Sleeve PJB ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก เทคนิคใหม่! เป็นหนึ่งในวิธีรักษาผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน หรือมีโรคแทรกซ้อนจากความอ้วน ด้วยเทคนิคใหม่ที่จะช่วยลดผลแทรกซ้อนหลังผ่าตัดจากวิธีเดิมๆ รวมถึงได้ผลลัพธ์ที่ดีในการทำให้สุขภาพกลับมาดีขึ้น ใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง
สาเหตุของโรคอ้วน
โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคอ้วนจะมีโอกาสเป็นโรคในกลุ่ม Metabolic syndrome เช่น เบาหวานชนิดที่ 2, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, ไขมันพอกตับ และยังมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองสูงกว่าผู้ที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ
นอกจากนั้นยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งตับอ่อน มะเร็งรังไข่และมดลูก ฯลฯ รวมไปถึงการหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive sleep apnea; OSA) และยังส่งผลถึงความมั่นใจในตนเองรวมถึงสภาวะทางอารมณ์อีกด้วย
การผ่าตัดกระเพาะ เพื่อรักษาโรคอ้วน ในอดีต
การผ่าตัดกระเพาะเพื่อรักษาโรคอ้วนในอดีต (ตั้งแต่ปี 1950) นั้นเป็นการผ่าตัดลำไส้เป็นหลัก เพราะมุ่งเน้นไม่ให้มีการดูดซึมสารอาหาร โดยการนำเอาลำไส้ส่วนบนมาเชื่อมกับลำไส้ส่วนล่าง เราเรียกการผ่าตัดนี้ว่า Jejunoileal Bypass (JIB) โดยที่ยังเก็บกระเพาะไว้ มีจุดประสงค์เพื่อไม่ให้อาหารที่รับประทานเข้าไปมีการย่อยและดูดซึมมากนักและขับถ่ายออกไปเลย สามารถทานได้อิ่มเหมือนเดิมแต่ “กินเข้าไปแล้วไม่ดูดซึม น้ำหนักจึงลดลง”
ต่อมาจึงพัฒนาเทคนิคการผ่าตัดที่กลายเป็นการ ผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส ในปัจจุบัน ที่เรียกว่า Roux-en-Y Gastric Bypass และอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกันนั่นก็คือ วิธี การผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ (Sleeve Gastrectomy) โดยที่ทั้ง Sleeve และ Bypass มีข้อดีและข้อเสียทั้งคู่
ข้อดี-ข้อเสียของการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบเดิม
1. การผ่าตัดกระเพาะอาหาร ลดน้ำหนักแบบสลีฟ (Sleeve Gastrectomy)
- กระเพาะอาหารส่วนที่ติดกับหลอดอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นยังอยู่ แต่ขนาดลดลง รวมถึงหูรูดของกระเพาะยังอยู่ครบ
- ป้องกันการเกิด dumping syndrome ได้
- ยังสามารถส่องกล้องดูเนื้อกระเพาะ ตรวจคัดกรองมะเร็งกระเพาะอาหารได้
- ควบคุมและรักษาโรคเบาหวานได้ไม่ดี
- ลดน้ำหนักได้ไม่ดีเท่ากับการผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส
- ไม่เหมาะกับคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนมาก่อน เพราะจะเป็นมากขึ้น ต้องเปลี่ยนมาผ่าตัดกระเพาะด้วยวิธีบายพาส
- ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่เคยปรับขนาดกระเพาะด้วยการใส่ห่วงมาก่อน (ถ้าเคยใส่ห่วง ต้องเลือกทำแบบบายพาสเท่านั้น)
- ฮอร์โมนที่ควบคุมความหิว ความอิ่ม (GLP-1) ทำงานได้ไม่ดีเท่ากับการผ่าตัดกระเพาะด้วยวิธีบายพาส
2. การผ่าตัดกระเพาะ แบบบายพาส (R-Y Gastric Bypass – RYGB)
- น้ำหนักลดลงได้มากที่สุด แต่จะไม่ได้ใช้กระเพาะอาหารในการย่อยเลย
- ไม่มีหูรูดจากกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารที่ทานเข้าไปไหลเข้าไปสู่ลำไส้เล็กอย่างรวดเร็วเกินไป จนทำให้เกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า Dumping syndrome
- ขาดสารอาหาร เพราะอาหารที่ทานเข้าไปทั้งหมดจะถูกส่งไปที่ลำไส้เล็กส่วนกลาง (jejunum) รวมถึงธาตุเหล็กและวิตามินบี 12 ที่โดยปกติจะถูกดูดซึมทางกระเพาะอาหาร ก็จะไม่สามารถทำได้
- จะไม่สามารถส่องกล้อง (EGD; Esophagogastroduodenoscopy) เพื่อตรวจดูรอยโรคในกระเพาะอาหารได้อีกต่อไป เช่น การตรวจหามะเร็งกระเพาะอาหาร
- เนื่องจากมีจุดตัดต่อมาก ส่งผลให้ระยะที่ใช้ในการผ่าตัดค่อนข้างนาน และต้องดมยาสลบนานขึ้น ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยง
- เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไส้เลื่อน
ดังนั้นเราจึงอยากหาวิธีที่จะลดน้ำหนักได้มาก โดยที่สามารถแก้ปัญหาหรือลดข้อเสียของแต่ละวิธีลงได้ จึงได้มีวิธีใหม่ขึ้นมาซึ่งเรียกว่า วิธีผ่าตัดกระเพาะแบบ Sleeve PJB
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม :
- Dumping Syndrome อาการหลังผ่าตัดกระเพาะ มีวิธีรักษาอย่างไร?
วิธีผ่าตัดกระเพาะแบบ Sleeve PJB คืออะไร?
การผ่าตัดกระเพาะแบบ Sleeve PJB (Laparoscopic Sleeve Gastrectomy with Proximal Jejunostomy Bypass (LSG – PJB)) เป็นเทคนิคการผ่าตัดรูปแบบใหม่ และเริ่มได้รับความนิยมในต่างประเทศในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
โดยเป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้องที่ผสมผสานระหว่างการตัดกระเพาะแบบ Sleeve ร่วมกับการตัดต่อลำไส้เล็กเพื่อลดการดูดซึมของอาหาร ตัดกระเพาะบางส่วนให้มีขนาดเล็กลงเหลือ 15-20% ปรับลดฮอร์โมนความอยากอาหาร (Ghrelin) ทำให้ทานได้น้อยลง ร่วมกับการทำทางเชื่อมลำไส้เล็กใหม่เพื่อลดการดูดซึมอาหาร และร่างกายปล่อยฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มได้เร็วขึ้น
ทำให้ลดน้ำหนักได้มากขึ้นและรักษาโรคร่วมที่เกิดจากโรคอ้วนได้ดียิ่งขึ้น โดยพบภาวะแทรกซ้อนต่ำกว่าการทำผ่าตัดแบบบายพาส (Bypass) โดยผลในการลดน้ำหนักไม่ต่างกัน ลดน้ำหนักได้ดีโดยน้ำหนักส่วนเกิดลดลง 70-80%
Sleeve-Plus Procedures in Asia: Duodenojejunal Bypass and Proximal Jejunal Bypass
https://www.intechopen.com/chapters/75203
ข้อดีของ วิธีผ่าตัดกระเพาะแบบ Sleeve PJB
- มีจุดตัดต่อเพียงแค่จุดเดียว (single anastomosis) ช่วยลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด
- เทคนิคการผ่าตัดง่ายกว่าวิธีการผ่าตัดแบบบายพาส
- ลดความรุนแรงของการขาดวิตามินได้ ไม่ว่าจะเป็นธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินบี 12 รวมถึงโปรตีน เพราะอาหารยังสามารถผ่านกระเพาะและลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) ได้
- ถ้าทนอาการขาดสารอาหารไม่ไหว สามารถไปผ่าตัดแล้วต่อลำไส้ตามเดิมได้
- หูรูดกระเพาะอาหารในส่วนล่างสุดที่ติดกับลำไส้เล็กยังอยู่ (Pyloric Sphincter) ช่วยป้องกันไม่ให้น้ำย่อยจากตับอ่อนและน้ำดีไหลเข้าไปในกระเพาะอาหาร และกัดกระเพาะจนเป็นกระเพาะอาหารอักเสบ (bile acid gastritis)
- เมื่อหูรูดกระเพาะอาหาร (Pyloric Sphincter) ยังอยู่ก็ช่วยลดโอกาสการเกิด Dumping syndrome ได้
- ยังสามารถส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร (EGD) ได้เหมือนเดิม สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ซึ่งถ้าการผ่าตัดกระเพาะวิธีบายพาสแบบเดิมจะไม่สามารถทำได้
- สามารถส่องกล้องเพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวกับท่อน้ำดีได้ (ERCP) เช่น นิ่วในท่อน้ำดี ซึ่งถ้าการผ่าตัดกระเพาะวิธีบายพาสแบบเดิมจะไม่สามารถทำได้
- ลดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด เช่น แผลที่บริเวณใกล้รอยเย็บต่อของลำไส้ (Marginal ulcer), ไส้เลื่อน ภายในช่องท้องตามหลังการผ่าตัด (Internal hernia) ได้น้อยกว่าการผ่าตัดแบบ RYGB
ข้อเสียของ วิธีผ่าตัดกระเพาะแบบ Sleeve PJB
- จะมีอาการผายลมมาก และจะถ่ายเหลวได้ในช่วงแรก เหมือนกับการผ่าตัดกระเพาะวิธีบายพาสแบบเดิม
- ถ้าคนไข้มีอาการของกรดไหลย้อนอยู่เดิม การผ่าตัดวิธีนี้จะทำให้มีอาการกรดไหลย้อนมากขึ้น จึงแนะนำให้ผ่าตัดกระเพาะด้วยวิธีบายพาส
- ยังมีการศึกษาน้อยกว่าวิธีผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส โดยมีการศึกษามากขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จึงยังไม่ถือเป็นวิธีการรักษามาตรฐานแต่ก็มีคนทำมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในประเทศไต้หวันในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา
อ่านบทความที่น่าสใจ :
ผ่าตัดกระเพาะรักษาเบาหวาน ได้อย่างไร? ผ่าตัดกระเพาะทำให้ผอมได้จริงหรือไม่ ?อย่างไรก็ตามผู้ที่ต้องการเข้ารับการรักษาเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักตัวเกิน, โรคอ้วน ด้วยการผ่าตัดกระเพาะ ไม่ว่าจะด้วย วิธีผ่าตัดกระเพาะแบบ Sleeve PJB หรือวิธีไหน จะต้องได้รับการวินิจฉัยปัญหาสุขภาพและตรวจเช็คอาการแทรกซ้อนต่างๆ โดยแพทย์เฉพาะทางก่อนทุกครั้ง เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม ปลอดภัย และได้ผลลัพธ์หลังผ่าตัดตามที่หวังไว้
รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ ให้บริการด้านความงามและการรักษา โดยทีมแพทย์เฉพาะทางระดับอาจารย์หลากหลายสาขา ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีความปลอดภัยสูงและเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ได้รับรองมาตรฐานจาก AACI สหรัฐอเมริกา ด้านศูนย์ศัลยกรรมผู้ป่วยนอกแห่งแรกในเอเชียแปซิฟิก 2 ปีซ้อน รวมถึงรางวัลจาก WhatClinic ด้านบริการลูกค้ายอดเยี่ยมระดับสากล เป็นปีที่4 จากลูกค้ากว่า 30 ประเทศทั่วโลก ที่ให้ความไว้วางใจและใช้บริการอย่างต่อเนื่อง