Liquid Biopsy เป็นเทคโนโลยีใหม่ โดยตรวจมะเร็งจากส่วนประกอบของเลือดซึ่งมีความแม่นยำสูงกว่า การตรวจแบบทั่วไป
ตรวจคัดกรอง มะเร็ง นั้นมีความสำคัญอย่างไร ?
- โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนไทย ติดต่อกันมานานกว่าทศวรรษ มีผู้ป่วยเฉลี่ยปีละประมาณ 120,000 คน เสียชีวิตปีละ 67,000 คน เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่
- มีหลายสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคมะเร็ง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน และมีบางส่วนที่มาจากพันธุกรรมโดยมีคนในครอบครัวเคยประวัติป่วยเป็นโรคมะเร็งมาก่อน
- เซลล์ที่ผิดปกติจะใช้เวลาในการพัฒนาเป็นเซลล์เนื้องอกร้าย หรือ มะเร็งลุกลามได้ จนเห็นชัด แต่เซลล์มะเร็งบางชนิดไม่แสดงอาการให้เห็นในช่วงแรก จนไม่ต่างจากคนปกติ ทำให้กว่าจะตรวจพบก็ถึงขั้นที่รักษาเริ่มยาก แม้จะไม่ใช่ระยะสุดท้าย แต่ก็อาจเป็นมะเร็งในขั้นที่ต้องรักษาโดยฉายรังสี ทำคีโม หรือตัดอวัยวะบางส่วนไป ซึ่งมีผลข้างเคียงต่อคนไข้ได้
เหตุผลที่การตรวจสุขภาพทุกปี ไม่เจอ มะเร็ง จนกว่าถึงระยะท้ายๆ
- การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นเพียงการตรวจทั่วไปเท่านั้น ไม่ได้เน้นโรคมะเร็งที่มีโอกาสเกิดได้แทบทุกจุดในร่างกาย
- การตรวจสุขภาพไม่ได้ละเอียดมาก ทำให้มีโอกาสตรวจพลาดได้ กว่าจะตรวจพบก็เริ่มเกิดสิ่งผิดปกติในร่างกาย ซึ่งเป็นมะเร็งในระยะที่ 2-3 หรือขั้นสุดท้ายแล้ว
ดังนั้น การตรวจสุขภาพประจำปีแบบปกติ จะช่วยทำให้มีโอกาสพบโรคมะเร็งในระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถตรวจสอบเซลล์มะเร็งบางอย่างได้ ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดความสูญเสียโดยเฉพาะกลุ่มคนที่อายุช่วง 20, 30 หรือ 40 ปี ที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงของโรคมะเร็ง
กลับสู่สารบัญระยะของมะเร็งโดยทั่วไป
- มะเร็งระยะที่ 1: โอกาสรอดเกิน 5 ปี ประมาณ 80% เซลล์มะเร็งเริ่มเพิ่มจำนวนในบริเวณที่เป็น
- มะเร็งระยะที่ 2: โอกาสรอดเกิน 5 ปี ประมาณ 60% เซลล์มะเร็งเริ่มกระจายไปในบริเวณใกล้เคียง
- มะเร็งระยะที่ 3: โอกาสรอดเกิน 5 ปี ประมาณ 30% เซลล์มะเร็งเริ่มเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง
- มะเร็งระยะที่ 4 (ระยะสุดท้าย): โอกาสรอดเกิน 5 ปี ประมาณ 10% เซลล์มะเร็งกระจายเข้าสู่อวัยวะอื่นๆ
ความยากในการตรวจคัดกรอง มะเร็ง แบบทั่วไป
ตรวจคัดกรองมะเร็ง (Screening for cancer) จึงมีบทบาทในการค้นหาต้นเหตุของการเป็นโรคมะเร็ง เพื่อรักษาได้ทันท่วงที แต่ก็มีข้อจำกัดหลายประการ
- การตรวจคัดกรองประกันสุขภาพ หรือ ประกันสังคม ตรวจมะเร็งได้ไม่กี่ชนิด และอายุต้องถึงเกณฑ์ก่อนถึงจะตรวจได้
- เพศและวัย มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งที่แตกต่างกัน แต่บางครั้งก็เกิดเร็วกว่ากำหนดหรือเกิดในเพศอื่น เช่น ผู้ชายก็เป็นมะเร็งเต้านมได้ ผู้หญิงก็เป็นมะเร็งตับได้ วัยรุ่นอาจเป็นมะเร็งปากมดลูกได้
- การตรวจคัดกรองแบบเจาะจงโรคมะเร็งบางชนิด มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงมาก
- การตรวจเพียงครั้งเดียวโดยทั่วไป ยากที่จะสรุปได้ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ บางครั้งในเริ่มระยะแรก แต่ผลตรวจกลับไม่พบอะไร พอตรวจในปีต่อมาอาจพัฒนาไประยะที่ 2 และ 3 แล้ว
ดังนั้น ถ้ากังวลว่ามะเร็งจะก่อตัวในร่างกาย ควรได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงตามเกณฑ์อายุ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจหาความผิดปกติของเซลล์ตั้งแต่ในระยะแรก เมื่อพบความผิดปกติ แพทย์จะได้พิจารณาส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคได้เพิ่มเติมได้ทันเวลา
วิธีการตรวจมะเร็ง
เทคโนโลยีที่เคยใช้
- เทคโนโลยีภาพ อย่าง X-ray, CT, MRI, PET และการตรวจแบบส่องกล้อง
- แมมโมแกรม อย่าง มะเร็งเต้านม
- ตัวบ่งชี้มะเร็ง (Tumor Markets) อย่าง PSA, CEA, CA 15-3, CA 19-9, CA 125, TTF-1, Tumor M2-PK
ข้อจำกัดที่พบ
- ราคาแพงมาก ถึงเริ่มต้นไม่กี่พันบาท แต่ตรวจหลายส่วนจะมีราคาที่สูง ส่วนเทคโนโลยีเฉพาะจุดจะมีราคาสูงหลายหมื่น
- การตรวจหลายแบบมีข้อจำกัดกับมะเร็งบางชนิด
- ความจำเพาะต่ำ ผลการตรวจอาจไม่แม่นยำจากข้อจำกัดของมะเร็งบางรูปแบบ
- มีความเสี่ยงจากขั้นตอนที่อันตรายต่อร่างกาย
จากปัญหาหลายประการ ทำให้มีการพัฒนาวิธีการตรวจด้วยสารประกอบในเม็ดเลือด ที่สามารถบ่งชี้ได้ว่าร่างกายเรามีเซลล์มะเร็งก่อตัวอยู่หรือไม่
เทคโนโลยีใหม่ ตรวจ มะเร็ง จากส่วนประกอบของเลือด
Liquid Biopsy เป็นการตรวจจากส่วนประกอบในเม็ดเลือด ซึ่งมีความแม่นยำสูงกว่าเพราะเมื่อมีเซลล์ผิดปกติเพิ่มจำนวนในร่างกายจนอยู่ในระดับเริ่มอันตราย จะส่งผลกระทบต่อส่วนประกอบเม็ดเลือดให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึงสามารถตรวจเช็คได้
มีหลายเทคโนโลยีที่กำลังอยู่ในระหว่างการวิจัย ซึ่งบางเทคโนโลยีมีข้อจำกัด เช่น ถูกเจือจางด้วยปริมาณของโลหิตในร่างกาย ทำให้ผลชี้วัดคลาดเคลื่อน
หนึ่งในเทคโนโลยีที่เรานำมาใช้ในการตรวจ คือ EDIM (Biological biopsy) ที่เลือกตรวจเซลล์แมคโครฟาจ (Macrophage) เซลล์เม็ดเลือดขาวประเภทโมโนไซต์ที่ขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดขาวทั่วไป เป็นตัวชี้บ่งโอกาสเกิดโรคมะเร็งที่สูงกว่า
เทคโนโลยี EDIM (Biological biopsy)
เทคโนโลยี EDIM เป็นเทคโนโลยีตรวจสอบมะเร็งจากตัวอย่างเลือด ที่ค้นคว้าโดยทาง RV Lab ในประเทศเยอรมัน เริ่มตั้งแต่ปี 2007 ทดสอบ จนได้รับผลการยอมรับในปี 2017
ขั้นตอนจะทำเพียงเจาะเลือดไปตรวจ เพื่อหาเซลล์เนื้องอกหรือเซลล์มะเร็งในเลือด โดยใช้แอนติเจนที่จำเพาะต่อเซลล์ภูมิคุ้มกัน ตรวจสอบความสามารถของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยที่สูง ตรวจเซลล์แมโครฟาจ เพื่อตรวจหาชิ้นส่วนแอนติเจนของเซลล์ผิดปกติในร่างกายที่ถูกจับกินโดยเซลล์ภูมิคุ้มกัน เหมือนการตรวจสอบชิ้นเนื้อทางชีวภาพ
วิธีการตรวจปริมาณ
- แมโครฟาจที่อยู่ในตัวอย่างเลือดจะมีโครงสร้างเซลล์ที่อยู่บนผิวของเซลล์ที่เรียกว่า “เอพิโทป”
- เอฟิโทปจะถูกตรวจจับได้อย่างเฉพาะเจาะจง และมีประสิทธิภาพโดยแอนติบอดี้ที่ถูกติดฉลากด้วยสารเรืองแสง ทำให้สามารถตรวจนับจำนวนแมโครฟาจได้จากสารเรืองแสงที่ทำการติดฉลากไว้ด้วยวิธีโฟลไซโทมีตรี โดยมีหลักการ คือ เมื่อแสงเลเซอร์ไปกระทบกับสารเรืองแสงที่ติดฉลากไว้ จะทำให้เกิดเป็นแสงเรืองขึ้นมาโดยมีสีเฉพาะ และเครื่องก็จะตรวจจับได้ว่าแสงสีนี้มีอยู่ปริมาณมากหรือน้อย
- การตรวจนี้จะพบสัญญาณที่มาจากแอนติบอดี้ที่จับกับแอนติเจนในตัวอย่างเลือด ทำให้ทราบจำนวนแมโครฟาจที่อยู่ในตัวอย่างเลือด และสามารถตรวจพบเซลล์ผิดปกติที่ถูกจับกันโดยแมโครฟาจได้
ยกตัวอย่างในกรณีที่เกิดเนื้องอกหรือเนื้อร้าย (มะเร็ง) ภายในร่างกาย จะตรวจพบสัญญาณจากสารเรืองแสงที่ติดฉลากอยู่กับแอนติบอดี้ที่จำเพาะต่อเอนไซม์ TKTL1 และ Apo10 ภายในเซลล์แมโครฟาจ
ทำไมต้อง All CA Blood Test by Rattinan Medical Center
- ตรวจง่าย: เพียงแค่ทดสอบจากตัวอย่างเลือด
- ตรวจมะเร็งก้อนทุกชนิด: การตรวจคัดกรองครอบคลุมเนื้องอกและมะเร็งชนิดก้อนทุกชนิด
- รวดเร็ว: ให้ผลการตรวจภายใน 10 วันทำการ
- ตรวจพบเร็ว: ช่วยเพิ่มโอกาสในการตรวจวินิจฉัยพบมะเร็งได้ในตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
- ค่าใช้จ่ายไม่สูง: ตรวจมะเร็งต้องแยกตรวจทีละจุดในร่างกาย รวมค่าใช้จ่ายอาจหลายหมื่น และเสียเวลาทำงาน
- ความแม่นยำของการตรวจ: ความจำเพาะ 99.5 % / ความไว 97.5 %
ขั้นตอนการตรวจ มะเร็ง
- นัดเวลาล่วงหน้ากับทางรัตตินันท์คลินิก
- เดินทางมาที่คลินิก เพื่อเก็บตัวอย่างเลือด
- รอรับผลการตรวจของคุณภายใน 10 วันทำการ ส่งที่อีเมล หรือ ทางไปรษณีย์
ผลการตรวจ มะเร็ง
ผลที่ได้จะเป็นตัวเลข แบ่งเป็นสามระดับใหญ่ๆ
- ไม่มีความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอก หรือ มะเร็ง: ยังไม่มีปัญหา แต่ถ้าตัวเลขอยู่ในเกณฑ์ที่สูง ควรระวังเป็นพิเศษ
- ตรวจพบแนวโน้มของการเกิดเนื้องอกหรือมะเร็ง: มีโอกาสเป็นโรคมะเร็ง ควรพบแพทย์
- ตรวจพบการเกิดเนื้องอกหรือมะเร็ง: พบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาต่อไป
เงื่อนไขการคัดกรองผู้ป่วย ก่อนการตรวจ มะเร็ง
1. ผู้ป่วยควรมีสุขภาพร่างกายในสภาวะปกติ ไม่มีการบาดเจ็บหรืออักเสบ
2. ผู้ป่วยควรหยุดยาและการรักษาดังนี้ อย่างน้อย 8 สัปดาห์ก่อนตรวจ
- ได้รับการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (anti-rheumatic medication)
- ได้รับยาเมโทรเทรกเซท (Methrotrexate)
- ได้รับยากลุ่มยับยั้งการอักเสบ ทั้งคอร์ติโคสเตียรอยด์ และ ไม่ใช่กลุ่มสเตียรอยด์ (คอร์ติโซน) (steriodal and non steroidal corticoids)
- กำลังรักษาด้วย GM-CSF (Granulocyte-Macrophage colony-stimulating factor)
- กำลังได้รับยาอะมิกดาลิน (Amygdalin)
- ได้รับการรักษาด้วยสเตียรอยด์, เคมีบำบัด, ผ่าตัด และ รังสีรักษา
- อยู่ในระหว่างการรักษากลุ่มโรคภูมิแพ้ตัวเอง (auto-immune disease)
กรณีที่ทานยารักษาโรคประจำตัว ควรติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่จากคลินิกก่อน
3. ผู้ป่วยควรเลี่ยงทานของมันก่อนตรวจ 2 ชั่วโมง
ข้อจำกัดในการตรวจด้วย All CA Blood Test by Rattinan Clinic
- สามารถตรวจมะเร็งที่เป็นก้อนได้ทุกชนิด แต่ไม่สามารถตรวจมะเร็งเม็ดเลือดได้ ต้องใช้วิธีการตรวจแบบอื่น
ประเภทการตรวจคัดกรอง
- การตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งประจำปี (Screening Test) สำหรับคนทั่วไปเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็ง
- การตรวจเพื่อติดตามและประเมินการรักษา (Monitoring Test) สำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ตรวจติดตาม และประเมินการรักษา (ควรตรวจหลังการรักษา 8 สัปดาห์ขึ้นไป)
- การตรวจเพื่อเฝ้าระวังการเกิดซ้ำ (Surveillance test) สำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่หายแล้ว ตรวจเพื่อเฝ้าระวังการเกิดซ้ำ
* การรักษามะเร็งทุกชนิดอาจไม่หายขาด ทำให้ต้องติดตามและเฝ้าระวังอยู่เสมอ ซึ่งถ้าตรวจพบเจอเร็ว จะช่วยทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยมากขึ้น
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
Biography