มคาเฟอีน เช่น กาแฟและชา (อาจกระตุ้นกรดในกระเพาะ)
  • เครื่องดื่มอัดลม แอลกอฮอล์ น้ำหวาน

คำแนะนำเพิ่มเติม : ให้ผู้เข้ารับการรักษาดื่มน้ำครั้งละ 1-2 อึกช้า ๆ ไม่ควรดื่มรวดเดียว และหลีกเลี่ยง ของร้อนจัดหรือเย็นจัด เพื่อลดอาการระคายเคืองกระเพาะ

อาหารที่ควรรับประทาน ช่วง 5-14 วัน

ในช่วงวันที่ 5-14 ควรทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย เพื่อเป็นการเพิ่มเนื้อสัมผัสของอาหารโดยไม่กดดันกระเพาะอาหาร

  • ไข่คน หรือไข่ต้มบด
  • โจ๊กข้าวโอ๊ต ข้าวต้มขาว หรือข้าวต้มข้าวกล้อง
  • เนื้อไก่ ต้มสุกและบดละเอียด
  • ปลานึ่ง หรือปลาอบ ไม่ทอด
  • เต้าหู้ขาวนิ่ม หรือซุปเต้าหู้
  • มันบด ฟักทองบด หรือมันหวานบด
  • โยเกิร์ตไขมันต่ำ หรือกรีกโยเกิร์ต
  • กล้วยบด หรืออะโวคาโดบด

อาหารที่ไม่ควรรับประทาน ช่วง 5-14 วัน

  • ขนมปัง เบเกอรี่ (ย่อยยากและอาจทำให้แน่นท้อง)
  • เนื้อสัตว์เหนียว เช่น เนื้อวัวติดมัน หรือเนื้อหมูติดมัน
  • ผักสดที่มีเส้นใยแข็ง เช่น กะหล่ำปลี หรือบรอกโคลี (ควรต้มให้เปื่อยก่อนกิน)
  • ของทอด น้ำมันเยอะ ของหวาน

คำแนะนำเพิ่มเติม : ให้ผู้เข้ารับการรักษาเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน และกินทีละน้อย แบ่งเป็นมื้อเล็ก ๆ วันละ 5-6 มื้อ

อาหารที่ควรรับประทาน ช่วง 15 วัน จนถึงปกติ

ในช่วง 15 วันไปจนถึงการรับประทานอาหารปกติ ให้ผู้เข้ารับการรักษาปรับอาหารให้สมดุลและช่วยลดน้ำหนักระยะยาว

  • โปรตีนไขมันต่ำ เช่น ไก่ต้ม ปลา เต้าหู้ ไข่ อกไก่ เป็นต้น
  • คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง มันหวาน ข้าวโอ๊ต เป็นต้น
  • ผักผลไม้ที่มีกากใยต่ำ-ปานกลาง เช่น ฟักทอง แครอท แตงกวา กล้วย เป็นต้น
  • ไขมันดี เช่น น้ำมันมะกอก อะโวคาโด ถั่วต่าง ๆ เป็นต้น
  • นมไขมันต่ำ หรือโปรตีนเชค

อาหารที่ไม่ควรรับประทาน ช่วง 15 วัน จนถึงปกติ

  • ของทอด อาหารมัน (อาจทำให้แน่นท้องและเพิ่มแคลอรี่)
  • ขนมหวาน น้ำตาลสูง
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และน้ำอัดลม

คำแนะนำเพิ่มเติม : ให้ผู้เข้ารับการรักษากิน อาหารปริมาณน้อยในแต่ละมื้อ เพื่อป้องกันอาการแน่นท้อง เน้นโปรตีนและผักเป็นหลัก ลดคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี และดื่มน้ำมาก ๆ แต่ไม่ควรดื่มน้ำพร้อมมื้ออาหาร (ดื่มก่อนหรือหลังมื้ออาหาร 30 นาที)

คำแนะนำเพิ่มเติมหลังเข้ารับการรักษา

  • แพทย์จะแนะนำการปรับเปลี่ยนอาหารและพฤติกรรมการกินหลังจากใส่บอลลูน
  • ควร กินอาหารปริมาณน้อยลงก่อนการใส่บอลลูน เพื่อช่วยให้ร่างกายปรับตัวได้เร็วขึ้น
  • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงตลอดการใส่หรือกลืนบอลลูน คือ
    • อาหารที่ก่อให้เกิดแก๊ส เช่น ถั่ว, กะหล่ำปลี, บรอกโคลี, น้ำอัดลม
    • อาหารเผ็ดจัดหรือรสจัด เช่น อาหารรสจัด อาหารที่มีพริกเยอะ ๆ
    • เนื้อสัตว์เหนียว ย่อยยาก เช่น เนื้อวัวติดมัน หมูสามชั้น
    • ขนมปังเหนียว เค้ก เบเกอรี่
    • ของทอด อาหารมันเยอะ
    • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำหวาน น้ำตาลสูง

เนื่องจากอาหารเหล่านี้ อาจทำให้แน่นท้อง คลื่นไส้ หรือปวดท้อง และเป็นอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง อาจทำให้น้ำหนักไม่ลดหรือกลับมาเพิ่มได้ง่าย

สรุป กลืนบอลลูน VS ใส่บอลลูนลดน้ำหนัก แบบไหนปลอดภัยกว่ากัน?

จะเห็นได้ว่า การลดน้ำหนักด้วยวิธีการ กลืนบอลลูน และ ใส่บอลลูน เป็นทางเลือกให้ผู้เข้ารับการรักษาได้เลือกวิธีที่เหมาะสำหรับตนเอง  แต่ถึงอย่างไรวิธีการที่ดีและปลอดภัย คือ การปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม เพราะการเลือกประเภทของบอลลูนจะอยู่ที่เป้าหมาย งบประมาณ และความต้องการของผู้เข้ารับการรักษาด้วยนั่นเอง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ การใช้งานเว็บไซต์นี้แสดงว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า