“กินน้ำตาลมากเกินไป” : รู้หรือไม่ว่า? คนไทยป่วยเป็นโรคเรื้องรัง อย่างเช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไปจนถึงโรคหัวใจและหลอดเลือด ฯลฯ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี สาเหตุหลักๆ คือติดการรับประทานอาหารประเภท ไขมัน แป้ง และน้ำตาล ซึ่งได้รับในปริมาณที่สูงเกินความต้องการของร่างกาย
จากผลสำรวจของสสส. พบว่า คนไทยบริโภคน้ำตาลมากถึงวันละ 20-25 ช้อนชาต่อวัน เลยทีเดียว และการได้รับน้ำตาลมากเกินไปก็เป็นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เจ็บป่วยและเป็นโรคง่าย เพราะฉะนั้นหากอยากมีสุขภาพที่แข็งแรงและอายุยืน จะต้องเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน และหมั่นออกกำลังกาย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไปแล้ว? ลองดูบทความนี้เลย 8 สัญญาณเตือนร่างกาย เมื่อคุณ “กินน้ำตาลมากเกินไป”
1. ปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะมากกว่าปกติ
อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคเบาหวาน เพราะโดนปกติแล้วฮอร์โมอินซูลินจะเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นพลังงาน แต่ในคนที่เป็นเบาหวานนั้น จะทำให้ตับอ่อนหลั่งสารอินซูลินน้อยลงจนทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ร่างกายจึงพยายามขับน้ำตาลออกจากร่างกายทางปัสสาวะแทนนั่นเอง (บางคนที่เป็นเบาหวาน มดอาจตอมที่ปัสสาวะก็ได้)
2. หิวบ่อย หิวจุกจิก หิวมากกว่าเดิม
การทานน้ำตาลปริมาณมากจะส่งผลต่อฮอร์โมน โดยน้ำตาลจะเข้าไปทำให้ฮอร์โมนเลปติน (หลั่งสารออกมาเมื่อเรารู้สึกอิ่ม) หลั่งสารได้น้อยลง เลยทำให้เราหิวตลอดเวลา กินเท่าไหร่ก็ไม่พอ
3. อารมณ์ไม่ดี หงุดหงิดง่าย
การได้รับน้ำตาลมากไปจะทำให้สูญเสียความเสถียรของพลังงานในร่างกาย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อทานน้ำตาลแรกๆ จะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า แต่พอผ่านไปสักพักก็จะรู้สึกหมดพลัง หงุดหงิดได้ง่าย
4. กินน้ำตาลมากเกินไป ทำให้ ง่วงนอน อ่อนล้า เพลีย และขาดพลังงาน
ลองสังเกตดูว่าช่วงสายๆ หรือกลางวันที่เราทานข้าวมื้อหนักๆ (ข้าว แป้ง น้ำตาล) เข้าไปเสร็จก็จะรู้สึกหนังท้องตึงหนังตาหย่อน เกิดอาการง่วงมากกว่าปกติ นั่นเป็นเพราะร่างกายเกิดการหลั่งสารอินซูลินออกมาจำนวนมาก เมื่ออาหารย่อยไปแล้วร่างกายหลั่งสารอินซูลินน้อยลง (น้ำตาลช่วยให้สดชื่นได้เพียงระยะสั้นๆ 30 นาทีเท่านั้น) และมีการหลั่งสารเซโรโทนินมาแทน ทำให้เกิดอาการง่วงนอน อ่อนเพลียนั่นเอง
5. ผิวหนังอักเสบ หรือเป็นสิว
อย่างที่บอกตอนต้นว่าการกินน้ำตาลมากเกินไป ส่งผลต่อฮอร์โมนในร่างกาย ฮอร์โมนผันผวน ซึ่งทำให้เกิดโรคผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ และเกิดสิวขึ้นได้ เกิดจากการที่น้ำตาลไปกระตุ้นฮอร์โมนแอนโดรเจนให้หลั่งออกมามากขึ้น ผิวหนังมีการผลิตน้ำมันมากขึ้นรวมถึงทำให้เกิดอาการคันตามจุดต่างๆ เพราะน้ำตาลทำให้สารอาหารและความชุ่มชื้นที่ผิวหายไป ขณะที่ขับน้ำตาลออกทางปัสสาวะ ทำให้ผิวแห้ง ผิวขาดน้ำ
6. เกิดริ้วรอย แก่ก่อนวัย
การได้รับน้ำตาลที่มากเกินไปจะทำให้เกิดสารเร่งแก่มากขึ้น โดยโมเลกุลของน้ำตาลจะเข้าจับกับโปรตีนจนก่อให้เกิดสาร AGEs (Advanced Glycation End-Products) ซึ่งทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ทำลายคอลลาเจนและอีลาสตินใต้ผิว ทำให้ขาดความยืดหยุ่น หย่อนคล้อย เกิดริ้วรอยขึ้นนั่นเอง
7. ฟันผุ โดยปกติแล้วน้ำลายของเราจะช่วยรักษาสมดุลของแบคทีเรียในช่องปาก แต่หากกินน้ำตาล กินหวานแล้วไม่แปรงฟัน เมื่อแบคทีเรียกินความหวานที่ติดอยู่ที่ฟันแล้วก็จะกินลึกถึงฟันเราได้ รวมถึงการกินน้ำตาลปริมาณมากจะช่วยทำให้แบคทีเรียเติบโตและขยายพันธุ์ได้ไวขึ้นด้วย
8. กินน้ำตาลมากเกินไป ทำให้น้ำหนักตัวมากขึ้น การทานน้ำตาลที่มากเกินไป สุดท้ายน้ำตาลจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันและสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกายร่างกาย เช่น ไขมันสะสมที่หน้าท้อง , ต้นขา , ต้นแขน รวมถึงอวัยวะ ทำให้อวัยวะเสื่อมลงอย่างรวดเร็วนั่นเอง และหากไม่ได้ออกกกำลังกายเผาพลาญน้ำตาลออกไป น้ำตาลจะไปกระตุ้นการหลั่งสารอินซูลิน ซึ่งเป็นสารตัวสำคัญที่มีผลต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นด้วย
ไขมันสะสมตามร่างกาย ที่เกิดจากการ กินน้ำตาลมากเกินไป รักษาอย่างไร?
ไขมันสะสมตามร่างกายที่เกิดจากการ กินน้ำตาลมากเกินไป เช่น ไขมันสะสมต้นขา , ต้นแขน หรือหน้าท้อง นั้นสามารถกำจัดออกได้ด้วยการปรับพฤติกรรม การเลือกทานอาหารที่มีน้ำตาลน้อย หรือออกกำลังกายเพื่อเผาพลาญน้ำตาลได้
แต่ในบางคนที่ใจไม่แข็งพอในการคุมอาหาร ลดของหวาน รวมถึงไม่ชอบออกกำลังกาย ก็อาจจะหาทางเลือกอื่นๆ ที่เข้ามาช่วยในการลดสัดส่วนเกินของร่างกาย เช่น การดูดไขมัน ในปัจจุบันก็นิยมมากทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ข้อดีคือเห็นผลเร็ว เจ็บน้อย และไม่อันตราย เหมาะกับคนที่อยากลดสัดส่วนแบบเร่งด่วน ทันใจ
ส่วนใหญ่บริเวณที่นิยมทำคือ ดูดไขมันหน้าท้อง ดูดไขมันเอว ดูดไขมันต้นขา และ ดูดไขมันต้นแขน ซึ่งเป็นจุดที่มีการสะสมของไขมันมากที่สุด
อ่านเพิ่มเติม : ดูดไขมันคืออะไร?
หากสงสัยว่าการดูดไขมันจะช่วยให้ดีขึ้นได้จริงไหม? ดูดไขมันช่วยทำให้สัดส่วนลดลงได้ ในบางคนน้ำหนักตัวอาจจะลดลงบ้าง (หากดูดออกในปริมาณมาก) แต่หากคุณเข้าข่ายภาวะน้ำหนักตัวเกิน หรือเป็นโรคอ้วน (BMI เกิน 30) การดูดไขมันอาจไม่ได้ผล และการดูดไขมันไม่สามารถช่วยลดน้ำหนักจนผอมได้
ทางเลือกในการรักษาคนที่มี น้ำหนักตัวเกิน หรือ โรคอ้วนลงพุงนั้น จะต้องใช้วิธี ผ่าตัดกระเพาะ ลดน้ำหนักแทน เพราะคนในกลุ่มนี้มีข้อจำกัดทางด้านร่างกาย บางคนออกกำลังกายมากเกินไปไม่ได้ เพราะน้ำหนักที่มีผลต่อสุขภาพ นั่นเอง
ภาวะโรคอ้วน ที่เกิดจากการกินน้ำตาลมากเกินไป รักษาอย่างไร?
กินน้ำตาลมากเกินไป แน่นอนว่าส่งผลระยะยาวทำให้เกิดโรคเรื้อรังอย่าง โรคอ้วน หรือภาวะน้ำหนักตัวเกินได้ ซึ่งการรักษาคนอ้วนให้กลับมามีสุขภาพที่ดีและแข็งแรงนั้น หากทำด้วยตัวเองจะต้องมีวินัยมากๆ ทั้งในการควมคุมน้ำหนัก การเลือกรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ
แต่ในบางคนที่มีข้อจำกัด เช่น มีโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากน้ำหนักตัวที่มากนั้น ไม่สามารถลดน้ำหนักด้วยตัวเองได้ อาจจะต้องอาศัยการรักษาทางการแพทย์ อย่างการ ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก หรือ ผ่าตัดกระเพาะรักษาโรคอ้วน นั่นเอง นอกจากจะทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้น แล้วยังส่งผลต่อสุขภาพจิตใจที่ดีขึ้นตามไปด้วย เพราะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อีกครั้ง
ในปัจจุบันการผ่าตัดกระเพาะนั่นมีหลายวิธี ซึ่งแพทย์จะเลือกตามความเหมาะสมของคนไข้
- การผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ (Gastric Sleeve) ผ่าตัดกระเพาะออกบางส่วน ให้กระเพาะมีขนาดเล็กลง
- ผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส (Gastric Bypass) ผ่าตัดกระเพาะออก ร่วมกับการตัดต่อลำไส้ ซึ่งวิธีนี้ให้ผลลัพธ์ที่ถาวรที่สุด
- การเย็บกระเพาะด้วยการส่องกล้อง (Overstitch) ไร้แผลเป็นหน้าท้อง เป็นเทคนิคใหม่ล่าสุด เป็นการส่องกล้องทางปากเพื่อเข้าไปตัดกระเพาะออก
- การใส่บอลลูนในกระเพาะ (Intragastric Balloon) ช่วยให้น้ำหนักลดลงได้ แต่ผลลัพธ์ไม่ถาวร ต้องหมั่นเติมน้ำเกลือและเปลี่ยนทุกๆ ปี
หากสนใจคลิ๊กอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
บรรยากาศ รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐานสากล
พร้อมด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ
ประสบการณ์กว่า 24 ปี
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
Biography