ตรวจฟัน บอกโรคได้จริงหรือไม่? จำนวนผู้คนไม่น้อยที่เลือกให้การไปหาทันตแพทย์อยู่อันดับท้าย ๆ เนื่องจากยากต่อการไปพบบ้าง หรือปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจเป็นข้ออ้างการไปหาหมอ แต่การไปพาทันตแพทย์ไม่ใช่ปัญหาใหญ่หลวงอะไร ที่สำคัญแพทย์อาจช่วยให้คุณมีชีวิตและสุขภาพแข็งแรงด้วยการบอกโรคที่คุณกำลังจะได้ทำการรักษาเมื่อมาตรวจฟัน
แต่คุณคงไม่ทราบดีว่าคุณมีสิทธิ์เป็นหรือไม่ วันนี้เราได้นำข้อมูลดีๆ ที่คุณควรมีมาฝากกันด้วยพร้อมแล้วไปกันเลย..
1. มะเร็งที่ลิ้น
เป็นกลุ่มของมะเร็งในช่องปากที่พบได้บ่อย โดยจะพบได้ประมาณ 30 กว่าเปอร์เซ็นต์ในช่องปาก มะเร็งที่ลิ้นมีความสัมพันธ์หลายอย่างเพราะเป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงสูงและมีผลต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากลิ้นมีหน้าที่หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการเคี้ยวอาหาร กลืนและพูด ร่วมด้วยลิ้นมีเส้นประสาทและเส้นเลือดเลี้ยงค่อนข้างเยอะ
อาการที่ทันตแพทย์พอจะสังเกตได้ชัดในคนไข้ที่มีลักษณะสีของลิ้นที่แดง เป็นแผลนานกว่า เห็นเป็นผ้าขาว บริเวณใต้ขากรรไกรมีก้อนเนื้อ ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งที่ลิ้น คือ
- สูบบุหรี่จัด ในงานการวิจัยพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่า 30 มวน/วัน จะเพิ่มความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่ไม่ได้สูบถึง 4 เท่า
- ดื่มแอลกอฮอล์สูง ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มาก และระยะเวลาที่นานก็มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่ลิ้นได้มากขึ้นที่สำคัญและถ้าหากสูบบุหรี่ร่วมด้วยความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งที่ลิ้นก็มีมากถึง30%ได้
- เคี้ยวหมาก พบว่าการเคี้ยวหมากก็เพิ่มความเสี่ยงไม่น้อยกับอาการมะเร็งที่ลิ้น เพราะว่าหมากมีสารก่อมะเร็งที่ชื่อว่า Nitrosaminesซึ่งทำให้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนในช่องปากและทำให้ปาก
- แผลเรื้อรัง การเกิดแผลซ้ำ ๆ ที่ลิ้น โดยสาเหตุส่วนใหญ่อาจมาจากการมีฟันผุ ฟันคมหรือฟันที่มีการใช้อุปกรณ์จัดฟันหรือฟันปลอมที่ไม่พอดีกับช่องปากก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งที่ลิ้นได้
2. นิ่วทอนซิล
จะเป็นอวัยวะที่คุมในส่วนของน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณช่องคอ ซึ่งตำแหน่งที่ก่อให้เกิดปัญหาคือต่อมด้านน้ำเหลืองที่อยู่ข้างช่องคอ เนื่องจากทางช่องคอการที่มีร่องเยอะการมีเศษอาหาร ที่เข้าไปติดในซอกทอนซิล โดยทับถมกันก็จะเกิดเป็นเม็ดสีขาว เหลืองซึ่งฝังอยู่ในร่องของทอนซิล
อาการของทอนซิลอาจมาได้หลายรูปแบบ เช่น บางคนไอและมีเม็ดสีขาวเหลืองหลุดออกมาไม่ทราบสาเหตุ
กลิ่นปากกลิ่นไม่พึงประสงค์ ทำให้มีอาการระคายคอไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งบางหลายอาจพบเจอได้จากการตรวจร่างกาย เอกซเรย์
3. โรคสมองเสื่อม-อัลไซเมอร์
อาจพบเชื้อไวรัสอย่าง Streptococci จากช่องปากที่ทำให้ก่อเกิดอาการของโรคหลอดเลือดอย่างภาวะการเสื่อมของสมองหรือ โรคอัลไซเมอร์
4. คลอดก่อนกำหนด
สำหรับคุณแม่ที่มีฟันผุ เหงือกอักเสบ อาจส่งผลให้บุตรที่ยังอยู่ในท้องได้รับเชื้อโรคจากแม่โดยการถ่ายทอดกันได้ทางน้ำลาย มีผลวิจัยรายงานว่าคุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้องอยากรับประทานอาหารที่ลดอาการอาจมีความเสี่ยงได้รับโรคฟันผุ และโรคเหงือกได้ง่ายกว่า
ทั้งนี้ก็ยังรวมไปถึงฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์ด้วย เช่น น้ำลายน้อย ปากแห้ง เป็นสิ่งที่ทำให้เชื้อขยายตัวมากขึ้นเนื่องจากน้ำลายเป็นตัวชำระล้างทำความสะอาดฟันได้แล้วยังมีแบคทีเรียชนิดดีอีกด้วย
สุดท้ายหากดื่มน้ำเยอะ ๆ และดูแลช่องปากหลังรับประทานอาหารให้บ่อยขึ้นนานขึ้นและไม่ควรเว้นการแปรงฟันที่อาจเกิดจากอาการแพ้ท้องเพราะจะยิ่งทำให้การสะสมของเชื้อโรคทำงานได้ง่ายขึ้น
5. ตาบอด
การมีเชื้อฟันผุหรือการที่ทำความสะอาดช่องปากได้ไม่ดีพอเมื่อไปพบทันตแพทย์เขาอาจบอกคุณได้ว่าคุณมีสิทธิ์เสี่ยงที่จะเข้าข่ายทางโรคตาบอดได้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากโครงสร้างของฟันอยู่ใกล้เคียงกับดวงตา และเชื้ออาจเข้าไปสู่ดวงตาได้หลายช่องทาง เช่น กระดูกระหว่างไซนัสและดวงตา, หลอดเลือดดำที่บริเวณใบหน้าและแพร่กระจายไปที่ดวงตา
ทั้งนี้ทั้งนั้นการมีฟันผุก็ไม่ควรที่จะเสี่ยงให้กับความเสี่ยงของโรคตาบอดนั่นเอง
6. โรคปากนกกระจอก
อาการของโรคนี้อาจเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จากเชื้อแคนดิดา (Candida) อาจพบได้จากปัญหาสุขภาพช่องปาก น้ำลายจากการเลีย ,การเม้มปาก ทำให้เกิดเป็นแผลบริเวณมุมใดมุมหนึ่งของปาก ซึ่งอาจส่งผลให้ได้รับเชื้อแบคทีเรียและเกิดการติดเชื้อหรือเข้าสู่กระแสเลือดที่อาจลุกลามให้มีโรคอื่น ๆ ที่ตามมาได้ด้วย
7. โรคติดเชื้อในคอ
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียและเชื้อราที่อยู่ภายในหรืออยู่ใกล้กับผู้ติดเชื้อ โดยเฉพาะบริเวณช่องปาก พฤติกรรมบางประเภทอาจเป็นสาเหตุหลัก ๆ การรับประทานอาหารทอด มัน รสจัด ชา กาแฟ น้ำอัดลม และไม่ได้ดูแลรักษาความสะอาดให้ดี เชื้ออาจสะสมหรือทับถมกันนานขึ้นก่อให้เชื้อไหลลงที่คอหรือหลอดลม เมื่อไปตรวจสุขภาพฟันหรือพบทันตแพทย์จากการปวดฟันก็อาจจะพบร่วมกันได้
8. โรคลักปิดลักเปิด
อาการของโรคที่เกิดขึ้นหลังแปรงหรือขณะแปรงฟัน ซึ่งอาจมีอาการที่สภาพตัวฟันอาจมีการโยกหรือเลือดออกใต้ผิวฟัน มีสาเหตุมาจากการขาดวิตามินซีและหากยิ่งปล่อยให้การขาดวิตามินซีเป็นไปเรื่อย ๆ โอกาสของการเกิดโรคก็มีมากเช่น เลือดจางและ หัวใจวาย
วิธีแก้ง่าย ๆ แพทย์อาจแนะนำการรับประทานอาหารที่มีวิตามินซี เช่น รูปแบบอาหารเสริมชนิดเม็ดหรือผัก ผลไม้ที่ให้ปริมาณวิตามินซีสูง ๆ เช่น ส้ม สับปะรด
9. Temporomandibular Disorder : TMD
โรคข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว เป็นอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อของฟันผุทำให้ขากรรไกรและกล้ามเนื้อไม่สามารถทำงานได้ เช่น อ้าปากไม่ขึ้น ปวดใบหน้า ปวดหู (กกหู) มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียที่ตกค้างที่ไม่ได้ถูกขจัดออกไป ทำให้เกิดการสะสมขึ้นได้ อาจต้องขอคำปรึกษาจากทันตแพทย์ก่อนอาการจะลุกลามไปมากกว่านี้
10. โรคหูตึง
แม้จะดูไม่เกี่ยวเท่าไหร่แต่ในการศึกษาพบว่าปัญหาในช่องปากอาจนำำปสู่การเกิดแบคทีเรียตัวร้ายที่ไหลไปตามกระแสเลือดก่อให้ระบบหลอดเลือดอักเสบนอกจากส่งผลให้กระทยต่อสมองแล้วยังส่งผลให้หูมีการได้รับเสียงได้น้อย หรือบางรายอาจเข้าขั้นรุนแรงจนไม่สามารถรับเสียงได้
อย่างไรก็ดีอาการเหล่านี้อาจส่งผลเสียต่อชีวิตได้หากการดูแลสุขภาพในช่องปากของคุณไม่ดีพอหรือละเลย อาการโรคร้าย ๆ ที่ตามรังควานก็อาจแทรกตัวมาได้ง่ายขึ้น และเพื่อฟันที่คุณรักก็อย่าลืมใส่ใจเขาด้วยนะ
Reference: https://www.health.com/condition/oral-health/health-conditions-dentist
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
Biography