NCDs (Non-communicated Diseases)หรือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิตอย่างไม่ระมัดระวัง นานวันเข้าสะสมไปเรื่อยๆ ก็จะส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบไม่รู้ตัวได้ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา ก็จะส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของผู้ที่เป็นโรคและคนรอบข้าง
วันนี้รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ จะมานำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มโรค NCDs ว่าคืออะไร มีโรคอะไรที่อยู่ในกลุ่มโรค NCDs บ้าง มีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้เราห่างไกลกลุ่มโรค NCDs
กลุ่มโรค NCDs คืออะไร ?
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ กลุ่มโรค NCDs (Non-communicable Diseases) เป็นกลุ่มโรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรคทั้งแบคทีเรีย ไวรัส หรือพยาธิ และเป็นกลุ่มโรคที่ไม่สามารถแพร่กระจายจากคนหนึ่งสู่อีกคนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างไม่เหมาะสมและไม่ระมัดระวัง ทั้งพฤติกรรมการรับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ พฤติกรรมการไม่ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย และพฤติกรรมอีกมากมายที่บั่นทอนสุขภาพของเรา
ซึ่งเมื่อทำพฤติกรรมเหล่านั้นสะสมมาเรื่อยๆ ก็จะก่อให้เกิดโรคต่างๆในกลุ่มโรค NCDs ได้ ซึ่งโรคในกลุ่มโรค NCDs จะมีการดำเนินของโรคอย่างช้าๆ ค่อยๆเป็น ค่อยๆไป สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และมีอาการของโรคอย่างยาวนาน โรคบางโรคสามารถมีอาการได้ตลอดชีวิตเลยทีเดียวค่ะ
ยกตัวอย่างเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคเหล่านี้คือโรคยอดฮิตที่คนไทยหลายๆ คนกำลังเผชิญอยู่ และถึงแม้กลุ่มโรค NCDs จะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า ตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมากลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย โดยมีคนไทยป่วยด้วยโรค NCDs ถึง 14 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 300,000 คนต่อปี และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี
กลุ่มโรค NCDs มีอะไรบ้าง ?
- โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง
- โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ
- โรคไขมันในเลือดสูง
- โรคเบาหวาน
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคอ้วนลงพุง
- โรคถุงลมโป่งพอง
- โรคมะเร็งต่างๆ
- โรคไตเรื้อรัง
- โรคตับแข็ง
- โรคสมองเสื่อม
วิธีการป้องกันกลุ่มโรค NCDs ?
- การรับประทานอาหารอย่างเพียงพอ และหลากหลายเพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน
ไม่รับประทานมากหรือน้อยจนเกินไป ซึ่งจะส่งผลต่อระบบเผาผลาญในร่างกายจนทำให้เป็นโรคอ้วน รวมถึงถ้าทานน้อยเกินไปก็จะทำให้ขาดสารอาหารได้ และควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลา เน้นผัก-ผลไม้ประเภทหวานน้อย มากกว่าอาหารจำพวกแป้ง และน้ำตาล รับประทานโปรตีนให้เพียงพอจากเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ อาหารควรปรุงสุก สะอาด และมีประโยชน์ต่อร่างกาย
- การนอนหลับ
เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายได้พักผ่อนดีที่สุด ร่างกายควรได้รับการพักผ่อนนอนหลับ อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง เมื่อตื่นขึ้นจะได้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสะสมพลังงานไว้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- การออกกำลังกาย ควรมีการเคลื่อนไหวร่างกายหรือออกแรง
เพื่อเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของปอด หัวใจ กล้ามเนื้อ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ เป็นประจำช่วยให้เราอารมณ์ดี ช่วยควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มีน้ำหนักตัวเกิน ช่วยเผาผลาญอาหารประเภทน้ำตาล ลดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งมักพบในคนที่มีรูปร่างท้วมหรืออ้วน อีกทั้งยังช่วยเผาผลาญไขมัน คอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคไขข้ออักเสบ
- การดื่มน้ำ
น้ำเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานของการมีสุขภาพดีที่ไม่ควรมองข้าม การดื่มน้ำช่วยทำให้รู้สึกสดชื่น ช่วยรักษาสมดุลของร่างกาย บรรเทาความเมื่อยล้า ช่วยในเรื่องระบบเผาผลาญและระบบขับถ่าย ทำให้ผิวดีขึ้น ในแต่ละวันควรดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว หรือประมาณ 2-3 ลิตร ต่อวัน
- การไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
เนื่องจากพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์นั้น เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้พูดไม่ชัด เสียการทรงตัว ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ หากดื่มเป็นประจำจะทำให้ปลายประสาทอักเสบ ความจำเสื่อมง่าย เยื่อบุกระเพาะอาหารถูกทำลาย ตับอักเสบ ไขมันพอกตับ และกล้ามเนื้อหัวใจไม่แข็งแรง
- การไม่เครียด
ความเครียดเป็นศัตรูที่บั่นทอนสุขภาพ เป็นสภาวะอารมณ์ที่ต้องเจอกับปัญหาต่างๆ จนเกิดความไม่สบายใจ วิตกกังวล อาจแสดงออกมาทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรม บางคนเครียดแล้วจะมีอาการนอนไม่หลับ เราจึงต้องหาวิธีการจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น เพื่อให้มีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่แข็งแรงในเวลาเดียวกัน
- การตรวจสุขภาพประจำปี
ก็เป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยให้พัฒนาการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี สามารถตรวจได้ทุกเพศ ทุกวัย ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผู้สูงอายุก่อน การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจะทำให้เราได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ในช่วงเวลาใดก็ได้ และการตรวจพบโรคในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที รวมถึงมีโอกาสที่จะหายมากกว่าตรวจพบโรคเมื่อมีอาการไประยะหนึ่งแล้ว
เป็น โรคอ้วนลงพุง และมีภาวะโรค NCDs แทรกซ้อน รักษาอย่างไร?
แต่ถ้าหากเรามีภาวะของโรค NCDs ไปแล้ว เช่น เป็นโรคอ้วนลงพุง ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนถึงอันตราย เนื่องจากเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ มากมาย กรณีที่ยังไม่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ ควรดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาการ ออกกำลังกายให้เหมาะสม พยายามลดน้ำหนัก
ซึ่งมีอีกวิธีที่ช่วยให้คนที่มีน้ำหนักตัวมากๆ ลดน้ำหนักอย่างได้ผล นั่นก็คือ การผ่าตัดกระเพาะ ลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในวิธีลดน้ำหนักที่ได้ผลมาก หากทำการลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล เป็นการผ่าตัดลดความอ้วน ที่เปลี่ยนชีวิตของคนไข้เลยทีเดียว เพราะเปลี่ยนจากจากไซส์ XXL เป็น size M ได้ ในเวลาไม่ถึง 1 ปี พร้อมโรคต่างๆ ที่มาพร้อมความอ้วนก็จะหายไปหมด เช่น หยุดหายใจขณะหลับ , โรคหลอดเลือดสมอง , ความดันโลหิตสูง , กรดไหลย้อน , โรคเบาหวาน , PCOS (ถุงน้ำในรังไข่) , เก๊าท์ เป็นต้น
ซึ่งการผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบนี้ มีมานานกว่า 20 ปี และได้รับการยอมรับในต่างประเทศ เช่น ประเทศออสเตรเลีย ที่มีผ่าตัดลดน้ำหนัก (bariatric surgery) มากกว่า 10,000 ราย/ปี
รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ เป็นศูนย์ผ่าตัดลดน้ำหนักแบบครบ สามารถทำได้ทุกวิธี
- การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักด้วยวิธีสลีฟ (Laparoscopic Sleeve Gastrectomy – LSG)
- การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักด้วยวิธีบายพาส (Gastric Bypass – RYGB)
- การเย็บกระเพาะแบบ Overstitch เทคนิคใหม่ เป็นการส่องกล้องทางปาก (Endoscopic sleeve gastroplasty by Overstitch)
- ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก แบบแผลหน้าท้องรูเดียว (SPA – Single Port Access)
รีวิวผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก รักษาโรคอ้วน (Bariatric Surgery)
การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก ที่ รัตตินันท์ เมดิตอล เซ็นเตอร์
- มีทีมศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินอาหาร และการผ่าตัดโรคอ้วนจากสหรัฐอเมริกา มีประสบการณ์กว่า 30 ปี
- ผ่าตัดในโรงพยาบาลมาตรฐานระดับสากล เครือ BDMS
- เทคนิคเฉพาะ Double Lock เพิ่มความปลอดภัยให้คนไข้
- เทคนิค Pain Pump ลดการบาดเจ็บและทำให้คนไข้ฟื้นตัวเร็วหลังการผ่าตัด
- ได้รับการดูแลหลังการผ่าตัดจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมโรคอ้วน และเบาหวาน รวมถึงมีการติดตามผล คอยให้คำแนะนำ และดูแลนานถึง 1 ปี
- มาตรฐาน AACI จากสหรัฐอเมริกา ด้าน Ambulatory Plastic Surgical Center ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่งผู้ป่วยนอก แห่งแรกในเอเชีย
Ref. https://www.med.cmu.ac.th/web/news-event/news/hilight-news/3830/ https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/may-2016/ncds-non-communicable-diseases-symptoms-prevention#What_is https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1371
บรรยากาศ รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐานสากล
พร้อมด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ
ประสบการณ์กว่า 24 ปี
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
Biography