“ออกกำลังกายเยอะๆ เดี๋ยวก็มี ซิกแพค ” เป็นความคิดที่ทำได้จริง สำหรับคนว่างออกกำลังกายวันละ 3-4 ชั่วโมง หรือ ทำงานที่ใช้แรงงานตลอดทั้งวัน แต่ไม่ง่ายสำหรับพนักงานบริษัท คนมีงานประจำ นักศึกษา หรือธุรกิจรัดตัว ซึ่งเหลือเวลาไปโรงยิมน้อยมาก ออกกำลังกาย 7 วัน แต่ไม่หนักหน่วงพอก็ไม่ไหว หนักไปร่างกายก็ล้าจนต่อต้าน มีเหตุผลที่ทำให้กล้ามท้องไม่ขึ้น และวิธีแก้ไขปัญหาดังนี้
1. ซิกแพค ไม่ขึ้น เพราะ ร่างกายมีไขมันมากเกินไป
คนที่น้ำหนักตัวเกณฑ์มาตรฐาน เช่น สูง 160 น้ำหนักตัว 55-60 กิโลกรัม ไม่ได้หมายความว่าไขมันในร่างกายจะน้อย อาจมีไขมันสะสมได้ถึง 15%-20% ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่มากเกินไปในการที่จะเห็นกล้ามเนื้อส่วนท้องได้ชัด
เหตผลหลักที่ไม่เห็นกล้ามท้อง เพราะปริมาณไขมันที่เหมาะสมที่สามารถเห็นกล้ามท้องได้อยู่ที่ประมาณ 10%-12% ซึ่งจะเห็นกล้ามเนื้อชัดเจนมากขึ้น แม้จะไม่ได้ออกกำลังกายมากก็ยังเห็นร่องซิกแพคได้
วิธีแก้ไข สามารถไขมันหน้าท้องแบบไม่เร่งด่วนมาก สามารถปรับการทานอาหารให้ลดลง ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เน้นออกกำลังกายกระชับหน้าท้องบ้าง อาจช่วยให้เห็นซิกแพคได้ระดับหนึ่ง แต่อย่าคาดหวังเกินไป เพราะการออกกำลังกายเฉพาะส่วนไม่สามารถลดไขมันสะสมเฉพาะจุดได้
2. กล้ามเนื้อท้องยังน้อยเกินไป
บางคนอาจคิดว่าออกกำลังกายเยอะจนกล้ามเนื้อมากพอแล้ว ซึ่งอาจไม่มากพอที่จะทำให้กล้ามเนื้อเด่นชัดพอ เพราะไขมันยังมีปริมาณมากพอสมควร (ประมาณ 15% ขึ้นไป)
ชั่งน้ำหนักเห็นค่ามวลกล้ามเนื้อเยอะ แต่บางทีอาจไม่ใช่ส่วนท้องก็ได้ อาจไปสะสมที่ต้นแขน หรือ ต้นขา มากกว่าส่วนกล้ามท้อง
การแก้ไขไม่ยาก แค่ใช้เวลากับการออกกำลังกายหน้าท้องให้มากขึ้น รวมถึงบริเวณใกล้เคียง อย่าง หน้าอกและสะโพก แต่ก็อย่าหนักหน่วงเกินไป ควบคู่กับการลดไขมันหน้าท้องให้กระชับมากขึ้น
3. นับแคลอรี่ผิดพลาด
หนึ่งในความผิดพลาดของคนที่พยายามลดน้ำหนัก คือ ลืมบวกพวกของหวาน อย่าง ชานมไข่มุก น้ำอัดลม เบียร์ เหล้า ที่มีพลังงานซ่อนอยู่ แทบจะพอกับข้าวจานหนึ่งเต็มๆผลของนับแคลอรี่ไม่ดีพอ บางคนไม่ถึงกับอ้วนขึ้น แต่ทำให้ลดไขมันสะสมไม่ได้ ส่งผลให้ไขมันยังเต็มหน้าท้องเหมือนเดิม ลดให้ไขมันในร่างกายให้เหลือประมาณ 10% เป็นเรื่องยากขึ้น (ตามข้อ 1)เวลานับแคลอรี่ ควรเผื่อพวกน้ำหวานเหล่านี้ไปด้วย ถ้าทานชานมไข่มุก หรือกาแฟเอสเปรสโซ่ถ้วยใหญ่ วันละแก้ว อาจบวกไป 400-500 แคลอรี่ อย่ามองว่าเป็นแค่น้ำแล้วทำให้อ้วนไม่ได้
4. พักผ่อนน้อยเกินไป
บางคนทำงานเกือบทั้งวัน ฟิตกล้ามท้องอีก 2 ชั่วโมง ใช้เวลาที่เหลือกับครอบครัว กว่าจะได้นอนและตื่นมาทำงานในวันต่อไป อาจพักฟื้นได้วันละ 4-6 ชั่วโมง ซึ่งไม่มากพอที่กล้ามเนื้อจะฟื้นตัวและอาจทำให้ง่วงตลอดวัน จนส่งผลต่อฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายคนออกกำลังกาย ควรนอนวันละ 8 ชั่วโมงขึ้นไปเพื่อให้ร่างกายพักฟื้นอย่างเพียงพอมากที่สุด โอกาสที่กล้ามเนื้อจะฟื้นตัวเร็วขึ้น และช่วยให้ระบบเผาผลาญไขมันหน้าท้องดีขึ้นด้วย
5. ความเครียด
ความเครียดเป็นหนึ่งในอุปสรรคที่หลายคนมองข้าม เพราะผลของฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากความรู้สึกเครียด ส่งผลต่อทั้งสุขภาพ กล้ามเนื้อ และสภาพจิตใจความเครียดกระตุ้นให้เรากินมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาหาร หรือ เครื่องดื่มหวานๆ เพื่อลดความเครียด ถึงแม้จะไม่ทานอะไรเพิ่ม แต่การสะสมความเครียดไว้ในใจ ทำให้ฮอร์โมนที่มีผลต่อการควบคุมน้ำหนัก ไม่สามารถทำงานได้อย่างอิสระ ส่งผลให้ระบบเผาผลาญทำงานไม่ดีพอ อีกทั้งส่งผลต่อการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอการบริหารความเครียด ปล่อยวางต่อปัญหาในชีวิตประจำวัน จึงถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่ช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้น สมาธิดียิ่งขึ้น
สร้างหน้าท้องเร็วทันใจด้วยการดูดไขมัน ซิกแพค
การทำตามวิธีข้างต้นอาจไม่ได้ผล เพราะร่างกายบางคนสะสมไขมันตรงหน้าท้องมากเป็นพิเศษ ซึ่งไม่แปลกที่จะถูกเรียกว่า ห่วงแห่งรัก (Love Handles) กำจัดยาก จนทำให้หลายคนท้อกับการสลายไขมันหน้าท้อง
สำหรับคนที่อยากมี ซิกแพค แต่ยังไม่เห็นร่องซิกแพค ทั้งที่พยายามหลายวิธีอย่าง
- ออกกำลังกายทุกวัน
- ลดน้ำหนักจนเริ่มผอม
- กินโปรตีนเสริมเยอะ
- ลองไดเอตทั้ง Intermittent Fasting, Keto และวิธีต่างๆ
การมีซิกแพคให้เห็นเป็น 6-8 ก้อนชัด ต้องมีเวลาว่างพอสมควรและปรับการใช้ชีวิตในแต่ละวันให้เป็นระบบ ซึ่งไม่เหมาะกับไลฟ์สไตล์หนุ่มๆ บางคน ที่เรียน หรือทำงานแทบทุกวัน การดูดไขมันจึงช่วยให้มีซิกแพคได้ง่ายขึ้น ลองพิจารณาการดูดไขมันซิกแพคเป็นทางเลือก ซึ่งช่วยให้คุณลดไขมันได้รวดเร็วตามที่ต้องการ
กรณีที่อยากลดเฉพาะจุดจริงๆ การดูดไขมันสร้างซิคแพค เป็นทางเลือกที่ช่วยได้เช่นกัน ซึ่งถ้าคุมอาหารหลังดูดไขมัน จะช่วยให้หุ่นเข้ารูปไปอีกนาน นอกจากนี้การดูดไขมันซิกแพค นิยมทำร่วมกับการ ดูดไขมันหน้าท้อง และ ดูดไขมันรอบเอว เพื่อให้รูปร่างดูสมส่วนกัน
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
ดูดไขมันซิกแพค (Six Pack) เปลี่ยนพุงเป็นกล้าม วันเดียวเห็นผล
ดูดไขมัน สร้าง Six Pack ทางเลือกเพื่อคนไม่มีเวลาออกกำลังกาย
แพทย์ผู้ก่อตั้ง รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์
Biography