โรคเหงือก รักษาให้ถูกวิธี เพราะเหงือกป่วยปัญหาสุขภาพก็ยิ่งแย่

โรคเหงือก เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรดี

โรคเหงือก เมื่อเป็นแล้วก็ไม่อยากที่จะเป็นอีก แต่ยังมีบางส่วนที่ยังไม่เคยได้รับหรือประสบกับปัญหาของโรคเหงือก วันนี้เราจึงไม่ปล่อยวางให้คุณละเลยไปหรอกไม่อยากเจ็บป่วยด้วยเรื่องเหงือกก็อ่านเลยอย่าเลื่อนผ่าน!

โรคเหงือก เกิดจากอะไร?

โรคเหงือกหรือเหงือกอักเสบเป็นปัญหาช่องปากที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย

มักจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ที่สะสมอยู่บนผิวฟันเมื่อแปรงฟันหรือดัดฟันไม่สะอาดก็จะเกิดการสะสมของฆ่าแบคทีเรียที่ก่อตัวขึ้นทั้งบนฟันและช่องว่างระหว่างฟันทำให้เกิดอาการบวมและระคายเคืองของเหงือก ซึ่งถ้าหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันเวลาและถูกวิธีก็อาจจะลุกลามและติดเชื้อไปยังกระดูกที่ยึดกับฟันรวมถึงบริเวณใกล้เคียงอื่นๆ ได้

โรคเหงือกแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ

  1. ระยะเหงือกอักเสบ
  2. ระยะเยื่อหุ้มฟันอักเสบ
  3. ระยะเยื่อหุ้มฟันอักเสบตอนไป

วิธีการรักษา โรคเหงือก

วิธีการรักษาโรคเหงือกเบื้องต้นการเริ่มต้นการรักษานั้นหากเป็นระยะแรกสามารถทำได้โดยการแปรงฟันและขัดฟันให้สะอาดเพื่อพบทันตแพทย์เพื่อขูดคราบหินปูนเพื่อไม่ให้เกิดคราบเชื้อแบคทีเรียเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าหากเริ่มมีอาการของโรคเหงือกควรได้รับการรักษาโดยทันตแพทย์ผู้มีความชำนาญเพื่อป้องกันโรคเหงือกไม่ให้ลุกลามไปสู่ขั้นรุนแรง เนื่องจากจะไม่สามารถรักษาให้คืนกลับสู่สภาพปกติได้

ประเภทของ โรคเหงือก

โรคเหงือก : เหงือกบวม

อาการเหงือกบวมมักเกิดขึ้นได้บ่อยๆ กับผู้คนทุกเพศทุกวัย ซึ่งอาจจะเกิดได้หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการอักเสบหรือการติดเชื้อของเหงือกการขาดสารอาหารการตั้งครรภ์ แต่สาเหตุที่พบบ่อยก็คือการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ดีพอ เมื่อมีอาการเหงือกบวมก็จะทำให้รู้สึกหงุดหงิดและเจ็บปวดบางครั้งก็อาจจะปวดหูร่วมด้วย อาการของเหงือกบวมสามารถสังเกตได้ง่ายบริเวณเหงือกจะมีลักษณะเป็นสีแดง ซึ่งทางที่ดีแนะนำให้ไปพบทันตแพทย์จะดีที่สุดเพื่อป้องกันและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

เหงือกอักเสบเกิดจาก

เชื้อแบคทีเรียที่อยู่มีคราบของอาหารที่เกาะบนผิวฟันตามซอกเหงือกและซอกฟันเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบการติดเชื้อของเหงือกซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเหงือกกระดูกและเนื้อเยื่อปริทันต์โดยรอบ ๆ ฟันโรคเหงือกอักเสบถ้าไม่รีบทำการรักษากลายเป็นโรคปริทันต์อักเสบ

หรืออีกชื่อเรียกหนึ่งคือโรครำมะนาดคือโรคที่มีการอักเสบของอวัยวะที่อยู่บริเวณเนื้อเยื่อตัวฟัน เช่น เหงือก เอ็นยึดปริทันต์ และกระดูกล้อมรอบเบ้าฟัน หากคนไข้ไม่ได้ทำการรักษาอวัยวะเหล่านี้ถูกทำลายไปอย่างช้าๆ ทุกวันจนต้องสูญเสียฟันไปในที่สุด

โรคเหงือก : เหงือกร่น มีกี่สาเหตุ อะไรบ้าง

สาเหตุของเหงือกร่นมีลักษณะตัวเหงือกตกระดับลงมาทำให้เห็นเนื้อฟันยาวขึ้น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เหงือกร่นมี 6 สาเหตุด้วยกัน คือ

1. เกิดจากคราบฟัน ปัญหาจากการมีคราบฟันก็จะทำให้เกิดการระคายเคียงทำใหเหงือกร่นถอยลงมาได้

2. เป็นโรคปริทันต์อักเสบ ปริทันต์อักเสบหรือโรคเหงือกที่อาจทำให้เกิดการละลายตัวของกระดูกและการละลายตัวของเหงือก

3. การเรียงตัวที่ผิดปกติของฟัน การที่ฟันเรียงตัวออกมานอกเบาของกระดูกทำให้มีเหงือกหรือกระดูกที่บางกว่าปกติก็ส่งผลให้มีความเสี่ยงของเหงือกร่นลงไปได้

4.การสบฟันที่ผิดปกติ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งเพราะแรงกระแทกจากการกัดเคี้ยวของคนเราสามารถทำให้ฟันสึกเข้าไป เมื่อฟันสึกเข้าไปก็จะมีโอกาสที่เชื้อโรคเข้าสู่ภายใน และทำให้เหงือกต้องลดระดับลงตามไปด้วย

5.แปรงฟันที่ผิดวิธี การแปลงที่ผิดตำแหน่งหรือการแปลงย้ำตำแหน่งบ่อย รวมถึงการออกแรงที่มากเกินไปก็ส่งผลให้เหงือกฉีกขาดและถอยร่นลงไปในที่สุด

6.การจัดฟัน คนไข้บางคนที่ผ่านการจัดฟันมาจะประสบกับปัญหาเหงือกร่นเนื่องจากทันตแพทย์ที่ต้องเรียงฟันให้ฟันอยู่ในแนวที่เหมาะสม ซึ่งบางครั้งการเรียงตัวของฟันอาจไปอยู่ในแนวที่กระดูกฟันหน้ามีความบางกว่าปกติ จึงอาจส่งผลให้เหงือกร่นลงมา

เหงือกร่นรักษาอย่างไร

วิธีแก้เหงือกร่น อาจเริ่มต้นได้จากการเลือกแปรงสีฟันที่มีขนแปรงบาง/อ่อนนุ่ม และแปรงฟันให้ถูกวิธี แต่ถ้าหากมีอาการของเหงือกร่นส่วนใหญ่จะเป็นการผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายเหงือกขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรจะปรึกษาทันตแพทย์

สำหรับกรณีที่จะต้องเข้ารับการรักษาหรือศัลยกรรมเพื่อปลูกถ่ายเหงือกขึ้นมาใหม่ ซึ่งทันตแพทย์หรือผู้ที่มีความชำนาญและทีมแพทย์ก็จะหาวิธีในการรักษาที่ดีที่สุดให้กับคนไข้

โรคเหงือก มีกี่ประเภท

รํามะนาด คืออะไร?

โรครำมะนาด Periodontal dease หรือโรคปริทันต์เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับอวัยวะโดยรอบของฟันซึ่งได้แก่เหงือก กระดูกที่รองรับฟัน เอ็นยึด และผิวรากฟัน มีหน้าที่ช่วยพยุงฟันเพื่อให้ฟันฝังอยู่ในขากรรไกรได้ ฉะนั้นหากเกิดอาการของโรครํามะนาดหรือปริทันต์ก็อาจส่งผลให้เกิดความสูญเสียฟันได้ไม่มากก็น้อย

โรคปริทันต์ เกิดจากอะไร?

เชื้อจุลินทรีย์ที่ตกค้างอยู่ในช่องปากที่มีสาเหตุจากการสะสมของเชื้อแบคทีเรียที่มากับอาหารรวมถึงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในช่องปากที่ไม่ดีพอยิ่งมีเชื้อจุลินทรีย์ที่ผิวฟันมากเท่าไหร่ บริเวณคอฟันก็จะก่อให้เกิดแผ่นจุลินทรีย์หรือคราบพลัคที่อาจส่งผลให้เกิดโรคเหงือกอักเสบนั่นเอง

เลือดออกตามไรฟัน

สามารถเรียกอีกอย่างไรว่าโรคลักปิดลักเปิด ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่โรคร้ายหรือส่งผลต่อชีวิตและยังคงเกิดได้กับทุกคนด้วยหลากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็น

  1. การใช้อุปกรณ์ไหมขัดฟันรุนแรงเกินไป การใช้ไหมขัดฟันด้วยวิธีที่รุนแรงหรือขัดไม่เบามือ ทำให้เส้นไหมผ่าลงตรงกลางเหงือกอย่างรุนแรง ทำให้เหงือกที่บางได้รับความเจ็บปวดและเกิดบาดแผลจนเลือดออกได้
  2. การแปรงฟันย้ำตำแหน่งเดิมบ่อย ๆ บวกกับแรงขัดถูกมาก ๆ ก็ทำให้ขนแปรงกระแทกรับกับเหงือกจนเลือดออกได้นั่นเอง
  3. อาการติดเชื้อของเหงือกและฟัน
  4. ภาวะของการขาดวิตามินซีbโดยปกติแล้ววิตามินซีจะมีส่วนเข้าไปช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตของเหงือกและฟัน ป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งทำให้โอกาสของโรคเหงือกและฟันอักเสบเป็นไปได้ยาก
  5. การจัดฟัน
  6. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่อยู่ในช่องตั้งครรภ์
  7. การใช้ยารักษาโรคประจำตัว

วิธีแก้อาการ เลือดออกตามไรฟัน

วิธีแก้ที่ดีที่สุดคือการไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและหาสาเหตุของอาการ เมื่อทราบสาเหตุแล้วทางทันตแพทย์จะแนะนำวิธีแก้ไขที่เหมาะสมให้อย่างตรงจุด การรักษาอาการของเลือดออกตามไรฟัน

ทันตแพทย์อาจมีวิธีดังนี้

  1. นัดตรวจฟันและหาสาเหตุที่มาของปัญหาว่าอาจเกิดจากปัญหาในด้านอื่นหรือไม่
  2. แนะนำการเลือกแปรงสีฟัน ยาสีฟันและสอนการแปรงฟัน ลิ้น และดูแลช่องปากอย่างถูกวิธี
  3. แนะนำการใช้ไหมขัดฟัน
  4. ตรวจสอบเครื่องจัดฟัน ฟันปลอมที่สวมใส่พอดีกับช่องฟันหรือไม่

เหงือกเป็นหนอง

อาจยังคงไม่ได้เป็นที่รู้จักมากนักสำหรับเหงือกเป็นหนองซึ่งโอกาสของการพบเห็นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกคนแต่จะเกิดจากสาเหตุอะไรนั้นหลายๆ คนยังหาคำตอบไม่พบ แต่สาเหตุหลักคือการติดเชื้อแบคทีเรียไม่ว่าจะมาจากการสะสมของอาหารที่ติดอยู่ตามจุดหรือซอกที่การทำความสะอาดจะไปถึงจนถึงช่วงระยะเวลาหนึ่งเกิดอาการอักเสบของเหงือกและถูกละเลยในการดูแลในเวลาต่อมาจึงเกิดอาการบวม แดงและเป็นตุ่มนูนหรือมีบางครั้งบริเวณตุ่มที่นูนมีลักษณะขุ่นและมีหนองอยู่ภายใน

สมุนไพรแก้เหงือกบวม

  • ใบฝรั่ง

สำหรับใบฝรั่งจากการศึกษาพบว่าใบฝรั่งถูกนำมาใช้ในการรักษาสุขภาพอนามัยในช่องปากมานานแล้ว เนื่องจากมีประสิทธิภาพซึ่งคุณสมบัติในการต้านเชื้อหรือยับยั้งการเกิดเชื้อแบคทีเรีย ประโยคของการต้านเชื้อออกไปได้ก็คือ จะช่วยลดการอักเสบของเหงือก ลดอาการบวมแดงและลมหายใจสดชื่น

  • ว่านหางจระเข้

จากการค้นคว้าในปี 2559พบว่าว่านหางจระเข้มีประสิทธิภาพเท่ากับคลอเฮกซิดีนในการลดคราบพลัคหรือคราบจุลินทรีย์และปัญหาของโรคเหงือกบวม

  • ขมิ้น

เป็นสารพฤกษเคมีเคมีที่พบเจอได้ในพืช ผัก และผลไม้ ซึ่งในกลุ่มสารชนิดนี้จะมีคุณสมบัติต่อต้านกับอนุมูลอิสระก็จะช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้ปกติเช่นชะลอความเสื่อมของระบบประสาทของอวัยวะและต่าง ๆ

ผลไม้ลดอาการเลือดออกตามไรฟัน

  • ส้ม

ถูกเป็นผลไม้ที่แนะนำเสมอว่ามีส่วนช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากปัญหาของอาการนี้มักมาจากการขาดวิตามินซี ซึ่งเมื่อทานแล้วก็อย่าลืมแปรงฟันกันด้วยนะ เนื่องจากในผลไม้ประเภทที่มีรสหวานอมเปรี้ยวก็มีข้อเสียเช่นกัน

  • มะนาว

มะนาวมีวิตามินซีสูง ซึ่งมีส่วนช่วยได้หลายอาการที่เกิดกับภายในช่องปากและลำคอ เช่นอาการเจ็บคอ ไอ มีเสมหะ หรืออาการที่เกี่ยวกับฟันอย่างเลือดออกตามไรฟัน การดื่มน้ำอุ่นผสมมะนาวก็จะไปช่วยเสริมให้อาการบรรเทาแล้วหายได้เอง

  • สับปะรด

จากการค้นคว้าพบว่าสับปะรดมีส่วนช่วยในการป้องกันและลดอาการของเลือดออกตามไรฟันมานานแล้ว แม้ว่าจะมีปริมาณของวิตามินซีที่น้อยกว่าก็ตาม

ยาลดอาการ เหงือกบวม

ประสิทธิภาพของยาอาจขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาแต่ละคน โดยเฉพาะประวัติการแพ้ ซึ่งอาจต้องปรึกษาหรือได้รับคำแนะนำของทันตแพทย์จะดีที่สุดเพื่อได้รับปริมาณและตัวยาที่เห็นผล แต่หากไม่มีประวัติการแพ้ยาตัวยาที่สามารถลดอาการบวม คือ

  • พาราเซตามอล
  • Ibuprofen

ภาวะโรคแทรกซ้อน จาก โรคเหงือก

หากไม่ได้รับการรักษาจากการเป็นโรคเหงือก หรือโรคปริทันต์ทำให้โครงสร้างของฟันรวมถึงอวัยวะข้างเคียงถูกทำลายส่วนโรคแทรกซ้อนที่แทรกเข้ามาคือ มีความเสี่ยงต่ออาการของโรคเบาหวาน อาจทำให้โรคหัวใจเกิดการทำงานที่ผิดปกติ และเสี่ยงต่อครรภ์เป็นพิษ น้ำหนักตัวทารกน้อย

 เลือดออกเมื่อแปรงฟัน เลือกออกขณะแปรงฟันอาจไม่ใช่เรื่องปกติ แต่อาจมีสัญญาณเตือนในระยะแรกของสุขภาพเหงือกและอาจส่งผลให้สูญเสียฟันได้ในเวลาต่อมา

ดังนั้นแล้วการมีพฤติกรรมในการเลือกรับประทานอาหารที่ดีแล้วการดูแลใส่ใจในการทำความสะอาดที่ถูกและดีก็เป็นผลดีต่อการใช้ชีวิต นอกจากจะทำให้สุขภาพภายในช่องปาก เหงือก ฟันที่ดี สิ่งที่ตามมาคือความสุขในการใช้ชีวิตและการอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างมีความสุขนั่นเอง

Reference:

https://www.healthline.com/health/dental-and-oral-health/gingivitis-home-remedy#oil-pulling

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า